" ลูกค้าคือพระเจ้า " แต่ใช่ว่าพระเจ้าจะทำอะไรได้ตามอำเภอใจ เราไม่จำเป็นต้องยอมให้กับพระเจ้าเสมอไป ถ้าพระเจ้าทำผิดเราก็สามารถที่จะท้วงติงได้ พระเจ้าที่ดีย่อมเข้าใจในสิ่งท่ีถูกต้อง และฟังในสิ่งที่เราอธิบายได้... ในการทำงานกับลูกค้ามีองค์ประกอบด้วยกัน 3 ส่วนที่สำคัญ ดังนี้.- ( จำ 3 ขั้นตอนนี้ให้ดีนะคับ ).. 1. วัตถุดิบที่ลูกค้าให้มา..ถ้าลูกค้าให้วัตถุดิบอะไรมา คุณจำต้องใช้วัตถุดิบนั้นทุกอย่าง ห้ามตกหล่นแม้แต่อันเดียว เช่น ลูกค้าให้ทำ MV งานแต่งงาน แล้วให้รูปภาพมา
( คุณต้องใช้ทุกรูปทั้งหมด ที่ลูกค้าให้มา )…
2. นำวัตถุดิบที่ลูกค้าให้มา เป็นพื้นฐานต่อยอด ขยายส่วนงานเพิ่มจนจบ ตามความต้องการของลูกค้า (ที่ได้คุยกันไว้ )…
3. เสริมส่วนใหม่ตามความคิดของเราเข้าไป เพื่อให้งานนั้นดีมากขึ้นกว่าที่ลูกค้าต้องการ ( ใส่ความเป็นมืออาชีพของเราลงไปในงาน ) …..
ในกรณีส่งมอบงาน แล้วมีปัญหา นั่นคือ ลูกค้าต้องการแก้งาน เรามีขั้นตอนในการปฏิบัติให้คุณ ดังนี้คับ... 1. ลูกค้ามี 2 ประเภท คือ 1. ประเภทรู้เรื่องโปรดัคชั่น กับ 2. ไม่รู้เรื่องโปรดัคชั่น ในการทำงานโดยทั่วไปให้เราคิดว่า ลูกค้าของเราคือประเภท 2 ไม่รู้เรื่องโปรดัคชั่น ฉนั้น หน้าที่ของเราก็คือ
จำต้องอธิบายถึงขั้นตอนการทำงาน ความยากง่ายของงาน ปัญหาที่เจอในการแก้งาน อาจออกมาดีหรือไม่ดีกว่าเก่าได้ …( ลูกค้าบางคนอาจรู้เรื่องโปรดัคชั่นก็ไม่เป็นไร อธิบายซำ้อีกครั้ง )
2. ถ้าลูกค้าฟังแล้ว เข้าใจทุกอย่างที่เราอธิบาย แต่ยังยืนยันที่จะขอแก้งาน ให้เรากลับมาย้อนดูงานนั้นอีกครั้งว่า ลูกค้าขอแก้ในส่วนไหน ( ใน 3 ส่วนองค์ประกอบข้างต้น ) …. ถ้าเป็นส่วน 1 ก็คือ ลูกค้าบอกให้ทำแต่กลับมาขอแก้ไขในภายหลัง ส่วนนี้เราจำต้องยอมแก้ให้นะคับ คุณไม่มีสิทธิ์ไปโกรธลูกค้า เพราะถือว่าเป็นความผิดร่วมกัน 2 ฝ่าย
- กรณีลูกค้าสั่งงานผิด ในฐานะคนผลิตก็มีความบกพร่อง มองงานไม่ขาด เมื่อเห็นว่าไม่ดีทำไมไม่ท้วงติงตั้งแต่แรก ผลิตออกมาทำไม ( ข้อนี้ห้ามเถียงนะคับ ถ้าเถียงรับรองโดนด่าเละ )..
- หรือ ลูกค้าอาจผิดจริงก็ได้ แต่ก็มีสิทธิ์ที่จะแก้ไข ถ้าไม่ชอบ ( ก้อฉันเป็นคนจ่ายเงินนี่ยะ )….ส่วน 1 มีสิทธิ์แค่ทำตาปริบๆให้ลูกค้าสงสาร เพื่อจะได้ไม่แก้งานเยอะ ..
…..ถ้าเป็นส่วน 2 คุณมีสิทธิ์ที่จะอธิบาย ถ้าลูกค้าต้องการแก้งาน คุณมีแม่นำ้กี่ร้อยสาย มีถนนกี่เล่มเกวียน ฟ้าครึ่ง แผ่นดินครึ่ง นำมาผูกโยงให้เป็นเรื่องเดียวกันให้ได้
และสุดท้าย พยายามพูดให้ลูกค้าเชื่อว่า สิ่งที่คุณทำนั้นคือสุดยอดของความเป็นมืออาชีพแล้ว ( อย่าแก้เลยนะคับ ) แต่ถ้าลูกค้ายังยืนยันที่จะแก้อยู่เช่นเดิม ความผิดก็จะกลับมาที่คนผลิต
เหมือนเดิม คือคุณจำต้องแก้งานตามที่ลูกค้าต้องการไม่ว่าจะพอใจหรือไม่ นั่นเป็นเพราะว่า คุณขายงานไม่ผ่าน. หรืองานอาจไม่ดีจริง ( มือใหม่แก้ซะดีๆ ห้ามติ๊สส์ )…
…..และส่วน 3 คือส่วนที่คุณเพิ่มเข้าไป ถ้าลูกค้าจะขอแก้ส่วนนี้ คุณมีสิทธิแล้วคับ (ลุกขึ้นยืน ยืดอกสามศอกให้ลูกค้าเห็น ) มีสิทธิ์ที่จะแก้หรือไม่แก้ หรือจะยกออกทิ้งท้งหมดเลยก็ได้ เพราะถือว่า
เป็นสิ่งที่คุณเสริมเพิ่มเติมแต่งเข้าไป ให้เนื้อหาเด่นขึ้น ดีขึ้น เราชอบแต่ลูกค้าไม่ชอบไม่เป็นไร ก็เอาทิ้งซะหมดเรื่องไป ( อย่ายอมแก้ในส่วนนี้โดยเด็ดขาดเลยนะคับ ไม่งั้นเรื่องยาวไม่จบง่ายๆ )
เพราะจะกลายเป็นประเด็นใหม่ พัวพันเพิ่มเข้าไปอีกหลายข้อ เพราะลำพังแก้ส่วน 1 และส่วน 2 แค่นี้ก็ตายหยังเขียดแล้วคับ ( ขนาดสั่งเองยังไม่ชอบ แล้วคุณทำให้..เขาจะชอบได้ยังไง )…
ถ้าวันนี้ คุณทำงานแล้วลูกค้าขอแก้งานไม่รู้จักจบสิ้น นั่นแสดงว่า ประสบการณ์ในการทำงานของคุณกับลูกค้าหลากหลายประเภทยังน้อยอยู่ ก็อย่าเพิ่งถอดใจนะคับ ค่อยๆทำ ค่อยๆแก้งานไป
ตามที่ลูกค้าต้องการ ส่วนจะแก้กี่ครั้ง มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของคุณกับลูกค้าในแต่ละราย ไม่มีมาตราฐานตายตัว แต่ขออย่างนะคับ " ห้ามทิ้งงานโดยเด็ดขาด " ทำให้เสร็จให้จบ
แล้วงานหน้าจะรับหรือไม่รับทำให้กับลูกค้ารายนี้ ก็ขึ้นอยู่กับอนาคตคุณแล้วคับ ทำมากๆ ทำบ่อยๆ ประสบการณ์ในการรับงาน จะสอนให้คุณสามารถวิเคราะห์ลักษณะของลูกค้าคนนี้ออก
ก่อนรับงานมาทำ ว่าคุ้มเหนื่อยหรือไม่..ไม่เคยได้ยินพี่ๆเขาพูดหรือคับ
" ไม่รู้ว่าโชคดีหรือโชคร้าย ที่ได้งานจากลูกค้ารายนี้ " [ แก้ไขล่าสุดโดย p0p-it เมื่อ 2012-03-12 08:59 ]