สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 1524เข้าชม
  • 2ตอบกลับ

สำหรับผู้ที่จะผลิตสื่อให้ความรู้- สื่อวิชาการ ( p0p-it )

โพสต์
787
เงิน
5355
ความดี
14867
เครดิต
11447
จิตพิสัย
37005
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร




..ชื่นชม และดีใจกับเด็กรุ่นใหม่ที่มีความสามารถในการผลิตสื่อให้ความรู้
( ทั้งๆที่ไม่ได้เรียนหรือมีประสบการณ์ตรงจากการทำงาน )
แต่สามารถผลิตสื่อออกมาได้ แม้ไม่ดีที่สุดแต่ก็ถือว่าสุดยอดแล้วคับท่าน



ถ้าจะจัดรูปแบบของการผลิตสื่อให้ความรู้โดยทั่วไป มีทั้งหมด5ประเภท
ประเภท1 สารคดีแนวชีวิตจริง
หรือสารคดีสไตล์ข่าว โดยใช้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในขณะนั้นเป็นตัวนำเสนอ
ประเภท2 สารคดีแนวละคร โดยให้นักแสดงเป็นตัวนำเสนอ
ประเภท3 สารคดีประกอบเพลง ใช้ความหมายในเนื้อเพลงเป็นตัวนำเสนอ
ประเภท4 สารคดีเล่าเรื่องราวโดยการสัมภาษณ์ อาจมีพิธีกรเป็นผู้ร่วมนำเสนอ
ประเภท5 สารคดีอิงข้อมูลทางวิชาการ ใช้รายละเอียดข้อมูลตัวเลข เป็นผู้นำเสนอ

..สารคดีที่ผมแบ่งประเภทไว้ อาจไม่เหมือนในตำรา เพราะผมแบ่งตามเนื้อหาที่นำเสนอ
เพื่อให้น้องใหม่เข้าใจได้ง่ายเวลาอธิบาย..เมื่อรู้ประเภทหรือรูปแบบในการนำเสนอแล้ว
ต่อไปเรามาดูวิธีการนำไปใช้..ขึ้นอยู่กับกลุ่มลูกค้ากลุ่มไหน?..


กลุ่มที่ 1 สำหรับกลุ่มคนทั่วไป เช่น ทำรายการทางฟรีทีวี ก็สามารถใช้ทั้งหมด 5 ประเภทนำมาผสมกันได้
ข้อมูลไม่ต้องลึก รายละเอียดไม่เน้นมาก ขอเพียงแต่ไม่ให้คนดูเกิดความเบื่อ และเมื่อกลุ่มคนทั่วไป
ต้องการข้อมูลเชิงลึกมากกว่าที่เรานำเสนอ ก็จะกลายมาเป็นกลุ่มคนประเภทต่อไป..คือ
กลุ่มคนที่2 กลุ่มคนโดยเฉพาะ หรือถ้้าเรารู้จักกลุ่มที่ต้องการนำเสนอ ก็สามารถตีข้อมูลตรงได้ไม่ต้องอ้อมค้อม

โดยอาจใช้ประเภท 4- 5 เป็นหลัก ปนกับประเภทอื่นนิดหน่อยก็พอแล้ว..

และด้วยเหตุนี้ ที่น้องใหม่ส่งงานมาให้ช่วยดู ผมถึงต้องเย้นยำ้เสมอว่า
- กฏมุมมอง1 ..ทำขึ้นเพื่อให้ใครดู กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร( เพื่อผมจะได้อัญเชิญคนนั้นลงประทับทรงแทนตัวผม)

                       แล้วดูงานย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้น.
- กฏมุมมอง2..ว่ามีวัตถุประสงค์อะไร ในการนำเสนอ ( เขียนบท กำกับ ถ่ายทำ) สามารถทำได้ตรงกับแนวทาง

                       ที่วางไว้ในตอนแรกได้หรือไม่..
- กฏมุมมอง3..มาถึงการเล่าเรื่องผสมเทคนิค (ตัดต่อใส่กราฟฟิค) ช่วยให้งานที่ทำมาทั้งหมดเด่นชัด

                       และดีขึ้นหรือไม่..(หรืองานมีปัญหา มีแนวทางในการแก้ไขงานให้ผ่านพ้นไป ได้อย่างไร)
                       กฏ 3มุมมอง รายละเอียดได้นำเสนอไปแล้วใน.....
เวิร์คช็อป โหย พ .. (0/564)

..การทำสื่อให้ความรู้ต้องนำเสนอให้ถูกกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการ ถ้ากลุ่มคนประเภท1มาดูงานประเภท2

ก็อาจปวดหัวน่าเบื่อเพราะข้อมูลเยอะเกินไป และในทางกลับกันกลุ่มคนประเภท2มาดูงานประเภท1
ก็จะอาจจะบ่นว่ารูปแบบไร้สาระน่าเบื่อเช่นกัน เพราะไม่มีเนื้อหาอะไรน่าสนใจเลย...

...ระวังให้ดีนะคับ นำเสนอสื่อให้ความรู้ผิดกลุ่ม ทีมงานผลิตโดนด่าทั้ง 2ทาง

..เฮ้อ..คิดแล้วสงสารแทนคนทำอาชีพนี้ ช่่างมีกรรมซะจริงๆ ทำดีไม่เห็น
แต่ทำผิดโดนด่าเละทั้งขึ้นทั้งล่อง ( เละมากกับเละน้อย)..





บทความที่เกี่ยวข้อง

ระดับ : สมาชิก IIII
โพสต์
84
เงิน
2776
ความดี
991
เครดิต
782
จิตพิสัย
1190
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
ขอบคุนคับ
ได้ความรู้เยอะเลย
โพสต์
787
เงิน
5355
ความดี
14867
เครดิต
11447
จิตพิสัย
37005
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

รู้ทฤษฏีไปแล้ว ตอนนี้มาถึงแนวทางการปฏิบัติ เวิร์คช็อพ " การทำสื่อให้ความรู้"
...(ก่อนอื่นขออธิบายเหตุผลที่ทำตัวอย่างนี้ขึ้นมา ด้วยเพราะปัจจุบันมีหลายหน่วยงานได้ผลิตสื่อให้ความรู้
โดยทำแบบกันเอง( เครื่องมือของตัวเอง ใช้เวลาวันหยุดของตัวเอง และเพื่อนนักแสดงก็เล่นกันเอง )
วันนี้ผมมีงานของน้อง นศ.ที่ทำกันเองขึ้นในกลุ่ม มาดูพร้อมกันว่า จะได้ความรู้อะไรจากน้อง นศ.เหล่านี้
..ขอขอบคุณทีมงานน้อง นศ.คณะศิลปศาสตร์เอกจิตวิทยา มา ณ ที่นี้ด้วย ..


(เวิร์คช็อพนี้จัดทำขึ้นสำหรับคนที่ไม่ได้เรียนมาโดยตรง หรือประสบการณ์ยังน้อย ส่วนพี่คนเก่งถ้ามีเวลาก็ดูได้คับ )
เวอร์ชันเต็ม: [-- [VTR] แนะนำจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (นักศึกษาทำกันเอง) --]

น้องใหม่ในเว็บของเราเอง
..งานนี้ผมถือว่าเป็นงานที่จัดทำขึ้นเฉพาะกลุ่ม เหตุผลคือ ต้องเข้าไปเปิดดูในเว็บเท่านั้น กลุ่มคนเฉพาะคือ กลุ่มนักเรียนที่กำลังจะจบ ม.ต้น เพื่อเข้าศึกษาต่อในมหาลัยฯ,กลุ่มผู้ปกครองที่อยากรู้ว่าลูกเมื่อเข้าไปเรียนแล้ว จบมาจะทำอาชีพอะไร หรือกลุ่มนักเรียนที่ต้องการย้ายคณะอยากรู้ว่าคณะนี้สอนอะไรบ้าง?..ไปดูคลิปตอนแรกกัน..
..อยากให้ดูให้จบนะคับ พาร์ท 1 /4 ความยาว 11.30 นาที


http://www.youtube.com/watch?v=ciJqC-RTFbI


.. การเล่นมุขต่างๆ ข้อดีคือไม่น่าเบื่อ แต่ก็มีข้อเสียคือเล่นมากไป ความยาวของสื่อก็จะยาวขึ้น
คนดูอาจเบื่อและปิดทิ้งได้ จุดสำคัญของพาร์ท 1 อยู่ที่นาที 9 เป็นต้นไปเอกจิตตั้งขึ้นมาได้อย่างไร?..
( จำไว้นะคับอะไรที่สำคัญที่สุด ให้นำเสนอตอนต้น เพราะถ้าไปอยู่ตอนหลังคนดูเบื่อก็จะปิดทิ้งได้ )..


http://www.youtube.com/watch?v=IVOOdmN0JC0&feature=relmfu


..พาร์ท 2 นี้ ยาว 12 นาทีเบื่อยังคับ นำเสนอเครื่องมือในการเรียนเอกจิต ฯ จริงๆช่วงแนะนำตัดทิ้งเลยก็ได้
เพราะคนยังไม่เข้าเรียน ก็ไม่อยากรู้ ไว้นำเสนออีกชุดสำหรับเด็กที่สอบเข้าแล้วจะตรงกลุ่มกว่า..


http://www.youtube.com/watch?v=sTAC6cYU6y4&feature=relmfu


..พาร์ท 3 ความยาว 14.30 นาที เสียเวลาแนะนำศาลด้านหน้าของมหาลัยฯ ( ซึ่งไม่เกี่ยวกับคณะตัดทิ้งได้ )
จนมาถึงช่วงสัมภาษณ์นาทีที่  6   ถึงรู้ว่า เรียนจิตวิทยาแล้วได้อะไร ดูมา 30 นาที หัวใจของสื่ออยู่ตรงนี้...
ยังไม่หมดนะคับมีอีกพาร์ท 4 ตอนจบ
http://www.youtube.com/watch?v=z71iYyrLsa4&feature=relmfu
สนใจคณะนี้ไปเปิดดูเองคับ เพราะพาร์ทนี้ไม่มีอะไร?..

คลิปสุดท้ายคือคลิปที่ผมนำทุกคลิปมาตัดเรียบเรียงขึ้นเป็นชิ้นงานใหม่ โดยตัดสิ่งที่ไม่สำคัญทิ้ง
และเพิ่มเนืื่อหาสาระให้มากขึ้น ลองดูเปรียบเทียบอีกนะคับ..จาก 55 นาทีตัดเหลือ 12 นาที..

http://www.youtube.com/watch?v=fcq9ip-WCzg


วิธีแก้ไขงานสื่อให้ความรู้ ท่องไว้ในใจก่อนทำงาน...ทำตามขั้นตอนที่ให้ห้ามทำสลับนะคับ..
ข้อ1 - ยาวตัดให้สั้น เนื้อหาที่ยาวมากไปจะทำให้คนดูเบื่อ ลองหาวิธีทำให้สั้นล ง ข้อควรนะวัง

          ความหมายของภาพ อารมณ์ในเรื่องต้องไม่เปลี่ยน
ข้อ2 - ทำสั้นให้รวมเป็นหนึ่ง เมื่อตัดสั้นลงแล้ว ก็ยังดูวกวน มีหลากหลายหัวข้อเต็มไปหมด

           ลองนำหลายเหตุการณ์มาผูกรวมเป็นก้อน เพื่อลดขั้นตอน ทำให้คนดูจำง่ายและเข้าใจมากขึ้น
ข้อ3 -อะไรไม่เกี่ยวให้ตัดทิ้ง รวมแล้วยังดูยาวเยิ่นเยื้อ ลองตัดเนื้อหาที่ละเอียดเกินไปทิ้ง

         หรือนำไปรวมเป็นงานชิ้นใหม่( โปรเจคต่อไป) ข้อสังเกตุ ทำขั้นตอนนี้แล้วเนื้อเรื่องต้องดูแล้วเข้าใจง่ายขึ้น
ข้อ4 - หาวิธีทำให้ไม่เบื่อ เสริมเพลง เล่นเอฟเฟค ผสมกราฟฟิค เพื่อไม่ให้คนดูหลับ หากพยายามทำทุกทางแล้ว

          แต่ไม่มีวิธีไหนแก้เบื่อได้ ก็ต้องทำใจ เบื่อก็ทนเอา เพราะสื่อให้ความรู้มาคู่กับความน่าเบื่อ

สรุป.. การผลิตงานสื่อให้ความรู้ ควรเสนอข้อมูลแบบตีตรงไม่อ้อมค้อม ตัดสั้นกระชับไม่ให้คนดูรู้สึกเบื่อ
        เสริมด้วยภาพเพิ่มความน่าสนใจ ( สั้น - รวม - กระชับ - เสริม -ทนดู )

..หลายงานของน้องใหม่มักทำมายาวมาก ( คนทำบอกยิ่งยาวยิ่งดี คนดูบอกยิ่งยาวยิ่งน่าเบื่อ..ไม่รู้จะเชื่อใครดี)
และนี่คืออีก 1 ตัวอย่างที่ผมลองปรับแแก้ไขให้ดูง่ายและกระชับขึ้น
( โดยรวมเหตุการณ์ที่ไม่สำคัญให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อให้ข้อมูลที่นำเสนอเด่นชัด )
มีหลายงานที่ผมดูแล้วอยากตัดแก้ไขให้ แต่ก็กลัวว่าทำไปแล้วจะหาว่าผมไปดีสเครดิตทีมงาน
เอาเป็นว่าถ้าใครตัดต่องานออกมาแล้ว อยากได้รูปแบบใหม่หรืออยากได้อีก 1 ไอเดียเพิ่ม
ก็ลองเม้นท์มาคุย ถ้าว่างจะลองทำให้คับ


..ปิดท้ายด้วยแก้งานของทีมงาน สามศูนย์ เกี่ยวกับเรื่องเอดส์ ของเดิม
http://www.youtube.com/watch?v=LUJuKMfq0-s เดิมยาว 13 นาที

อาผลงานมาน้อมรับคำแนะนำครับ
โพสในเว็บช่วยแนะนำอะไรควรใส่ และไม่ควรใส่ อธิบายไม่ถูก เลยตัดแก้ไขให้ใหม่เลยคับ..

http://www.youtube.com/watch?v=Mvo9IDyP2Yk ตัดสั้นเหลือ 10 นาที

แนวทางชุดนี้สามารถเพิ่มเนื้อหาให้แน่นขึ้นได้ตอน นาทีที่ 3 และนาทีที่ 5 สามารถอธิบายด้วยตัวหนังสือ


เพื่อเน้นยำ้อีกครั้งได้คับ..
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้