หลักในการเลือกมุมกล้องหรือตั้งกล้องเพื่อถ่ายทฤษฏีพี่ๆมีเขียนไว้มากมาย ผมก็เอามาปรับ ( เอาความดีใส่ตัวเองเหมือนเดิม ) ไปอ่านของพี่เขาก่อนนะ...
.. หลายเรื่องเขียนไว้มากมาย ขอบอกเป็นประสบการณ์จริงจากการทำงานด้วยตัวเอง ลองผิดลองถูกเช็คจาก ( ลูกค้าด่า ) และนำมาปรับใช้จนลูกค้าด่าน้อยลง
( แต่ยังคงด่าอยู่ ) เลยคิดว่าเมื่อลูกค้ายอมรับงาน มันก็น่าจะโอเค ( ระดับหนึ่ง ) หลักปฏิบัติที่เขียนให้อ่าน ( บทความเก่าๆ ) คือการจำลองจากโลกที่ทำงานจริงๆ
นำมาปรับให้เป็นบทเรียนเพื่อให้น้องใหม่ได้ฝึก ( โลกของการทำงานจริงกับลูกค้า โหดกว่านี้ 100 เท่า )
..ยังคงอยากให้ฝึกฝนอยู่นะ....
น้องบางคนบอกฝึกแล้วยังไม่เก่งแสดงว่ายังทำงานไม่ได้ใช่หรือไม่.. ทำงานได้คับ เพียงแต่คุณอาจมีข้อเลือกน้อยลงเท่านั้น เช่นบริษัทอาจให้เงินเดือนน้อย
...งานโหด ( ที่พี่ๆคนอื่นเขาเดินหนี ) , ...หรือคุณอาจหาลูกค้าที่ไม่ค่อยรู้งาน ( ไม่เขี้ยวลากดิน ) คือพอใจกับความสามารถที่คุณมี เพราะลูกค้ามีงบน้อย...
...
ถามต่อว่า..จะรู้ได้อย่างไรว่าเราฝึกจนถึงที่สุด( เก่งแล้วยัง) ง่ายมากคุณต้องมองภาพออกใน 1 เฟรม และตอบลูกค้าได้ในทันที ( 5 วินาทีให้คิด )
ว่า ภาพนี้ไม่ดี บกพร่องตรงไหน และควรแก้ไขให้ดีขึ้นอย่างไร ?...
( พี่ๆที่เขาเก่งแล้วทำได้จริงนะคับไม่ได้โม้)..
.ทำไมผมถึงต้องเน้นยำ้แบบนี้...เอาง่ายๆสมมติคุณเป็นช่างภาพ ลูกค้าให้ถ่ายพิธีกรเปิดรายการ เดินหาไปซิ..มุมสวย ( เป็นยังไงหรือมุมสวย..ไม่มีใครสอนเนี่ย )
ขณะที่คุณเดินหา คนในทีม 10 คน 20 ตา ยืนมองคุณคนเดียว รอว่าเมื่อไหร่ที่คุณจะบอก เชื่อหรือไม่ว่า แค่นาทีเดียวเหมือนเวลาผ่านไป 1 ชม. มันกดดันมากนะ
ชำเลืองหางตาดู ทุกคนยืนนิ่งมองเราคนเดียว ( ผู้ช่วยคอยยกขา ทีมไฟรอถือไฟ เสื้อผ้า ผม รถขนอุปกรณ์ทีวี ) ..ยิ่งเดินยิ่งหา..ยิ่งใช้เวลา ..พอบอกมุมนี้ได้ปุ๊บ
ทุกคนวิ่งมาเหมือนโลกแตก มาถึงห้อมล้อมตัวคุณเต็มไปหมด แต่พอลูกค้ามาถึงบอกไม่ชอบ ...ก็ยืนคิดอีก..จะหาเหตุผลอะไรมาอธิบายให้ลูกค้าได้เข้าใจ
...ทุกคนในทีมก็ยืนนิ่งอีก ...( ตกลงจะย้ายไม่ย้าย ) ...ทุกคนยืนรอให้ช่างภาพอธิบาย ...คุณก็ยิ่งกดดัน ..พูดก็เอ้อๆอ้าๆ ( กำลังคิดหาเหตุผล ) มองไปทางไหน
ก็มีแต่คนยืนคอยฟัง และถ้าย้ายบ่อยด้วยล่ะก้อ...ใครเจออารมณ์นี้ อายมากๆๆๆนะ... ถ้าไม่อยากอาย วันนี้ต้องรีบฝึกให้แกร่ง จำหลักให้แม่นจนขึ้นใจ ฝึกๆๆๆๆ
จนคุณสามารถบอกเหตุผลที่ดีและไม่ดีได้ในเดี๋ยวนั้นเลย และการพูดต้องฉะฉาน มั่นใจทุกครั้ง ( ที่ลูกค้าถาม ทุกข้อสงสัย )...
วันนี้เรามาเพิ่มอีกหนึ่งบทเรียน ( ที่อยากให้ฝึกเพิ่ม ) การเลือกมุม เพื่อตั้งกล้องถ่ายภาพ ..( ต่อนี้ไป คุณจะได้รู้แล้วว่า มุมสวยมันเป็นยังไง ? ..)1. เริ่มงานตั้งสมาธิกันหน่อย ไม่คุย ไม่เล่น ไม่วอกแวก ดูบทก่อนว่าสถานที่นั้นๆคืออะไร จะให้ถ่ายอะไรเดินสำรวจไปทั่วๆสังเกตุจุดเด่น( มุมสวยในสายตาเรา) จุดด้อย ( มุมไม่สวย ) เช่นถังขยะ สิ่งสกปรก เดินดูทั่วๆไปก่อน ไม่ต้องกังวลลูกค้า ดูในฐานะเราช่างภาพก่อนนะ .( ฟังเสียงด้วยนะ เสียงแอร์ เสียงต่อเติมบ้าน )..
2.
บางครั้งมุมที่เรามองเห็นอาจสวยในสถานที่นั้นแต่พอออกทีวีอาจไม่ได้เรื่องเลยหรือบางมุมไม่สวยแต่เวลาออกทีวีอาจสวยก็ได้ วิธีเช็คคือใช้มือขวาซ้ายแล้วแต่ถนัด
ทำเป็นกลมๆให้มีรูมอง ( หรือจะอวดสาวก็ทำมือเท่ห์ นิ้วโป้งและชี้ของขวาซ้าย มาไขว้กันเป็นจอทีวี ) โดยใช้ตามองผ่านรูของมืออีกครั้งว่า มุมที่สวยถ้ามองผ่านจอทีวี
จะสวยจริงไหม และถ้าจะถ่ายมุมที่มีถังขยะ สามารถยกออกได้หรือไม่ หรือสามารถคอปหลบหลีกได้หรือไม่ มองไว้หลายมุม ให้ลูกค้าเผื่อเลือก หลายๆช็อตหน่อย
3.
ทีนี้มาถึงการตั้งกล้องแล้วจะถ่ายอะไรเริ่มต้นถ้าถ่ายแบบกว้างทั่วๆไป ให้พยายามเลือกมุมกลางของสถานที่นั้น แล้วมองไปรอบๆ จากซ้ายไปขวาวนรอบ 360 องศา
ดูว่าจุดที่เรายืนอยู่นั้น มีอะไรทับซ้อนหรือบังกันตรงทิศไหนบ้าง ( ทิศทั้ง 8 ) ลองขยับซ้ายขวาหน้าหลัง ไปเรื่อยๆหามุมดูว่าแต่ละจุดที่เรายืนมีข้อดีเสียของทิศตรงไหน
( เช่น ยืนจุดนี้ ดี 4 ทิศ ไม่ดี 4 ทิศ แต่พอเลื่อนไปขวา 2 ก้าวเออดี 6 ทิศ 2 ทิศเสีย )
หามุมที่ดีมากที่สุดคือจุดเสียน้อยสุดเป็นจุดหลักที่เหลือก็สำรองไว้เผื่อลูกค้าไม่ชอบ (การดูก็เช่นกันให้มองผ่านรูมือที่เรากำไว้ ) เมื่อเราทำไปเรื่อยๆเต็มสถานที่ จะทำให้เรารู้ว่ามุมนี้กว้างสวย ใกล้ไม่สวยเพราะดูรก มุมนี้ใกล้สวยแต่กว้างแล้วดูโทรมฯลฯ..
หรือถ้าตั้งจุดนี้จะถ่ายได้ 6 ทิศ เสีย 2 เวลาถ่ายจริงตามบทหรือสารคดี ก็ถ่ายเฉพาะทิศที่ดี 6 ทิศ ส่วนทิศเสียไม่ต้องถ่าย ให้ไปเลือกมุมใหม่ที่เสีย 2 ทิศ แต่เป็นดีในจุดอื่น
เช่น เดินไปอีก 5 ก้าวขวา 2 ทิศที่เสียจะมาเป็น 4 ทิศที่ดีตรงจุดนี้ ก็ตั้งกล้องถ่ายใหม่หรือถ่ายเพิ่มอีกมุมได้..
4. สมมติเราได้มุมสวยมา5 มุม( แบคกราวนด์) ไม่บังไม่รกสวยหมดทีนี้จะรู้ได้ยังไงว่าจะเลือกมุมไหน ตัวที่จะกำหนดมุมดีที่สุดคือ โฟรกราวนด์คับ ( โดยส่วนตัว) องค์ประกอบด้านหน้าของภาพจะเป็นตัวกำหนดเลือกขั้นสุดท้าย เช่นด้านหน้ามีพุ่มดอกไม้อยู่ซ้าย หรือต้นไม้ฟอร์มสวยด้านขวา ฯลฯ ( มุมสวยจะเริ่มน้อยลงแล้ว )
5. เมีอทำตามข้อ 4 แล้ว มี 3 มุมสวยเหมือนกันเลือกไม่ถูกอีก สิ่งที่จะกำหนดขั้นสุดท้ายคือ
ถ่ายเฉียงอย่าถ่ายตรงหามุมเฉียงในแต่ละมุมที่คุณคัดดีที่สุดมาแล้วข้อดีของเฉียงคือจะทำให้ภาพมีมิติมีความลึกภาพที่สมบูรณ์และดีที่สุดต้องประกอบไปด้วย -..แบคกราวนด์ / ..ตัวละครที่ต้องการให้อยู่ /และ..โฟร์กราวนด์ด้านหน้า
แต่มุมที่จะตั้งกล้องถ่ายต้องเฉียงด้วยนะ (ในแต่ละส่วนอาจมีองค์ประกอบซ้อนกันหลายชั้นยิ่งดีคับ )ยกตัวอย่าง ถ่ายสารคดีข้าว มีแบคกราวนด์ท้องฟ้าไร่นาไกล
ถัดมามีบ้านชาวนาเฉียง ใกล้เข้ามาพิธีกรยืนหรือตัวละครที่เซ็ตไว้ ด้านหน้าใกล้กล้องมี( โฟกราวนด์ ) หน้าสุดเป็นต้นข้าวออกดอกปลิวไสว นี่แหละเป็นมุมภาพที่สวยสุด
การถ่ายเฉียงสามารถใช้ได้กับทุกกรณี เช่น สถานที่ และตัวพิธีกร หรือคนที่เราต้องการสัมภาษณ์ ให้ยืนเฉียงเป็นแนว 45 องศา ซ้ายหรือขวาก็ได้จากมุมที่เราตั้งกล้อง
แล้วหันเฉพาะหน้ามาทางกล้อง ( แต่ขาที่ยืนหัน 45 องศาจากกล้องไม่เคลื่อนที่ ) จะเป็นภาพที่สวยสุด เพราะตัวพิธีกรจะมีความลึก เห็นสัดส่วน ไม่แบนเป็นหน้ากระดาน..
6.
จุดที่ยืนถ่ายถ้าเป็นเรื่องละครต้องหาเส้น180 องศาให้ได้ ว่าคุณจะเลือกอยู่ส่วนไหน หน้าหรือหลัง ขวาหรือซ้าย เส้น 180 สามารถใช้ได้ทุกสถานการณ์ ในการคุย 2 คน
4 คน , สถานที่นั้นๆ เช่น ในบ้าน มีห้องโถงอยู่กลาง ขวามือเป็นห้องนำ้ ซ้ายมือเป็นครัว หน้าครัวมีบันไดขึ้นทางซ้าย ตรงบันได้ขึ้นเป็นห้องพ่อแม่ ห้องขวาพี่สาวคนโต
ห้องซ้ายน้องชายคนเล็ก ฉะนั้นทิศที่เดินขึ้นต้องสัมพันธ์กันเป็นจริง เวลาที่ตัวละครบอกจะเข้าครัวต้องเดินซ้ายเข้าครัวหรือซ้ายออกกล้อง ไม่ใช่ขวากล้อง( เข้าห้องนำ้ )
...เพิ่มเติม เส้น 180 องศาคือเส้นแบ่งของทิศทางตัวละคร เช่น ชายซ้าย หญิงขวา ยืนคุยกันเป็นเส้น 180 เมื่อไหร่ที่เราเดินเลยข้ามฝั่งไปด้านหลัง ชายจะกลับเป็นขวา
หญิงจะกลับเป็นซ้าย เมื่อเราถ่ายข้ามไปมาก็จะสลับกันมั่วไปหมด ( หาอ่านเพิ่มเติมเองนะคับ ของพี่ในเว็บนี้แหละ )
ฉนั้น เส้น 180 ก็จะมีส่วนกำหนดมุมกล้องเหมือนกันว่า คุณจะเลือกส่วนไหน เดินดูว่า ส่วนไหนดีสุดมากกว่าส่วนเสีย ก็ให้ใช้ทิศนั้น หลักง่ายๆสำหรับขั้นตอนนี้...
7.
ได้มุมแล้วทีนี้ก็มาถึงการตั้งความสูงตำ่ของตัวกล้อง ขึ้นอยู่กับความสูงของตัวคน โดยวัดระดับจากเลนส์กล้องกับตาของคนที่เราถ่าย เช่น ยืนพูด นั่งพูด
- ถ้าผู้บริหารนั่งสัมภาษณ์ ให้ถ่ายเฉียงโต๊ะ มีความลึก ผู้บริหารนั่งโต๊ะ หันตัวออกจากกล้อง 45 องศา แต่ส่วนบนหันเข้าหากล้อง ตั้งกล้องเตี้ยกว่าปกติ (ระดับตา)
เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือดูเกรงขาม เหมือนท่านพูดกับเราผู้น้อยตำ่ต้อย
- ถ้าสัมภาษณ์คนอ้วน ให้ตั้งกล้องสูงกว่าปกติ ( สูงกว่าระดับตา ) เพราะคนอ้วนไม่มีคอ ตั้งสูงให้ดูเหมือนมีมากขึ้น ( เพราะหน้าเขาเงยเลยเห็นคอ )
- ถ่ายพิธีกร ยืนพูด ให้เฉียงเหมือนดูผอมลงและมีความลึก บาทีต้องไปทำเอฟเฟคบีบให้ผอมลงอีกก็ควรอย่าให้มีคนอื่นอยู่ด้านหลัง
- คนตัวสูง คนอ้วน ให้อยู่ไกลกล้อง คนตัวเล็กอยู่ใกล้กล้อง ฯลฯ
8.
องค์ประกอบของภาพด้านหน้า-หลัง( โดยส่วนตัว) ถ้าเป็นผู้ให้สัมภาษณ์ที่เป็นชาย จะใช้ต้นไม้ใบสีเขียว หรือโล่ห์ รางวัล ของตกแต่งต่างๆที่ดูเข้มแข็ง น่าเชื่อถือ
แต่ถ้าเป็นหญิง ก็จะใช้แจกกันมีดอกไม้สีสวย เพื่อเน้นบรรยากาศความหวาน สวย ลุ่มลึกน่าค้นหา ลูกค้าบางคนเอาแจกันสีสวยดอกไม้เต็มมาวางไว้หลัง
ผู้บริหารชาย ..ผมว่าดูตลกนะ แต่ถ้าลูกค้าชอบ..ไม่ว่ากันขึ้นอยู่กับสถานการณ์คับ ...( การเอาตัวรอด )
9. แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามในการวางของประกอบฉากที่ต้องคำนึงมากที่สุด
คือต้องไม่กวนผู้ให้สัมภาษณ์ หรือแย่งจุดเด่นไปจะอยู่หน้าหรือหลังก็ได้ทั้งนั้นแล้วแต่ชอบ ถามว่าจะรู้ได้ไงว่า เด่นเกินไปหรือดูรกเกินไป ควรมีไว้หรือเอาออกดี ( เห็นทะเลาะกันมากกรณีนี้ อีกคนบอกสวยดี อีกคนบอกกวนสายตา ) วิธีทดสอบง่ายมากๆๆ
วิธีที่1....นั่นก็คือเอามือบังจอแอลซีดีของกล้องทั้งหมด หรือเอามือปิดจอทีวีที่่เช็คไว้สักพัก แล้วเปิดออกสิ่งแรกที่เรามองเห็นก่อนอันดับแรกนั้นคืออะไร
ถ้าเห็นของประกอบฉากก่อนก็แสดงว่า ของประกอบฉากได้แย่งส่วนเด่นของ( ภาพ ) หรือของผู้สัมภาษณ์ไปแล้ว ก็ควรให้เอาออก หรือให้เปลี่ยนเล็กลง
วิธีที่ 2 .. ใช้มือเหมือนกันแต่ไม่ต้องปิดทีวีจนหมด ปิดไว้เฉพาะส่วนที่เราไม่ต้องการ เ
ช่นคนสัมภาษณ์นั่งอยู่ท่ามกลางแจกันดูแล้วบอกไม่ถูกว่าสวยไม่สวย ก็ให้ใช้มือบังส่วนที่ไม่ต้องการไว้ ( ถ้าเล็กมากอาจใช้เพียงนิ้วบังก็ได้ ) คือปิดแล้วเปิด ( เอานิ้วเข้าและออก ) เช่น เอานิ้วมือบังเฉพาะแจกันที่เรา
ไม่ชอบเข้าๆออกๆ อยู่อย่างนั่นแหละ 2-3 หน จะเห็นความแตกต่างทันที ...(ลองทำดูนะ )
.
.. วิธีทดสอบว่าสิ่งใดรก สิ่งใดควรมี หรือไม่ควรมี โดยการใช้มือบังทั้งทีวี หรือจะบังเฉพาะส่วนที่เราต้องการเช็ค สามารถทำได้ทั้งองค์ประกอบฉากที่เป็นการสัมภาษณ์
หรือองค์ประกอบของภาพที่เป็นละคร หรือสารคดีประกอบภาพ ข้อดีคือเป็นการตรวจเช็คแบบง่ายและรวดเร็ว ประหยัดเวลา ไม่ต้องไปเดินยกเข้ายกออกในสถานที่จริง
และอีกอย่างสามารถตอบคำถามให้ลูกค้าได้ในทันที เวลาที่ลูกค้าเริ่มสงสัย ก็ทดสอบให้ดูเลยว่า นี่มีแจกันภาพนี้นะ แต่พอเอามือบังก็ดูเหมือนไม่มีเพราะมือเรา
กับตัวคนผิวสีเดียวกัน พอบังแล้วคนเด่นขึ้น พอเอามือออกแจกันเด่นกว่าตัวคน ลูกค้าเห็นก็พยักหน้าหงึกๆ ตกลงเราก็ค่อยเดินไปเอาออก พูดง่ายๆก็คือเถียงกันในภาพก่อน10. เมื่อได้มุม ตามที่ต้องการแล้ว รู้ถึงข้อจำกัดแต่ละทิศแล้วว่า มีข้อดีข้อเสีย ( จุดเด่นจุดด้อยอย่างไร จำไว้ให้ดีๆเพื่อที่ลูกค้าถามจะได้ตอบถูก) เช่น ไปถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวริมทะเล มุมนี้ทะเลสวยแต่ตึกด้านหน้ามีหม้อแปลงไฟใหญ่ , มุมนี้ตึกสวยแต่ทะเลถูกหินบัง , มุมนี้เห็นทั้งตึกและทะเลแต่เดินได้นิดเดียว, มุมนี้เดินได้ยาวแต่สวยสู้มุมนั้นไม่ได้เมื่อจำได้หมดแล้ว ทีนี้ก็ลองให้ผู้ช่วยควรจะมีความสูงเท่ากันกับตัวพิธีกร ลองมายืนดูตามจุดที่เรามองไว้จริง ว่าถ้าคนเข้าไปยืนแล้วจะโอเคตามที่เรามองจริงหรือไม่โดยดูผ่านมือ ( เลื่อนมือออกจากตัวภาพเหมือนซูมเข้า เลื่อนมือเข้าหาตัวเหมือนภาพซูมออก ) หรือจะพกกล้องไปเช็คดูจริงก็ได้ ว่าซูมเข้าออกมุมไหนได้บ้าง 11. มาถึงขั้นตอนถ่ายจริง อาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยแต่ไม่มาก เนื่องจากชุดของพิธีกรเองคือใส่เสื้อลายดอก ไปยืนท่ามกลางดอกไม้อาจจม หรือทิศทางของแดดย้อนก็ต้องปรับแก้กันไปว่า จะให้นำ้หนักตรงส่วนไหนสำคัญ ถ้ามุมนี้สวยแต่เสื้อพิธีกรลายไป ก็เปลี่ยนเสื้อ แต่เสื้อสวยไม่อยากเปลี่ยนก็เปลี่ยนสถานที่ บางครั้งสถานที่ถ่ายอาจไม่ดีที่สุดก็ด้วยข้อจำกัดของสถานที่นั้นจริงๆ ( เอาท์ดอร์ ) ก็ไม่เป็นไร เพราะการดูสถานที่หลายมุมทำให้เรามีการเตรียมความพร้อมไว้ตอบลูกค้าได้ทันท่วงที เผื่อกำลังถ่าย ลูกค้าเกิดอยากถ่ายเห็นตึกและเห็นทะเลด้วย อ๋อ ได้คับ มุมนี้นะคับ แต่ตึกอาจไม่สวยสู้ช็อตเมื่อกี๊ เราก็พาไปเดินดูได้เดี๋ยวนั้นเลย ไม่ใช่มายืนเอ๋อ เดินหาใหม่ทำให้ทุกคนในทีมต้องมายืนตากแดดรอคุณหามุมใหม่..( ..รับรองช่างภาพคนนี้คงเจอกันครั้งนี้ครั้งเดียวและสุดท้ายแล้วคับ.. )...แทรกนิดนะคับ การตั้งมุมกล้องถ่าย แยกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ - ส่วนนอกสถานที่ ( เอาท์ดอร์ ) ก็ว่ากันไปตามที่มี อาจดีไม่ที่สุดก็ไม่แย่ที่สุด เลือกอาจนานหน่อย คือ จุดเสียน้อยสุด( จุดดีมากที่สุด หรือมากกว่าเสีย )- ส่วนในสถานที่ ( อินดอร์ ) สามารถจัดเพิ่มหรือย้ายได้ ตามที่เราต้องการ การตั้งมุมกล้องพยายามหาด้านหลังคนที่เราจะถ่าย มีความลึกไม่ใช่มีแต่กำแพงเช่น อาจมีชั้นวางของด้านหลังเตี้ย เพื่อวางของประกอบทำให้คนที่เราจะถ่ายเด่นขึ้น..
.( .ที่เหลือนอกจากนี้ ต้องรบกวนปรามาจารย์ทั้งหลายมาช่วยชี้แนะเพิ่มเติมแล้วละคับ.. ).........อาชีพนี้ดีอย่างนึง คือโกหกกันไม่ได้ ไม่ว่าคุณจะทำงานมากี่ปี ประสบการณ์จะถ่ายทอดผ่านตัวคุณสู่ผลงานที่ปรากฏออกมา ..( ยิ่งนานยิ่งดีขึ้น ).
...เคยไม๊คับ ที่ว่างแล้วมาดูผลงานเก่าๆ โอ๊ย อายจนไม่อยากให้ใครรู้ ( ทั้งๆที่ตอนนั้นใครอย่ามาวิจารณ์งานเชียวนะ ตายสถานเดียว )
เป็นเพราะยิ่งเรามีประสบการณ์มากขึ้นเท่าใด เราก็จะเก่งมากขึ้นเท่านั้น ฉนั้นเมื่อเวลาคุณไปสมัครงาน เอางานนู้นงานนี้ไปนำเสนอ
(แอบเอาผลงานคนอื่นปนไปด้วย ไม่มีใครรรู้หรอกเพราะเป็นผู้บริหารจะมารู้จักคนในโปรดัคชั่นหมดทุกคนได้ไง ) บอกเลยว่า เขาดูรู้นะคับคุณโกหกเขาไม่ได้หรอก..
ถามว่ารู้ได้ไง วิธีการง่ายมากคับ ...ถามว่า " คุณมีประสบการณ์ในงานที่ทำมากี่ปี " ....คุณบอก " เป็นช่างภาพมา10 ปี " ..ถามต่อว่างั้นให้คุณเลือกมุมถ่ายเพียงมุมเดียว
ในออฟฟิศนี้ ที่คุณคิดว่าเป็นมุมที่ดีที่สุด ( เขาจะดูว่าคุณใช้เวลากี่นาที ) ..แค่นี้ก็ตายแล้วคับ ถ้าหลักคุณไม่แน่น คุณจะงงและสับสน ยิ่งมีคนเก่งนั่งดูคุณเลือกและถาม
เหตุผลด้วยยิ่งเครียดใหญ่เลย หรือ อีกวิธีคือให้งานตัวอย่างทำ แล้วขอดูงานสต๊อกที่คุณไปถ่ายทำมา แค่นี้ก็รู้แล้ว ถ้าคุณถ่ายผิดหลายหน , ปรับโฟกัสไม่ได้ ซูมกระตุก ฯลฯ
นั่นหมายถึงความเจนจัดในงานยังไม่มี การทำงานก็จะช้า ทำให้เนื้องานที่ได้น้อยลง ( เพราะถ่ายหลายหน เสียมากกว่าดี )..
...ไม่ว่าเหตุผลใดก็ตาม เราอยากให้คุณเก่งและมีความสามารถจริงในวงการ อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี ที่สำคัญ..สามารถนำมาประกอบเป็นอาชีพเลี้ยงตัวเองได้
การฝึกและฝึก คือข้อสำคัญที่คุณมิอาจหลีกเลี่ยงได้ในอาชีพนี้.. เมื่อฝึกจนเก่งแล้ว ...จะใช้เวลาในการมองน้อยลง ..เวลาในการคิดน้อยลง การตอบข้อสงสัยลูกค้าก็รวดเร็วมีนำ้หนัก......บทความที่เขียนขึ้น เป็นเพียงตัวหนังสือ ที่นำเสนอหลักพ้ื้นฐาน เพื่อปูแนวทางให้คุณได้นำไปปฏิบัติและฝึกฝนจนชำนาญ
.......บางคนไม่รู้หลักอะไรเลยแต่ทำงานออกมาได้ดี และมีประสิทธิภาพ .......เพราะเขาทำงานด้วยใจ...และด้วยความรับผิดชอบที่เขามีต่องานของเขาเอง
.....เทียบกับคนที่มีหลักปฏิบัติแต่ไม่นำออกมาใช้ ก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด ...คุณก็เช่นกัน..เมื่อถึงเวลาบทความเหล่านี้ก็ไม่มีประโยชน์...
.....เป็นเพราะ..มันได้เข้าไปอยู่ในตัวคุณ.... อยู่ในความคิดของคุณ....( ช่างภาพมืออาชีพ ). ..จนหมดทุกข้อแล้ว...นั่นเอง........
... บางครั้งการเลือกมุมอาจไม่สามารถเลือกได้ครบตามที่แนะนำ อาจจำกัดด้วยเวลา ,งบประมาณ หรือเพราะตัวลูกค้าเองก็ไม่เป็นไร พยายามฝึกต่อไปเรื่อยๆ เพื่อให้สมอง...ได้ฝึกคิด ...ได้ฝึกมอง ...และเมื่อใดที่คุณหาได้ครบในเวลาที่สั้นและรวดเร็ว ตะโกนบอกกับตัวเองดังๆเลยว่า ....นี่เราก็มืออาชีพเหมือนกันนี่หว่า ( ..กระซิบเบาๆ.) ....ตอนนี้ไม่มีใครบอก เราบอกตัวเราเองไปก่อน.. แต่ต่อไป..รับรองมีคน (ตะโกน ) บอกแทนคุณแน่ๆ..... http://file2.uploadfile.biz/i/MHENMEIMIMINDE
อัปเดท 72 บทความทั้งหมดที่เขียนในเว็บไทยดีฟิล์ม เรียบเรียงให้คุณเก็บไว้อ่านยามว่าง [ แก้ไขล่าสุดโดย p0p-it เมื่อ 2012-07-27 10:58 ]