ก่อนอื่น ขอเกริ่นนำสำหรับคนที่ไม่ทราบว่าหลอดชนิดนี้ทำงานได้อย่างไรก่อนนะครับ
หลอด Fluorescent ถูกผลิตและใช้งานเชิงพาณิชย์ครั้งแรก ในปี 1939 ซึ่งผมไม่ขอเอ่ยชื่อผู้คิดค้นละกันเพราะจำไม่ได้ครับ
ทำงานโดยการใช้ท่อที่ถูกดูดอากาศออกจนหมดแล้วใส่อาร์กอนและไอปรอทลงไป แล้วปิดท้าย 2 ฝั่งด้วย ใส้หลอด ซึ่งถ้าใครเรียนฟิสิกส์มาคงจะทราบดีว่า การให้อิเล็กโทรดมีความร้อนนั้น จะทำให้มีการปล่อยอิเล็กตอนให้ดีขึ้น จึงจุดหลอดได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งไฟแรงดันสูงมากนัก จุดหลอดติด เกิดรังสี UV-C ซึ่งมีพลังงานสูง กระทบการเรืองแสงที่เรียกว่าฟอสเฟอร์ เกิดแสงขึ้น บลาๆๆๆ
ทีนี้ เข้าเรื่องดีกว่า "แล้ว Fluorescent เกี่ยวอะไรกับงานฟิล์มและวีดีโอ"
หลายครั้ง ที่เมื่อก่อน เคยทดลองกัน ในการนำหลอดชนิดนี้มาใช้ในงานนี้อย่างจริงจัง เป็นแสงสว่างหลักแทนทังสเตน เนื่องจาก เบา เย็น และแสงกระจาย (Soft) แต่ก็ต้่องพบกับความล้มเหลว เมื่อนำมาใช้เพราะสารเรืองแสงในสมัยนั้น เปลี่ยน UV เป็นแสงได้คุณภาพค่อนข้่างต่ำ โดยเฉพาะ ติดเขียวๆ ที่ทำให้ผิวนั้น ดูแย่มากๆ เหมือนป่วย นั่นเป็นเพราะ Green Spike ที่มาจาก Mercury Emission line คือสีที่เป็นธรรมชาติของไอปรอท ใครฟังแล้วงง ดูจากกราฟแล้วคงเข้าใจนะครับ แสงสีขาวนั้นประกอบด้วย สีรุ้ง ซึ่งควรอยู่ในระดับสมดุล ที่เราเรียกในอุดมคติว่า daylight
เจ้ากราฟที่พุ่งสูงตัวนี้หละ ทำให้เราไม่สามารถใช้หลอด Fluorescent ในการถ่ายภาพยนต์ในอดีตได้
"อดีต??? แล้วปัจจุบันถ่ายได้หรอ"
ปัจจุบัน เรามี กล้องที่สามารถ WB ได้ ทำให้สามารถเกลี่ยการรับแสงแต่ละสีให้สมดุล โดยอิงค่ามาตราฐานสีเป็นหลัก ทำให้เราสามารถทำให้เขียวน้อยลงได้ เย้
แต่ปัญหาในอดีตยังไม่จบครับ
ในปี 1987 มีการถ่ายภาพยนต์เรื่อง Barfly (ก่อนผมเกิดอีก แถมยังไม่ได้ดูเลย)
Robby Mueller ผู้กำกับ ได้บอกให้ Frieder Hochheim และ Gary Swink ซึ่งเป็นฝ่ายไฟฟ้า ช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ จึงได้ สร้างหลอด Kino Flo ขึ้นมา และก็ใช้อย่างแพร่หลายมีจวบจนปัจจุบันนี้
"มันต่างกันอย่างไรกับหลอดธรรมดา"
คำถามนี้อยู่ในหัวผมมานานนับปี ว่า ทำไม มันถึงต่าง (เรื่องราคานี่ เอ่อ ค่าความคิดมั้ง)
คำตอบเกิดหลักจากผมศึกษาค้นคว้าทางโลกไซเบอร์ต่างประเทศ รวมถึงซื้อมาลองเอง
1.อุณหภูมิสีต่างกัน Cool Daylight ที่เราจะหาได้ตามร้าน แม้จะใช้หลอด Super 80 ที่สีดีที่สุดเท่าที่ผมทดลองมาแต่มีอุณหภูมิสี 6500K ตั้ง 5500-5600K ชัดเจนที่มันสร้างปัญหาเวลารวมกับแดด เนื่องจาก มี Green Spike อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น หลอด Kino Flo KF55 มี Green Spike เช่นกัน แต่เพิ่ม Megenta เข้าไป ทำให้ตาเปล่าเราจะมองดูแล้วออกม่วงๆ แต่เข้ากล้องแล้ว ขาวปกติสวยงาม ดั่งข้อมูลจากผู้ผลิต
Megenta เป็นสีออกม่วงๆ ซึ่งมีคุณสมบัติตัดกับสีเขียว ทำให้เวลาเข้ากล้องนั้น ออกมาเป็นปกติ เหมือนแสงแดด
2.CRI เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมานานมาก ง่า ค่าเยอะย่อมดีกว่า จริงครับ เกรดใช้ในงานวีดีโอต้องตั้งแต่ 85ขึ้นไป ใช้อ้างความถูกต้องของสี กับแสงในอุดมคติ (ที่มีจริง) โดยต้องอ้างกับแหล่งแสงอุณภูมิสีเท่ากัน
3.ความต่อเนื่องของ Spectrum
สังเกตุเห็นข้อแตกต่าง ระหว่าง Spectrum Kino Flo กับหลอด Tri Phosphor "เดี๋ยว น้อง พี่ไม่รู้จัดอะ ไตรฟอสฟงฟอสเฟอร์อะไร พี่ถ่ายวีดีโอ ไม่ใช่นักฟิสิกส์" เดี๋ยวครับ คือ ชนิดของสารเรืองแสง มันมีอยู่ 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ Halophosphate กับ Tri-Phosphor
ผมไม่อธิบายประวัติคนคิดแล้วกันนะครับ แต่ผมบอกข้อแตกต่างได้คือ
Tri Phosphor จะใช้ 3 สี รวมกันให้ได้แสงขาว ทำให้เห็นสเปกตรัมแตกออกเป็น 3 ช่วง Peak หลอกตาเราให้เป็นสีขาว โดยสามารถผสม ให้ได้สีที่ต้องการได้ด้วย Tungsten, Daylight ได้เยอะเลย แต่ถ้าสังเกตุดีๆนะครับ ไม่มีฟอสเฟอร์สีใด ให้ สีแดงแบบที่ เซ็นเซอร์กล้องจะกรองไปใช้ และสีน้ำเงิน ก็ไม่ใช่ช่วงที่กล้องนำไปใช้ เหลือสีเขียว ที่มันตร๊งตรงกับเขียวของเซ็นเซอร์เป๊ะๆ นี่คือสาเหตุว่าทำไม ก็ยังเขียวอยู่ แม้ผมจะไม่ได้ชี้ว่า หลอดนั้นจะ 3 สี สูงเท่ากัน ก็ติดเขียวอยู่ดี
Halophosphate อันนี้เขียวแน่นอนครับ เนื่องจากใช้สารชนิดเดียวในการสร้างแสง ไม่ขอเอ่ยชื่อละกัน ข้อดีคือ สเปกตรัมต่อเนื่องมาก แต่ขาดสีแดง เหลือสีเขียวอีกเช่นเคย
แต่ด้วยการคัดสรรสารที่จะนำมาใช้ มีหลายตัวครับ ซึ่งให้คุณภาพต่างกัน ซึ่งปัจจุบัน ตัวที่ดีที่สุด ก็ยังดีที่สุดอยู่ เช่น Philips TL-950 ให้ CRI ถึง 98 เหมือนจริงมากๆ แต่สารเรืองแสงชนิดนี้ มีข้อเสียครับ ยิ่งคุณกรองสีเขียว เกลี่ยให้เท่ากันเท่าไร มันก็ยิ่งลดปริมาณแสง จำได้ไหมครับ ปริมาณสีที่มากที่สุดในสเปคตรัมที่หลอดเปล่งออกมาคือเขียวของ Mercury Emission Line ปริมาณแสงจึงลดลงไปมาก
เปรียบเทียบ Super 80 -865 36W = 3300Lm
TL-950 -950 36W = ~2400Lm
สว่างต่างกันมากครับ ราวๆ 28%
"หลอดมันยิ่งเบาสู้อะไรไม่ได้อยู่แล้ว ยังจะเบาลงไปอีกพอกรองเขียวออก"
Kino Flo เลยจัดการ Over Watt หลอดครับ โดยธรรมชาติเมื่อทำการเพื่มกำลังไฟ ย่อม เพิ่มแรงดันไอปรอท ผลคือ ยิ่งเขียว
เลยจัดการเพิ่มม่วงเข้าไปอีก ทำให้หลอด 4ฟุต T12 มีกำลังถึง 75W ให้แสง เท่าๆกับ Philips Super 80 36W คือ 3350 ลูเมน
นั้นคือสาเหตุ ว่าทำไม วัตต์ถึงเยอะกว่าชาวบ้าน ไม่ได้ต้องการสว่างกว่า แต่ทำให้ตัวเองสว่างอยู่ในเกณฑ์ใช้งานได้
ทีนี้ เรามาดูหลอดในตลาดที่ขายกันตอนนี้บ้างครับที่ไม่ใช่ Kino Flo
หลายๆทีที่ผมเห็นหลอด 5500K ขาย อยู่ ผมก็อดใจไม่ได้ที่ีจะซื้อมามาทดลอง พวกหลอดที่เค้าว่าเอาไว้ถ่ายรูปก็ยังไม่ได้ซื้อเพราะยังไม่อยากเสียเงิน
ข้อสรุปจากการค้นคว้าของผมที่ให้คำตอบสำหรับทุกท่านในที่นี้คือ
- หลอดทั่วๆไป ไม่ใช่ Continuous Spectrum แบบที่ Kino Flo มี แม้แต่ Osram StudioLine และ GE StudioBiax GE บอกไว้จัดเจนว่า หากนำไปใช้กับฟิล์ม ต้องใช้ CinemaBiax
- ในสำนักข่าวที่ต้องการแสงจำนวนมาก แต่คุณภาพไม่จำเป็นต้องสุดยอด ขออยู่ในคุณภาพในเกณฑ์เนื่องจากไม่มี Post มากมาย GE กล่าวไว้ใน PDF ว่า
"
The StudioBiax is a perfect solution for TV andVideo applications where high light output, longlife and great lumen maintenance are the keyneeds. The StudioBiax is a tri-phosphor lampcolor tuned to 3200K and 5500K to matchtungsten and daylight sources in a studio setting" ซึ่งตามสเปคแล้ว CRI จะได้เพียง 89
"The Cinema Plus is recommended for film use.This “Film Friendly” matches the spectralsensitivity of tungsten or daylight film stock. Thisfull-spectrum design has a CRI up to 95 and is agel-free light source"
ในความคิดของผมคือ การได้แสงที่มีคุณภาพดีกว่า แม้คุณจะไม่ได้ใช้ฟิล์มที่เก็บรายละเอียดสีหมด มากว่า Digital 3สี นั้น แต่แสงคุณภาพดีกว่า ต่อเนื่องกว่า แสงที่ตกกระทบ ย่อมมีรายละเอียดมากกว่า เหมือนคุณไล่ระดับ 16 บิตกับ 24 บิต ในจอคอม
- สำหรับงานที่ แต่งสี เข้าห้องเฟรม เข้าดาวินชี คุณย่อมต้องได้คุณภาพสูงสุด นี่คือเหตุผลว่าทำไม หลอดไฟที่ขายกันทั่วไป จึงไม่เทียบเท่า หลอดงานถ่ายหนังซักที แม้คุณจะซื้อ 5500K เหมือนเป๊ะมาแล้วก็ตาม
สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ
ขอขอบคุณเว็บ ThaiDfilm มากครับ