คิคิ อยากมาลงชื่อเอาไว้เฉยๆ พอดีเพิ่งได้อ่าน อ่านแล้วก็เพลิ๊นเพลิน แล้วก็สะดุดคำนึง ที่วันก่อนเพิ่งถูกรุ่นพี่สั่งสอนมา เลยไป search หาความหมายที่แท้จริงในอากู๋ แล้วแวะเอามาแปะให้อ่านเล่นๆกันครับ
โครงสร้างของบุคลิกภาพ (Structure of personality)
ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ เพื่อการอธิบายทำความเข้าใจงานเข้า ฟรอยด์ ได้บัญญัติศัพท์เฉพาะขึ้นมาเพื่ออธิบายโครงสร้างบุคลิกภาพว่า ประกอบด้วยองค์ประกอบที่เป็นระบบ 3 อย่าง คือ อิด (id) อีโก (ego) และซุปเปอร์อีโก (superego) ระบบทั้ง 3 อย่างนี้จะรวมกันเข้าเป็นโครงสร้างของบุคลิกภาพขึ้น แต่จะต้องเข้าใจว่าโอยแท้จริงแล้ว ระบบทั้ง 3 อย่างนี้ไม่อาจแยกเป็นส่วน ๆ ได้เป็นเพียงองค์ประกอบโครงสร้างของจิตตามสมมติฐานเท่านั้น ไม่ใช่ตามสภาพทางสรีระของมนุษย์ ระบบของจิตทั้ง 3 อย่าง ดังกล่าวอธิบายได้ ดังนี้
1. อิด (Id หรือ libido) หมายถึง แรงขับทางร่ายกายที่กำกับบุคคลให้กระทำการต่าง ๆ ซึ่งติดตัวมาตั้งแต่เกิด และเป็นตัวกระตุ้นที่ค่อนข้างรุนแรง อันเกิดจากภาวะของจิตไร้สำนึกเปรียบได้กับกิเลส ตัณหา หรือโลภ ที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง อิดจึงเป็นแรงกระตุ้นดิ้นรนขวนขวายที่จะประพฤติปฏิบัติ ไปตามหลักที่เรียกว่า “หลักแห่งความพอใจ” (pleasure principle) นั่นคือเพื่อหลีกเลี่ยงความเครียด (avoid tension) และแสวงหาความพึงใจในทันที เพื่อว่าความรู้สึกและอารมณ์ที่จะได้รับเป็นไปในทางบวก
แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะของจิตที่คิดไปนั้น อยู่ระดับจิตไร้สำนึกหรือไม่รู้สึกตัว ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริงแล้ว ไม่อาจจะกระทำได้อย่างเต็มที่ จะเห็นได้ว่าความคิดของจิตที่เกิดขึ้นในบัดดลฉับพลันหลาย ๆ อย่าง ไม่อาจจะรับหรือปฏิบัติได้ในสังคมที่เจริญ ที่มีระเบียบแบบแผน ตัวอย่างเช่น เมื่อบุคคลเกิดความรู้สึกร้อนและกระหายน้ำ จิตของบุคคลนั้นก็จะกระตุ้นให้บุคคลนั้นไปหยิบหรือฉกฉวยอะไรบางอย่างที่เย็น ๆ มาดื่ม โดยจะไม่คำนึงถึงว่าจำเป็นจะต้องซื้อ หรือใครเป็นเจ้าของหรือไม่ (Loudon and Della Bitta.1993:301)
2. อีโก (Ego) หมายถึง จิตที่รู้สำนึก ที่ก่อตัวและพัฒนาขึ้นมาเมื่อเด็กเจริญเติบโต เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ และความรู้สึกนึกคิด จากการเรียนรู้และประสบการณ์ที่สั่งสม จึงทำให้อีโกได้รับการพัฒนาจนทำให้บุคคลมีความสามารถ ในการคิดที่อยู่ในวิสัยแห่งความเป็นจริง (realistic thinking) รวมทั้งมีความสามารถเผชิญกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควรกระทำ จึงทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นนักบริหารหรือเป็นผู้จัดการของอิด (a manager for the id) โดยอีโกจะเป็นผู้เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสม เพื่อสนองความต้องการตามสัญชาตญาณให้เกิดความพอใจ โดยยึดถือความเป็นจริงมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา เนื่องจากจิตได้กำหนดความต้องการขึ้นมากจนเกินไป อีโกจึงจัดลำดับความสำคัญให้อยู่ในวิสัยที่สามารถจัดการได้ โดยยึดถือความสำคัญของความต้องการแต่ละอย่างเป็นหลัก รวมทั้งคอยขัดขวางยับยั้งควบคุมให้อิดแสดงออกที่เหมาะสม
ดังนั้นจังเห็นได้ว่า การปฏิบัติการของอีโก จึงเป็นการปฏิบัติตามหลักที่เรียกว่า “หลักแห่งความเป็นจริง” (Reality principle) นั่นคือ ความสามารถที่จะเลื่อนเวลาปลดปล่อยความเครียดออกไปได้ จนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม จากตัวอย่างข้างต้น แม้ว่าบุคคลจะเกิดความหิว ซึ่งอิดอาจจะกระตุ้นให้แย่งชิงอาหารจากเพื่อน แต่อีโกก็จะห้ามปรามเอาไว้โดยให้เหตุผลว่า เป็นสิ่งไม่ควรปฏิบัติเพราะน่าเกลียดแสดงให้เห็นถึงความตะหละและป่าเถือน จึงควรหักห้ามใจเอาไว้รอเวลาอีกหน่อยอาจจะได้รับอาหารมากกว่านี้ เป็นต้น
3. ซุปเปอร์อีโก (Superego) หมายถึง องค์ประกอบส่วนที่สามของบุคลิกภาพเป็นส่วนของจิตที่เปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของศีลธรรมจรรยา และระเบียบประเพณีของสังคม หรือเป็นมโนธรรมที่อยู่ในจิตของแต่ละบุคคล อันเกิดจากการเลี้ยงดูอบรมของครอบครัวและสังคม สามารถแยกออกได้ว่าอะไรคือ ความถูกต้องและเป็นสิ่งดีงาม อะไรควรหรือไม่กระทำ จึงทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมทั้งอิดและอีโก เพื่อให้อีโกประพฤติปฏิบัติให้อยู่ในทำนองคลองธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม ไม่ปฏิบัติตามที่จิตเรียกร้องทุกอย่าง
ความสัมพันธ์กันระหว่างพลังจิตทั้ง 3 ส่วนนี้ นักจิตวิทยาบางท่านได้เปรียบเทียบไว้ว่า อิดเปรียบเสมือนส่วนประกอบพื้นฐานของบุคลิกภาพทางด้านชีววิทยา ส่วน อีโก เปรียบเสมือนส่วนประกอบของบุคลิกภาพทางด้านจิตใจ และ ซุปเปอร์อีโก เปรียบได้กับส่วนประกอบของบุคลิกภาพทางด้านสังคม บุคลิกภาพของคนจะมีลักษณะเช่นใดนั้น จึงขึ้นอยู่กับพลังใดมีอำนาจถ้าอิดมีอำนาจสูง บุคคลนั้นก็จะมีบุคลิกภาพแบบเด็ก เอาแต่ใจตนเอง ถ้าอีโกมีอำนาจสูง บุคคลนั้นก็จะมีบุคลิกภาพแบบผู้ใหญ่มีเหตุผล ถ้าซุปเปอร์อีโกมีอำนาจสูง คนนั้นก็จะเป็นคนมีอุดมคติเป็นนักทฤษฎี ความสัมพันธ์ของพลังจิตทั้ง 3 ส่วน จึงสรุปได้ว่า อีโก เป็นหน่วยปฏิบัติการ เป็นตัวกลางในการแสดงออกซึ่งบุคลิกภาพ และจะปฏิบัติตามแรงผลักดันของอิด โดยมีซุปเปอร์อีโกเป็นผู้ควบคุม
อ้างอิง :
http://mkpayap.payap.ac.th/course/mk210/f4.1.htm