สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 1474เข้าชม
  • 1ตอบกลับ

ดีใจกับน้องใหม่เพิ่งจบ แต่หนักใจตอนทำงาน...

โพสต์
787
เงิน
5355
ความดี
14867
เครดิต
11447
จิตพิสัย
37005
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร


..มีเจ้าของกิจการติดต่อมา อยากได้ช่างภาพน้องใหม่ ถ่ายได้ ตัดต่อได้ และที่เน้นมากๆคือ..
ต้องจับประเด็นเป็น หรือจับคอนเท้นท์ได้ ( สำคัญสุด..ทำไม่ได้ไม่รับ)...
...เลยถามต่อว่าให้เงินเดือนเท่าไหร่ล่ะ
" แหมพี่เศรษฐกิจช่วงการเมืองปั่นป่วนแบบนี้ ก็ต้องช่วยกันไป มีให้แต่ไม่มาก" (เดากันเองนะคับ)

...และถ้านี่คือ คำพูดของคนโปรดัคชั่นฝากบอกต่อๆกันมา นั่นหมายถึง ต้องการมือระดับพระกาฬฝีมือเทพ
   อัตราเงินเดือนไม่เกี่ยง (สวนทางกัน)
...หันมาดูประกาศรับสมัครพนักงานในเว็บ ก็มีให้เห็นเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นฟรีแลนซ์หรือประจำก็จะมีข้อความนี้
ห้อยต่อท้ายไปด้วยทุกครั้ง


...จึงขึ้นหัวข้อเรื่องไว้ว่า "ดีใจกับน้องใหม่เพิ่งจบ " หมายความว่า ปัจจุบันเครื่องมือถูกลง
   เทคโนโลยีทันสมัยช่วยให้ทำงานได้ง่ายขึ้น แถมมีตัวอย่างจากพี่ๆในยูทูป เป็นครูสอนให้ความรู้ฟรีไม่เสียตังค์อีก
   จนทุกวันนี้ใ ครๆก็สามารถถ่ายภาพเคลื่อนไหวได้แม้ไม่ได้เรียน
.."แต่หนักใจตอนเริ่มงาน " หมายความว่า  แต่ก่อนช่างภาพมีหน้าที่จับกล้องถ่ายภาพ
  (เพียงอย่างเดียว) ผู้ช่วยกล้องทำหน้าที่แบกขา แล้วตั้งกล้อง คอยถือร่ม ช่างเสียงคุมระดับเสียงเช็คเสียง
   ช่างโปรดิวเซอร์ดูมอนิเตอร์สั่งช่างภาพ แต่ปัจจุบัน ช่างภาพทำทุกอย่างที่กล่าวมาโดยลำพังเพียงคนเดียว
  (ทำงานให้เร็วห้ามพลาด ทำช้ามีข้อผิดพลาดอาจทำฟรี ) และตอนนี้มีเพิ่มอีกข้อคือต้องจับประเด็นเป็น
   ( เดิมหน้าที่นี้เป็นของคนเขียนบท) แถมมีขู่อีกว่า สำคัญกว่าทุกข้อที่กล่าวมา..

..การจับประเด็นหรือจับคอนเท้นท์คืออะไร? ทำไมสำคัญกว่าทุกข้อที่กล่าวมา พูดง่ายๆก็คือ การตีโจทย์ผิด
  ถ้าคิดผิดตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน ทุกอย่างที่ทำต่อไปก็จะผิดหมดด้วยเหมือนกัน สาเหตุเกิดจาก

  "การคิดเข้าข้างตัวเอง " มากเกินไป จนลืมนึกถึงข้อเท็จจริง นั่นเอง

...คำว่า" สื่อสารมวลชน " คือการสื่อความหมายไปยังคนจำนวนมาก (คนทั่วไปคิดว่าน่าจะเป็นแบบนี้)
   เช่น ให้นำเสนอเรื่องท่องเที่ยวแนะนำ จ.อยุธยา คนทั่วไปนึกถึง วัดเก่า เมืองเก่า แต่เรานำเสนอร้านก๋วยเตี๋ยวอยุธยา
  ถามว่าผิดไหม ไม่ผิด เพียงแต่สิ่งที่เรานำเสนอ เป็นของคนกลุ่มน้อยที่คิด ไม่ใช่คนส่วนใหญ่คิด

.. วันนี้ผมได้รวบรวมขั้นตอนและวิธีการจับประเด็นหรือจับคอนเท้นท์แบบง่ายๆ สนใจลองทำดูได้คับ..
1.เก็บตัวอย่างงานคอนเท้นท์ต่างๆ เริ่มต้นเปิดดูรายการในยูทูป จะเป็นของไทยหรือของเทศก็ได้
    เห็นรายการไหนทำได้ดี ถูกใจ ดูแล้วชอบให้โหลดเก็บไว้ให้มากที่สุด โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ แยกเป็นชุดๆ เก็บไว้ให้ครบ
    เริ่มทำตามนี้..
  - แยกตามประเภทงานที่ทำ หนังสนุก มิวสิครักหวานแหวว งานแต่งโรเมนติก ผีดุน่ากลัว
   ท่องเที่ยวช้อปปิ้งกินดื่ม สารคดีเชิงวิชาการ หรือ แนวอาร์ตภาพสวยแต่ดูไม่รู้เรื่อง ฯ
-  แยกตามลักษณะงานที่ทำ ในสตู /นอกสถานที่ /หรือผสมทั้ง2
- .แยกตามวิธีการนำเสนอที่ทำ มีพิธีกร 1-2-3คน หรือไม่มี
    ..(1+2+3 สามารถนำมาผสมกันได้ เช่น ท่องเที่ยวแบบมีพิธีกรถ่ายในสตู)
2. นำมาศึกษาหาความรู้ จดจำ พยายามเลียนแบบตามขั้นตอนต่างๆ  เช่น  รายการท่องเที่ยว
    มีพิธีกรนำเสนอ ดูสนุกมันส์ ไม่น่าเบื่อ ให้จำแต่ละคอนเท้นท์นั้นๆให้ได้ ( เน้นว่าจำให้ได้ทุกขั้นตอน)

...หัวใจของการทำรายการก็คือ "ต้องการนำเสนออะไรก็ให้นำเสนอสิ่งนั้นออกมาให้ได้ " อย่างเช่น
  เราต้องการนำเสนอรายการท่องเที่ยวให้คนดูสนุกแล้วอยากไป แต่เมื่อเราถ่ายตัดต่อจนเสร็จกลับดูไม่สนุกเอาเสียเลย
  นั่นหมายความว่า เรากำลังจับประเด็นผิดหรือเราได้จับคอนเทนท์ผิดไปแล้วนั่นเอง...ถ้ารู้ตัวให้รีบทำข้อต่อไป

3. แก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไป พูดง่ายๆก็คือ พยายามทำให้กลับมายังฐานข้อมูลเดิมที่เรามี
   ต้องทำให้ได้ เช่น
  - รายการสัมภาษณ์คนพูดพูดไม่รู้เรื่อง เราอาจต้องสัมภาษณ์คนอื่นเพิ่มเป็นการทดแทน ( หาเพิ่มไปเรื่อยๆจนกว่าจะเจอ )
  - พิธีกรพูดยาวไม่สนุก ก็ให้พูดสั้นๆแล้วแอ๊คชั่นทดแทนเยอะๆ (ทำให้สนุกให้ได้)
  - เนื้อหานำเสนอไม่น่าสนใจ ลองเปลี่ยนมุมกล้องให้หลากหลาย ตัดต่องานให้เร็ว สั้นกระชับขึ้น (หาวิธีอื่นๆ ทำให้น่าสนใจให้ได้)

..น้องใหม่หลายคนทำงานผิดพลาด ด้วยเพราะประสบการณ์ในการทำงานยังน้อย
...นับแต่นี้เป็นต้นไป เราสามารถเพิ่มพูนประสบการณ์ให้กับตัวเราได้โดยการเรียนรู้งานจากพี่ๆในยูทูป
    พยายามท่องจำและทำให้ได้ทั้ง3ข้อ นะคับ

..."พร้อมเมื่อไร รีบติดต่อกลับหาผมทันที ...ลูกค้าเขารออยู่ ( มีหลายรายเชียวนะคับ )"
www.p0p-it.blogspot.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

ระดับ : สมาชิก V
โพสต์
183
เงิน
6586
ความดี
4545
เครดิต
4440
จิตพิสัย
5426
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

ชอบครับ ขอบคุณครับ
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้