มีเจ้าของน้องใหม่ ถามถึงปัญหาโลกแตก ระหว่างพนักงานประจำกับฟรีแลนซ์ เขียนอยู่นาน
จนรวบรวมเป็นบทความให้อ่านได้ซะที.. ( ไม่ชอบไม่ต้องทำตามนะคับ )
พนักงานฟรีแลนซ์มี 2 ประเภท ( จำไว้ให้ดี )
1.ฟรีแลนซ์ระดับเทพ รู้ทุกเรื่องเก่งทุกทางอย่างปรมาจารย์ จ้างมาเพื่อเป็นหัวหน้า
ให้รับผิดชอบงานที่สำคัญ
2. ฟรีแลนซ์ระดับธรรมดารู้ทุกเรื่องแต่ไม่เชี่ยวชาญ จ้างมาเป็นผู้ช่วย หรือเป็นลูกมือทำงานทั่วๆไป
..พนักงานประจำ(ตัวแทนเจ้าของโปรดัคชั่น)เป็นผู้มีสิทธิ์เด็ดขาดในการพูดหรือสั่งอะไรก็ได้เพื่อให้
พนักงานฟรีแลนซ์ทำตาม
ปัญหาที่เกิดจากความผิดพลาดในงาน ( เมื่อทำงานร่วมกัน ) ก็คือ ..
1.พนักงานประจำนำฟรีแลนซ์มาใช้ผิดประเภทคือ นำประเภท1มาใช้เป็นประเภท 2
และนำประเภท 2 มาใช้เป็นประเภท1 ( สลับประเภทกัน)
2. พนักงานประจำไม่ให้ความสำคัญกับฟรีแลนซ์(ไม่ปลื้มคนนี้ )
3. พนักงานประจำโยนความผิดให้กับฟรีแลนซ์( ฟรีแลนซ์กลับบ้านไปแล้วไม่มีใครรู้)
มีงานถ่ายสัมภาษณ์ (พอดีผมอยู่ในเหตุการณ์) ฟรีแลนซ์ระดับเทพจัดเซ็ตมุมไว้เรียบร้อย
พอเริ่มงานจริงพนักงานประจำมาจากไหนไม่รู้มาถึงเปลี่ยนมุมย้ายด่วน บอกไม่ชอบ
(ด่วนจะออกมาดีได้อย่างไร) เมื่องานเสีย ฟรีแลนซ์ก็รับไปเต็มๆกับความผิดที่ถูกพนักงานประจำ
โยนให้ในภายหลังโดยไม่รู้ตัว (เพราะไม่อยู่แล้ว) ...
ฟรีแลนซ์ระดับเทพคนไหนที่ลูกค้าไม่เรียกซ้ำ นั่นแสดงว่าคุณโดนเข้าแล้วเต็มๆ
การแก้ปัญหา ระหว่างพนักงานประจำกับฟรีแลนซ์เรียกว่าการบูรณาการแบบยั่งยืน
ควรแก้ที่ระบบ นั่นคือผู้บริหารต้องลงมาคลุกวงใน แนวทางคร่าวๆตามนี้คับ..
[font='helvetica]1. พนักงานประจำรับผิดเต็ม 100% เมื่อเกิดความผิดพลาดไม่ว่ากรณีใดๆก็ตามแล้วค่อย มาไล่เบี้ยหาสาเหตุในภายหลัง ( เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานประจำโยนความผิดให้กับฟรีแลนซ์)
2.อย่ามั่นใจความสามารถของพนักงานประจำมากจนละเลยความสามารถของฟรีแลนซ์ ควรให้ฟรีแลนซ์แสดงความสามารถให้เต็มที่ก่อน เห็นพนักงานประจำหลายคนมาถึงถึงสั่ง
ฟรีแลนซ์ให้ทำนู่นนี่ตามต้องการ สุดท้ายเราก็จะได้งานแบบเดิมๆไม่มีอะไรใหม่
(เสียเงินจ้างฟรีแลนซ์ระดับเทพ แต่ไม่ให้เขาแสดงออก เสียเงินฟรีนะคับ)
3. อย่าจ้างฟรีแลนซ์มากเกินกว่างานที่มีเพราะจะกลายเป็นงานปาร์ตี้ย่อยๆคนว่างงานไม่มีอะไรทำ จะชวนคนอื่นที่กำลังทำงานคุย สุดท้ายพากันเละทั้งทีม ( กรณีพนักงานประจำสนิทกับฟรีแลนซ์ )
4.อย่าส่งพนักประจำที่มีอำนาจใกล้เคียงกันไปคุมงานเดียวกันเพราะฟรีแลนซ์จะสับสนไม่รู้จะฟังใคร คนนี้จ่ายเงิน คนนั้นให้งาน สำคัญทั้งคู่ ( กรณีนี้ พนักงานประจำทะเลาะกันเอง )
5.กำหนดขอบเขตและหน้าที่งานให้ชัดเจนฟรีแลนซ์รับผิดชอบตรงไหนและสัดส่วนไหนพนักงานประจำ รับผิดชอบ เมื่อเกิดความผิดพลาดจะได้ไล่เบี้ยได้ในภายหลัง ( ผู้บริหารควรรู้จักฟรีแลนซ์ทุกคนที่จ้าง)
6.ควรมีการตรวจสอบขั้นตอนการทำงานต่างๆก่อนเริ่มงานจริงโดยให้พนักงานประจำ อธิบายถึงแนวทางการทำงาน รวมถึงสอบถามพูดคุยกับฟรีแลนซ์ในภายหลังเมื่อเกิดความผิดพลาด
เพื่อจะได้รู้ถึงสาเหตุที่แท้จริงในการแก้ไขปัญหาครั้งต่อไป
...มีเจ้าของน้องใหม่หลายคนบ่นให้ฟังว่า ทำอาชีพนี้มานานไม่รวยซะที บวกลบกำไรได้นิดเดียวบางงานแถมเข้าเนื้ออีก ( ชักเร่ิมถอดใจ )... จายเย็นๆนะคับ ไม่รวยแต่ก็ไม่จน คุณยังมีเงินใช้ตลอดไม่ขาดมือ (งานเก่าหมุนงานใหม่ )ลูกค้าใหม่งบน้อยยังไม่เชื่อในฝีมือ สนใจราคาแต่ไม่ใส่ใจคุณภาพ อย่าเพิ่งท้อทำเต็มความสามารถเท่าที่เราจะทำได้ เพื่อแสดงให้ลูกค้าได้เห็นว่า งานมีคุณภาพมันเป็นอย่างไร?.......และถ้าวันใดลูกค้าเก่ากลับมาจ้างให้คุณทำงานอีกครั้ง นั่นแสดงว่าลูกค้าเริ่มสนใจงานมีคุณภาพไม่สนใจเรื่องราคา... ถึงเวลานั้นเรียกให้เต็มที่ไม่ต้องเกรงใจกันเลยคับ..
[color=initial;][color=initial;][color=initial;][color=initial;]http://p0p-it.blogspot.com/[color=initial;]รวบรวมบทความทั้งเก่าและใหม่ที่เขียนขึ้นในเว็บ กว่า 110 บทความเปิดอ่านได้เลยคับ