พอดีช่วงนี้ว่างไม่มีลูกค้ามาจ้างให้ทำงาน ทำให้ยุงที่บ้านไม่มี (
เพราะกลางวันนั่งตบยุง ) ส่วนกลางคืนตอนนอนก็ฝึกโยคะ
( นอนตีนก่ายหน้าผาก แรกๆทำไม่ค่อยถึง ตอนนี้เก่งแล้ว )เห็นแป้นพิมพ์ว่าง ไม่รู้จะทำไร ก็เลยคิดว่า เอาประสบการณ์จาก ( คนความรู้น้อย )มาเล่าเป็นบทความสรุปให้น้องใหม่ได้อ่าน ส่วนพี่เก่ารู้แล้วก็ผ่านเลยไป ขจก.เอียนก็ลบได้เลยคับ......
สำหรับคนที่เป็นช่างภาพสมัครเล่น และอยากเป็นช่างภาพอาชีพ เราอยากให้คุณรู้หลักปฏิบัติ ( แต่ไม่ใช่หลักทฤษฏีนะ ) ในการถ่ายสารคดี และอื่นๆ
เมื่อเราได้หลักแล้ว ต่อไปจะไปถ่ายอะไรก็ปรับใช้ได้ตามสไตล์ใครสไตล์มัน ไม่ยากแล้วคับ...
... เคยสงสัยไม๊ว่า ทำไมช่างภาพแต่ละคนค่าตัวไม่เท่ากัน ก็เห็นมาถึงตั้งกล้องแล้วก็ถ่ายๆๆๆ ก้มเงย ก็ดูเหมือนๆกัน บางทีเราถ่ายมา
ก็ตรงกับบททุกอย่าง, อารมณ์ก็ได้ ,ภาพชัดไม่มืดไม่เบลอ , แต่คนตัดต่อบอกใช้ตัดไม่ได้ พาลไปว่าคนตัดต่อแกล้ง
( คนตัดต่อกับช่างภาพต่อยกันมาเยอะแล้วกรณีนี้ ) ไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก เลยต้องเขียนมาให้อ่าน....
เริ่มจากฝึกพื้นฐานกันก่อน ใครเก่งแล้วข้ามไปเลย..+.
ถ่ายแฮนด์เฮล ( กล้องประทับบ่า หรือถือถ่าย ) ต้องนิ่ง ภาพไม่สั่น ไหว โยกเยก กรณีนี้ผมถือมากๆ วิธีทำให้กล้องนิ่งก็คือ ( กรณีคุณไม่ใช้ขากล้อง) -
อย่าถือถ่ายเปิดจอ LCD หรือจอข้าง เพราะถือถ่ายแบบนี้ยังไงก็ไม่นิ่ง เรามักจะเห็นได้ตามงานครอบครัว งานบวชที่ถ่ายกันเอง จะถือลักษณะนี้ทั้งนั้น ( ถึงเรียกสมัครเล่น )
-
อย่าใช้ซูม ถ้าเราจะถ่ายอะไรสักอย่าง ให้เดินเข้าไปใกล้แล้วถ่าย อย่าซูมเข้าไป ณ ที่คุณยืน ถ้าไกล เพราะยิ่งไกลเท่าไหร่ภาพยิ่งสั่นเท่านั้น
-
หาที่พิง กรณีที่จำเป็นจริงๆ หาอะไรที่เป็นฐานไม่เคลื่อนไหว ให้เราพิงเอาไว้ จะเป็นเสา กำแพง หรือขอบโต๊ะ ด้านหน้า หลัง ข้างซ้ายขวา เลือกเอาก่อนถ่าย
-
หัดกลั้นหายใจ สำคัญเหมือนกัน มีช่างภาพหลายคนกลั้นหายใจไม่ได้ คือคุมการหายใจไม่ได้ ประเภทหายใจแรงเข้าออกทีกล้องโยกตาม ต้องฝึกๆๆ..
......การถ่ายภาพเคลื่อนไหวให้นิ่ง ตัวกล้องควรประทับบนบ่าขวา มือซ้ายลองข้อศอกมือขวาอีกที ขากางเล็กน้อยเพื่อเป็นฐานนิ่ง และช่องมองวิวควรชิดกับตาเพื่อคุมตัวกล้องให้นิ่ง
อีกชั้นหนึ่ง และกลั้นหายใจด้วยนะ จะทำให้ภาพนิ่งที่สุด( อยากเป็นช่างภาพมืออาชีพต้องหัด )..รูปวิธีถือกล้องถ่ายมีเยอะไปหาดูเองนะ..
กรณีถ่ายภาพออกมาแล้วสั่นไหว ยกเว้นให้กรณีเดียวคือการถ่ายข่าว ในเหตุการณ์จริง ไม่มีเวลาเตรียม แต่สำหรับถ่ายสารคดี คุณไม่ต้องรีบขนาดนั้น คุณมีเวลาเตรียมตัว
ถ้ารู้ตัวว่ามีจุดอ่อนไม่สามารถถือกล้องให้นิ่งได้ ไม่ว่าจะฝึกยังไง หัดใช้ขาเดี่ยว หรือพยายามใช้ขาถ่ายให้มากที่สุด ไม่มีใครว่าเราหรอกว่า ช่างภาพคนนี้ไม่เก่งเพราะไม่ใช้ขา
แต่ก็อย่างที่บอกควรฝึก เพราะบางมุม ขากล้องก็ใช้ไม่ได้เหมือนกัน ( ใครทำงานกับ ดร.สมเกียรติคงรู้กิติศัพท์นี้ดี อจ.เกลียดมากถ้าเห็นช่างภาพไม่ใช้ขา เวลาเดินไปไหน
เห็นช่างภาพยืนถ่ายไม่ใช้ขา อจ.เดินเข้าไปถามช่างภาพเลย ทำไมไม่ใช้ขากล้องถ่าย ... )
+.
หัดใช้อุปกรณ์ให้เป็น ให้คล่อง เช่นตัวกล้องมีปุ่มอะไรอยู่ตรงไหน จะแก้ไข ปรับเปลี่ยน จำให้หมด และการใช้ขากล้อง ก็สำคัญ ควรหัดใช้ให้เป็น ถ่ายแพนซ้ายขวา ขึ้นลง
ออกอย่าให้กระตุก จบเร็วก็ควรให้นิ่งแบบไม่รู้สึก ( หมายความก่อนซูมเข้าไม่มีกระตุก เวลาหยุดไม่เจิร์กขึ้นลง ควรนิ่งจริงๆ )
ใครอยากเก่งให้หัดใช้ขากล้องดังนี้.- - ใช้กล้องถ่ายกับภาพนิ่งขนาด5*7 วางพิงไว้บนโต๊ะ ต้งขากล้องแล้วถ่าย แพนไปมา ขึ้นลง ซูมเข้าออก ไม่ให้ออกนอกเฟรมภาพ ก่อนเดินเทปอย่าให้กระตุกจบเทปต้องนิ่ง
ฝึกถ่ายไว้ ( ฝึกไว้กรณีลูกค้าต้องการให้ถ่ายภาพนิ่งตามข้างฝาต่างๆ )
- หัดแพนกล้องจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดโดยไม่ซ้อม เช่นกล้องถ่ายจุดด้านหน้า เรามองซ้ายเห็นกรอบรูป ลองแพนกล้องจากจุดเดิมไปยังกรอบรูปแล้วซูมเข้าให้ได้ภาพ
ที่สมบูรณ์ ไม่ใช่ถ่ายเป็นงูเลื้อยกว่าจะไปถึงจุดหมาย ใช้ไม่ได้ต้องฝึกใหม่ ควรซูมเข้าไปแล้วจบได้คอมโพสเลย ฝึกเยอะๆ ฝึกถ่ายแบบไม่ได้ซ้อมหรือไม่ตั้งตัว ( กรณีนี้ฝึกใช้สำหรับถ่ายสถานที่จริง เช่น ถ่ายภาพกว้างหมู่บ้าน แล้วซูมเข้าไปที่บ้านหลังนั้น ตามที่ลูกค้าบอก )
+
ก่อนถ่ายแพนซูม และก่อนจบ ควรมีภาพนิ่งก่อน 5 - 10 วิ. เพราะตาคนเราและสมองจะรู้สึกถึงภาพนั้นๆได้ ต้องใช้เวลาไม่ตำ่กว่า 3 วิ. ส่วนมากกว่านั้นเผื่อเอาไว้ทำเอฟเฟค
เช่น คุณต้องการถ่ายภาพกว้างหมู่บ้านแล้วซูมเข้าบ้านคน ต้องเดินเทปภาพกว้างก่อน ไม่น้อยกว่า 5 วิ ( นับในใจ 1 - 5 ช้าๆอย่ารีบ )แล้วค่อยซูม พอซูมเข้าถึงบ้านแล้ว
นับต่อในใจอีก 1-5 วิ ่เช่นกัน เพื่อทิ้งเวลาให้คนดูได้รู้เห็นว่า ภาพหมู่บ้านกว้างพอเข้าใกล้แล้วมีรายละเอียดอะไรเพิ่มเติมบ้าง
ถึงตอนนี้คุณมีความรู้เทียบเท่ากับช่างภาพโดยทั่วไปแล้ว แต่ยังไม่เป็นช่างภาพมืออาชีพ คุณต้องปฏิบัติตามหลักนี้ ........( เน้นต้องทำให้ได้นะคับถ้าทำไม่ได่้ เราถือว่าคุณคือช่างภาพสมัครเล่น )....1. ต้องถ่ายช็อตเดียวได้เลย ไม่มีซำ้ 2 เช่น ลูกค้าสั่งขอกว้างแล้วซูมแคบเข้าเอาขอบเฟรมของภาพตรงนี้นะ ทีเดียวต้องได้คับ ห้ามพลาด เพราะอะไร เพราะทุกอย่างอยู่นิ่ง ไม่เคลื่อนไหว ถ่ายพลาดก็แย่แล้ว ถ่าย1 ซูมลึกไป , ถ่าย 2 กว้างไป ,ถ่ายๆๆๆกว่าจะได้ 3-4 ครั้ง รับรองกลับมาลูกค้าฟ้องบริษัทฯแน่ช่างภาพไม่โปร ถ่ายช้า งานก็เลยได้น้อย กรณีถ่ายซำ้ 2 ต้องมีเหตุผล เช่น พอดีคนเดินมาบัง หรือ ลูกค้าต้องการซูมช้า-เร็วกว่านี้ ( พลาดจากส่วนประกอบอื่นไม่ใช่พลาดเพราะเกิดจากฝีมือเรา )2. ต้องจำช็อตที่คุณถ่ายมาได้หมดในวันนั้น เช่น ไปถ่ายตั้งแต่เช้ากลับมาเย็น ถามว่าถ่ายช็อตนั้นมาหรือเปล่า ซูมจากนั่นมานี่ แพนจากนี้ไปโน่น ถ้านึกไม่ได้ก็แย่แล้ว เพราะกว่าที่เราจะกดปุ่มREC เราต้องคิดแล้วว่าจะถ่ายอะไร สมองคิดสั่งมือทำงาน ตาดูว่าภาพออกมาสวยพอใจไม๊ กว่าภาพจะบันทึกเทปได้ต้องผ่านหลายขั้นตอน
ทำกับมือแต่จำไม่ได้ แสดงว่าไม่ได้ใส่ใจ มัวแต่คุยเล่น จีบสาวกองถ่าย หรือคั่วตัวประกอบ ต่อข้อนี้เลย..
3. ห้ามคุยเล่น ( หรือนั่งจีบกัน ) ขอเถอะคับ เขาจ้างมาทำงานก็ทำๆๆไป เดี๋ยวก็เสร็จแล้วจะไปจีบกันที่ไหนก็ไปเถอะ มีเวลาอีกเยอะ ขอเบอร์โทรก่อนแล้วค่อยนัดคุยวันอื่นก็ได้ เจอมาเยอะช่างภาพรูปหล่อ กว่าจะถ่ายได้แต่ละช็อตฟอร์มเยอะ สุดท้ายงานเสียหมด ช่างภาพควรใช้สมาธิให้กับงานหน่อย คุณต้องคิดภาพ มองมุม ดูบท คุมแสง แค่นี้ก็แย่แล้ว
ยังไม่นับดูภาพรวมของงานอีก ( เอาน่ะ อดทดหน่อยรักจะมีอนาคตไกลเป็นช่างภาพมืออาชีพต้องอดทน...ดังเมื่อไหร่สาวๆวิ่งมาหาเอง )
4. ขั้นตอนการถ่ายทำ ( สำคัญที่สุดอยากให้จดและจำไว้เลย ) - เริ่มแรก ถ่ายมุมกว้างก่อน , แพนซ้ายขวา, ซูมอินเอาท์ , ทิลท์ขึ้นลงเรียงตามนี้ห้ามพลาดหรือลืม ทุกครั้งที่เปลี่ยนจุดยืน ( หมายความว่าคุณยืนตรงนี้แล้วตั้งขากล้องถ่ายแล้ว พอเปลี่ยนจุดถ่าย ย้ายไปที่ใหม่ก็เรียงถ่ายภาพตามนี้เลยนะ ..กว้าง , แพนซ้ายขวา, ซูมอินเอาท์ , ทิลท์ขึ้นลง )
ขออธิบายหน่อย เช่น วันนี้เราไปถ่ายสารคดีชีวิตคนปั้นกระถางต้นไม้ เกาะเกร็ด ฯลฯ
- เริ่มถ่าย ริมนำ้ท่าเรือ 1.- ถ่ายมุมกว้างของเกาะ ( แพนซ้ายสะพานต้นนำ้มาถึงเกาะ แพนขวาท่าเรือของวัดมาถึงเกาะ )
2. - ถ่ายซูมอินเอาท์ ถ่ายซูมกว้างเห็นเกาะล้อมรอบด้วยแม่นำ้ ซูมไปที่ตัวเกาะเห็นเรือจอดคนขึ้นลง, ซูมเอาท์เห็นเรือออกจากเกาะมุ่งมายังฝั่งท่าวัด
3.- ถ่ายทิลท์ขึ้นลง ถ่ายจากท้องฟ้าลงมาผ่านต้นไม้มาถึงตัวเกาะเห็นวัดและเจดีย์สง่างาม, แพนจากนำ้ขึ้นไปมองเห็นเงาสะท้อนเจดีย์สีขาวขึ้นไปยังวัด
ก่อนถ่ายและก่อนหยุด ภาพต้องหยุดนิ่งก่อน 10 - 15 วินะคับ ( กรณีถ่ายเป็นสต๊อกไว้สำหรับตัด ) นั่นหมายความว่า คนตัดต่อจะใช้ภาพช่วงไหนก็ได้ เช่นอยากได้นิ่งๆอารมณ์
ปรัชญาก็ใช้ใกล้เงาสะท้อนเจดีย์ในนำ้ หรืออยากได้ตอนไหนก็ได้ เพราะเรานิ่งไว้ทุกช็อตทั้งใกล้และไกล เริ่มนับขั้นตอนถ่าย 1-3 ใหม่ทุกๆครั้งที่คุณย้ายกล้อง หรือเปลี่ยนคอม
โพสภาพ เช่น เราถ่ายกว้างไปแล้วเมื่อกี๊ แต่ยังไม่ได้ย้ายไปไหน คงยืนอยู่จุดเดิม แต่เราจะเปลี่ยนคอมโพสจากกว้างมาเป็นขนาดกลาง-ขนาดใกล้ ก็เริ่มนับ 1 - 3 ใหม่ เหมือนกัน
หลักถ่ายคล้ายกันกับภาพกว้าง แต่เราจะเห็นรายละเอียดของภาพมากขึ้น ชัดขึ้น เช่น ถ่ายคนปั้นกระถาง ( เริ่ม 1 - 3 ), ถ่ายปั้นดิน( เริ่ม 1 - 3 ), ,ถ่ายเผา ( เริ่ม 1 - 3 ),,คนซื้อ
เริ่มแบบนี้ใหม่ไปเรื่อยๆ การถ่ายสต๊อกจะใช้เวลานานมากๆๆๆๆๆ บางทีมีหลายความหมาย แต่ละมุมถ่ายที 10 นาทีอย่างตำ่ ค่อยย้ายฐาน ใช้กรณีไม่มีบทและมีเวลาไม่รีบ
แต่ถ้ามีบทคุมไป หรือมีโปรดิวเซอร์เขาจะบอกเราเองว่าถ่ายแบบนี้พอ เพราะเขาไม่มีเวลามากพอต้องไปถ่ายอย่างอื่น ก็ถ่ายตามที่เขาบอกแหละ
อย่าลืมท่ีบอก...
ช็อตเดียวต้องผ่านไม่มีซำ้นะคับท่องไว้ ( ก็คิดดูซิขนาดถ่ายไม่ผิดยังใช้เวลา 10 นาที และถ้าคุณถ่ายผิดๆถูกพอดี ลูกค้าตายก่อน )
5. เ
มื่อคุณถ่ายช็อตพื้นฐาน( บังคับให้ถ่าย )ได้แล้ว ทีนี้มาถึง
" ช็อตเรียกค่าตัว " ผมเรียกของผมเองนะคับ ใครจะเงินเดือนมากน้อยตรงนี้แหละ คือช็อตค่าตัว
ที่ผ่านๆมาใครๆก็ถ่ายได้ แต่ช็อตต่อไปนี้จะถ่ายไม่ถ่ายก็ได้ ไม่ว่ากัน เช่นตัวอย่างเดิม คนที่เก่งเขาก็จะใช้กล้องแทนกระถางโดยให้คนปั้นมองผ่านกล้องสมมติกล้องเป็นกระถาง
หรือ ให้ตัวแสดงยกถาดกระถางที่ปั้นเสร็จแล้วไปตากแดด นั้นก็คือตัวกล้องที่เราวางปนไปกับกระถางที่ทำเสร็จแล้ว เวลายกกล้องก็ถ่ายเห็นกระถางเห็นหน้าคนเห็นแบ็คกราวนด์
ผ่านเคลื่อนไหว โอ้โหคิดได้ไง ..เจอแบบนี้เรียกมาคุยเลยว่าอยากได้ค่าตัวเท่าไหร่ ฯลฯ..( แต่หมายความว่าต้องถ่ายช็อตพื้นฐานให้ครบก่อนนะ )
6. มาพูดถึงกรณีที่เกริ่นไว้ว่า
คนถ่ายต่อยกับคนตัด นั่นคือเกิดจากการไม่ระมัดระวังของช่างภาพในการมองภาพ เช่น ถ่ายคนปั้นกระถางต้นไม้ บังเอิญที่ถ่ายปั้นอยู่ คนปั้นกระถาง
เกาจมูกเพราะคัน ,หรือถ่ายงานสัมมนาคนนั่งฟังนั่งหลับหรือนั่งคุยไม่ฟังคนบรรยายอะไรแบบนี้ ฯลฯ ก็อย่างที่บอก ถ่ายได้ตามขั้นตอนทุกอย่างแต่มันใช้ไม่ได้ เกิดขึ้นเพราะ
บางทีช่างภาพถ่ายไปเล่นไป, หรือบางทีถ่ายโดยไม่มองวิวกล้อง คือมองตอนแรกแล้วปล่อยตาไปมองอย่างอื่น ด้วยความประมาท , ถึงต้องมีหลัก
ในการถ่ายแบบหลายขั้นตอน เพราะเมื่อไรที่คุณถ่ายช็อตนี้เสีย ก็จะมีช็อตอื่นที่คล้ายกัน แต่อาจดีไม่เท่าไม่เป็นไร แต่ไม่ใช่ไม่มีเลย หรือต้องมาถ่ายซ่อมใหม่เสียค่าใช้จ่าย...
7.
กรณีเป็นละครสารคดี เช่น หมอรักษาคนไข้ ขั้นตอนการรักษา คนไข้เดินมานั่งคุยกับหมอ หมอพาไปนอนตรวจสุขภาพ เสร็จแล้วกลับมาสั่งจ่ายยา
ถ่ายควรถ่ายให้ครบทุกขั้นตอนไม่ใช่คนไข้นั่งคุยกับหมอ ตอนเดินมานอนไม่มี พอตัดนั่งคุย นอนคุย เสร็จนั่งคุย คนดูจะงงและปวดหัว
เขาเรียกตัวเชื่อมหรือตัวคอนตินิว สำคัญเหมือนกัน 8. ภาพซำ้คือถ่ายมาอารมณ์เดียวกัน แม้คุณจะเปลี่ยนมุมแล้วแต่แอ๊คชั่นเดียวกัน เช่น ถ่ายผ่านหลังคนไข้เข้าหน้าหมอกำลังถาม เปลี่ยนมุมก้มเงยหน้าหลัง
ก็เจอแต่หมอคุยคนไข้ ซึ่งจริงๆหมอมีขั้นตอนตรวจคนไข้เยอะ พูดคุย วัดปรอท ตรวจตา คอ การเต้นหัวใจ รอให้คุณหมอเปลี่ยนแอ๊คชั่นหน่อย แล้วค่อยถ่าย
ไม่ใช่รีบถ่ายรีบปิดงานเพราะนัดสาวไว้ ( ใครชอบถ่ายแบบนี้รับรองไม่ได้เจอคนตัดต่อต่อยคนเดียว จะเจอโปรดิวเซอร์ช่วยรุมด้วยนะคับ )
9.
อยากให้ช่างภาพตัดต่อเป็น ทำกราฟฟิคเป็น ไม่ต้องเก่งไม่ต้องรู้เยอะ แค่คัทชนง่ายๆ ให้รู้ว่า คอมพิวเตอร์ ณ วันนี้ทำอะไรได้บ้าง มีถอยหลังได้นะ
( เผื่อไม่มีเวลาเราอาจถ่ายเฉพาะตอนหยิบของ ไม่ต้องถ่ายตอนวางของก็ได้ เพราะเหมือนกัน แต่ระวังคนในกล้องที่เดินถอยหลังนะ )
ทำภาพนิ่งได้ เผื่อไปสัมภาษณ์คนแล้วเขาเลิกดื้อๆไม่นิ่ง เราก็หยุดภาพนั้นได้ ลบสิ่งไม่ต้องการได้ เผื่อไปถ่ายมุมนั้นสวยแต่ติดถังขยะ
ไม่เป็นไรเดี๋ยวเรามาลบที่คอม และเมื่อคุณมานั่งตัดคุณจะได้เข้าใจอารมณ์เครียดของคนตัดที่ต้องคอยแก้งานให้กับช่างภาพ
เพิ่มเติมนิดนะคับ ช่างภาพอาชีพจะได้แสดงฝีมือเต็มที่ก็ตอนที่โปรดิวเซอร์ไม่แกร่ง ลูกค้าไม่เป็น ก็จะให้ช่างภาพเก่งประกบไปช่วยดูแล แต่บางกรณีโปรดิวเซอร์เก่งเขาจะใช้
ช่างภาพสมัครเล่นเท่านั้น เพราะพวกนี้กลัวโปรดิวเซอร์ สั่งให้ทำอะไรทำไม่เถียง สำหรับช่างภาพมือใหม่ฝึกไว้เยอะๆ ดูงานจากรุ่นพี่ๆที่เขาถ่ายสวยก็จำมาใช้เลย หัดถ่ายงานเล็กๆ
งานในครอบครัวงานเพื่อนๆ และคิดไว้เสมอว่าอย่าให้เสียเลยสักช็อต ทำไปเรื่อยๆจะถ่ายเก่งเอง เวลาจะไปรับจ๊อบพยายามหาเจ้าของงานตัวจริงคือโปรดิวเซอร์รายการนั้นๆ ไม่ใช่
เจ้าของบริษัท เพราะถ้าเจ้าของบริษัทฯเชียร์คนนี้แต่โปรดิวเซอร์บอกงานไม่ผ่าน เจ้าของบริษัทฯก็แหยงเหมือนกัน ฉนั้นคนที่มีอำนาจในการทำรายการโทรทัศน์จริงๆ คือโปรดิวเซอร์เจ้าของงานคับ....
.สำหรับใครที่เป็นช่างภาพแล้วยังคงมีคนเรียกใช้งานอยู่ก็ขอให้รักษาความสามารถนั้นไว้ ส่วนช่างภาพคนอื่นที่มีงานน้อยก็อยากให้ลองอ่านทบทวนว่าตกหล่นตรงไหน
แล้วก็รีบปรับปรุง ทุกวันนี้ ถ่ายภาพอย่างเดียวไม่พอ ต้องกำกับเป็น ตัดต่อเป็น เรียกว่าทำงานแทนโปรดิวเซอร์ได้เลย...และยินดีต้อนรับล่วงหน้ากับช่างภาพสมัครเล่น
ที่จะก้าวมาแทนมืออาชีพเหมือนพี่ๆ รีบฝึกปรือซะวันนี้ เป็นแล้วรับรองคุ้มค่าเหนื่อยแน่ๆ ( บริษัทโปรดัคชั่นหลายแห่ง ยังต้องการช่างภาพอยู่อีกเยอะคับ )...
..แต่สำหรับช่างภาพคนไหนที่ฝึกปรือได้แบบที่ผมแนะนำแต่ยังไม่มีงาน เม้นท์มาคุยส่วนตัวได้เลยคับ..
[ แก้ไขล่าสุดโดย p0p-it เมื่อ 2011-07-01 10:33 ]