"Cinematography" ถ้าแปลกันแบบตรงๆคำนี้เรียกเป็นภาษาไทยว่า "วิชาถ่ายทำภาพยนตร์"
ซึ่งก็คือการร้อยเรียงภาพออกมาเป็นเรื่องราว ซึ่งจะเรียกว่าเป็น Cinematography ได้นั้น โดยปกติจะแบ่งขั้นตอนกว้างๆออกเป็น 3 ขั้นตอน เรียกกันสั้นๆว่า
3 P (ไม่เหมือน 4 P ของวิชาการตลาดนะครับ
)
P ตัวแรกก็คือ
Preproduction ก็คือเริ่มมาตั้งแต่การวางแนวคิดและเรื่องที่จะเล่า รวมถึงการวางแผนการถ่ายทำ
ต่อมาก็คือ
Production ก็คือกระบวนการถ่ายทำทั้งหมด (เรียกว่ากระบวนการให้ได้มาซึ่ง "ภาพ" ที่ต้องการก็ได้) ที่ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหน ใช้อุปกรณ์อะไร มีขั้นตอนยังไงก็แล้วแต่ แต่จะต้องสอดคล้องกับเรื่องราวที่วางเอาไว้ว่าจะเล่า
(แม้แต่การวางแนวคิดว่าไม่มีเรื่องราวตายตัวที่จะเล่า เช่นอาจจะเป็นการเล่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดชึ้นตรงหน้าแบบดิบๆ หรือปล่อยภาพไปเรื่อยๆ ก็ถือเป็นการวางโครงเรื่องที่จะเล่าแบบหนึ่งเช่นกัน)
<แก้ไขเพิ่มเติม>***แม้จะถ่ายด้วย Webcam หรือใช้ภาพนิ่งมาร้อยเรียงเป็นเรื่องก็เป็น Cinematography ได้ เพราะ Main หลักอยู่ที่แนวคิดและการเล่าเรื่อง***
และสุดท้ายก็คือ
Post Productionคือขั้นตอนหลังการถ่ายทำ ก็จะเป็นการลำดับภาพ การใส่เสียงประกอบต่างๆ (รวมถึงเอาเสียงที่ไม่ต้องการออกด้วย) การทำหรือใส่เทคนิคทางภาพ เช่นการแต่งสี การใส่ Effect ฯลฯ จนไปถึงการประมวลผลทุกอย่างจนออกมาเป็นวัสดุสื่อ เพื่อนำไปใช้ เช่น เทป , VCD DVD ,ฯลฯ
โดยทั่วไปงานที่เรียกว่า
Cinematography นั้นมักจะ"เน้น"ให้ความสำคัญไปที่
"ภาพ" ซึ่งหมายถึงสัดส่วนการเล่าเรื่องจะใช้ภาพเป็นตัวหลัก ส่วนเสียงและลูกเล่นอื่นๆเป็นตัวรอง
งานภาพยนตร์บางประเภทนี่แทบจะมีแต่ภาพอย่างเดียวเลยก็มี
สรุปคร่าวๆก็คือ งาน
Cinematography มีจุดประสงค์หลักคือ เล่าเรื่องในแบบภาพยนตร์ครับ ซึ่งอาจมีการเติมแต่งทางภาพ,เสียง,การลำดับภาพ,กราฟฟิก อะไรก็ตามลงไปเพื่อให้เกิดการชักจูง ขับเน้น หรือเล่นกับอารมณ์คนดู
อธิบายเปรียบเทียบกับงานประเภทที่ "ไม่ใช่
Cinematography" ด้วย ก็จะเข้าใจง่ายขึ้นครับเช่น งานถ่ายภาพเชิงข่าว ก็จะเป็นการเก็บภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ครบตามต้องการ
มีจุดประสงค์หลักเพื่อ นำเสนอภาพและเสียงให้ผู้ชมรับทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
และการถ่ายทำประเภทงานแสดง ,กีฬา ,เกมส์โชว์ ,บันทึกการบรรยาย หรืออื่นๆ ก็จะมีการวางรูปแบบแตกต่างกันไปครับ เพราะจุดประสงค์หรือเป้าหมายของงานไม่เหมือนกันครับ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการถ่ายทำแบบต่างๆก็อาจจะปรับแต่งหรือประยุกต์ใช้ผสมผสานกันในแต่ละงานก็ได้ครับ แต่ถ้าเริ่มต้นมั่วๆไม่มีแนวคิดอะไร ถึงงานภาพจะออกมาดูเป็น Cinematography ก็ตาม ก็ไม่น่าจะเรียกว่าเป็นงานแบบ Cinematography ได้ (หรือวางแนวทางไว้ แต่ถ่ายออกมาแล้วมันไม่ใช่ มันก็ไม่ใช่เหมือนกันนะ)
อาจจะกล่าวรวมๆได้ว่าจะเรียกว่าเป็นงานประเภทไหน ก็อยู่ที่
เป้าหมาย ของงานครับ ว่าต้องการยังไง และทำออกมาได้ตรงตามนั้นหรือเปล่า
เดี๋ยวนี้คนทำ VDO งานแต่งนิยมเอารูปแบบ Cinematography มาใช้ (ใช้เป็นไม่เป็นก็ตามแต่ระดับความเข้าใจงาน) และก็จะเจอปัญหาหนึ่งก็คือ
เป้าหมาย ของลูกค้า ดันไม่ใช่
เป้าหมาย ของคนทำนี่ซี้.....
[ แก้ไขล่าสุดโดย sticky เมื่อ 2010-11-30 19:07 ]