ไม่ได้มาแนะนำเลนส์นะคับ แต่อยากโพสไว้เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับสมาชิกบางท่านนะคับ
ถ้าได้เลนส์แล้ว อย่าสนุกกับ f กว้างๆ เบลอเยอะๆ กันเกินไปนะ เอาแค่ว่า เบลอพอประมาณ จะดีกว่า นะ เพราะ
1. เบลอเยอะ คุมโฟกัสยาก คนดูเห็นงานเราหลุดโฟกัสบ่อย แล้วจะทำให้รำคาญสายตาแลดูอึดอัด จากภาพสวย กลายเป็นไม่สวยได้ เค้าอาจจะรู้สึกว่าเราถ่ายห่วย แทนที่จะถ่ายสวย เราก็แค่แก้ตัวได้ว่าเรา "อาร์ท" แค่นั้น
2. จะได้ภาพที่คมชัดกว่า คุณภาพดีกว่า เพราะโดยส่วนมาก ถ้าบีบรูรับแสงเลนส์ลงมาอย่างน้อย 1 stop เป็นต้นไป เช่น ถ้าเลนส์เปิดรูรับแสงกว่้างสุดได้ที่ 1.4 ให้ใช้ที่ 2.0 ถ้า เลนส์กว้างสุด 2.8 ให้ใช้ที่ 4.0 ทำนองนี้ สามารถลดปัญหา ภาพฟุ้ง ภาพมี CA (ขอบม่วง ขอบเขียว ใน hi-lightจัดๆ) ขอบภาพเบลอ แสงตามขอบภาพ ถ้าใช้เลนส์ Sigma จะเห็นตัวอย่างชัดเจนมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก
การเล่น DOF (ชัดลึก ชัดตื้น) เป็นวิธีการหนึ่งของการเล่าเรื่อง เท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมดของการถ่ายภาพให้สวยสมบูรณ์แบบ แต่โดยหลักๆแล้ว ภาพชัดตื้น มีประโยชน์ตรงที่
1. สามารถกำหนด คนดูให้สนใจ object ที่อยู่ในเฟรม อย่างที่ผู้กำกับ/ช่างภาพต้องการให้สนใจ อะไรที่ไม่ต้องการให้มองก็ปล่อยเบลอๆ ไป นี่คือประโยชน์หลักเลยครับ ไม่เชื่อ เปิด dic ดู คำว่า focus ในภาษาอังกฤษแล้ว หากแปลเป็นไทยตรงๆ ก็แปลว่า เพ่งเล็ง, เน้น, จุดศูนย์รวม, จุดสำคัญ, จุดหลัก
2. สร้างมิติให้ภาพ ทำให้ภาพดูมีความตื้น-ลึก มีความเป็น 3 มิติ ให้กับภาพถ่ายซึ่งเป็น 2 มิติ มีประโยชน์ทั้งการช่วยเล่าเรื่อง และ การสร้างความสวยงาม แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดองค์ประกอบภาพด้วยนะคับ
อยากเล่าว่า ทุกวันนี้ผมถ่ายแบบรูรับแสงปานกลางเป็นหลัก (2.8-4) บางครั้งลงไปถึง f/8 f9 เลยด้วยซ้ำ
เพื่อให้ได้ภาพที่เล่าเรื่องได้ เห็นองค์ประกอบของ set รอบข้าง subject แล้วเล่นกับทิศทางแสง หรือ แม้แต่การจัดองค์ประกอบภาพ เพื่อสร้างมิติของภาพหรือการกำหนดจุดสนใจให้ผู้ชม มาชดเชยการใช้ DOF บางที.... ไม่ใช้ซิ ต้องพูดว่า หลายๆที ภาพที่ได้อาจสวยกว่าภาพที่ "หน้าชัดหลังเบลอ" อีกนะ
แต่ถ้าอยากได้ หลังเบลอๆ โดยที่ไม่เบลอจนควบคุมไม่ได้ ก็จะแนะนำว่าให้ใช้เลนส์ที่ทางยาวโฟกัส (mm อ่ะ) ที่ลึกกว่าที่ควรจะเป็น แล้วถอยกล้องออกห่างจากตัว subject อีกหน่อย คือโดยธรรมชาติแล้ว เลนส์ที่มีช่วงทางยาวโฟกัสยิ่งสูง (TELE เยอะๆ) ก็สามารถเล่น DOF ได้มากขึ้นที่ค่ารูรับแสงเท่ากัน เพราะฉะนั้นเราจึงสามารถชดเชนกันได้อย่างที่คุณ starplay แนะนำไว้ในเม้นต์ข้างบน ยกตัวอย่งการใช้งานเช่น เดิม ใชเลนส์ 28mm ถ่ายได้หลังเบลอๆ ที่ f1.8 แต่ต้องตั้งกล้องใกล้ subject ข้อเสียที่ตามมาคือ ถ้า subject ก้มเงยนิคหน่อยก็หลุดโฟกัสแล้ว หรือ ข้อเสียรองก็คือตัวแบบอาจ distort (เบี้ยว) ได้ ก็ลองถอยไปใช้เลนส์ 50 mm หาขนาดภาพที่ใกล้เคียงกับแบบแรก ปรับ ที่ f/3.5 สามารถคุมโฟกัสได้ ภาพคมชัดกว่า และ ไม่บิดเบี้ยว แต่ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นอยู่ที่ความต้องการของผู้กำกับด้วยว่า บางที่เค้าอาจต้องการภาพที่มี perspective หรือลักษณะจำเพราะบางอย่างของเลนส์ เพื่อสื่ออะไรบางอย่างออกไป อันนั้นเป็นอีกเรื่องนึงครับ
คือผมไม่ได้บอกว่าภาพชัดตื้นมากๆ f กว้างๆไม่สวยนะ มันสวย ทุกคนชอบ ไม่เถียง ผมก็ชอบ แต่ว่า ทุกอย่างมันมีวาระของมันนะ เพราะฉะนั้น
มันอยู่ที่คนใช้ ว่าจะใช้เทคนิคต่างๆ เหล่านี้ให้ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ และคนที่ใช้ได้ได้เหมาะสมก็คือ คนที่เก่ง หรือ คนที่ชำนาญ ตัวจริงครับ[ แก้ไขล่าสุดโดย victormc49 เมื่อ 2012-03-14 04:32 ]