Physical Effect การจำลองเอกลักษณ์ธรรมชาติ
ฟังดูอาจจะยังงงกับความหมายภาษาไทย (ที่ผมเขียนเอาเอง) แต่ความหมายของมันคืออย่างนั้นจริงๆ เพราะผู้สร้างภาพยนตร์ไม่อาจรอวันคืนที่แดดออกฝนพรำหรือหิมะตกได้ ความคิดที่จะควบคุมธรรมชาติจึงเป็นหนึ่งในการสร้างภาพมายาที่ผู้สร้างหนังพยายามจะทำ นอกจากนั้น เหตุอันตรายทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ โดนยิง หรือแม้แต่ระเบิด ก็คงไม่มีใครอยากใช้ของจริง งานด้าน Physical Effect จึงเกิดขึ้นเพื่อทำหน้าที่ "จำลองเอกลักษณ์รรมชาติ" แบ่งแยกย่อยได้หลายส่วนคือ
ฝน
หิมะ
ลม
คลื่น
ควัน
กระจก/แก้ว
ไฟจากอาวุธปืน
วัตถุที่ถูกทำลายจากอาวุธ
ระเบิด
ยานพาหนะเสียการทรงตัว
และ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำของสิ่งใดๆที่ไม่มีร่วมในฉากในขณะถ่ายทำ (Element Effect)
ขอพูดรวมๆแบบไม่เฉพาะเจาะจงนะครับ เพราะมันค่อนข้างเยอะ เดี๋ยวจะยาว
งานPhysical Effect แบ่งกว้างๆได้2แบบคือ เลียนแบบอากาศธรรมชาติ(Nature) และการเลียนแบบการทำลาย(Blast) ซึ่งสามารถทำได้ทั้งจากการสร้างจากบุคคลหรือสร้างในขั้นตอนPost Production กล่าวคือ เมื่อเราต้องการหิมะ เราสามารถทำหิมะได้ในเซ็ทขณะถ่ายทำ หรือไปทำด้วยCGI หรือใช้ประกอบกันทั้งสองส่วน
อย่างภาพยนตร์เรื่อง แฮรี่พอทเตอร์ ที่ตรอกไดแอกอนร้านหม้อใหญ่รั่ว ได้มีการเซ็ทหิมะไว้ในฉากปริมาณหนึ่ง ก่อนไปเพิ่มส่วนหิมะที่โปรยปรายด้วยCGI เป็นการผสมสองส่วนของเทคนิดเพื่อความสมบูรณ์
การทำฝน เป็นหนึ่งในงาน Physical Effect ที่ใช่มากที่สุด แต่ก็มีรูปแบบที่หลากหลาย เพราะฝนตกได้หลายลักษณะ ตั้งแต่ปรอยๆจนถึงพายุ เทคนิคของงานจึงแตกต่างกันไป ตั้งแต่การปล่อยให้หยดผ่านตระแกรง สายยางฉีด จนถึงใช้รถน้ำขนาดใหญ่ และสิ่งที่สำคัญกับฝนที่จะสร้างให้มันมีชีวิตมากขึ้นก็คือลม
การสร้างลมก็มีรูปแบบที่หลากหลายเช่นกัน ตั้งแต่การทำลมด้วยไดรเป่าผม จนถึงพัดลมยักษ์ หรือเครื่องบินเจทอย่างในเรื่องTwisterเขาใช้เคื่องโบอิ้ง747 ในฉากพายุ
ย้อนกลับเข้ามาประวัติศาสตร์กันหน่อยนะครับ คนแรกๆที่สร้างงานPhysical Effect บนแผ่นฟิล์ม คือmack sennett
และ Buster Keaton
ซึ่งทั้งคู่คืนักแสดงตลกที่เรียกขานกันว่า slapstick comedy หรือตลกหกคะเมนนั่นเอง
ลองดูงานของBuster Keatonนะครับ จะเห็นงานทั้งฝนทั้งพายุของเขา (เฉินหลงเคยให้สัมพาทย์ว่าชายคนนี้แหละ ต้นแบบงานแอคชั่นของเขา)
เดี๋ยวมาต่อเรื่องการเลียนแบบการทำลายพวกปืน ระเบิด และรถคว่ำนะครับ