พออธิบายคอนเซ็บสั้น ๆ กันได้บ้างครับ เสริมกันไปคนละข้อสองข้อ เดี๋ยวพอคลำทางถูกแล้วก็ค่อย ๆ ต่อยอดเอา ...
อ้างอิง
๑. interlace กับ progessive มันคืออะไรครับ ต่างกันตรงไหน
Interlaced - เป็นระบบเก่า ใช้กับทีวียุคก่อนจนมาถึงปัจจุบัน สร้างเฟรมภาพ 1 เฟรม ด้วยการซอยเป็น 2 ชั้น (field) แล้วยิงขึ้นจอด้วยความเร็ว 50 ฟิลด์ต่อวินาที ซึ่งจะได้ภาพ 25 เฟรมต่อวินาที (pal) หรือ 60 ฟิลด์ต่อวินาที ซึ่งจะได้ภาพ 30 เฟรมต่อวินาที (ntsc) ...
Progressive - เป็นระบบใหม่ ใช้กับจอคอมพิวเตอร์ และ จอทีวีรุ่นใหม่ สร้างเฟรมภาพ 1 เฟรม ด้วยการยิงครั้งเดียว ... ทีวีรุ่นใหม่ที่เป็น Progressive ก็จะสนับสนุน Interlaced ด้วยเสมอ, ส่วนจอคอมพิวเตอร์จะสนับสนุนด้วยการทำงานทางซอฟแวร์ ด้วยหลักการ De-Interlaced ขณะเล่นแทน ...
........... | ...........
อ้างอิง
๒. หากท่านผ่านเข้ามาก็อยากถามต่อเลย ผมเองอยากเป็น Editor ที่ครบทั้งภาพและเสียง แต่ความรู้ยังอนุบาลอยู่ ไม่ทราบว่าบรรดา Codec ต่าง ๆ มันมีมากมายไว้เพื่ออะไร แล้วมันต่างกันยังไง
ถ้าแบ่งกว้าง ๆ แบบนี้ก่อนก็จะเข้าใจง่ายขึ้น :
Codec สำหรับการตัด (Edit) - เป็นการบีบที่คงรายละเอียดไว้มากที่สุด มีเฟรมภาพจริงทุกเฟรม เพื่อสะดวกในการแสดงเฟรมแต่ละเฟรมได้รวดเร็ว ... ไฟล์จะมีขนาดใหญ่
Codec สำหรับการเล่น (Playback/Distribution) - เป็นการบีบเพื่อให้ได้ขนาดเล็ก มีเฟรมจริงสลับกับเฟรมที่เกิดจากการคำนวน พอที่จะเก็บลงสื่อ และ เล่นผ่านฮาร์ดแวร์ราคาถูกได้ เช่น VCD, DVD, Blu-Ray หรือ สตรีมมิ่งผ่านอินเตอร์เน็ต หรือ อุปกรณ์พกพา ฯลฯ เพื่อจะได้แพร่กระจายสู่ผู้บริโภคได้ง่ายนั่นเอง ... ไฟล์จะมีขนาดเล็ก
ที่มีออกมาเยอะเพราะมีหลายมาตรฐาน หลายอุปกรณ์ หลายผู้ผลิต บางอันก็เป็นกลาง ๆ ใช้ได้ทั่วไป บางอันก็ผูกอยู่กับอุปกรณ์ หรือ ผู้ผลิตนั้น ๆ เวลาจะนำมาใช้ก็ต้องศึกษาก่อน ...
การทำงานทางด้านภาพเรียนรู้ได้ไม่ยากครับถ้ามีจินตนาการ ความสร้างสรรค์ และ ความเพียร แต่งานด้านเสียงเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ลึกลับกว่ามาก เพราะมันมองไม่เห็น ใช้โสตสัมผัสทางหูอย่างเดียว ซึ่งมีองค์ประกอบ ปัจจัยอะไรต่าง ๆ เกี่ยวกับการได้ยินมาเกี่ยวข้องเยอะแยะมากมาย ...
อ้างอิง
๓. ผมงงกับการแปลงไฟล์เพื่อมาตัดในไฟนอลคัท แต่พอเอ็กซปอร์ตจะใช้ Codec H.264 : Apple proress : DV PAL หรืออะไรก็แล้วแต่ที่มีใน Export (ตามไฟล์แนบ) แล้วพอจะไรท์ลงแผ่นดีวีดีก็ยังมี Codec อีก(ตามแนบ๒) อยากให้ท่านช่วยกรุณาอธิบายตั้งแต่พื้นฐานก็จะดีครับ ผมเองไปเรียนมาหลายที่แต่กลับไม่ค่อย GET เลย
ตอนตัดควรใช้ Codec สำหรับการตัด ถ้าถ่ายมาเป็น Codec สำหรับการเล่น (เช่น AVCHD/H.264, Mpeg ฯลฯ) ก็ควรแปลงให้เป็นฟอร์แมทสำหรับการตัดเสียก่อน (ProRes, DNxHD, HDVCPro ฯลฯ) เพื่อจะได้ทำงานได้สะดวก ... เมื่อตัดเสร็จจะ Export ก็ใช้ Codec สำหรับการเล่น ขึ้นอยู่กับว่าเป็นอุปกรณ์อะไร VCD ใช้ Mpeg I, DVD ใช้ Mpeg II, Blu-Ray ใช้ H.264 ฯลฯ พรีเซ็ตที่มีให้เลือกจะเป็นตัวกำหนด Codec ให้อัตโนมัติอยู่แล้ว ...
สาเหตุที่นำ Codec สำหรับการเล่นมาตัดแล้วไม่สะดวก เนื่องจาก Codec การเล่นมีการบีบอัดสูง มีจำนวนเฟรมที่ไม่ใช่เฟรมแท้ (เกิดจากการคำนวนด้วยการเข้าสูตร) อยู่เป็นจำนวนมาก เวลาจะแสดงเฟรมแต่ละเฟรมต้องจึงต้องใช้เวลานาน จังไม่เหมาะกับการตัดที่ต้องการความฉับไวโดดไปตำแหน่งโน้นนี้ตลอดเวลา ต่างกับการเล่นที่มักจะเป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนจบ ...
อ้างอิง
๔. กำลังจะทำห้องอัดตัดต่อ เรื่องห้องได้ศึกษาไว้และวางแผนเกี่ยวกับวัสดุซับเสียงแล้ว แต่เรื่องกล้องนี่ยังไม่ชัวร์ ได้รับข้อมูลแบบกว้างมาก หากอยากใช้เผื่ออนาคต ราคาพอประมาณ สู้ได้แสนต้น ๆ ไว้รับงาน ตจว. ใช้ไฟนอลคัทเป็นหลัก
ถ้าเป็นงานที่ต้องถ่ายยาว ต้องเก็บทุกวินาทีตลอดงาน ควรใช้กล้องวีดีโอ (Canon XL, Pana DVX, Sony PD VX Serries ฯลฯ) ...
ถ้าเป็นงานถ่ายเป็นช๊อท ๆ แบบหนัง ต้องการภาพสวย หรือ ถ่ายยาวได้แต่ไม่นานนักสัก 15 นาที 20 นาที (แต่จะอัดยาวกว่านี้ก็พอได้อยู่ หรือ สลับกล้องเอา เพราะมันอาจจะร้อนเกินไป) ควรใช้กล้อง DSLR (หมายถึง Canon 550D 60D 7D 5D Mark II, Nikon D7000, Pana GH1 GH2, Sony ฯลฯ) ... รวมถึงอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ เพื่อให้ทำงานสะดวกด้วย เช่น พวก steadicam, รางเลื่อน, jib, rail/rig, follow focus/zoom, matte box, ไฟ ฯลฯ
ฟังหูไว้หูครับ อย่าเพิ่งเชื่อทั้งหมด รอฟังท่านอื่น ๆ พร้อมกับลองศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเองไปด้วย ...
[ แก้ไขล่าสุดโดย vfspostwork เมื่อ 2011-02-04 00:40 ]