สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 5669เข้าชม
  • 7ตอบกลับ

การถ่ายแบบแฮนด์เฮล ใช้ได้กับอารมณ์หนังแบบไหนได้บ้างครับ

ระดับ : สมาชิก V
โพสต์
151
เงิน
2647
ความดี
3248
เครดิต
3112
จิตพิสัย
3602
จังหวัด
สุราษฎร์ธานี
การถ่ายแบบแฮนด์เฮล ใช้ได้กับอารมณ์หนังแบบไหนได้บ้างครับ
เท่าที่คิดได้ตอนนี้ ก็ใช้กับการที่เราจะเน้นให้คนดูเข้าถึงอารมณ์ในเหตุการนั้นมากๆ ให้รู้สึกว่ามีส่วนร่วมด้วย ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกต้องไหม
แต่มันเอาไว้ใช้สร้างอารมณ์แบบไหนได้อีกบ้างครับ อยากทราบไว้เป็นความรู้เพื่อจะได้ใช้ได้ถูกต้องนะครับ
ขอบคุณทุกความรู้ในที่นี้ที่ทำให้ผมได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่างครับ
ขอบคุณครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

โพสต์
1168
เงิน
213
ความดี
29205
เครดิต
30232
จิตพิสัย
35008
จังหวัด
ขอนแก่น

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 7#  โพสต์เมื่อ: 2012-05-26
เห็นกระทู้แล้วนึกถึงเรื่อง City of god กับ City of men แล้วก็ชาร์ลี โมพิกเลย 5555 มึนหัวแต่ได้อารมณ์ดี
ระดับ : สมาชิก V
โพสต์
151
เงิน
2647
ความดี
3248
เครดิต
3112
จิตพิสัย
3602
จังหวัด
สุราษฎร์ธานี
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 6#  โพสต์เมื่อ: 2012-05-24
ขอบคุณมากๆ เลยครับท่านอาจารย์ pop-it เป็นความรู้ที่ดีและมีประโยชน์มากๆครับ
ไม่คิดไม่ฝันเลยว่าจะมีไอด่อลของผมเข้ามาช่วยตอบให้ละเอียดถึง2คนเลย
ขอบคุณมากๆครับ
โพสต์
787
เงิน
5355
ความดี
14867
เครดิต
11447
จิตพิสัย
37005
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 5#  โพสต์เมื่อ: 2012-05-22
การถ่ายภาพแฮนด์เฮล ( ถ่ายแบบคนเมา ) เป็นการถ่ายภาพแบบสั่นไปมา วัตถุประสงค์ก็คือ ต้องการนำเสนอความแปลกใหม่ หรือเป็นการเน้นเฉพาะซีนนั้น
ให้เด่นขึ้น เช่น มิวสิคคนอื่นตั้งกล้องนิ่งเราก็ถ่ายแบบแฮนด์เฮล  , หรือแทนสายตาตัวละคร ( โดยถ่ายแบบกระตุกตามจังหวะที่เดิน )

ฟังอาจารย์ใหญ่พี่ฟูลมูนทางทฤษฏีไปแล้ว ผมอาจารย์เล็กภาคปฏิบัติ ก็มีคำอธิบาย โดยทั่วไปมีวัตถุประสงค์ดังนี้คับ..

1. แบบเราเป็นผู้เล่าเรื่องเอง เหมือนเรานั่งคุยกับเพื่อน แล้วเล่าเรื่อราวของบุคคลที่ 3 ให้เพื่อน บุคคลที่ 2 ฟัง โดยเราเป็นบุคคลที่ 1 เป็นผู้เล่า โดยเราจะแสดงเอง       หรือ ให้คนอื่นแสดงเป็นตัวแทนเราก็ได้ ( กล้องแฮนด์เฮลคือตัวเราบุคคลที่ 1 ผู้เล่านำเสนอเหตุการณ์ ) ที่ใช้บ่อยคือ ภาพแทนสายตาของผู้เล่า
2. แบบเราเป็นผู้สังเกตุการณ์ฟังคนอื่นเล่า เหมือนเราเข้าไปนั่งร้านกาแฟ แล้วเห็น ชายหญิงทะเลาะกัน ต่างคนต่างระบายความอัดอั้นตันใจที่มี ชายพูด หญิงพูด
      เรามีหน้าที่ฟังแล้วสังเกตุดูว่า ต่อไปจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง ( กรณีนี้ กล้องแฮนด์เฮลคือตัวเราบุคคลที่ 3 ที่นั่งฟัง ) ที่ใช้บ่อยก็พวก
      แทนสายตาผีที่เห็นเราทำอะไรทุกอย่าง

        จริงๆแล้วมีใช้อยู่ 2 กรณีนี้เท่านั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นหลายคนดูแล้วบ่น เวียนหัว หรือดูไม่รู้เรื่อง ก็เพราะเราใช้ทั้งแบบ 1 และ แบบ 2 มาปนกันมั่วไปหมด
      เดี๋ยวแทนคนเล่า เดี๋ยวแทนคนสังเกตุการณ์  หนักเข้าแทนตัวแสดงเลยก็มี โดยไม่แบ่งอารมณ์ให้คนดูเข้าใจ ยกตัวอย่างเช่น
        ชายเดินเข้าไปในบ้านร้างเห็นของภายในระเกะระกะ                     -  ภาพแฮนด์เฮล ( แทนสายตาคนเดิน ) เห็นสิ่งต่างๆภายในบ้าน
        ชายเดินขึ้นบันไดไปที่ห้องนอนเห็นคราบเลือด                           -   ภาพแฮนด์เฮล( แทนสายตาผี ) เห็นชายเดินไปมาในห้องนอน
        เห็นมือเลื่อนเข้าไปแตะตัวชายหันมาตกใจ                                -   ภาพแฮนด์เฮล ( แทนสายตาเพื่อน ) เอื้อมมือมาแตะไหล่
     เป็นไงคับ แค่3 ตัวอย่างก็เริ่มงงแล้ว ยังมีแทนสายตาคนหนึ่งมองเห็นผี แทนสายตาคน 2 มองไม่เห็น แทนสายตาผีมองที่ 2 คน แทนสายตาเพื่อนทั้งกลุ่ม
     มองมาที่ 2 คน ถ้าชอบแฮนด์เฮลและอยากรู้วิธีใช้ก็ลองไปดูหนังผีเกาหลีซิคับ ( น่ากัวสุดๆ ) จะได้รู้วิธีการใช้แฮนด์เฮลแทนตัวละคร สลับกับแทนแต่ละเหตุการณ์   
  อย่างไรไม่ให้คนดูสับสนถ้าจะทำ เรามีคำแนะนำที่นึกออกตอนนี้. -คือ การใช้แฮนด์เฮล..

1. อย่าใช้พรำ่เพรื่อ คือใช้แทนทุกตัวแสดง คนดูจะงงจับต้นชนปลายไม่ถูกว่า กล้องเป็นตัวแทนของใคร?..
   2. อย่าใช้ต่อกันทันที การใช้หลายอารมณ์ต่อเนื่องกัน คือแทนคนดู แทนคนแสดง แทนสายตา คนดูจะสับสนในอารมณ์ที่นำเสนอ?..
    3. ควรมีเอกลักษณ์เฉพาะและแตกต่างในแต่ละเหตุการณ์ที่นำเสนอ เช่น แทนสายตาผีภาพอาจเกรดสี , หรือใช้เสียงเอฟเฟคแทนสายตาตัวละครที่มอง
         เพื่อบอกคนดูรู้ว่า  กล้องกำลังเป็นตัวแทนของใคร
4. และข้อสุดท้ายสำคัญที่สุด จำเป็นต้องมีหรือไม่ ใช้แล้วไปได้กับเนื้อเรื่องที่เราวางไว้หรือไม่ ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าใช้เลยคับ ( ถ่ายแบบคนเมา )
         ทำธรรมดาคนดูก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่องอยู่แล้ว  เพิ่มแทนสายตา( คนเมา )เข้าไปอีก ยิ่งเล่นเยอะยิ่งเละ ระวังนะคับ ...
         มีเร่ื่องเล่าในทีมถ่ายมิวสิค ( เคยเขียนเล่าไปแล้ว ) ผู้กำกับสั่งให้ช่างภาพถ่ายนักร้อง ถ่ายยังไงก็ไม่ชอบ ตินั่นตินี่ตลอด จนช่างภาพกับผู้กำกับเกือบ
         วางมวยกัน ขณะที่เถียงกันอยู่ พอดีช่างภาพถือกล้องแกว่งไปมา ผู้กำกับเห็นภาพจากมอนิเตอร์ก็บอก นั่นเลยใช่แล้ว ภาพที่อยากได้ ถ่ายแบบนี้ล่ะ
          ช่างภาพ มองมือที่ถือกล้องแกว่งไปมา ทำหน้างงๆ แต่ก็ถ่ายแบบที่ผู้กำกับต้องการจนจบเพลง ทุกคนแฮปปี้ จบงานช่างภาพนั่งบ่นพึมพำกับตัวเอง ...
         "  ถ้าต้องการภาพแบบนี้ เอากล้องไปผูกคอหมาให้วิ่งไปมาก็ได้ ไม่ต้องมาจ้างผมให้เสียตังค์ " .... เรื่องขำขันแต่เป็นเรื่องจริงนะคับ..
        
บันทึกคะแนนนี้โพสต์ล่าสุด: รวม 3 คะแนน ซ่อน
next13 ความดี +50 2012-05-24 ขอบคุณคร๊าบบบ
mana ความดี +1 2012-05-23 -
wulongcha ความดี +10 2012-05-22 -
ระดับ : สมาชิก V
โพสต์
151
เงิน
2647
ความดี
3248
เครดิต
3112
จิตพิสัย
3602
จังหวัด
สุราษฎร์ธานี
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 4#  โพสต์เมื่อ: 2012-05-22
ขอบคุณคุณ foolmoon มากๆเลยครับ  ได้ความรู้ หายสงสัย แถมได้ของแถมมาอีก ไว้อันไหน เสริชไม่เจอ ขอมาตั้งถามอีกนะครับผม ขอบคุณครับ
ป.ล.ขอสารภาพผิดว่า ตั้งคำถามกว้างไปนิด ที่อยากรู้จริงๆคืออาการ สั่นหน่อยๆของภาพ คล้ายๆใส่เลนส์ 85แล้วใช้มือถ่ายหน่ะครับ แต่ท่าน foolmoon ตอบได้ครอบคลุมหมดอีกเช่นกับ ขอบคุณมากๆเลยครับผม
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
284
เงิน
4782
ความดี
5756
เครดิต
6295
จิตพิสัย
7024
จังหวัด
เพชรบุรี
ผมเคยไปเม้นหนังสั้นเรื่องหนึงเค้าใช้แฮนดีแคมถ่ายโดยไม่ใช้ขาตังกล้องเกือบทั้งเรื่องเลยมุมสั่นไปสั่นมา..เป็นหนังแนววส่งเสริมการท่องเที่ยว..ผมเลยบอกว่าเนื่อเรื่องโอเคนะ..แต่ถ้าให้ดีใช้ขาตั้งกล้องทุกซอตจะดีมาก(เพราะสถาปัตยกรรมหรือสถานที่ท่องเที่ยวจะมองให้สวยมุมมันต้องนิ่ง)..เค้าเม้นกลับมาว่าเค้าตั้งใจให้มันเป็นแบบนี้เอง..ผมเลยเงียบไป  


ปล.ผมเม้นในฐานคนดูนะไม่ได้เปนผู้รู้แต่ประการใด อิอิ
[ แก้ไขล่าสุดโดย mana เมื่อ 2012-05-22 13:52 ]
โพสต์
644
เงิน
16847
ความดี
14761
เครดิต
14339
จิตพิสัย
20875
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

ปกติการถ่ายทำแบบแฮนด์เฮลด์ มักจะใช้กับการสร้างอารมณ์ความรู้สึกที่สมจริง ไม่ใช่เพราะว่ากล้องสั่นเหมือนคนเดินนะครับ แต่เป็นการเลียนแบบจากลีลาของข่าว หรือการใช้กล้องแบบแฮนดิแคม เพราะว่าคนดูคุ้นเคยกับภาพแบบนี้กับเรื่องที่เป็น Reality มันเลยทำให้เกิดความสอดคล้องกันในด้านความรู้สึกครับ

จริงๆมันก็ไม่ได้เป็นกฏอะไร มันอยู่ที่ความรู้สึกช่วงนั้นมากกว่า จนตอนหลังก็มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย แม่กระทั่งหนังจัดเฟรมเองก็เอาแบบนี้มาใช้ ช็อตปกติก็ต้องมีแอบโยคแอบคลึงกันบ้าง  เขาว่่ากันว่านะครับ การถ่ายทอดในลักษณะนี้ให้ผลในการสะท้อนความไม่มั่นคงของตัวละคร มักจะเห็นได้เยอะในหนังดราม่าอินดี้ต่างๆ

แต่ข้อแม้สำคัญของงานประเภทนี้คือ ช่างภาพ (Camera Op) ต้องเก่งครับ เพราะว่าการคอมโพสต์แฮนด์เฮลด์นั่นไม่ง่ายเลยครับที่จะทำให้ได้จังหวะและสวยงาม. และผู้กำกับภาพต้องแม่นพอตัว

แถมให้ครับ การใช้ภาพแนวนี้ถ้าตามทฤษฏีเป็นเรื่องของฟอร์มภาพครับ เป็นหนึ่งในกฏของ mise en scene (การจัดองค์ประกอบภาพเพื่อสื่ือความหมาย). ในนั้นว่ากันว่ามีการจัดการฟอร์มของภาพอยู่สองแบบนั่นคือ ภาพฟอร์มเปิด และภาพฟอร์มปิดครับ

ภาพฟอร์มปิด คือการจัดวางองค์ประกอบอย่างเนี๊ยบ แน่น คอมโพสต์เป๊ะ ตัวละครจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเฟรมภาพ มักใช้ในหนังที่มีการสื่อความทางรูปแบบทางศิลปะเยอะๆ อย่างใน Raise of the red lantern ของ จางอี้โหมว หนังทั้งเรื่องแทบเป็นอย่างนี้ครับ กล้องและตัวละครไม่ได้อิสระ เพราะว่าองค์ประกอบทั้งหมดเป็นตัวสร้างความหมายและอารมณ์

ส่วนภาพฟอร์มเปิดนั้น กล้องจะปล่อยตัวละครเล่นไป แล้วกล้องจะเข้าไปจับเหตุการณ์นั้นอย่างลื่นไหล ความเป็นอิสระสูงมาก ฟอร์มแบบนี้มีไว้สะท้อนความสมจริง กล้องจะเคลื่อนไปอย่างลื่นไหลตามตัวละคร หรือบางครั้งอาจจะไปจับอะไรอย่างอื่นที่เหนือความคาดหมายก็ได้ อันนี้หลายคนคงได้เห็นพลังของการใช้ภาพฟอร์มเปิดจากเรื่อง saving private Ryan ของสปีลเบิร์กกันมาแล้ว วา Omaha scene ในตำนานนั้นมีพลังแค่ไหน
บันทึกคะแนนนี้โพสต์ล่าสุด: รวม 4 คะแนน ซ่อน
wulongcha ความดี +10 2012-05-22 -
next13 ความดี +50 2012-05-22 ข้อมูลแน่นพร้อมของแถมจริงๆครับ
mana ความดี +1 2012-05-22 -
artery-art ความดี +1 2012-05-22 -
ด้วยความเคารพ
ระดับ : สมาชิก V
โพสต์
187
เงิน
289
ความดี
3224
เครดิต
3232
จิตพิสัย
3859
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
หนังแบบพวกโรคติดต่อ เหตฉุกเฉินไรพวกนี้ละครับ ฮิทอยู่พักนึง ส่วนตัวผมไม่ชอบเลย เวียนหัว
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้