ปกติการถ่ายทำแบบแฮนด์เฮลด์ มักจะใช้กับการสร้างอารมณ์ความรู้สึกที่สมจริง ไม่ใช่เพราะว่ากล้องสั่นเหมือนคนเดินนะครับ แต่เป็นการเลียนแบบจากลีลาของข่าว หรือการใช้กล้องแบบแฮนดิแคม เพราะว่าคนดูคุ้นเคยกับภาพแบบนี้กับเรื่องที่เป็น Reality มันเลยทำให้เกิดความสอดคล้องกันในด้านความรู้สึกครับ
จริงๆมันก็ไม่ได้เป็นกฏอะไร มันอยู่ที่ความรู้สึกช่วงนั้นมากกว่า จนตอนหลังก็มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย แม่กระทั่งหนังจัดเฟรมเองก็เอาแบบนี้มาใช้ ช็อตปกติก็ต้องมีแอบโยคแอบคลึงกันบ้าง เขาว่่ากันว่านะครับ การถ่ายทอดในลักษณะนี้ให้ผลในการสะท้อนความไม่มั่นคงของตัวละคร มักจะเห็นได้เยอะในหนังดราม่าอินดี้ต่างๆ
แต่ข้อแม้สำคัญของงานประเภทนี้คือ ช่างภาพ (Camera Op) ต้องเก่งครับ เพราะว่าการคอมโพสต์แฮนด์เฮลด์นั่นไม่ง่ายเลยครับที่จะทำให้ได้จังหวะและสวยงาม
. และผู้กำกับภาพต้องแม่นพอตัว
แถมให้ครับ การใช้ภาพแนวนี้ถ้าตามทฤษฏีเป็นเรื่องของฟอร์มภาพครับ เป็นหนึ่งในกฏของ mise en scene (การจัดองค์ประกอบภาพเพื่อสื่ือความหมาย). ในนั้นว่ากันว่ามีการจัดการฟอร์มของภาพอยู่สองแบบนั่นคือ ภาพฟอร์มเปิด และภาพฟอร์มปิดครับ
ภาพฟอร์มปิด คือการจัดวางองค์ประกอบอย่างเนี๊ยบ แน่น คอมโพสต์เป๊ะ ตัวละครจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเฟรมภาพ มักใช้ในหนังที่มีการสื่อความทางรูปแบบทางศิลปะเยอะๆ อย่างใน Raise of the red lantern ของ จางอี้โหมว หนังทั้งเรื่องแทบเป็นอย่างนี้ครับ กล้องและตัวละครไม่ได้อิสระ เพราะว่าองค์ประกอบทั้งหมดเป็นตัวสร้างความหมายและอารมณ์
ส่วนภาพฟอร์มเปิดนั้น กล้องจะปล่อยตัวละครเล่นไป แล้วกล้องจะเข้าไปจับเหตุการณ์นั้นอย่างลื่นไหล ความเป็นอิสระสูงมาก ฟอร์มแบบนี้มีไว้สะท้อนความสมจริง กล้องจะเคลื่อนไปอย่างลื่นไหลตามตัวละคร หรือบางครั้งอาจจะไปจับอะไรอย่างอื่นที่เหนือความคาดหมายก็ได้ อันนี้หลายคนคงได้เห็นพลังของการใช้ภาพฟอร์มเปิดจากเรื่อง saving private Ryan ของสปีลเบิร์กกันมาแล้ว วา Omaha scene ในตำนานนั้นมีพลังแค่ไหน