ขอแย้งหน่อยนะครับ ผมเข้าใจความแตกต่างของ ม.เล็ก และ ม.ใหญ่เช่นกันครับ ตัวผมเองก็จบที่มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตครับ ซึ่งตอนที่ผมเรียนนั้นเรียนที่พัฒนาการครับ ไม่ได้เรียนที่ร่มเกล้าและเครื่องไม้เครื่องมือก็ไม่ได้เยอะครับ แต่ด้วยจากการอ่านบางประโยคในบทความนี้ ทำให้รู้สึกว่าคุณกำลังดูถูกหลายๆอย่างเป็นอย่างมาก ไม่ได้อยากดราม่านะครับ แต่แค่รู้สึกไม่ชอบใจกับการนั่งเทียนเขียนเท่าไหร่นัก จริงอยู่ครับ ม.เล็กอาจจะไม่ดีเด่นเท่า ม.ใหญ่เท่าไหร่นัก แต่ในแต่ละที่ก็มีข้อดีข้อเด่นต่างกัน ซึ่งสุดท้ายแล้วผมว่าอยู่ที่ตัวนักเรียนเองมากกว่าว่าจะสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเองได้มากเท่าไหร่ นอกจากเวป TDF ยังมี Tutorial ของเมืองนอกให้เรียนรู้ได้อีกมากมาย พออ่านจบผมเลยรู้สึกไปเองว่า เหมือนถูกตบหัวแล้วลูบหลังด้วยการอวยเว็ป ซึ่งหากเข้าใจผิดก็ขออภัยด้วย
1.ม.ใหญ่ มีครูผู้สอนจบนอกแน่นด้วยความรู้และแตกฉานในทุกทฤษฏียิ่งได้ไปเรียนเมืองนอกมาด้วยแล้วเท่ากับมีความรู้ล่วงหน้า
กว่าครูที่อยู่ในประเทศไทยถึง 10 ปี
........เทียบกับ ม.เล็ก ครูผู้สอนคือผู้มีความรู้มากกว่านักเรียนเท่านั้น
ข้อนี้คุณกำลังดูถูกวิชาชีพของคนที่เป็นครูบาอาจารย์หลายท่านที่ไม่ได้จบเมืองนอกอยู่ครับ ครูหลายคนที่ไม่ได้จบเมืองนอก ไม่ได้หมายความว่าเป็นผู้ที่มีแค่ความรู้มากกว่านักเรียนเท่านั้นนะครับ อาจารย์หรือเจ้าหน้าที่บางคนในมหาวิทยาลัยผม ทำงานและมีประสบการณ์ทำงานจริงจากสายงานและเข้ามาสอน ซึ่งในปัจจุบันอาจารย์หรือเจ้าหน้าที่บางท่าน ณ ตอนนี้ก็ทำรายการหลายรายการ ซึ่งบางอย่างอาจจะสอนได้มากกว่าครูผู้สอนผู้จบมาจากเมืองนอกที่แตกฉานเฉพาะทฤษฎีละมั้งครับ
2 .ม.ใหญ่ปรับรูปแบบแบบแผนการเรียนเน้นเพิ่มความสามารถให้กับ น.ศ เป็นการเฉพาะเช่น เรียนภาพยนตร์, เรียนทีวี, เรียนวิทยุ ฯ
โดยเรียนพื้นฐานเพียงปี 1 เท่านั้น เมื่อขึ้นปี 2 ก็เข้าสู่ภาคปฏิบัติสายอาชีพโดยตรง เรียนเรื่อยไปจนถึงปี 4
........เทียบกับ ม.เล็ก บาง ม. เรียนพื้นฐาน ปี 1-3 แล้วค่อยเน้นสายอาชีพตอนปี 4 เรียกว่าเรียนวิชาหลักน้อยกว่าวิชาพื้นฐานเสียอีก..
ตอนผมเรียนก็เรียนพื้นฐานแค่ปี1 ครับ เข้าสู่ปีสองก็เริ่มมีการสอนที่เกี่ยวกับสายงานครับ ไม่ได้เรียนพื้นฐานตั้งแต่ 1-3 อย่างที่คุณเขียนไว้ อีกอย่างคือความโชคดีของผมคือมันมีเรื่องของชมรมที่รุ่นพี่ตั้งกันเอาไว้ ซึ่งก็จะมีการถ่ายทำนุ่นนี่นั่นไปตามประสา และรุ่นพี่ที่เรียนสูงกว่าก็จะช่วยสอนงานให้รุ่นน้องที่เพิ่งเริ่มหัดเดิน และอาจารย์ที่ความรู้มากกว่านักเรียนแบบที่คุณบอกนี่ล่ะครับที่เป็นคนช่วยดูแลพวกเราอีกที
อีกข้อคือ
4.ม.ใหญ่ให้ น.ศ. ได้ลองฝึกทำงานจริงเนื่องจากครูผู้สอนเป็นที่ปรึกษาให้กับบ.อีเว้นท์หลายแห่งจึงสามารถนำงานมาให้น.ศ ลองฝึกทำดู
(ผิดถูกอย่างไรมีอาจารย์คอยเป็นพี่เลี้ยง ) เริ่มตั้งแต่การออกแบบ แก้งาน จนถึงปิดจ๊อบลูกค้า โดยกลุ่ม น.ศ ไม่ได้เงินแต่ได้คะแนน
เป็นหน่วยกิตตอบแทน ( เงินรายได้สมทบทุนเข้าคณะ..)
.........ม.เล็ก ครูผู้สอน สอนแต่ภาคทฤษฏี ไม่มีงานให้ทดลองทำจริง ด้วยเพราะครู ม.เล็กไม่มีคนรู้จักไม่มีใครเชื่อถือในฝีมือ
หรือจะไปของานมาทำเลียนแบบ ม.ใหญ่ ก็ไม่มีใครให้เพราะกลัวงานเสีย...
ม.ผมก็มีงานให้ทดลองทำจริงครับยกตัวอย่างเช่น รุ่นผมได้ทำสารคดีส่งช่อง 5 เป็นต้น ซึ่งหลายงานเป็นงานจากที่อาจารย์ที่ไม่ได้จบเมืองนอกนี่ละครับนำมาบอก นำมาให้ทำ ครูผู้สอนใน ม.เล็ก ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีคอนเนคขั่นนะครับอย่าดูถูกให้มันมากนัก
ผมไม่ได้อยากดราม่านะครับแค่ออกความคิดเห็น บางครั้งบางทีการเขียนบทความบางอย่าง มีข้อมูลให้แน่นนิดนึงอย่ามั่วเขียนเพราะมันเป็นการดูถูกบางสิ่งบางอย่างของคนหลายคน ใจเขาใจเราครับไม่มีใครชอบให้ดูถูกและไม่มีใครสามารถบอกว่าตัวเองถูกได้ทั้งหมด อยากให้ใส่ใจรายละเอียดเรื่องแบบนี้นิดนึง ถึงจะจบ ม.เล็ก แต่ผมก็รัก ม.ของผมเองครับ
ที่สำคัญคนจบ ม.เล็ก หลายคนหารายได้ได้เยอะกว่าคนจบ ม.ใหญ่บางคนด้วยครับ เพราะฉะนั้นผมว่าอย่าเอาเรื่องของที่เรียนมาเกี่ยว ของบางอย่างมันอยู่ที่ตัวคนครับไม่ได้อยู่ที่ที่เรียน ตัวคุณไม่ไขว่คว้ารอแต่ให้คนมาป้อนทำตัวเป็นง่อย นู่นไม่ได้ดั่งใจก็ว่าคนอื่นทั้งที่มันมีคำตอบอยู่แล้วแต่ดันไม่รู้จักหาก่อน เรียน ม.เล็ก ม.ใหญ่ก็คงเท่านั้นล่ะครับ ผมว่าตรงนี้มากกว่าที่เป็นประเด็นใหญ่กว่านะครับ
ถ้าจะเขียนบทความแนวนี้ก็เน้นไปเรื่องของแหล่งที่สอน tutorial หรือเฉพาะส่วนไปเลยดีกว่าครับ อย่ามาตีครอบแบบคลุมเครือ ตัวอักษรมันไม่ได้เห็นสีหน้าและตัวอักษรทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ง่ายครับ ขอบคุณครับ
[ แก้ไขล่าสุดโดย job4922 เมื่อ 2012-08-19 14:56 ]