UID:1830
การแตกช็อตภาพ(สำหรับสารคดี)มีน้องเม้นท์มาถามเรื่องการแตกช็อตภาพ พอดีพี่ฟลูมูนได้ตอบไปแล้ว เพื่อไม่ให้ซำ้ เลยเปลี่ยนเป็นพูดในเชิงงานของสารคดี....สมมติเราไปถ่ายทำสารคดีเรื่องต้นไม้ เมื่อถ่ายซีนหลักเสร็จเรียบร้อยแล้ว เขาก็จะปล่อยให้ช่างภาพ ถ่ายภาพมุมต่างๆของต้นไม้ หรือเรียกภาษาคนทำงานว่า การแตกช็อต การถ่ายมุมแตกช็อต ไม่ได้หมายความถึง การถ่ายหลายมุมเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงถ่ายออกมาแล้วต้อง สวย ดี และมีคุณภาพด้วย( ช่างภาพจะเก่งมีฝีมือหรือไม่ ก็ดูตอนถ่ายแตกช็อตนี่แหละคับ).. ต่างจากละคร แตกช็อตเอาจไม่ต้องสวย ถ่ายกันไว้สำหรับตัวละครหลุดคอนตินิว .ผมมีตัวอย่างงานการถ่ายแตกช็อตต้นไม้มาให้ชม..( ต้นไม้ต้นเดียว)http://www.youtube.com/watch?v=wcxdv-lltsk&feature=youtu.be..อาจจะดูเร็วๆก็ได้คับว่ามีมุมอะไรบ้าง?.....มีน้องเม้นท์ถามต่อว่า แล้วการแตกช็อตคอนตินิว ( แตกช็อตต่อเนื่อง)..ต้องทำอย่างไร?.....คำถามนี้น่าสนใจนะ ( และนี่คือวัตถุประสงค์หลักที่เขียนบทความนี้)น้อยคนที่จะรู้ว่า การแตกช็อตก็มีคอนตินิวด้วยเหมือนกัน ถ้าเป็นละคร จะไม่ค่อยเจอปัญหานี้เพราะถ่ายหลายกล้อง เขาจะเจาะแตกช็อตไปด้วยในขณะถ่าย เพื่อกันคอนตินิวหลุด แต่สำหรับสารคดีที่ถ่ายตามเหตุการณ์จริง บางครั้งช่างภาพก็ยากที่จะคาดเดาได้ว่า ทางรายการจะใช้ช่วงไหน เพราะทุกคนต้องถ่ายเผื่อไว้ตัด ถ่ายให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้( ปัญหามันเกิดตรงนี้แหละ) เกิดคนตัดเลือกใช้ช่วงที่เราไม่ได้แตกช็อตคอนติวนิวมา ...เรามาดูตัวอย่างของงานกันเลยคับ นาทีที่ 0.22 แตกช็อตต้นไม้ถ่ายจากพื้นดินถึงยอดแล้วพิธีกรจับพูดhttp://www.youtube.com/watch?v=QqfAgEvRt9s&feature=youtu.be..มีข้อสังเกตุที่อยากให้ดู( ทิวล์จากต้นไม้ขึ้นฟ้า) ถ้าเราใช้ภาพต้นไม้ทั่วๆไป มุมอื่นก็ได้ เพียงแต่อารมณ์ของภาพจะไม่ส่งไปยังพิธีกร ฉนั้น การเลือกใช้ภาพที่ถูกต้องก็คือ ขึ้นอยู่กับภาพก่อนหน้านี้ที่ส่งอารมณ์มา และภาพต่อไปที่จะรับอารมณ์ต่อจากเรา ควรต้องร้อยเรียงเป็นเรื่องเดียวกัน( ตามกราฟของเหตุการณ์นั้นๆที่เคยเขียนแนะนำไป ...)http://www.thaidfilm.com/read.php?tid=6254...อีกตัวอย่าง นาทีที่ พิธีกรพูดคุยเสร็จกำลังจะเดิน รับมุมเตี้ยเดินผ่าน(แตกช็อตคอนตินิว) เมื่อพิธีกรและคนสัมภาษณ์เปลี่ยนสถานที่พูดใหม่http://www.youtube.com/watch?v=d2gkIrMMny0&feature=youtu.be...ถามว่่า แตกช็อตคอนตินิวจำเป็นหรือไม่..พูดง่ายๆก็คือมีดีกว่าไม่มี ( ข้อดีของการมีก็คือ ทำให้งานมีสเน่ห์และดึงดูดอารมณ์คนดูได้ไม่ขาดตอน )แต่ถ้าไม่มีก็ไม่จำเป็นบางครั้งอาจใช้เอฟเฟคพลิกภาพเพื่อเป็นการบอกให้คนดูรู้ว่าได้มีการเปลี่ยนสถานที่แล้ว ( แต่บางเรื่อง มีการเปลี่ยนสถานที่บ่อย แล้วเราไม่มีแตกช็อตคอนตินิวเลย ใช้แต่เอฟเฟคพลิกไปมา คนดูจะปวดหัวพาลไปถึงไม่มีอารมณ์ร่วมไปกับสารคดีในเรื่อง.. เขาเรียกว่า อารมณ์ไม่ต่อเนื่อง..เคยเขียนบทความเกี่ยวกับการถ่ายงานเชิงสารคดี ในแต่ละครั้งต้องใช้เวลานานมาก ( ต้องการงานมีคุณภาพต้องแลกกับเวลาที่เสียไป) แต่ปัจจุบันเครื่องมือราคาถูกลง ทำให้เราสามารถทำงานให้มีคุณภาพได้ในระยะเวลาน้อยลง (ใครว่าเวลาซื้อไม่ได้ มีเทคโนโลยีซื้อได้สบายมากคับ)โดยแบ่งการทำงานของแต่ละกล้องไปตามนี้..( ถ่ายต้นไม้ต้นเดียวนะคับ)-กล้อง1 ถ่ายแตกช็อตธรรมดา เน้นสวย ไม่สวยไม่ต้องถ่ายมา เปลืองฮาร์ดดิกส์ ( คนตัดฝากมา)-กล้อง2 ถ่ายมุมแปลก ใกล้ใส่เลนส์ไวล์ เตี้ย เงย ใช้ตัวบินไปมาเข้าๆออกๆ-กล้อง3 ไปไกลๆนู่น มุมไกล มุมสูงบนต้นไม้ถ่ายกดลงมา มุมเครน มุมดอลลี่ (เนื่องจากต้องใช้เวลาในการเซ็ตอุปกรณ์นาน) ไม่ว่ากัน ขอภาพสวยสัก 2-3 ภาพก็พอ...สำหรับรายการนี้มีไป2กล้อง และเวลาก็รีบ เพราะต้องเดินทางแต่ละสถานที่ไกล แถมบางครั้งเดินเข้าป่าเป็นกิโลกว่าจะถึงสถานที่จริง เลยไม่มีเวลาให้กล้อง3ได้ทำงาน และอีกอย่างเวลาออนแอร์ 2นาที พิธีกรพูด สัมภาษณ์ชาวบ้าน สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่คนทำงาน ก็แทบจะไม่มีเวลาหายใจแล้ว .. การถ่ายแตกช็อตต่อเนื่อง ควรคำนึงถึงเวลาของรายการด้วย ถ้ารายการยาวมีเวลานำเสนอ ก็จัดไป มุมสวยเครน ดอลลี่ยาว ปล่อยอารมณ์ให้คนดูเพลิดเพลินไปกับการเคลือนกล้องช้าๆ และยิ่งถ้าเป็นรายการสั้น การทำงานบางครั้งยากกว่า เพราะถูกจำกัดด้วยเวลา ช่างภาพจึงต้องถ่ายแตกช็อต ให้ทุกมุมต้องสวย และทุกคอนตินิวต้องสั้นไม่ยาว กระชับให้ความรู้ ในขณะเดียวกันอารมณ์ ต้องไม่สะดุด " ณ วันนี้..แตกช็อตคอนตินิว อีกหนึ่งความสามารถที่ช่างภาพทุกคนต้องรู้ "
UID:13819
UID:101
UID:10735