สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 6553เข้าชม
  • 13ตอบกลับ

ประเภทของ Element ต่างๆในการตัดต่อ

โพสต์
644
เงิน
16847
ความดี
14761
เครดิต
14339
จิตพิสัย
20875
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

คราวนี้เราลองมาดูเรื่องของช็อตอีกประเภท คือเวลาเราทำ CG บางอย่าง ใน 1ช็อตที่เราจะนำมาประกอบกัน มันจะประกอบด้วย ช็อตต่างๆที่แยกมาเพื่อนำมาใช้ประกอบเป็น 1ช็อตนั้น ไม่ใช่ว่าถ่ายมาแล้วใช้ได้เลยนะครับ ดังนั้นเราจะมาดูว่าช็อตต่างๆเหล่านั้นมันเรียกว่าอะไรกันบ้างครับ
(ปล. งานนี้เน้นงานวีดิโอเป็นหลักนะครับ ไม่ใช่งานฟิล์มแต่จริงๆแล้วหลายอย่างก็จะคล้ายๆกันแหละครับ เรียกได้ว่าเป็นหลักการเดียวกัน)

1. แพลทกรีน / บลูสกรีน ช็อต (Green / Blue screen plate)
อันแรกนี้ คือช็อตที่ถ่ายมาเป็นบลูสกรีน หรือกรีนสกรีนเพื่อจะนำมาตัดสีเขียว แล้วเจาะในกระบวนการโพสต์การเจาะสีเขียวหรือนำเงินนี้ ถ้าถ่ายมาดีจะทำได้โดยง่ายครับแต่ถ้าคนถ่ายๆไม่เป็นนี่ ก็ปัญหาจะตกอยู่กับเราแล้วล่ะ เพราะว่ามันจะกัดไม่หลุด หรือถ้ากัดหลุดก็หลุดไปทั้งยวง คนแขนหาย หัวขาด อะไรอย่างนี้ครับ

2. แพลท แบ็คกราวน์ ช็อต (Background plate)
อาจจะเป็นภาพจริงถ่ายมาจริงๆเลย หรือภาพที่สร้างจากกราฟฟิค หรือภาพที่สร้างโดยกระบวนการ 3D หรือ
แม้แต่การถ่ายฉากหลังมาจากแบบจำลอง ก็ได้อยู่ครับถ้ามีอะไรที่เป็นช็อตที่เป็นฉากเชิงเทคนิคของโพสต์ของเราอย่าลืมบอกทางโปรดักชั่นด้วยนะครับว่าให้ถ่ายฉากหลังมาเผื่อด้วย ฉากหลังเปล่าๆนี่แหละครับ โคตรสำคัญเลยเพราะมันจะเป็นตัวแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆได้ครับ

3. แพลท อีลิเมนท์ ช็อต  (Element plate)
อันนี้เป็นองค์ประกอบต่างๆที่นำมาเสริม ฝุ่น ควัน ไฟ หิน หลายคนคิดว่าเขียน 3D ง่ายกว่า แต่จริงๆแล้วถ้าไม่ได้ทำเองก็เสียค่าใช้จ่ายเยอะกว่านะครับ อีลิเมนต์พวกนี้ก็ตามแต่บทและจินตนาการของผู้กำกับแหละครับ เราควรเห็นคร่าวๆของช็อตที่ประกอบกันแล้วก่อน จึงออกไปถ่ายสิ่งเรานี้ตามมาทีหลัง เพื่อจะได้ใกล้เคียงกับช็อตหลักครับ
สมมุติว่ามีคนตกตึก แต่โปรดักชั่นไม่หินร่วงมาให้ เราก็ควรออกไปถ่ายหินร่วงมาให้เขา เดี๋ยววิธีทำจะว่าด้วยการ
เวิร์กช็อปในบทถัดๆไปนะครับ....

4. แพลท 3D แอนิเมชั่น ช็อต
อันนี้เกิดขึ้นที่แผนกเราเองครับ ในกรณีที่ต้องมีการเติมสิ่งต่างๆลงไป เช่นยานอวกาศคาแรกเตอร์ที่เป็นตัว 3D อย่างเช่น กอลลั่ม หรือ จาจาบิงส์ ถ้าเป็นฟิล์มเราจะส่งทั้งหมดไปผสมไปทางฝ่าย 3D โดย ตรงเลย แต่ในงานวีดิโอ บางทีเขาจะทำเฉพาะตัวที่จังหวะได้หมดแล้ว แต่คนตัดจะเป็นคนนำมาผสมเองครับ



เรามาดูองค์ประกอบในส่วนของเสียงกันบ้างครับ

1. เสียงบทสนทนา
เสียงอันแรกนี่สำคัญมากๆเลยนะครับในการถ่ายทำและตัดต่อภาพยนตร์ ถ้าเป็นหนังสั้นมันมักจะถูกอัดมาบนเนื้อเทปแล้ว ถ้าโชคดีสำหรับคนตัด ทางโปรดักชั่นจะบันทึกเสียงโดยการใช้บูม หรือไวร์เลส ก็จะมีคุณภาพเสียงที่ค่อนข้างดี ถ้าทางกองถ่ายถ่ายมาอย่างดี มีการคุมเสียงบรรยากาศมาอย่างดี กันเสียงบรรยากาศที่จะมารบกวนบทสนทนา ถ้าทำมาได้อย่างนี้จะเป็นสวรรค์ของช่างตัดต่อเลยทีเดียว

2. เสียงบรรยากาศ Ambeian
เป็นเสียงที่กองถ่ายควรจะทำมาให้เรา มันคือเสียงที่เกิดขึ้น ณ. ที่เกิดเหตุ เช่นเราไปถ่ายที่สถานีรถไฟ ตอนถ่ายเราสั่งปิดเสียงทุกอย่างเน้นเฉพาะเสียงบทสนทนา พอเราถ่ายเสร็จ เราก็จะสั่งการให้เสียงบรรยากาศจริงๆดำเนินไป แล้วเราก็จะอัดเสียงนั้นไว้ความยาวซักสองนาทีหรือสามนาที เวลาเราตัดต่อเราจะใช้เสียงบรรยากาศนี้ปูทั้งซีนเพื่อสร้างความต่อเนื่องด้านเสียง และยังสามารถใช้ได้ในเวลาที่เราหลอกถ่าย เช่นถ่ายในบ้านแต่อยากให้บ้านเป็นบ้านริมทะเล เราก็จัดการได้โดยการใช้เสียงบรรยากาศทะเลปูพื้นไว้ ประกอบกับการถ่ายเปิดหัวด้วยภาพทะเลทั้งหมดก็จะประกอบกันได้อย่างสมบูรณ์ครับ และเชื่อมั๊ยครับว่าเสียงบรรยากาศนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนมักจะลืม และทำให้งานโดยรวมไม่สมบูรณ์ เสียงบรรยากาศกระโดดไปมา ดังนั้นใส่ใจตอนถ่ายทำเพิ่มอีกนิดครับ งานเราจะสมบูรณ์มากขึ้น

3. เสียงรูมโทน Roomtone
เป็นเสียงบรรยากาศอีกประเภท แต่เป็นเสียงแบบเสียงของห้องเป็นแบบเดียวกันครับ ตอนอัดเสียงบทสนทนาเราอาจจะต้องปิดแอร์ พอถ่ายภาพเสร็จ เราก็ควรจะเปิดแอร์แล้วถ่ายเสียงเงียบของห้องเอาไว้ เพราะในความเงียบนั้นมันก็มีเสียงที่สร้างมิติในความรู้สึกของคนดูอยู่

4. ไวร์ไลน์ Wild Line
ผมไม่แน่ใจเหมือนกันครับว่าทำไมเขาเรียกอย่างนี้ แต่การทำงานนั้นคือการอัดเสียงที่หน้ากอง เพื่อนำเสียงมาเป็นส่วนประกอบ แต่ไม่ได้บันทึกตอนถ่ายทำจริงแบบตอนถ่ายบทสนทนา งงล่ะสิ ...ยกตัวอย่างแล้วกันครับ เช่นเสียงพระเอกตะโกนกลางสายฝน มันมีเสียงฝน เสียงอะไรเต็มไปหมดตอนที่บันทึกเสียงจริง ดังนั้นเราจึงต้องอัดเสียงตะโกนต่างหากแบบหยุดเสียงฝนโดยที่เราไม่ได้บันทึกภาพ เราเอาแต่เสียง เพื่อให้คุณภาพของเสียงมีความคมชัดมากขึ้นครับ และการอัดไวลด์ไลน์ยังใช้กับเสียงอีกประเภท คือเสียงจำพวก ออฟซีน คือเสียงที่มีเสียงพูดของตัวละครแต่เราไม่เห็นในฉาก

5. ADR
คือฟุตเตจเสียงบทสนทนาที่บันทึกที่หลัง เป็นการบันทึกเสียงในห้องอัดเพื่อแก้ไขความผิดพลาดจากเสียงตอนถ่ายทำ จะมีการเรียกนักแสดงมาพากษ์เสียงตัวเองเพิ่มเติมครับและอีกส่วนก็จะเป็นประเภทเสียงบรรยาย Voice Over ต่างๆ

6.เสียง โฟลีย์ FOLEY
เสียงโฟลีย์คือเสียงตัวละครที่ทำสิ่งต่างๆ เช่นเสียงย่ำพื้น เทน้ำ กดคอม  เสียงเสื้อผ้าที่สีกันเวลาเคลื่อนไหว เสียงเกราะกระทบกัน ต่างๆเหล่านี้ เสียงจริงอาจจะไม่สมจริงในความรู้สึก  จึงอาจจะมีการบันทึกใหม่เพื่อความสมจริงยิ่งขึ้นครับ

7. เสียงซาวด์ เอ็ฟเฟ็กต์
คือเสียงที่ไม่มีอยู่จริงในโลก เสียงดาบเลเซอร์สตาร์วอร์ส เสียงปืนเลเซอร์ หรือเสียงระเบิด เสียงไดโนเสาร์ เสียงครางต่ำๆเป็นเสียงเพิ่มบรรยากาศในหนังผีอันนี้จะต้องทำเพิ่มเติมครับ

8. เสียงดนตรีประกอบ
อันนี้เรื่องใหญ่ครับ ต้องมีการแต่งเพลงเพิ่มเติม และจะต้องดูเสียงทั้งหมดเพื่อไม่ให้ดนตรีเด่นเกินหน้าเสียงอื่นๆจนกลายเป็นรกเกินไป เรามีไว้เพื่อเพิ่มอารมณ์ของภาพและสร้างสรรค์ซีเควนซ์ต่างๆให้ลื่นไหลต่อเนื่องกันครับ

9. เพลงประกอบ  
อันนี้ต้องดูจังหวะครับว่าควรจะมีหรือไม่มี ถ้าแต่งดีใส่ถูกที่จะเป็นผลบวกแต่ถ้าไม่ก็จะกลายเป็นลบทันทีครับ ต้องควบคุมดีๆ แต่หลักๆจะเป็นเครื่องมีที่ดีทางด้านการตลาดคือเพลงที่เพราะมักจะส่งผลดีต่อภาพยนตร์ด้วยครับ

[ แก้ไขล่าสุดโดย foolmoon เมื่อ 2010-05-14 10:06 ]
  • รูปภาพ:Image6.jpg

บทความที่เกี่ยวข้อง

ด้วยความเคารพ
โพสต์
644
เงิน
16847
ความดี
14761
เครดิต
14339
จิตพิสัย
20875
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เวลาถ่ายทำจริงก็อย่าลืมคืดเรื่องเสียงกันไว้ก่อนนะครับ เวลาเราเข้าห้องตัดถ้าของครบเวลาตัดมันจะเร็วมากมาย
ด้วยความเคารพ
ระดับ : สมาชิก III
โพสต์
44
เงิน
743
ความดี
751
เครดิต
772
จิตพิสัย
795
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
ผมว่า wire line ที่พูดถึงน่าจะเป็น wild line ครับ คงมาจากการอัดแบบดิบๆ สดๆ ไม่ได้ไปอัดในสตูดิโอ เลยเรียกกันว่า wild มั้งครับ
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
221
เงิน
7782
ความดี
5272
เครดิต
5353
จิตพิสัย
6291
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
221
เงิน
7782
ความดี
5272
เครดิต
5353
จิตพิสัย
6291
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 4#  โพสต์เมื่อ: 2010-05-13
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆคับ
โพสต์
1858
เงิน
56103
ความดี
46498
เครดิต
51231
จิตพิสัย
52476
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 5#  โพสต์เมื่อ: 2010-05-13
เย้..... ได้ข้อมูลเพิ่มอีกแล้ว...
อ่านเสร็จแล้ว ผมเซฟเก็บเป็นแบบต่อเนื่องเลยนะครับ...เอาไว้อ้างอิง.

ขอบคุณมากนะครับ
ake
โพสต์
4768
เงิน
34014
ความดี
117475
เครดิต
125435
จิตพิสัย
118050
จังหวัด
เชียงใหม่

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 6#  โพสต์เมื่อ: 2010-05-13
ตามมาเรียนด้วยครับ ขอบคุณครับ
โพสต์
644
เงิน
16847
ความดี
14761
เครดิต
14339
จิตพิสัย
20875
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 7#  โพสต์เมื่อ: 2010-05-14
อ้างอิง
อ้างอิงโพส 2 ต้นฉบับโพสโดย madster เมื่อ 2010-05-13 13:11  :
ผมว่า wire line ที่พูดถึงน่าจะเป็น wild line ครับ คงมาจากการอัดแบบดิบๆ สดๆ ไม่ได้ไปอัดในสตูดิโอ เลยเรียกกันว่า wild มั้งครับ

ขอบคุณมากครับ รู้ที่มาซักที ถามใครก็ไม่เห็นใครรู้ซักคน แก้ไขโพสเรียบร้อยแล้วครับ
ด้วยความเคารพ
ระดับ : สมาชิก VII
โพสต์
766
เงิน
20695
ความดี
16268
เครดิต
17564
จิตพิสัย
19614
จังหวัด
เชียงใหม่

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 8#  โพสต์เมื่อ: 2010-05-14
ขอบคุณครับ อ่านของคุณ foolmoon ทีไรได้ความรู้เพิ่มทุกทีเลย
ระดับ : สมาชิก I
โพสต์
4
เงิน
50
ความดี
106
เครดิต
47
จิตพิสัย
134
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 9#  โพสต์เมื่อ: 2010-05-14
สุดยอด

ขอบคุณครับ
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
273
เงิน
8194
ความดี
6242
เครดิต
6022
จิตพิสัย
8258
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 10#  โพสต์เมื่อ: 2010-05-18
กำลังหาข้อมูลทางนี้พอดีเลย ขอบคุณครับ
ระดับ : สมาชิก I
โพสต์
3
เงิน
43
ความดี
83
เครดิต
24
จิตพิสัย
53
จังหวัด
เชียงราย
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 11#  โพสต์เมื่อ: 2010-07-17
ได้รู้อะไรเยอะเลยครับ
ระดับ : สมาชิก V
โพสต์
140
เงิน
4979
ความดี
3369
เครดิต
3284
จิตพิสัย
3467
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 12#  โพสต์เมื่อ: 2010-07-23
รับความรู้เพิ่มครับ
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
327
เงิน
9394
ความดี
6471
เครดิต
6713
จิตพิสัย
6492
จังหวัด
ปทุมธานี

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 13#  โพสต์เมื่อ: 2010-08-15
ขอบคุณ คุณ foolmoon ครับ
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้