วันนี้เรามาคุยเรื่องไกล้ตัวที่สุดของคนทำหนังกันดีกว่าครับ
การสร้างภาพพิเศษจากเทคนิคของกล้อง optical illustion
ในสมัยแรกนักสร้างภาพยนตร์ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่ากล้อง,ฟิล์มและจินตนาการ ความฝันที่จะสร้างภาพมายาให้คนทึ่งนั้น ก็ต้องหันมาใช้เทคนิคที่ไกล้ตัวที่สุดนั่นคือกล้อง ไม่ว่าจะการเล่นภาพย้อน ถ่ายด้วยสปีดสูงหรือต่ำ การถ่ายแบบTimelaps หรือการหลอกด้วยเลนส์ ก็ถือเป็นการสร้างภาพมายาให้กับหนังได้ทั้งสิ้น และแน่นอนว่าจนปัจจุบัน การใช้กล้องในเทคนิคเก่าแ่กนี้ก็ยังคงหลงเหลือให้เราได้ใช้หากินกัน
Georges Méliès ถูกยกย่องให้เป็นบิดาแห่งเทคนิคพิเศษของภาพยนตร์ เขาคิดค้นการสร้างภาพมายาบนจอหนังไว้มากมาย แม้หนังเขาจะดูเหมือนการแสดงโชว์มากกว่าที่จะเป็นเรื่องราว แต่เขาก็คือผู้ริเริ่มการสร้างภาพพิเศษในหนัง
เทคนิคข้างบนเราคงคุ้นตากับหนังผีเก่าๆ พวกผีหายตัวอะไรประมาณนั้น แต่ปัจจุบันคงไม่มีใครทำเทคนิคนี้กันแล้ว แต่มีหนึ่งเทคนิคที่เราใช้กันมายาวนานนั่นคือการถ่ายทำแบบ Undercrancking
The french connection (1971) ฉากรถไล่ล่านี้เป็นหนึ่งในฉากคลาสสิคตลอดการ การถ่ายฉากรถที่วิ่งตามรถไฟนี้ ต้องการให้ภาพที่เร็วและตื่นเต้น ซึ่งแน่นอนว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่จะขับได้เร็วขนาดนั้นอย่างปลอดภัย เพราะรถต้องคอยหลบอุปสรรคต่างๆบนท้องถนนตลอดเวลา การใช้ Undercrancking คือเทคนิคที่ช่วยให้ซีนนี้ประสบความสำเร็จ
Undercrancking คือการถ่ายด้วยสปีดต่ำ เช่น 12 เฟรม/ วินาที แล้วนำมาฉายที่24เฟรม ภาพที่ได้ก็จะเร็วกว่าถึง2เท่า แต่ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งมีชีวิต เพราะการเคลื่อนไหวของคนจะดูผิดธรรมชาติไปด้วย นอกจากเทคนิคนี้ ก็ยังมีเทคนิคตรงข้าม ซึ่งเรียกว่า Overcrancking หรือปัจจุบันที่เราชอบเรียกว่า Hispeed Shooting
Hispeed Shooting นอกจากเอาไว้ทำมิวสิควิดิโอสวยๆแล้ว เราสามารถสร้างภาพพิเศษจากมันได้ หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า "วัตถุที่ใหญ่จะเคลื่อนไหวช้ากว่าวัตถุที่เล็กกว่า" ด้วยเหตุนี้ผู้สร้างหนังจึงนำเอาเทคนิคOvercrancking มาถ่ายทำฉากย่อส่วนที่มีขนาดเล็ก เื่พื่อเวลาเล่นในสปีดปรกติจะดูเหมือนว่าวัตถุมีขนาดใหญ่ ซึ่งมีสูตรคำนวนที่เป็นมาตรฐาน
โดย D แทนด้วยขนาดจริงของวัตถุ d แทนด้วยขนาดของฉากย่อส่วน โดยวัดเป็นฟุต เราจะได้ค่าสปีดโดยประมาณของกล้องที่ควรใช้ในการถ่ายฉากย่อส่วน ตัวอย่างเช่น ตึกสูงจริง30ฟุต ถ่ายโดยมีฉากย่อส่วนสูง 3 ฟุต (ขนาด1/10) ฉายด้วยความเร็วปรกติ 24Fps จะต้องถ่ายด้วยความเร็วประมาณ76Fps
True Lies เป็นหนึ่งในหนังที่ใช้เทคนิคนี้ และได้ผลที่น่าทึ่ง ใครไม่เคยดูลองหาหนังมาดูนะครับ ผมชอบเรื่องนี้มาก
การใช้ฉากย่อส่วนนั้นไม่ได้มีแค่ถ่ายเพื่อพังหรือระเบิดทิ้งเท่านั้น มันยังสามารถต่อฉากในหนังให้เป็นฉากที่ใหญ่โตอลังการขึ้นได้ด้วยการทำงานร่วมกับการใช้ระยะชัดของเลนส์ ซึ่งเราอาจนำฉากย่อส่วนมาวางไว้หน้ากล้องซึ่งถ่ายผ่านไปเห็นนักแสดงที่อยู่ในเซท โดยใช้เลนส์ที่มีระยะชัดกว้าง และเทคนิครูรับแสงที่ช่วยสร้างระยะชัดได้กว้าง กล่าวคือ ทั้งตัวแสดงจนถึงฉากย่อส่วนต้องชัดเท่ากันหมด ผลที่ออกมาคือภาพนักแสดงที่อยู่ร่วมกับฉากย่อส่วนอย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งในบางครั้งผู้สร้างภาพยนตร์ อาจใช่การวาดลงแผ่นกระจก หรือการฉายภาพด้านหน้าผ่านกระจกสองทางร่วมไปด้วย แต่ปัจจุบันเทคนิคดังกล่าวก็เสื่อมความนิยมไปพร้อมๆกับการเติบโตของคอมพิวเตอร์กราฟฟิก
นอกจากการใช้สปีดกล้อง เลนส์กล้อง ยังมีการใช้อุปกรณ์เคลื่อนกล้องอย่างดอลลี่ มาใช้ร่วมกับเลนส์ซูม เป็นเทคนิคที่เราคุ้นตากันจนปัจจุบันก็ยังมีคนใช้อยู่ Tromebone shot
คือการ ดอลลี่เข้า แต่ซูมออก หรือ ดอลลี่ออก แล้วซูมเข้า นั่นเอง ซึ่งหัวใจสำคัญคือการรักษาเสกลของตัวObjective(ซึ่งในตัวอย่างคือนักแสดงสองคน) ในอยู่ในขนาดเท่ากันทั้งชอท แต่การเปลี่ยนแปลงของโฟคอลเลนส์ ทำให้ฉากมีขนาดที่แปลกประหลาด
บิดาแห่ง Tromebone shot คือ เจ้าพ่อหนังสยองขวัญ อัลเฟรด ฮิชคอก ในภาพยนตร์เรื่อง vertigo(1958) เขาคิดค้นเทคนิคนี้เพื่อสร้างภาพให้ดูหลอนในหนังของเขา แต่มันกลับกลายเป็นมาตรฐานของการสร้างชอท ตกใจ หรือสัมผัสพิเศษ ของโลกภาพยนตร์ต่อมาจนถึงปัจจุบัน
อาจมีประวัติศาสตร์เยอะหน่อยนะครับ อย่าเพิ่งหลับกันไปก่อน เนื่องจากเห็นหลายคนมีความรู้เรื่องโปรแกรมใช้งานซีจีต่างๆและให้คำปรึกษากันอยู่แล้ว ผมเลยขอฉีกไปในการสร้างวิชวลเอฟเฟกต์ด้วยวิธีอื่นๆก่อนหันมาลงลึกเรื่องคอมพิวเตอร์นะครับ
ขอบคุณ เจอกันคราวหน้า กับ Physical Effect และ Element Effect ที่เหมือน แต่กลับต่างกัน (งงๆ)