ฐานบน : ปรับระยะได้ 2 แกน X, Y (ซ้าย-ขวา, หน้า-หลัง) เพื่อปรับชดเชยให้จุดศูนย์ถ่วงของกล้องมาตรงกับแกน Z (แกนกลาง) ของ SteadiCAM พอดี ... ตรงนี้ต้องมีเพราะว่าเวลาเราประกบแผ่นเพลทเจาะรูเข้ากับกล้อง เวลาวางแล้วจุดศูนย์ถ่วงมันจะยังไม่ตรงพอดี หรือ เวลาติดอุปกรณ์เสริมจุดศูนย์ถ่วงมันก็เปลี่ยนไปอีก ก็มาปรับชดเชยเอาตรงนี้...
มือจับ : มันจะต้องหมุนได้ 3 จุด ครบทุกแกน X, Y, Z ... คือ หมุนรอบแกนกลาง, หมุนรอบลูกปืน, หมุนรอบมือจับ ...
ฐานล่าง : นอกจากมีไว้ถ่วงน้ำหนัก ต้องปรับระยะห่างจากแกนกลางได้ด้วยทั้งสองด้าน ช่วยแก้เรื่อง Dynamic ด้วย ...
การถ่วงสมดุลย์น้ำหนักบนล่าง, ตำแหน่งมือจับ, Drop-Test ... ตรงนี้ถ้าลูกปืนตรงมือจับออกแบบให้ปรับระยะได้ ก็จบ คือถ่วงน้ำหนักฐานล่าง แล้วปรับระยะลูกปืนตรงมือจับเอา ... แต่ถ้ายึดไว้ตายตัว (หรือไม่สะดวกที่จะปรับ) ก็สามารถใช้วิธียืดหดระยะแกน เหนือมือจับ และ ใต้มือจับ ทดแทนได้ ... ส่วนใหญ่จะเห็นยึดลูกปืนตายตัว แล้วยืดหดแกนใต้มือจับ ... แต่จะทำอย่างไรก็ตาม ผลสุดท้ายแล้วเพื่อให้ได้ Drop-Test อยู่ราว ๆ 2-3 วินาที ซึ่งถือเป็นค่ากลาง ๆ ที่จะทำให้ใช้งานได้สะดวก ...
วัสดุ ใช้เหล็ก หรือ สแตนเลส ไม่ดีแน่ครับ นอกจากมันจะหนักมากแล้ว ยังตัดเจาะกลึงยากอีกด้วย ให้ใ้ช้อลูมิเนียม หรือ อลูมิเนียมผสม (อัลลอย) แทน ... การผลิตพยายามรักษาเรื่อง ดิ่ง, ฉาก, ระนาบ ให้ดี ผิดพลาดสักมิลครึ่งมิลนี่น่าจะยอมรับได้สำหรับอุปกรณ์แบบนี้ ไม่ต้องว่ากันถึงระดับไมคอน ...
ไม่ใช่หลักเกณฑ์ตายตัวนะ สามารถคิดพลิกแพลงได้ แต่ถ้าเป็นการเริ่มต้น เอาตามนี้ไปก่อน เพราะเป็นพื้นฐานที่สำคัญของ SteadiCAM แบบที่น้องกำลังจะทำอยู่ ...
[ แก้ไขล่าสุดโดย vfspostwork เมื่อ 2011-03-09 16:54 ]