เขียนหลักปฏิบัติช่างภาพมืออาชีพไป บอกให้เลยว่า ช่างภาพที่ทำได้แบบที่ผมบอก พวกนี้อายุ 35 ขึ้นไปมีจำนวนน้อยและงานสารคดีที่เขารับถ่ายอยู่นั้น
เป็นพวกสารคดีราคาแพง 3-5 แสนบาท ( โปรดัคชั่นเขาจึงจ้างไหว ) ดังนั้น ..ข้อจำกัดของพวกพี่ๆก็คือค่าใช้จ่ายสูง เพราะสารคดีราคาแพงขนาดนั้นปัจจุบัน
มีจำนวนน้อยลง จึงทำให้โปรดัคชั่นบางส่วนหันมาใช้ช่างภาพสมัครเล่น อาจถ่ายไม่เก่งเหมือนรุ่นพี่ ถ่ายช้าหน่อยไม่เป็นไร ( เช่น ซูมเสีย )วิธีแก้โดยเอาคนเขียนบท
หรือโปรดิวเซอร์เก่งๆเข้าประกบ ...
ฉนั้น เวลานี้จึงเป็นโอกาสทองของน้องใหม่( มือสมัครเล่น ) ที่ต้องฝึกปรือเพื่อสมัครเข้าโปรดัคชั่นที่กำลังต้องการคนแทนเลยอยากแนะนำแนวทางสำหรับมือใหม่ว่า....จะต้องเตรียมตัวกันอย่างไร ( ในการเข้าวงการฯ )...ผมขอแบ่งประเภทของงานตามคุณสมบัติของช่างภาพ ( ไม่ใช่ตามตำรานะคับ ) มีหลักๆ อยู่ 2 ประเภท คือ
1.
ประเภทรายการโทรทัศน์แบบโอบี ( สวิทชิ่ง ) เช่น รายการโทรทัศน์, ละคร , คอนเสริ์ต และรายการบันเทิงอื่นๆ ( ที่ใช้ระบบโอบี )
ขอธิบายการทำงานของระบบโอบีก่อนนะคับ ช่างภาพจะคุมกล้องของตัวเอง โดยมีคนสั่งให้เปลี่ยนลักษณะของภาพตามเหตุการณ์ของละคร ผ่านหูฟัง
เช่น ขนาดกว้างเต็มกลุ่ม , ขนาดกลาง 2 คน, ขนาดใกล้ครึ่งตัว, และใกล้ที่สุด( ตอนร้องไห้เห็นนำ้ตาไหล )
สิ่งที่ช่างภาพมือใหม่ต้องเตรียมตัว -
หัดเปลี่ยนคอมโพส( ขนาด )ของภาพให้คล่อง อาจฝึกในห้องหรือในบ้านก็ได้
วิธีการฝึก ...ถ่ายกว้างเต็มห้องเห็นแจกันอยู่บนโต๊ะ นึกในใจว่าจะถ่ายแจกัน นึกต่อไปว่าจะถ่ายขนาดของแจกันออกมาเป็นแบบไหน นึกได้แล้ว
เปลี่ยนคอมโพสก็คือซูมเข้าไปทันที ซูมปั๊บต้องได้ขนาดภาพพอดีตามที่คิดไว้ ไม่มีกระตุกออกหรือกระตุกเข้า
ควรทำครั้งเดียวแล้วได้เลย ทำให้เร็วที่สุดใช้เวลาน้อยที่สุด คือกดซูมปั๊บต้องได้ภาพพอดีเลย ( ช่วงที่ซูมเร็วไม่ใช้ ) ได้แล้วก็ลองเปลี่ยนสิ่งของอื่นๆไปเรื่อยๆ ฝึกทุกวันที่ว่าง ที่มีเวลาเหลือ เหตุผลที่ต้องให้ฝึกแบบนี้เพราะ
เวลาถ่ายละครจะมี 3 กล้อง กล้องซ้ายจับตัวละครขวา กล้องขวาจับตัวละครซ้าย กล้องกลางจับตัวละครซ้ายขวา วันๆคุณจะถ่ายอยู่แค่นี้ กว้าง เต็มตัว ครึ่งตัว ใกล้ ถอยเข้า
ถอยออกอยู่แค่นี้แหละ กล้องแต่ละกล้องจะทำงานอิสระ คุณต้องพร้อมฟังคำสั่งจากคนคุม เมื่อเขาสั่งเปลี่ยนขนาดภาพคุณต้องเปลี่ยนให้เร็วที่สุด
เช่นตัวอย่าง ชาย 2 คนกินเหล้าในบ้านแล้วทะเลาะกัน คนหนึ่่งเอาขวดเบียร์ฟาด อีกคนโดดหลบแล้วใช้เก้าอี้ตีไปที่มือ ขวดเบียร์หล่นไปโดนข้างฝา
เศษแก้วกระเด็นเข้าตาและโดนมือของทั้งคู่ ....อ่านบทเห็นภาพรู้เลยว่าเหตุการณ์เร็วมาก มีกว้าง 2 คนทะเลาะ, มีใกล้เห็นหน้า , กว้างต่อยกัน เห็นมือถือขวด ,
เห็นแก้วกระเด็นโดนเลือดไหล ฉนั้นถึงบอกว่า ใครอยากเป็นช่างภาพโอบี ต้องฝึกเปลี่ยนภาพให้เร็ว เกิดสวิทมากล้องคุณจับภาพคนหัวขาดคือเปลี่ยนขนาดไม่ทัน
นั่นหมายความว่า ทุกคนต้องเริ่มใหม่หมด ตัวแสดงเล่นใหม่... ทีมงานเตรียมพร็อพอุปกรณ์ขวด อาหารใหม่ .....เสื้อผ้าใหม่ ....ผมใหม่ ....
ทุกคนจะหยุดงานและหันมามองคุณเป็นตาเดียวกัน...
บอกได้เลย ถึงเวลานั้นคุณจะอายจนอยากแทรกแผ่นดินหนี...( ไม่อยากอายต้องฝึกให้คล่องๆๆ )2.
ประเภทรายการโทรทัศน์แบบไม่ใช้โอบี ( แบบกำปั้นทุบดิน..ก็มันเป็นแบบนั้นจริงๆนี่นา ) เช่น งาน MV , สารคดี , สารคดีเชิงละครชีวิตจริง ,จะด้วยเหตุจำเป็นไม่มีงบหรือต้องการงานคุณภาพ ( หลัการทำงานเหมือนกับที่ได้แนะนำไว้ใน ช่างภาพอาชีพ ) สิ่งที่ช่างภาพมือใหม่ต้องเตรียมตัว หัดใช้กล้องและขาให้ชำนาญ ( ให้เสมือนเป็นตัวเรา หมายถึงสั่งได้เหมือนใจนึก ) วิธีการฝึก หัดซูมภาพไม่ให้กระตุกทั้งเข้าและออก จบต้องนิ่ง และเมื่อซูมเข้าไปแล้วต้องได้ขนาดภาพที่สมบูรณ์ ไม่วนเป็นงูเลื้อย หัดซูม หัดถ่าย หัดใช้กล้องทุก วันที่มีเวลาว่าง หัดถ่ายไปเรื่อยๆ ต่อไปจะเก่งเอง
ยังคงกฏไว้เหมือนเดิม คือถ่ายครั้งเดียวได้ หรือถ้าพลาดก็อย่าพลาดหลายครั้ง ( ยอมหน่อยก็ได้ ) เช่น ตัวละคร ญ เดินร้องไห้เสียใจมานั่งหน้าประตูห้อง เนื่องจากจับได้ว่าสามีแอบไปนอนกับหญิงอื่น แล้วเกิดคุณถ่ายพลาด เพราะโฟกัสไม่ได้, หรือเพราะคุณ
ซูมเข้าไปแล้วหัวขาดขคุณลองคิดดูซิ กว่าตัวแสดงจะทำอารมณ์ได้ขนาดนั้น เขาต้องลงทั้งพลังแรงกายและใจขนาดไหนกว่าจะให้นำ้ตาไหลออกมา
ขณะที่ทำอารมณ์ต้องแอ๊คชัั่นเดินไปด้วย ส่วนช่างภาพนั่งสบายมองวิวกล้องแล้วกดเดินเทปทำแค่นี้ยังถ่ายเสียอีก คุณคิดถึงคนทำงานส่วนอื่นบ้างว่า..
เขาจะเสียใจและเสียเวลาขนาดไหน กับความผิดพลาดที่คุณทำ แม้ไม่ตั้งใจก็ถูก แต่ไม่ควรให้เกิดขึ้น นี่แหละ ที่ผมบอกต้องแม่น เรื่องตัวกล้องและขา
พยายามฝึกหัดถ่ายให้สั่งได้เสมือนใจนึก เพราะบางทีอารมณ์ตัวละครเขาอาจเดินไม่ตรงที่เราซ้อมไว้ เราก็ต้องเตรียมพร้อมรับกับสถานการณ์นั้นให้ได้ทุกกรณี ...
...
ใครที่มีกล้องวีีดีโอเป็นของตัวเองและมีอุปกรณ์พร้อม ถือว่าได้เปรียบ อยากเข้าวงการก็ซ้อมๆๆๆๆเข้าไว้ให้มากๆๆๆเก่งแล้วไปสมัครเลยรับรองเขารับแน่...
.... สำหรับหลักปฏิบัตในการเป็นช่างภาพมืออาชีพ ผมก็ยังอยากให้น้องใหม่ทำให้ได้อยู่ดีนะคับ อยากให้หัดเอาไว้เพราะวันหนึ่งเกิดคุณได้รับงานใหญ่ คุณก็สามารถทำได้
เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีทางด้านโปรดัคชั่นถูกมากๆๆ การถ่ายทำก็ใช้เวลาน้อยลง เดิมถ่ายสต๊อกแบบที่ผมแนะไว้ 10 นาที อาจเหลือ 5 นาที เพราะคุณสามารถใช้กล้องถ่ายพร้อมกัน
ได้ 2 - 3 กล้อง เช่น ไปถ่านคนปั้นกระถาง กล้อง1 ถ่ายด้านหน้าเต็มตัวเห็นป้ั้น / กล้อง 2 ถ่ายด้านมุมสูงผ่านไหล่แทนสายตาเห็นมือปั้น / กล้อง 3 ถ่ายตำ่สวนขึ้น
เห็นมือปั้นกระถางปรับโฟกัสไปที่หน้า ถ่ายทีเดียวได้ 3 มุม 3 อารมณ์ไม่สะดุดคอนตินิว ตอนแรกลูกค้าอาจจ้างคุณไปถ่ายแบบสารคดี เห็นว่าเสียเวลา เลยทำแบบสารคดีละคร
คุณก็สามารถถ่ายได้ เพราะคุณซ้อมมา ทำได้ทุกรูปแบบ รับรองอนาคตคุณไกล ดังมีชื่อเสียงแน่ๆ
..
ส่วนน้องๆที่มีกล้อง dslr อยากบอกมือใหม่ให้รู้ว่า ณ เวลานี้ เป็นเวลาทองของมือใหม่ทุกคน เพราะเทคโนโลยีกล้อง dslr เข้ามา จริงๆแล้วมันก็วนกลับไปสมัยก่อนที่ใช้กล้องระบบ
lowband ตัวกล้องก็ไม่มีออโต้ คุณต้องกำหนดค่าแสง f เอง โฟกัสเอง รุ่นพี่สมัยก่อนเขาก็หัดและซ้อมถ่ายทุกวันเหมือนกัน เช้ามาไม่มีงานทำก็เอากล้องมา
ตั้งขาแล้วก็ถ่ายสิ่งของไปเรื่อยๆในห้องนั้นแหละ ทำทุกเวลาที่ว่าง เพื่อฝึกให้ ตาที่มอง ขาที่ยืน และมือจับที่กล้องสัมพันธ์กัน เหมือนให้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
ซ้อมไปเรื่อยๆจนทุกอย่างรวมเป็นหนึ่งเดียว ( คือตัวเรา ) เมื่อถึงเวลาทำงานจริง คุณก็ไม่จำเป็นต้องมานั่งกลัวว่าจะถ่ายเสีย ( เพราะความมั่นใจในการซ้อมทุกๆวัน )
เวลาทำงานคุณก็ไม่กังวล เมื่อไม่เครียดคุณก็สามารถไปช่วยส่วนอื่นๆได้ เช่นช่วยกำกับ ช่วยดูแสง ช่วยดูอารมณ์ภาพ ฯลฯ
...แต่ยังไงก็อย่าเอาเวลาที่ว่างไปนั่งจีบสาวในกองถ่าย หรือตัวประกอบแล้วกันนะ ถ้าจะทำ ( ไม่ห้ามแล้วช่างภาพเป็นทุกคน ) ก็จีบแอบๆแล้วกันอย่าประเจิดประเจ้อ..ที่กลัวไม่ใช่อะไรหรอก เกิดไปตรงกับคนที่ลูกค้าแอบปิ๊งอยู่ คุณอาจถูกปลดออกกลางอากาศได้..แล้วจะมาบ่นว่า ....(ทำไมลูกค้าไม่จ้างผม ๆๆ )
บทความที่เกี่ยวข้องกัน คลิกเลย..อยากเก่งแบบพี่ๆในเว็บ ทำได้ไม่ยากมือใหม่เปิดอ่านเลยมือใหม่อยากเข้าวงการ ( ทุกสาขาอาชีพ ) ตอนจบ[ แก้ไขล่าสุดโดย p0p-it เมื่อ 2012-05-19 11:29 ]