"ไมค์ทุกตัวควรมีกันลม แต่ถ้าไม่มีก็ประดิษฐ์เอาเลยเหอะ!!....."
ทำกางเกงกันลมโกรกกัน
ก่อนที่จะมา DIY Wind Screen ตัวนี้ ผมเองก็ใช้อุปกรณ์กันลมจำพวก ฟองน้ำ หรือ Deadcat มาก่อน
แต่พอใช้งานไปสักพัก ตัวฟองน้ำเริ่มเสื่อมคุณภาพ กลายเป็นเม็ดผงดำๆ ปลิวว่อน สกปรกไปหมด
หนักเข้าๆ ทำหล่นหายไปก็มี...
พอไปใช้ Dead Cat ยี่ห้อดังมันก็ดีอยู่หรอก ผมเลือกไซส์ใหญ่ๆไปเลย
จะได้ห่อหุ้มไมค์ชนิดต่างๆได้โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อหลายรอบ
แต่ๆๆๆ...... ใช้ไปใช้ไป ไอ้ขนที่เราแสนจะทะนุทนอม ขนมันก็ค่อยๆทะยอยหลุดร่วงไปเรื่อยๆ...เช่นกัน
ใครเป็นอย่างผมบ้าง.... พอลมพัดขนDeadcatที เราต้องมาคอยหวีจัดแต่งทรงมันอยู่เรื่อยๆ...
ให้มันไปทางเดียวกัน เออ..มันดูหล่อดี เวลาใครมอง
แต่.....จะบ้ากันไปใหญ่ หัวตัวเองแทบจะไม่ได้เจอหวีเลย
บทความนี้ได้แรงบันดลใจจากกระทู้ของท่านหนึ่งในเว็บนี้ ขอขอบคุณที่ท่านได้โพสเป็นแนวทางในการประดิษฐ์มากๆครับ
"ผมได้ทดลองทำตามดูแล้ว พบว่ามีประสิทธิภาพดีมาก และที่สำคัญประหยัดมากครับ"
ก่อนเริ่มประดิษฐ์เรามาดูอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้กันนะครับ
สิ่งที่ต้องมี......
1.สายรัดผม ชนิดมีขน... จะสีไหนอะไรก็ได้แต่ผมเลือกสีดำ เพื่อปกป้องรีเฟล็กซ์เข้ากล้อง
2.สายยางยืด กว้าง1-1.5 ซม. จะเอาเส้นเล็กก็ไม่ผิดกติกา แต่เวลาเย็บจะลำบากหน่อย
3.เข็มและด้าย เข็มผมเลือกยาวๆหน่อยเพราะมองไม่ค่อยเห็น ส่วนเส้นด้ายผมใช้สีดำปกปิดรอยเย็บอันยุ่งเหยิง
4.กรรไกรและไม้บรรทัด
5.ทักษะการเย็บ ไม่ต้องสอบผ่านวิชาเย็บปักถักร้อยก็ทำได้ ขอสนเข็ม ต่อด้ายเวลาขาดให้เป็นก็เริ่มได้
และบทความนี้เกี่ยวข้องกับเครื่องบันทึกเสียงชนิดพกพา ไมค์บูม ไมค์Shotgun และไมค์หัวฆ้อน X-Y Stereo
ยี่ห้อต่างๆ ได้แก่ ZOOM TASCAM หรือที่มีลักษณะเดียวกัน
ขนฟูเส้นเดียวทำได้3ไมค์ครับ
ก่อนจะเริ่มทำเรามาดูความสามารถของเครื่องนี้กันก่อน
เครื่องนี้ยี่ห้อ TASCAM รุ่น DR-40
สามารถอัดเสียงได้ 3 ลั
กษณะของมุมไมค์ คือ แบบที่ 1 X-Y Stereo (ภาพบนสุด) ตำแหน่งเสียงตรงกลางเด่น รอบข้างไม่เกี่ยว เหมาะแก่การเก็บสัมภาษณ์
แบบที่ 2 A-B Stereo (ภาพกลาง) เสียงรอบข้างเด่น เสียงตรงกลางแผ่วๆ เหมาะแก่การเก็บเสียงธรรมชาติ
แบบที่ 3 C-C Stereo ชื่ออันนี้ตั้งเองครับ อย่าคิดมาก (ภาพล่าง) เก็บเสียงตรงกลางดีแต่จะเป็นแบบแยกซ้ายขวาชัดเจนมาก
ส่วนเรื่องคุณภาพเสียงไม่ขอพูด ตามแต่ชอบครับ....
ในตอนแรกที่ผมทำ ผมลองทำครอบตัวหัวแล้วพบว่า...
ด้วยความสามารถในการปรับมุมไมค์ให้รับเสียงได้หลายทิศทาง
ทำให้มันหลุดออก แถมเผยอชายล่างดูไม่สวยงามเอาเสียเลย
จำเป็นต้องทำให้ตัวกันลมมันยืดหยุ่นได้พอสมควร
1. วัดความลึกของตำแหน่งเมื่อกางสุดและน้อยสุดแล้ววัดเผื่อไปอีกเยอะๆหน่อย
แล้วทำการตัดขนฟูอย่างแผ่วเบา(กลัวไปงั้นแหล่ะ)
ถ้านึกไม่ออกให้นึกถึงกางเกงขากระบอก เรากำลังทำกางเกง ตัดขากางเกงขาแรกเป็นต้นแบบ
อีกอันก็วางทาบได้เลย
2.ตัดตามขนาดที่ได้ของอันแรก แล้วตัดแบ่งตรงกลางประมาณเพิ่มอีกข้างละ 3 ซม. (ผมลองสวมเล่นดูว่ามันจะพอดีไหม)
เมื่อทำเสร็จทั้งสองข้าง ให้เย็บติดกันในส่วนที่เราได้เฉือดมันออก(แต่ไม่ขาดนะ) นึกเอาไว้มันคือส่วนเป้ากางเกง
เริ่มแรกอย่าเพิ่งลงยางยืด เย็บส่วนเป้ากางเกงให้เสร็จก่อน (เห็นไหมมันติดกันเหมือนกางเกงแล้ว)
ที่เห็นอันขวาล่างยังไม่เสร็จนะครับ ลองสวมดูเล่นๆก่อน เห็นหัวไมค์โผล่แพล่มๆ
3.วัดขนาดยางยืดให้เท่ากับตัวเครื่อง แล้วพอจะตัดออก ให้ลบไป 1 ซม. เพื่อให้มันหืดตัวได้ฟิตและกระชับ
จากนั้นเริ่มเย็บจากรอยตัดของทั้งสองข้างให้เป็นตัวเดียวกัน
จากนั้นเย็บไปเรื่อยๆ แต่อย่าไปริมๆมาก เพราะจะได้เหลือไว้ซ่อนยางยืดบ้าง
เย็บเป็นรูปวงรีไปเรื่อยๆ ให้ฝีเข็มเท่ากัน สม่ำเสมอ เวลามันยืดตัวจะได้ไม่ย่น
4.เย็บตัวเอวมันเสร็จ ก็มาเย็บปิดปลายขากางเกงทั้งสองข้าง เพื่อปกกันลมเข้าส่วนหน้า
ให้นึกไว้เสมอว่า กางเกงตัวนี้อย่าฟิตอย่าหลวม เพราะฟิตมากจะใส่ยาก
ถ้าหลวมไป ลมพัดแรงๆ ผ้าจะกระพือไปโดนไมค์ ขนาดพอดีๆจะใส่สบาย
5.เสร็จแล้วก็ขออวดผลงานกัน สังเกตุว่าผมเหลือที่ไว้ให้เสียบหูฟังไว้ด้วย พอพับปิดก็ไม่มีทางเห็น ดูไฮโซขึ้นมากทีเดียว
6. วัดคุณภาพเสียงแล้ว ลดลมกระพือหมดไม่มีเหลือครับ คงเหลือแต่เนื้อเสียงล้วนๆเลย
ของ10บาทนี่มันใช้ดีจริงๆ
ปล.จริงๆทำใช้มาสักพักแล้วครับกะว่าจะลงก็ติดงาน พอช่วงนี้ว่างๆเลยลงให้ดูว่าไม่ยาก คุณก็ทำได้งานนี้ใช้เวลาทำสัก2-3ชม.ก็เสร็จแล้ว ใครสนใจก็ถามมาได้ผมยินดีแนะนำแต่บางทีอาจจะไม่ได้อ่าน สะกิดทักในไลน์ก็ได้ครับ LINE ID : OAKSMILE