ท่านอาจเคยได้ยินชื่อของ Eadweard Muybridge ผู้ซึ่งทำให้ภาพนิ่งของม้าหลายท่าทาง
กลายเป็นภาพเคลื่อนไหวของม้าวิ่งได้ เป็นข้อพิสูจน์ประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากในเวลานั้น
ว่า ในขณะที่ม้าวิ่งนั้น มีช่วงเวลาที่ขาม้าทั้งสี่ยกลอยอยู่เหนือพื้นดิน
ภาพยนต์ถือกำเนิดขึ้นบนโลกนี้ เมื่อ Auguste และ Louis Lumiere ฉายภาพนิ่งแบบต่อเนื่อง
ทำให้คนเราเห็นภาพเคลื่อนไหวได้
หากความเร็วของการฉายภาพ เท่ากับความเร็วของการบันทึกภาพ ภาพยนต์ที่ได้จะปรากฏออกมา
คล้ายการเคลื่อนที่จริง นักสร้างภาพยนต์ใช้ เทคนิค Undercranking เพื่อบันทึกภาพช้ากว่า
ความเร็วการฉายภาพ ทำให้ภาพเคลื่อนไหวเร็วขึ้น และ เทคนิค Overcranking เพื่อบันทึกภาพ
เร็วกว่าความเร็วการฉายภาพ ทำให้ภาพเคลื่อนไหวช้าลง
Time-lapse สามารถย่อเวลาจาก ชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน หรือแม้กระทั่ง ปี ให้เหลือเพียง
ไม่กี่วินาที
การสร้าง Time-lapse Video สร้างได้จากกล้องดิจิตอลทั่วไป, กล้องดิจิตอลประเภท DSLR, กล้องถ่ายภาพยนต์ และ กล้องวีดีโอ
การถ่ายภาพ time-lapse :
พจนานุกรม Longdo ดู ให้คำจำกัดความเป็นภาษาไทยของคำว่า "Time-lapse" ว่า "ซึ่งถ่าย
ภาพช้าๆ" และ "ซึ่งเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายภาพอย่างช้าๆ"
Time-lapse เป็นเทคนิคการทำภาพยนต์ ที่มีการบันทึกภาพแต่ละเฟรมในความเร็วที่น้อยกว่าการ
เล่นภาพยนต์มาก เมื่อเล่นภาพยนต์ ภาพที่เห็นจึงปรากฎด้วยความเร็วสูงขึ้นมาก คล้ายกับการ
ย่นย่อเวลาให้เร็วขึ้นนั่นเอง
Time-lapse Photography นับเป็นเทคนิคที่ตรงกันข้ามกับ High Speed Photography
(อ่านรายละเอียดได้ที่ การถ่ายวีดีโอความเร็วสูง) ทำให้เราสามารถศึกษารายละเอียดของ
กระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ เกินกว่าที่ตาคนเราจะสังเกตเห็นได้ ได้แก่ การเคลื่อนไหวของพืช (การบาน/หุบของดอกไม้, การเลื้อยพันของไม้เถา,
การงอกของเมล็ด), การเคลื่อนที่ของ
ดาว, การเคลื่อนที่ของเมฆ, การเน่าของผลไม้, การก่อสร้าง, ฝูงชน เป็นต้น
Time-lapse นับเป็นเทคนิคที่นับเป็นที่สุดของเทคนิคที่เรียกว่า undercranking และมักถูก
สับสนกับเทคนิค stop motion
ความเร็วของการบันทึกวีดีโอธรรมดา อยู่ประมาณ 24-30 เฟรม/วินาที (60 เฟรม/วินาที สำหรับ
HD บางประเภท) ดังนั้นความเร็วของ time-lapse photography จึงเป็นได้ตั้งแต่ 30 เฟรม/
วินาที, 1 เฟรม/วินาที, 1 เฟรม/นาที, 1 เฟรม/ชม. 1 เฟรม/วัน, 1 เฟรม/สัปดาห์ จนถึงนาน
เท่าไรก็ได้ที่จำเป็น
คำว่า time-lapse ยังหมายถึงการเปิด shutter ของกล้อง สำหรับการบันทึกแต่ละเฟรม
ของฟิล์ม(หรือวีดีโอ) ด้วย เราอาจใช้ time-lapse ทั้ง 2 ประเภท ร่วมกันได้ เช่น การบันทึกภาพ
ดาว ที่แต่ละเฟรมใช้เวลาการเปิดหน้ากล้อง 30 วินาที และมีความถี่ในการบันทึกภาพ 1 เฟรม/
นาที เป็นต้น
[ แก้ไขล่าสุดโดย finalfoto เมื่อ 2010-09-10 19:50 ]