อ้างอิงโพส 9 ต้นฉบับโพสโดย jobfilm เมื่อ 2011-05-04 06:10 :
(ภาพยนตร์ = ภาพที่เกิดจากจินตนาการและถ่ายทอดออกมาในมุมมองของผู้กำกับ ฯลฯ ส่วนคำว่าภาพยนต์ = ภาพที่เกิดจากการควบคุมโดยเครื่องจักรนะครับระวังอย่าพิมพ์ผิดเดี๋ยวความหมายเปลี่ยนไปนะครับ อิอิ)
พึ่งได้ดูหนังสั้นเมื่อกี้ และได้อ่านคอมเม้นในหลายท่าน มีเรื่องของการเกิดอารมณ์ แล้วหละ 555
อย่าซีเรียสนะครับในเมื่อมีการเผยแพร่ย่อมมีการวิจารณ์เป็นเรื่องธรรมดาครับ ส่วนผมไม่ได้มาวิจารณครับแค่มาดูแล้วลองวิเคราะห์ออกมาจากสาเหตุและปัญหาว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างครับ เริ่มจากข้อที่ 1.Shutter Speed มีผลกับภาพโดยตรงแน่นอนครับขอท้าวความก่อนว่า shutter speedกับ frame rate มีผลยังไงบ้างนะ คือ จากอดีตจนถึงปัจจุบันการถ่ายภาพยนตร์ก็ได้ข้อสรุปว่า การถ่ายที่ 24 fps นั้นเป็นการเคลื่อนไหวที่สายตาของมนุษย์นั้นมองเป็นภาพเคลื่อนไหวมากที่สุด และสาเหตุต่อมาคือเรื่องของ Motion Blur ที่ดูเป็นธรรมชาติที่สุดคือต้องใช้ Shutter Speed ที่ 1/48 หรือเป็น 2 เท่าของ fps และในระบบโทรทัศน์ที่เป็น PAL=25 fps ใช้ shutter speed 1/50 และ NTSC = 30 ใช้ shutter speed 1/60 ตามลำดับทั้งนี้เพื่อเป็นการแก้ปัญหาของ flicker ไฟกระพริบด้วยอาจมีการปรับขึ้นลงบ้างอันนี้เป็นส่วนของการถ่ายให้ภาพดูแบบปกติทั่วไปนะครับ ส่วนการถ่าย Shutter Speed ที่ต่ำกว่านี้ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันอย่างที่บอกเพื่อให้เกิดอารมณ์ของภาพอีกรูปแบบหนึ่ง เอฟเฟคของภาพที่ได้ก็จะเกิดขึ้นกับการเคลื่อนไหวเร็วๆ แล้วเกิดภาพแบบ Motion Blur มากๆ ยกตัวอย่างเช่นหนังของหว่องกาไว ครับจะใช้อย่างงี้ ส่วน Shutter Speed เยอะๆจะใช้กับถ่ายพวกสิ่งที่หมุนเร็วๆอย่าง พัดลม หรือล้อรถ ที่หมุนครับ เพื่อให้เกิดการ Sync ระหว่างหล้อรถ กับ shutter speed เพื่อให้เกิด Motion Blur ที่ดูสวยงามครับ ส่วนในกรณีของคุณแต้ทำถูกต้องแล้วครับในการถ่ายทำใน Shutter Speed ที่ 1/50 หรือ 1/100 ซึ่งคุณแต้ไม่ต้องการเอฟเฟคอะไรอย่างที่กล่าวมาข้างต้นครับ แต่เท่าที่ดูใน Clip นี้ปัญหาน่าจะเกิดจากการ ConvertCodec จาก HD มาเป็น SD แล้วใส่ Field เป็น Interlace ทำให้ภาพที่มี Motion Blur นั้นเป็นเส้นๆ ครับไม่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทำแต่อย่างใด แต่หากเกิดขึ้นกับขั้นตอนโพสครับ
2. Color Correction คือ จริงๆ แล้วขั้นตอนนี้ไม่ใช่แค่การแก้สีแค่นั้น แต่หากเป็นขั้นตอนที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าขั้นตอนอื่นๆ เลย คือ การที่ปรับบาลานซ์ของแสงทั้งค่า Hue,Saturate,Luminance (HSL) Contrast เพื่อให้ภาพที่ถ่ายมานั้นมีน้ำหนักและสามารถนำไปฉายแล้วได้ตามที่เราต้องการ ส่วนเรื่องของ Film Look คืออะไร นั้นสามารถอธิบายได้หลักๆ คือในส่วนของ Dynamic Range, Latitude ของภาพที่ฟิล์มสามารถแสดงค่าของแสงออกมาทั้ง 3 ย่าน คือ Shadow,Midtone,Highlight ได้อย่างครบถ้วนทำให้ภาพมีมิติดูแล้วอิ่มกว่าสบายตาครับ (ส่วนในดิจิทัลยังต้องเข้าใจในส่วนนี้พอสมควรครับกับเรื่องของการ Burn หรือ Over ไปทำให้รายละเอียดของภาพหายไป และเรื่องของ Contrast ที่จัดมาก ทำให้เรามองเห็นแล้วดูเป็น VDO Look อีกส่วนก็คือเรื่องของสีครับ หรือ Mood & Tone ที่จะปรับสีไปทิศทางของอุณหภูมิสีไหนและส่งผลต่ออารมณ์ของคนดูอย่างไรซึ่งรายละเอียดอันนี้เยอะมากครับในเรื่องของ Visual Reception ผมจะยกตัวอย่างเช่น เรื่อง Sweny Todd จะเห็นได้อย่างชัดเจนใน Scene ที่ จอนนี่เดปมีความสุขภาพจะออกไปทางวอมโทน แสงสีส้มๆ พอใน Scene เศร้าๆอย่างตอนที่จอนนี่เดปเป็นฆาตกรภาพจะออกไปทางเทาๆ ปนสีฟ้าครับ ในส่วนภาพของคุณแต้ถือว่าถ่ายมาได้ดีเลยทีเดียว มุมภาพสวย และเก็บรายละเอียดได้ครบ แต่ก็มีบางช๊อต Over บ้างแต่ก็ไม่ใช่ปัญหาเพราะเป็นธรรมชาติของการถ่ายในห้องแล้วเห็นแสงสว่างกระทบตึกข้างนอกที่ดูจะเป็นเนื้อเดียวกัน เนื่องจากธรรมชาติของกล้อง Canon ที่เก็บ Latitude ได้แค่ +- 9 Stop ซึ่งต่างจากกล้องรุ่นใหญ่ที่เก็บได้มากว่า สรุปคือเรื่องสีในหนังเรื่องนี้ผมถือว่าโอเคแล้วครับ อาจจะมีแค่ปรับตอน Flash Back ให้ดููแตกต่างจากปัจจุบันหน่อย หรือมีเรื่องของ Transition อะไรเข้ามาเพื่อเป็นการตัดบอกช่วงเวลา นี่คือข้อเสนอแนะนะครับ
3. Hand Held (ไม่ใช่ Hand Help นะครับ) การใช้รูปแบบการถ่ายแบบนี้ผมเชื่อว่าการถ่ายหนังแน่นอนย่อมมี Tripod หรือขาตั้งกล้องแน่นอนครับ แต่จะเลือกใช้ในช็อตไหนเท่านั้นเอง มาพูดถึงเรื่องการ Hand Held กันก่อนดีกว่าผมว่าจริงๆ แล้วช็อตต่างๆ สำหรับในภาพยนตร์มีการออกแบบมาแล้วในขั้นตอนการพรีโปรดักชั่น ว่าต้องถ่ายในรูปแบบใด หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าหนังเสร็จไปแล้ว 70 % ส่วนที่เหลือก็คือขั้นตอนการถ่าย และทำโพสหละครับ (ต่างจากงานแต่งอาจต้องมีการคิดช็อตในเหตุการณ์เฉพาะหน้า) การถ่ายแบบ Hand Held กับการใช้ขา นั้นมันขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับช็อตนั้นๆ มากกว่านะครับ ความหมายของภาพที่เกิดจาก Hand Held มีหลายความหมายมาก เช่น หนังที่ต้องการความสมจริงเหมือนสารคดีที่อยากได้ภาพแบบดูสมจริงกับเหตุการณ์ ส่วนอีกอย่างคือต้องการจะเล่าเรื่องผ่าน Camera Movment คือต้องการภาพที่เกิดขึ้นนั้นเพื่อให้คนดูรู้สึกอึดอัด ว่าสองคนนั้นมีปมอะไรขัดแย้งกันหรือไม่ ตามความเข้าใจของผมที่ดูหนังคุณแต้นะครับ นี่คือความเห็นของผมนะครับ บางช็อตอาจต้องมีการใช้ขาตั้งช่วยบ้างเพื่อช่วยให้ดูแล้วพักสายตาบ้าง (การใช้ขาตั้งไม่ใช่หมายความว่าต้องถ่ายเฟรมนิ่งๆ อย่างเดียวแต่ก็สามารถส่ายกล้องให้เฟรมมีการขยับบ้างเพื่อเลี้ยงเฟรม) ปัญหาคือกล้อง Canon มีเรื่องของ Rolling Shutter มาเกี่ยวข้องทำให้เกิดภาพล้มในการขยับกล้องอย่างเร็วเนื่องจากล้อง Scan ภาพบนลงล่างไม่ทัน ทำให้ดูภาพแล้วรู้สึก มันสั่นมากผิดปกติอันนี้คือปัญหาใหญ่ของกล้อง Canon ถ้าเข้าใจธรรมชาติของกล้องที่เราใช้เป็นการสื่อสารกับคนดูได้อย่างถูกต้องแล้วคนดูมีอารมณ์ความรู้สึกตามที่เราพยายามสร้างมันขึ้นมาในทุกกระบวนการแล้ว อันนี้ต้องรวมถึงการจัดเซ็ต ฉาก เสื้อผ้้า มิสอองแซง และอีกหลายๆ อย่าง ทุกอย่างเป็นสุนทรียภาพทางภาพยนตร์ทั้งนั้นครับ เย้จบแล้ว เป็นแค่ หนึ่งความเห็นของผมนะครับตามที่ผมได้เรียนฟิล์ม และได้ศึกษามาผิดถูกอย่างไรช่วยแก้ไขด้วยครับ แนะนำคุณแต้มีหนังสือที่ Kinokuniya ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจำพวกนี้ครับชื่อว่า Filmaker eye รับรองได้มุมมองดีของคนสร้างหนังรุ่นก่อนเยอะมากครับ
.......