ประวัติความเป็นมาของภาพยนตร์
จากการเริ่มการแสดง ที่เป็นการเต้นที่มี สคริปต์ , ชุดแสดง, ขั้นตอนการผลิต , แนวทาง , นักแสดง , ผู้ชม , สตอรี่บอร์ดและการให้คะแนน เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในภายหลังมากในทางทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์ เช่นการวางฉาก การประมาณพื้นที่ภาพทั้งภาพที่ใดเวลาหนึ่ง เพราะว่าเมื่อก่อนยังขาดเทคโนโลยีสำหรับการทำภาพเคลื่อนไหวและการบันทึกเสียง ไว้สำหรับการเล่นเป็นภาพยนตร์
ในยุค 1860 เครื่องแสดงภาพ เช่น Zoetrope , mutoscopeและpraxinoscope. เครื่องต่างๆเหล่านี้ได้เพิ่มเดิมในเรื่องของอุปกรณ์การมองเห็น (magic lanterns ) ปรากฏการณ์ที่เรียกว่าภาพติดตา ธรรมชาติภาพที่จำเป็นต้องได้รับการออกแบบเพื่อให้ได้ผลตามที่ต้องการและหลักการพื้นฐานนี้ได้กลายเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาเรื่องของภาพยนตร์เคลื่อนไหว
การพัฒนาของเซลลูลอยด์จนถึงฟิล์มสำหรับถ่ายภาพมันได้กลายเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ที่จะจับภาพวัตถุโดยตรงในการเคลื่อนไหวในเวลาจริง ในปี 1878 โดยช่างภาพชาวอังกฤษEadweard Muybridge จากการแสดงในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้กล้องที่ถ่ายภาพ 24ภาพแสดงการเคลื่อนไหวของม้ามาต่อกัน5 ถึง 10 ภาพต่อวินาที
โดยยุค 1880 การพัฒนาของกล้องภาพยนต์ที่อนุญาตให้ได้ภาพองค์ประกอบของแต่ละบุคคลที่จะบันทึกและเก็บไว้ในม้วนเดียวกันและนำไปสู่การพัฒนาอย่างรวดเร็วของการเคลื่อนไหวภาพที่โปรเจ็กเตอร์แสงที่จะส่องแสงผ่านฟิล์มการประมวลผลและขยายภาพที่แสดงการเคลื่อนที่ ให้เห็นบนหน้าจอสำหรับผู้ชมทั้งหมด ม้วนเหล่านี้แสดงให้เป็นที่รู้จักว่าเป็นภาพเคลื่อนไหวก่อนได้แสดงให้เห็นเหตุการณ์หรือการกระทำที่ไม่มีการแก้ไขหรือเทคนิคอื่น ๆ ในโรงภาพยนตร์ การจัดนิทรรศการสาธารณะครั้งแรกของการฉายภาพเคลื่อนไหวในอเมริกาคือการแสดงที่ฮอลล์เพลง KÖSTER และ Bial ของในนิวยอร์กซิตี้เมื่อ 23 เมษายน 1896
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ผู้ที่คิดประดิษฐ์ ต้บแบบของภาพยนตร์ขึ้นคือ โทมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Adison) และผู้ร่วมงานของเขาชื่อ วิลเลียม เคนเนดี้ ดิคสัน (William kenady dickson) เมื่อ พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกชื่อว่า "คิเนโตสโคป" (Kinetoscope) มีลักษณะเป็นตู้สูงประมาณ 4 ฟุต มักเรียกชื่อว่า "ถ้ำมอง" มีลักษณะการดูผ่านช่องเล็กๆ ดูได้ที่ละคน ภายในมีฟิล์มภาพยนตร์ซึ่งถ่ายด้วยกล้องคิเนโตกราฟ (Kenetograph) ที่เอดิสันประดิษฐ์ขึ้นเอง ฟิล์มยาวประมาณ 50 ฟุต วางพาดไปมา เคลื่อนที่เป็นวงรอบ ผ่านช่องที่มีแว่นขยายกับหลอดไฟฟ้าด้วยความเร็ว 48 ภาพต่อวินาที ต่อมาลดลงเหลือ 16 ภาพต่อวินาที
รัชกาลที่ 5 เป็นคนไทยพระองค์แรกที่ได้ชมภาพยนตร์แบบนี้ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีผู้นำมาถวายให้ทอดพระเนตรเมื่อคราวเสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา ในปี พ.ศ. 2439
ต่อมาพี่น้องตระกูลลูมิแอร์ (Lumiere) ชาวฝรั่งเศสได้พัฒนาภาพยนตร์ถ้ำมองของเอดิสันให้สามารถฉายขึ้นจอขนาดใหญ่ และดูได้พร้อมกันหลายคน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์แบบนี้ว่า แบบ "ซีเนมาโตกราฟ" (Cinimatograph) นำออกมาฉายตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกตั้งแต่ พ.ศ. 2439 เป็นต้นมา ซึ่งคำว่า "ซีเนมา" (Cenema)ได้ใช้เรียกเกี่ยวกับภาพยนตร์มาถึงปัจจุบัน
ภาพยนตร์ที่สามารถฉายภาพให้ปรากฏบนจอขนาดใหญ่ ได้พัฒนาสมบูรณ์ขึ้นในอเมริกาในปี พ.ศ. 2438 โดยความร่วมมือระหว่างโทมัส อาแมท (Thomas Armat) ซีฟรานซิส เจนกินส์ (C. Francis Jenkins) และเอดิสัน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์ชนิดนี้ว่า ไบโอกราฟ (Bioghraph) ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นภาพยนตร์ได้แพร่หลายไปในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เกิดอุตสาหกรรมการผลิตจำหน่ายและบริการฉายภาพยนตร์ขนาดใหญ่หลายแห่ง ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศสและอเมริกา ภาพยนตร์ได้กลายเป็นสื่อถ่ายทอดเหตุการณ์ ศิลปการบันเทิงและวรรณกรรมต่างๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางตลอดมา
พ.ศ. 2440 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป ซึ่งในครั้งนั้นได้มีช่างภาพของบริษัทลูมิแอร์ ประเทศฝรั่งเศส บันทึกภาพยนตร์การเสด็จถึงกรุงเบอร์นของพระเจ้ากรุงสยามไว้ 1 ม้วน ใช้เวลาประมาณ 1 นาที นับว่าเป็นการถ่ายภาพยนตร์ม้วนแรกของโลกที่บันทึกเกี่ยวกับชนชาติไทย
ประวัติย่อของภาพยนตร์ ช่วงก่อนปี 1920
ของเล่นที่ต้องใช้ตาส่องดูภาพภายใน (Optical toys), การเล่นเงา รวมถึง magic lanterns นั้นมีมานานเป็นพันๆปีแล้ว และเหล่านักประดิษฐ์ นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายก็ได้พยายามศึกษาถึงการนำภาพนิ่งต่อเนื่องหลายๆภาพมาเปลี่ยนให้เป็นภาพเคลื่อนไหวโดยใช้หลักการของ “ภาพติดตา” (Persistence of vision) ซึ่งบรรดาสิ่งประ ดิษฐ์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับภาพเคลื่อนไหวนั้นถูกพัฒนาขึ้นในราวต้นศตวรรษที่19 ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอุตสาหกรรมภาพยนตร์นั่นเอง และเหล่านี้คือสิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกๆที่มีส่วนช่วยให้ภาพยนตร์ลืมตาขึ้นมาดูโลกได้ - Magic lantterns รุ่นแรกๆถูกประดิษฐ์ขึ้นที่กรุงโรมในช่วงศตวรรษที่ 17 โดย Athanasius Kircher โดยจะใช้เลนส์เป็นตัวนำภาพให้ปรากฏบนฉาก โดยใช้แหล่งกำเนิดแสงแบบง่ายๆเช่นเทียน - 1842 มีการประดิษฐ์ Thaumatrope ซึ่งเป็นการนำหลักการของภาพติดตามาใช้ โดย Dr. John Ayrton
- 1831 Michaael Faraday นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ค้นพบหลักการของไฟฟ้าแม่เหล็ก (law of electromagnetic induction) ซึ่งต่อมาถูกนำไปใช้สร้าง มอเตอร์ เครื่องจักรต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ถ่ายภาพยนตร์ด้วย - 1832 มีการประดิษฐ์ Fantascope โดยนักประดิษฐ์นาม Joseph Plateau ซึ่งใช้หลักการจำลองการเคลื่อนไหวจากภาพนิ่งหลายๆภาพซึ่งแสดงภาพต่อเนื่องของกิจกรรมต่างๆ เช่นการวิ่ง หรือการเต้นรำ โดยจะนำรูปเหล่านี้มาติดไว้ใน perimeter หรือติดไว้กับขอบของ สล็อทดิสก์ จากนั้นก็จะนำดิสก์นั้นมาวางไว้หน้ากระจกและหมุนดิสก์ก็จะสามารถมองเห็นภาพที่มีลักษณะเคลื่อนไหวได้จากการมองผ่านช่องสล็อท - 1834 มีการประดิษฐ์ Daedalum โดยนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ William George Horner (ต่อมาในปี 1867 ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น *Zoetrope โดย William Lincoln) *ภาพด้านล่างคือZoetrope ด้านในของทรงกระบอกจะเป็นรูปนิ่งต่อเนื่องกันเมื่อหมุนทรงกระบอกและมองผ่านช่องก็จะเห็นภาพเคลื่อนไหวได้
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ประวัติการกำเนิด ภาพยนตร์ไทย
ในสมัยรัชการที่ 7 ความนิยมด้านละครเพลง ต้านกระแสภาพยนตร์ฝรั่งไม่ได้ จึงต้องถอยห่างไป ภาพยนตร์ก็ได้รับการพัฒนาต่อมาอย่างรวดเร็ว จากหนังเงียบขาวดำ กลายมาเป็นภาพยนตร์สี เสียงในฟิล์ม
ในปี พ.ศ.2471 เกิดโรงภาพยนตร์เฉลิมกรุง ซึ่งเป็นทรัพย์สินของ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริเวณสี่แยก ถนนเจริญกรุง กับถนนตรีเพชร
ในกลางปี พ.ศ.2474 บริษัท ศรีกรุงภาพยนตร์ ของตระกูล วสุวัต ซึ่งมี มานิต วสุวัต หลวงกลการเจนจัด (เภา วสุวัต) กระเศียร วสุวัต ได้ถ่ายทำภาพยนตร์เสียงในฟิล์มเป็นครั้งแรก ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินี เสด็จกลับจากสหรัฐอเมริกา
โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้ทรงมีดำรัสว่า
"ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้เห็นความพากเพียร ความพยายามของหลวงกลฯ และนายมานิต วสุวัต ทำการถ่ายรูปมีเสียงในครั้งนี้ ข้าพเจ้ารู้ดีอยู่ว่า การที่ทำนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย เพราะเครื่องมือเราก็ยังน้อย อาศัยทดลองและพยายามได้ผลถึงเท่าที่นั้น เป็นเกียรติแก่ชาวไทย ซึ่งทำการสำเร็จเทียบเคียงได้กับสิ่งของต่างประเทศ"
ซึ่งนับได้ว่า เป็นกำเนิดของ "ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง" ขึ้นเป็นครั้งแรก หลังจากที่เคยถ่ายภาพยนตร์ เรื่อง น้ำท่วมเมืองซัวเถา ซึ่งนำเอาภาพถ่ายมาเรียงลำดับ แล้วถ่ายเป็นภาพยนตร์ขึ้น เคยถ่ายภาพยนตร์ การชนช้างในงานยุทธกีฬาของทหาร และภาพยนตร์ที่ถ่ายองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกอล์ฟ ที่หัวหินและเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการถ่ายทำภาพยนตร์ เรื่องนางสาวสุวรรณ ให้เฮนรี่ แมคเรย์ มาก่อน
บริษัทกรุงเทพฯภาพยนตร์ จำกัด
"โดม สุขวงศ์" เขียนไว้ในกำเนิดหนังไทย ถึงการก่อตั้ง กรุงเทพฯ ภาพยนตร์บริษัท ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างสยามภาพยนตร์บริษัท ของนายเซียวซองอ๊วน สีบุญเรือง ราชากิจการโรงหนังในกรุงเทพฯ และชาวคณะหนังสือพิมพ์ ศรีกรุง ของตระกูล วสุวัต ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างภาพยนตร์ ในปี พ.ศ.2470 ไว้ว่า
"...ตัวบุคคลสำคัญในการจัดตั้งบริษัท ซึ่งได้แก่พี่น้องในตระกูล วสุวัตอันมีนายมานิต วสุวัต หลวงกลการเจนจิต (นายเภา วสุวัต) และนายกระเศียร วสุวัต พี่น้องสามคนนี้ ต่างมีใจรักและนิสัยใฝ่ศึกษาทดลองในเรื่องของเครื่องยนต์กลไก เครื่องไฟฟ้า การถ่ายรูปและการถ่ายภาพยนตร์มาตั้งแต่เล็กแต่น้อย"
"โดยเฉพาะในด้านการถ่ายทำภาพยนตร์ พี่น้องวสุวัตได้ผ่านการฝึกฝนทดลองถ่ายทำภาพยนตร์ประเภทบันทึกเหตุการณ์ อย่างภาพยนตร์ข่าวสารและสารคดีมาแล้วเป็นเวลาร่วมสิบปี ทั้งยังเคยร่วมดำเนินกิจการจัดฉายภาพยนตร์ในนาม บริษัทสยามนิรามัย ซึ่งมีโรงภาพยนตร์ 3-4โรงในกรุงเทพฯ"
ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่สร้างขึ้น คือ เรื่อง "โชคสองชั้น" ซึ่งสร้างแซงหน้าภาพยนตร์ เรื่อง "ไม่คิดเลย" ของบริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทยซึ่งมีหลวงสุนทรอัศวราช และ หลวงสารานุประพันธ์ เป็นหัวเรือใหญ่ซึ่งเป็นที่ฮือฮามากในยุคนั้น เพราะตั้งบริษัททีหลังแต่สร้างหนังได้เสร็จและออกฉายได้ก่อน
ในเรื่องนี้เช่นกัน ขุนวิจิตรมาตรา เล่าไว้ว่า
"เนื่องจากคณะสกุลวสุวัต ได้เริ่มถ่ายทำหนังมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2464 จนได้ร่วมงานกับนายเฮนรี่ แมคเรย์ดังกล่าวแล้ว คณะสกุลวสุวัตก็คิดถ่ายทำหนังไทยออกฉายตามโรงหนัง ตั้งนามคณะว่า "ศรีกรุง" ใช้เครื่องหมายตราพระปรางค์วัดอรุณฯ หนังที่ทำมีเรื่อง "โชคสองชั้น" หลวงบุณยมานพ (แสงทอง) เป็นผู้แต่งเรื่อง "ใครดีใครได้" เรื่อง "ใครเป็นบ้า" หลวงอนุรักษ์รัถการ (เปล่ง สุขะวิริยะ) เป็นผู้แต่งและกำกับการแสดง ผู้ถ่าย คือ หลวงการเจนจิต ผู้แสดงเป็นตัวเอกมี นายเม่น ชลานุเคราะห์
หนังไทยคราวนั้น ปรากฏว่าเป็นที่นิยมชมชอบของประชาชนมาก มักเรียกกันว่า "หนังหลวงกลฯ" หรือ "หนังศรีกรุง"
ต่อมา กรุงเทพฯภาพยนตร์บริษัท ได้สร้างภาพยนตร์เรื่อง "ใครดีใครได้" ออกฉายเป็นเรื่องที่ 2 ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2470 และ เรื่อง "ใครเป็นบ้า" เป็นเรื่องที่ 3 ในปีต่อมา 30 มิถุนายน 2471
อ้างอิงจาก
http://en.wikipedia.org/wiki/Film#Historyhttp://www.thaigoodview.com/node/43891http://www.narak.com/webboard/show.php?No=17255