สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 4181เข้าชม
  • 10ตอบกลับ

ฟูลเฟรมนั้น มันเป็นอย่างไรกันแน่??

ระดับ : สมาชิก VII
โพสต์
529
เงิน
238
ความดี
11176
เครดิต
12244
จิตพิสัย
13014
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
ฟูลเฟรมนั้น มันเป็นอย่างไรกันแน่







เนื่องจากช่วงนี้ว่างครับ ไอ้เพื่อนเวรดันส่งบทความนี้มาให้อ่าน  
กอปรจะได้กล้องใหม่ที่ใช้เลนส์ M43 เลยหาอ่านอะไรไปเรื่อยเปื่อย
เห็นว่ามีบางช่วงที่ผมก็เคยอยู่ในยุคนั้นเหมือนกัน และเก็บข้อมูลนี้มันสักพักแล้ว
เลยคิดว่า(อยากให้อ่านหนักหัวเล่นๆครับ)
(ปล.เนื้อหาหลักผมก็ก็อปเค้ามาครับ แต่จะใส่ภาพเพิ่มอรรถรสให้ชมไปด้วย เพื่อบทความจะได้สมบรูณ์)



เกริ่นนำ-จั่วหัว
นับตั้งแต่เด็กจนสู่วัยทำงานของผมเคยสัมผัสกล้องมาหลายประเภท
ทั้งกล้องป็อกแป็กไปจนถึงกล้องฟิล์มถ่ายหนัง16มม.
ผมจำได้ว่าผมเริ่มถ่ายรูปตั้งรูปตั้งแต่ป.5 ด้วยกล้องkodak แบบเลื่อนฟิล์มเอง
ที่ไปถ่ายเพื่อนๆในใต้ถุนโรงเรียน และถ่ายเพื่อนผู้หญิงที่แอบชอบในห้อง
เมื่อถึงวัยรุ่นช่วงแรกก็ใช้ Yashica ของน้า เมื่อถึง ม.ปลายก็ใช้ Nikon FM2
มีช่วงเดียวที่เลิกไปพักนึงตอนเรียนมหาลัยเพราะไม่ค่อยมีตังค์
จะได้ถ่ายอีกทีก็ตอนเพื่อนรับปริญญา
พอวัยทำงานก็มาใช้ Nikon F4 พอมีลูกคนแรกก็กลับมาใช้ CANON 600
พอเข้าทำงาน ในบริษัทนั้นเค้าใช้กล้องฟิลม์ 16mm. ถ่ายหนังโฆษณากัน
ทั้งหมดที่เล่ามาแทบจะไม่มีความหมายเลยเมื่อมาถึงยุคนี้


อันที่จริงอยากจะเฉลยตอนท้ายเรื่องนะครับว่า "อะไรคือฟูลเฟรม....?"
แต่อยากให้อ่านกันไปเรื่อยๆก่อน เดี๋ยวท่านก็จะได้คำตอบกันเอง
(ตอบมาไม่มีรางวัลนะจ๊ะ....มีแต่ความรู้ที่ท่านได้ไป)


ก่อนที่ทุกท่านไปจะ 2K 2.5K 4K 8K ....K?
มาลองทำความเข้าใจเรื่องนี้กันก่อนเถอะ
ไม่พูดพร่ำกันแล้วเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าครับ








---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


เป็นบทความอุดมไปด้วยข้อมูลที่ไม่ได้มีประโยชน์อะไรในการถ่ายภาพ รู้ไว้ให้หนักหัวเล่นงั้นแหละ

เป็นเรื่องราวทั่วๆ ไปเกี่ยวกับเรื่องขนาดเซ็นเซอร์ ที่ผมบันทึกเก็บไว้เป็นข้อมูลเบื้องหลังเฉยๆ
แต่คิดว่าอาจจะมีกลุ่มเพื่อนๆ บางกลุ่มที่สนใจทางเทคนิคเบื้องหลัง
เลยเอามาเรียบเรียงใหม่แบ่งกันอ่านสักหน่อยดีกว่า


ตามไปอ่านและไลค์ได้ที่นี่











เนื่องจากเมื่อก่อนนี้ตอนมีการพูดเรื่องฟูลเฟรม ครอปเฟรมกันอยู่บ่อยๆ ผมก็เลยค้นข้อมูลเอาไว้ตอบกระทู้
เราอาจจะเคยคิดว่า ฟูลเฟรมหรือครอปเฟรม มันก็ไม่เห็นจะเป็นเรื่องน่าสงสัยตรงไหนเลย มันก็เห็นอยู่ชัดๆ
ว่าเท่ากับฟิล์ม หรือเล็กกว่าฟิล์ม จะมีอะไรยาก


แต่ว่ามันไม่ใช่แค่นั้นน่ะสิครับ ถ้าไปดูในรายละเอียดกัน สิ่งที่เราเรียกว่าฟูลเฟรม มันกลับไม่เหมือนอะไรที่เราเคยเข้าใจมาก่อน
ไม่ง่ายที่จะตัดสินว่า อะไร หรือแค่ไหนถึงจะเป็น Full Frame
โดยดูแค่ว่าตัวรับภาพนั้นมีขนาด 24x36 มิลลิเมตรหรือเปล่าแบบที่เราคุ้นเคยกัน


เนื่องจากที่จริงแล้ว FF มันมีหลายนิยาม แล้วแต่ว่าจะเอาเซ็นเซอร์เป็นหลัก หรือจะเอาเลนส์เป็นหลัก
หรือจะว่ากันตามแพลตฟอร์ม/ซิสเต็ม ถ้าว่ากันคนละนิยาม มันก็ไม่มีทางเข้าใจได้ตรงกัน
แต่ก่อนที่จะเข้าใจแต่ละนิยามได้ ต้องย้อนกลับไปในยุคต้นประวัติศาสตร์ ของฟิล์มถ่ายรูปขนาด 35 มม. ด้วย
เพราะเป็นสิ่งที่เรานิยมใช้อ้างถึงคำว่าฟูลเฟรมมากที่สุด และชวนให้เข้าใจผิดมากที่สุดด้วย



กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว....


เรารู้ และคุ้นๆ กันดีอยู่คือ ฟูลเฟรมแปลว่าขนาดเซ็นเซอร์เท่ากับ 24x36 มม. หรือขนาดเท่าฟิล์มฟอร์แมท 135
หรือที่นิยมเรียกว่าฟิล์ม 35 มม. นั่นเอง
ก่อนจะไปไกลกว่านั้น คำถามแรกคือ ฟิล์ม 135 หรือ 35 มม. มันใหญ่แค่ไหน และมันเท่ากับ 24x36 มม. จริงหรือ?




จริง (ในบางกรณี) ก็ในเมื่อเรียกฟิล์มขนาดนี้ว่าฟิล์ม 35 มม. มันก็ต้องกว้าง 35 มม. สิไม่เห็นยาก
หากเราวัดขอบจรดขอบ ฟิล์ม 135 จะมีความกว้าง 35 มม.(บันทึกไว้เป็นข้อมูลทางเทคนิค
ตัวเลขที่แน่นอนคือ 34.98 มม. คลาดเคลื่อนไม่เกิน 0.03 มม.)


ขนาดเฟรม 24x36 มม. ที่คุ้นๆ กันเป็นขนาดเฟรมภาพยอดนิยมในยุคสุดท้ายของฟิล์มถ่ายภาพ
(ข้อมูลทางเทคนิค: วัดจากขอบเข้ามาถึงด้านในของรูหนามเตย จะประมาณ 5 มม. และจากจุดนั้นอีก 0.5 มม.
จะเป็นขอบเฟรมภาพ ซึ่งเฟรมภาพจะกว้าง 24 มม. ยาว 36 มม. เว้นทางยาวอีก 2 มม. ก่อนจะเป็นเฟรมถัดไป)




ที่บอกว่ายอดนิยม เพราะขนาดเฟรมของ 135 ไม่จำเป็นต้องเป็นขนาดนี้เสมอไป ในยุคก่อนหน้าไม่กี่ปี
ฟอร์แมท 135 มีขนาดที่นิยมรองลงมาคือ 24x18 มม. เฟรมขนาดนี้ในวงการภาพนิ่งเรียกเป็น half frame
แต่วงการภาพยนต์เป็น single frame เพราะเป็นขนาดปกติของเฟรมภาพยนต์ 35มม. (academic ratio)
ในสมัยก่อนที่ในโฆษณาภาพยนต์เก่าๆ เรียกกันว่าภาพยนต์ 35 มิลฯ ก็คือเฟรมภาพขนาดนี้แหละ
กล้องภาพนิ่งขนาดฮาล์ฟเฟรมยอดนิยมในยุคนั้นคือ Olympus PEN และยังมีกล้องอื่นที่ใช้ฟอร์แมทนี้เป็นสิบๆ ยี่ห้อ



ถ้าตามรอยประวัติศาสตร์ไปจนถึงที่สุดของการถ่ายภาพด้วยฟิล์ม 35 มม. แล้ว ในยุคต้นสุดของการใช้ฟิล์ม 35mm
มันคือฟิล์มภาพยนต์ และมีสิ่งหนึ่งที่แสดงว่าฟิล์ม 35 มม. เป็นมรดกตกทอดมาจากกล้องถ่ายภาพยนต์คือ
รูหนามเตยถี่ยิบ ที่ใช้กำกับจังหวะชัตเตอร์ กับจังหวะเสียงของกล้องถ่ายภาพยนต์ และเครื่องฉายภาพยนต์


ฟิล์ม 35 มม. กลายเป็นฟิล์มภาพนิ่งในยุคต่อมา ขนาดภาพที่ยอดนิยมที่สุด
มาตรฐานที่สุดในโลกคือขนาด 24x18 มม. ขนาดเดียวกับเฟรมภาพยนต์นี้แหละ

เพียงแต่ว่ากล้องในสมัยนั้นไม่ได้ถ่ายเพื่อเอาคุณภาพของภาพนิ่ง เนื่องจากว่าฟิล์มสมัยนั้นคุณภาพต่ำมาก
หากอยากจะถ่ายภาพนิ่งเพื่อเอาคุณภาพกันจริงๆ แล้วมักจะใช้ฟิล์มใหญ่กว่านี้กันเสียมากกว่า

จุดประสงค์หลักของการใช้กล้องภาพนิ่ง 35 มม. จะมีไว้เพื่อวัดแสงในการถ่ายภาพยนต์เป็นหลัก
โดยเอาฟิล์มภาพยนต์ที่ใช้ในล็อตนั้น มาใส่กล้องภาพนิ่ง เพื่อทดลองถ่ายด้วยการเปิดรับแสงหลายๆ ค่า
พอเอาฟิล์มไปล้าง แล้วค่อยมาเลือกค่าเปิดรับแสงที่พอดีกับฟิล์มที่ใช้จริง และการจัดแสงนั้นๆ
เพราะฟิล์มสมัยก่อนความไวแสงในแต่ละล็อตไม่ค่อยคงที่เท่าไหร่ เลยต้องมีการถ่ายทดสอบก่อน
ด้วยกล้องภาพนิ่งเพื่อหาค่าความไวแสงที่แน่นอน หรือเช็คการจัดแสงจัดไฟ หรือองค์ประกอบ
อาจจะมีจุดประสงค์อื่นบ้างเช่นถ่ายไว้เพื่อเป็นบันทึกการทำงานในกองถ่าย


ตัวอย่างกล้องภาพนิ่งที่ใช้กันในสมัยนั้น


https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10202256033550910&set=a.10202254347908770.1073741849.1492667919&type=3&theater




ขนาดเฟรมภาพนิ่งอื่นๆ ที่มีใช้กันเยอะๆ นอกเหนือจากสองแบบนี้ คือพาโนรามา 24x65 mm
ในกล้องแฮสเซลบลัด กับฟูจิ X-Pan/TX-1
และขนาดประหลาดอื่นๆ อีกเกือบสิบขนาดบางขนาดก็มีใช้อยู่กล้องเดียว บางขนาดก็เป็นที่นิยมอยู่ในระดับหนึ่ง
ขอผ่านไปไม่เล่าถึงละกันแต่แค่นี้ก็เห็นแล้วว่า จะบอกว่าฟิล์ม 35 มม. มีขนาดภาพเท่าไหร่กันแน่
ก็ต้องว่ากันยาว เพื่อให้แน่ใจว่ากำลังคุยเรื่องเดียวกันอยู่






ขนาด 24x36 มม. ยอดนิยม ที่จริงมันคือ double frame ของฟิล์มภาพยนต์
เพราะตอนมันเกิดขึ้นมาเป็นครั้งแรก มันเกิดจากเอาฟิล์มภาพยนต์ 35 มม. มาตัดม้วนใส่กลัก (cassette)
แล้วกำหนดให้ขนาดเฟรมภาพนิ่ง 1 ภาพ มีขนาดเท่ากับเฟรมภาพยนต์สองเฟรม แล้วให้บันทึกภาพแนวนอนตามยาวฟิล์ม
แทนแนวขวางฟิล์ม เพื่อให้ได้ขนาดภาพใหญ่ที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
แก้ปัญหาฟิล์มคุณภาพต่ำในการเอาไปใช้งานในการถ่ายภาพนิ่งเป็นหลัก




เราไม่รู้แน่ชัดว่าใครเป็นผู้ริเริ่มเอาฟิล์ม 35 มม. มาใช้ในกล้องถ่ายภาพนิ่งเป็นงานเป็นการ
เคยเชื่อกันว่า Oscar Barnak นำมาใช้ไลก้าเป็นเจ้าแรก

แต่ตามหลักฐานที่พบบอกว่า ไลก้าก็เอามาจากคนอื่นอีกทีเหมือนกัน เพราะตอนที่ Leica Ur ยังเป็นกล้องต้นแบบอยู่ในปี 1913
ตอนนั้นกล้อง Smith 1912 ที่ใช้ฟิล์มฟอร์แมทนี้ก็วางขายมาเป็นปีแล้ว กว่าไลก้าจะวางตลาดจริงก็ในปี 1925 โน่น
ซึ่งตอนที่ไลก้าวางตลาดกล้องที่ใช้เฟรมภาพ 24x36 มม. ก็มีกล้องบริษัทอื่นวางขายอยู่นับสิบรุ่นมานานหลายปีแล้ว



https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10202254311147851&set=a.10202254347908770.1073741849.1492667919&type=3&theater






มีต่อ...............

บทความที่เกี่ยวข้อง

ระดับ : สมาชิก V
โพสต์
108
เงิน
1855
ความดี
1791
เครดิต
1595
จิตพิสัย
5446
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 10#  โพสต์เมื่อ: 2014-09-16
ake
โพสต์
4768
เงิน
34014
ความดี
117475
เครดิต
125435
จิตพิสัย
118050
จังหวัด
เชียงใหม่

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 9#  โพสต์เมื่อ: 2014-09-09
เข้าใจแจ่มแจ้งเลยครับ
ขอบคุณมากๆครับ
ระดับ : สมาชิก VII
โพสต์
509
เงิน
9550
ความดี
9242
เครดิต
9661
จิตพิสัย
10376
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 8#  โพสต์เมื่อ: 2014-09-09
ความรู้ที่อาจจะหลงลืมกันไปบ้าง...
ขอบคุณมากครับ...
โพสต์
1099
เงิน
24442
ความดี
20956
เครดิต
21442
จิตพิสัย
21252
จังหวัด
ขอนแก่น

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 7#  โพสต์เมื่อ: 2014-09-09
สาระความรู้ดีครับ
ระดับ : สมาชิก IIII
โพสต์
88
เงิน
1848
ความดี
1793
เครดิต
1642
จิตพิสัย
1750
จังหวัด
สมุทรปราการ
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 6#  โพสต์เมื่อ: 2014-09-09
โอววว อย่างละเอียด อ่านจนตาลายเลย ขอบคุณครับ
ระดับ : สมาชิก VII
โพสต์
529
เงิน
238
ความดี
11176
เครดิต
12244
จิตพิสัย
13014
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 5#  โพสต์เมื่อ: 2014-09-09
Type                                                                         Stops(area)                                    Crop factor[26]

35mm full-frame,                                                         0                                                   1.0
(Nikon FX, Sony α, Sony FE, Canon EF)

Leica S                                                                    +0.64                                                  0.80
Pentax 645D                                                           +0.75                                                  0.78
Standard 65mm film frame                                      +0.81                                                  0.76
Kodak KAF 39000 CCD[29]                                    +1.06                                                  0.71
Leaf AFi 10                                                             +1.22                                                  0.65
Medium-format (Hasselblad H5D-60)[30]              +1.26                                                  0.65
Phase One P 65+, IQ160, IQ180                           +1.33                                                  0.64
Medium Format Film 6x4.5                                    +1.66                                                0.614
Medium Format Film 6x6                                       +2                                                     0.538
Medium Format Film 6x7                                      +2.05                                                 0.505
IMAX film frame                                                     +2.05                                                 0.49
Large Format Film 4x5                                          +3.8                                                  0.29
Large Format Film 5x7                                         +4.5                                                    0.238
Large Format Film 8x10                                       +6                                                       0.143
บันทึกคะแนนนี้โพสต์ล่าสุด: รวม 1 คะแนน ความดี +10 ซ่อน
pupeneo ความดี +10 2014-09-09 LIKE
ระดับ : สมาชิก VII
โพสต์
529
เงิน
238
ความดี
11176
เครดิต
12244
จิตพิสัย
13014
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 4#  โพสต์เมื่อ: 2014-09-09
Type                                                                 Stops(area)                                    Crop factor[26]

1/10"                                                                  -9.51                                                  27.04
1/8"                                                                    -8.81                                                  21.65
1/6"                                                                    -7.64                                                  14.14
1/4"                                                                    -6.81                                                  10.81
1/3.6" (Nokia Lumia 720)[27]                            -6.16                                                    8.65
1/3.2" (iPhone 5)[28]                                         -5.80                                                    7.61
Standard 8mm film frame                                 -5.73                                                    7.28
1/3" (iPhone 5S)                                               -5.64                                                    7.21
1/2.7"                                                                -5.31                                                    6.44
Super 8mm film frame                                     -5.24                                                    6.15
1/2.5" (Nokia Lumia 1520)(Sony DSC-T5)      -5.12                                                    6.02

1/2.3" (Pentax Q) (Sony DSC-W330)             -4.92                                                    5.64
(gopro hero 3) (Panasonic HX-A500)

1/2" (Fujifilm HS30EXR)                                 -4.81                                                    5.41
1/1.8" (Nokia N8)                                            -4.50                                                    4.84
1/1.7" (Pentax Q7)                                         -4.32                                                    4.55
1/1.6"                                                              -4.15                                                    4.30

2/3"                                                                -3.89                                                    3.93
(Nokia Lumia 1020, Fujifilm X-S1, X20, XF1)    

Standard 16mm film frame                            -3.49                                                    3.41
1/1.2" (Nokia 808 PureView)                         -3.34                                                    3.24

Blackmagic                                                    -3.30                                                    3.02
Pocket Cinema Camera &
Blackmagic Studio Camera

Super 16mm film frame                                 -3.22                                                   2.97

1" Nikon CX,                                                 -2.90                                                   2.72
Sony Cyber-shot DSC-RX100 and
DSC-RX10, Samsung NX Mini

1" Digital Bolex d16                                      -2.81                                                   2.70

Blackmagic Cinema Camera EF                  -2.62                                                  2.38

Four Thirds, Micro Four Thirds                    -1.94                                                   2.00
("4/3", "m4/3")

Blackmagic Production Camera 4K            -1.78                                                   1.79
1.5" Canon G1 X Mark II                            -1.72                                                    1.85
"35mm" 2 Perf Techniscope                       N/A                                                       N/A
original Sigma Foveon X3                          -1.60                                                   1.74
"Super 35mm" 2 Perf                                  N/A                                                      N/A
Canon EF-S, APS-C                                  -1.39                                                   1.61
Standard 35mm film frame                        -1.34                                                    1.59

APS-C                                                       -1.23                                               1.52–1.54
(Nikon DX, Pentax K,
Samsung NX, Sony α DT, Sony E)

"35mm 3 Perf"                                            N/A                                                      N/A
Super 35mm film 4 Perf                            -0.95                                                  1.39
Canon APS-H                                           -0.73                                                  1.29
ระดับ : สมาชิก VII
โพสต์
529
เงิน
238
ความดี
11176
เครดิต
12244
จิตพิสัย
13014
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
Full Frame แบบเด็กเทคนิค


อย่างที่บอกว่าในสมัยก่อน คำว่าฟูลเฟรมมีที่ใช้อื่นอยู่แล้ว คือใช้เวลาที่อธิบายถึงวงภาพเทียบกับขนาดฟิล์ม
ในกล้อง medium/large format ที่ใช้ฟิล์มได้หลายขนาด ในบอดี้เดียว เลนส์เดียวกัน
หากขนาดเฟรมภาพ ใหญ่พอดีกับวงภาพ มันคือขนาดเฟรมภาพที่ใหญ่ที่สุดที่เป็นไปได้
เราจะเรียกว่า ฟูลเฟรม เช่นเวลาใช้ Mamiya RZ67 กับฟิล์มแบ๊ค 6x7 ก็จะเป็นฟูลเฟรม
แต่หากใช้ฟิล์มขนาดเล็กลงมากว่าวงภาพ ผ่านฟิล์มแบ๊คขนาดอื่น
เช่น135 หรือ 6x4.5 แบ็คนี้จะเป็น cropped frame และต้องคำนวณ crop factor
เพื่อหามุมรับภาพของเลนส์ที่เปลี่ยนไป



ในความรู้สึกของนักเทคนิคทั้งหลาย แต่ไหนแต่ไรมา คำว่าฟูลเฟรม และครอปเฟรม จึงเกี่ยวข้องกับขนาดฟิล์ม
เทียบกับขนาดวงภาพจากเลนส์กล้องกลาง หรือใหญ่ ไม่ได้เกี่ยวอะไรเลยกับกล้อง 135
เพราะไม่สามารถเปลี่ยนฟิล์มขนาดอื่นได้


แต่คำว่าฟูลเฟรม/ครอปเฟรม ถูกเอามาใช้เป็นจริงเป็นจังกับกล้องพื้นฐาน 135 ในสมัย Canon 1Ds ปี 2002
เพื่อบอกว่ากล้องนี้ใช้เซ็นเซอร์ใหญ่เท่าเฟรมภาพของฟิล์ม 135 จะได้แสดงถึงความแตกต่างจากกล้องอื่นๆ
ในยุคนั้น ที่ใช้ตัวรับภาพขนาดเท่ากับฟิล์ม APS-C ที่เป็นครอปเฟรมของกล้องฟิล์ม 135
เป็นครั้งแรกที่คำนี้เจาะจงที่ขนาดตัวรับภาพอย่างเดียว โดยไม่ได้อ้างถึงขนาดวงภาพจากเลนส์


แต่ที่ทำให้นักเทคนิคมึนกันไปเป็นแถวในยุคต่อมา คือคำว่าฟูลเฟรม/ครอปเฟรม พอใช้ไปเรื่อยๆ สิบปีถัดมา
มันกลับเปลี่ยนความหมายไปจากการอธิบายขนาดเฟรมภาพ เทียบกับขนาดวงภาพ
กลายเป็น ขนาดเซ็นเซอร์ใหญ่สุดในระบบหนึ่งๆ  เทียบกับเซ็นเซอร์ขนาดเล็กลงมา 'ในระบบเดียวกัน'
(เริ่มโดยแคนอน ตามด้วยนิคอน ปัจจุบันนิยมใช้โดยโอลิมปัส)
ซึ่งอันนั้นมันก็ยังพอเข้าใจได้อยู่



แต่ท้ายที่สุด ทุกคนที่มาไม่ทันยุคฟิล์ม ก็ใช้คำว่าฟูลเฟรมในความหมายที่แปลว่าทุกอย่างในจักรวาล
เทียบกับเฟรมภาพขนาด 24x36 มม. ไปซะงั้น



ทำเอานักเทคนิคสาย medium/large format เลิกใช้คำนี้ไปเลย เพราะถ้าฟูลเฟรมแปลว่า 24x36 มม. แล้ว
ในสายกล้องกลาง กล้องใหญ่จะใช้คำว่าอะไรดีที่จะไม่สับสน เวลาอธิบายการใช้เซ็นเซอร์หลายขนาดตั้งแต่ 33x44 มม.
ไปจน 56x56 มม. หรือ 135 บนกล้องและเลนส์ชุดเดียวกันของมีเดียมฟอร์แมท
หรือเวลาใช้ฟิล์มกลัก 135 ถึงฟิล์มแผ่น 8x10 นิ้วบนกล้องใหญ่กล้องเดียวกัน





และคำนี้ยังลามไปใช้ในกล้องฟอร์แมทอื่นๆ ที่มาจากคนละพื้นฐานอย่าง คอมแพ็กต์ และ (micro) Four Thirds
รวมทั้ง Nikon 1 ซึ่งที่จริงกล้องเหล่านี้ต้องใช้ระบบเรียกขานแบบ optical format ของ vidicon
ไม่ใช่ระบบ crop/full ของกล้องฟิล์ม



มีเรื่องน่าสนใจคือ หากว่ากันตามนิยามเดิมทางเทคนิคเมื่อสิบกว่าปีก่อน ที่ยึดเอาขนาดเซ็นเซอร์เมื่อเทียบกับวงภาพเป็นหลัก
กล้องพื้นฐาน 135 ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ไม่ว่า APS-C, APS-H หรือ 24x36 มม. ทั้งหมดจะเป็นครอปเฟรม
เพราะใช้เซ็นเซอร์ขนาดเล็กกว่าวงภาพที่เลนส์สร้างขึ้น

แต่หากใช้นิยามขนาดเซ็นเซอร์ใหญ่สุดบนฟอร์แมท
24x36 มม. ถึงจะกลายเป็นฟูลเฟรม เพราะถึงขนาดจะเล็กกว่าวงภาพ แต่ไม่มีเซ็นเซอร์ใหญ่กว่านี้สำหรับวงภาพนี้


มีเพียงไลก้า M เท่านั้นที่มีวงภาพขนาดพอดีกับเซ็นเซอร์ 24x36 มม. และไม่มีเซ็นเซอร์ขนาดใหญ่กว่าให้ใช้
จัดเป็นฟูลเฟรมแท้ๆ ในทุกนิยาม



Full Frame แบบ Vidicon



กล้องคอมแพ็กต์ กล้องติดโทรศัพท์มือถือ (micro) Four Thirds และ Nikon CX เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง
กล้องกลุ่มนี้ ใช้พื้นฐานขนาด และสัดส่วนตัวรับภาพจาก Vidicon – Video Camera Tube ที่เป็นตัวรับภาพแบบไม่ใช้ฟิล์ม
ในกล้องทีวี และกล้องถ่ายวิดีโอ มีมาสักเกือบร้อยปีแล้ว เป็นตัวรับภาพอัตราส่วน 4:3 และบอกขนาดในระบบ optical format
เช่น 1”, 1.5”, 1/2.5”, 1/1.75”, 4/3”
(ในขณะที่ตัวรับภาพพื้นฐานฟิล์ม 135 ใช้สัดส่วน 2:3 และบอกขนาดกว้างคูณยาว หรือเส้นทแยงมุมเป็นมิลลิเมตร)


กล้องพวกนี้ในแต่ละฟอร์แมท มีเซ็นเซอร์ขนาดเดียว วงภาพขนาดเดียว ไม่สามารถเปลี่ยนขนาดเซ็นเซอร์
หรือขนาดวงภาพจากเลนส์ได้ ที่จริงส่วนใหญ่เปลี่ยนเลนส์ไม่ได้ด้วยซ้ำ
ดังนั้นจะไม่มีการใช้คำว่า full/crop ในระบบนี้ ยกเว้นไม่กี่ฟอร์แมท


Nikon CX ไม่ค่อยงง ถึงจริงๆ มันจะมีฐานใน optical format ก็เถอะ แต่นิคอนวาง position แน่นมาตั้งแต่แรก
ว่าเป็นครอปเฟรม ที่แชร์เลนส์ FX/DX ได้ เลนส์เดียวกันนำมาใช้กับเซ็นเซอร์ได้หลายขนาด
ไม่เคยจัดให้มันเป็นฟูลเฟรมในฟอร์แมทของมันเอง


PENTAX Q ฟอร์แมทนี้มีเซ็นเซอร์ 2 ขนาด คือรุ่นใหม่เป็นฟูลเฟรมใช้เซ็นเซอร์ 1/1.7”
กับรุ่นเก่าเป็นครอปเฟรมใช้เซ็นเซอร์ 1/2.3” ใช้เลนส์เดียวกันก็ต้องมีการคำนวณทางยาวโฟกัส
เหมือนเวลาใช้เลนส์ FF 135 บนกล้อง APS-C เลย






แต่ฟอร์แมทที่เจอบ่อยสุด และชวนงงที่สุดคือ (micro) Four Thirds ที่เป็นได้ทั้งฟูล ครอป และไม่ใช่ทั้งคู่ แล้วแต่นิยาม
บางที micro Four Thirds อาจจะบอกว่าตัวเองเป็นฟูลเฟรมก็ได้ ตามนิยามขนาดเซ็นเซอร์ใหญ่สุดในฟอร์แมท
และนิยามขนาดเซ็นเซอร์เทียบกับวงภาพ


บางทีจะบอกว่าไม่ใช่ฟูลเฟรมก็ได้ ถ้าใช้นิยาม “ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลเทียบกับเฟรมภาพขนาด 24x36 มม.”



ถึงนักเทคนิคสายโอลิมปัสจะยืนยันว่ามันเป็นฟูลเฟรมในระบบนี้ เพราะมันมีขนาดเฟรมเท่ากับวงภาพ
และวงภาพจากเลนส์ เทียบกับขนาดเฟรม

แต่ผมว่าระบบนี้มันไม่มีเซ็นเซอร์ขนาดอื่น ที่แชร์เลนส์ หรือเปลี่ยนเซ็นเซอร์กันได้ ดังนั้นมันไม่ควรจะใช่ฟูลเฟรม
และในขณะเดียวกันไม่ใช่ครอปเฟรมด้วย มันจะไปคล้ายๆ กับกล้องคอมแพ็กต์ ที่มีเซ็นเซอร์ขนาดเดียวบนวงภาพขนาดเดียวมากกว่า


=========================


เรื่องฟูลเฟรม หรือครอปเฟรม ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องง่ายๆ เข้าใจไม่ยาก ไม่น่าจะมีอะไรซับซ้อน

แต่ถ้ามาดูกันอย่างละเอียดแล้ว มันก็กลับมีอะไรเยอะแยะกว่าที่คิด และไม่ได้ง่ายเลย


----------------------------------------------------------------- จบ --------------------------------------------------------------------------
                                                              


ปล.1 ตอนแรกจัดหน้าไว้ดีแล้ว พอกดส่ง มันบอกตัวอักษรเกิน  คราวนี้เลยต้องแบ่งเป็นช่วงๆครับ
ปล.2 ถ้าภาพผิดขออภัยล่วงหน้า แต่คิดว่าน่าจะถูกทั้งหมดนะครับ
บันทึกคะแนนนี้โพสต์ล่าสุด: รวม 1 คะแนน ความดี +100 ซ่อน
krunoom ความดี +100 2014-09-09 -
ระดับ : สมาชิก VII
โพสต์
529
เงิน
238
ความดี
11176
เครดิต
12244
จิตพิสัย
13014
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร



APS-C ในยุคดิจิตอล


พอเข้ายุคดิจิตอล ต้องเรียกว่าเป็นความโชคดีในโชคร้ายของบริษัทผลิตกล้อง


ที่ว่าโชคร้ายคือ เซ็นเซอร์ดิจิทัลขนาด 24x36 เท่ากับเฟรมปกติของฟิล์ม 135 นอกจากแพงบัดซบแล้ว
ยังต้องการวงภาพจากเลนส์ ที่ขนาดใหญ่เกินกว่าที่เลนส์ SLR 135 เดิม ที่มีอยู่ในยุคนั้นจะสร้างให้ได้
โดยไม่เกิดภาพที่ขอบมืด ขอบเบลอ ขอบเขียวขอบม่วง
ซึ่งทำให้ใช้เซ็นเซอร์ขนาดฟูลเฟรมในกล้องและเลนส์ระบบ SLR 135 เดิมไม่ได้


แต่โชคดีที่ตัวรับภาพดิจิทัลขนาด APS-C เป็นขนาดที่เหมาะสม สามารถเอาไปใส่บอดี้กล้อง APS ได้ทันที
โดยแทบไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรให้มากมาย
ถึงแม้จะใช้เลนส์ APS ไม่ได้เพราะขอบภาพไม่ดี
แต่พอเอาเลนส์ SLR 135 ที่ใช้กับกล้องฟิล์มเดิมมาใส่กับกล้อง APS ก็ได้ภาพที่คุณภาพดี
การที่ใช้กับเลนส์เดิมได้นี่เอง ทำให้นิคอน แคนอน ไม่เสียแรงวิจัยกล้อง APS ไปเปล่า เพราะเอาบอดี้ใหม่มาใช้กับเลนส์เก่าได้
แต่มินอลต้าต้องโยนระบบ APS ที่ทำมาหลายปีทิ้งไปหมด แล้วกลับไปใช้เม้าท์ A ของกล้องฟิล์มเดิม


พอลดขนาดตัวรับภาพลงมาเหลือ APS-C นอกจากตัวรับภาพ และบอดี้จะราคาลดลงฮวบๆ
เมื่อเทียบกับการใช้เซ็นเซอร์ 24x36 มม. แล้ว เซ็นเซอร์ขนาดเล็กลงยังเจาะไข่แดง
เอาภาพจากตรงกลางวงภาพของเลนส์เดิมมาใช้ ไม่เอาขอบภาพที่มีปัญหาเข้ามากวนใจ
ซิสเต็มเดิมๆ ที่มีอยู่แล้ว ก็กลายเป็นดิจิทัลได้ทันที มีสิ่งที่ผู้ใช้ต้องปรับตัวแค่ ตัวรับภาพที่เล็กลง
จะทำให้มุมมองจากเลนส์แคบลง
เราเลยต้องมีการคูณทางยาวโฟกัสเพื่อให้นึกออกว่าเลนส์เดิมที่ใช้อยู่มันแคบลงแค่ไหนเวลาเป็นกล้องดิจิตอล APS-C









Full Frame ในยุคดิจิตอล


ถึงจะมีเซ็นเซอร์ APS-C ให้ใช้ แต่ว่าตัวรับภาพขนาด 24x36 มม. เท่าเฟรมของฟิล์ม 135 เดิม
ก็ยังเป็นความต้องการของนักถ่ายภาพกลุ่มหนึ่งอยู่ดี เพราะเป็นขนาดที่คุ้นเคย
และข้อดีทางเทคนิคอื่นอีกคือ เซ็นเซอร์ใหญ่ทำให้มีพื้นที่วางเซลไซต์เยอะขึ้น ทำให้เพิ่มพิกเซลได้เยอะ
หรือจะเลือกใส่พิกเซลจำนวนน้อย แต่ขนาดเซลไซต์ใหญ่ขึ้นเพื่อเพิ่มคุณภาพแต่ละพิกเซลก็ได้
และถึงระบบกล้องและเลนส์จะใหญ่กว่า APS-C แต่มันก็ยังอยู่ในเกณฑ์หอบหิ้ว
ไม่ใช่ขนาดแบกหามเหมือนมีเดียมฟอร์แมท ทำให้มันอยู่ในจุดที่พอเหมาะพอสมสำหรับนักถ่ายภาพที่เน้นคุณภาพ
ภาษาฝรั่งเรียก Sweet Spot


ปัญหาคือหากจะใช้เซ็นเซอร์ขนาดเท่าฟิล์ม 135 มันจะเจอข้อจำกัดทางออพติคส์หลายอย่างเวลาใช้กับเลนส์เดิมๆ
เช่นเลนส์กล้องฟิล์มมันมีคุณภาพต่ำ แต่เราไม่เคยเห็นมาก่อน เพราะฟิล์มมันยืดหยุ่นต่อความผิดพลาดมาก
ส่วนเซ็นเซอร์ดิจิตอลมันจะแสดงข้อบกพร่องของเลนส์ที่เราคิดว่าดีแล้ว ออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน
ทั้งความคลาดสีขอบม่วงขอบเขียว และขอบมืด ให้รายละเอียดและความคมชัดต่ำ แม้จะเป็นเลนส์โปร
ยังขอบมืดขอบเบลอ กำลังแยกเส้นต่ำไป แฟลร์เยอะไป ฯลฯ


โดยรวมคือเซ็นเซอร์ดิจิตอลต้องการเลนส์ที่คุณภาพดีกว่าเลนส์สมัยฟิล์มมาก
เลนส์ยุคฟิล์มที่โปรที่เคยใช้มาอย่างภาคภูมิใจ พอจับมาเทส บางทียังสู้เลนส์คิทติดกล้องดิจิตอลสมัยนี้ยังไม่ได้เลย





แต่อะไรก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับที่มันต้องการวงภาพที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม


ในกล้องฟิล์มเราใช้เลนส์ที่ให้วงภาพครือๆ กับขนาดเฟรมได้สบาย แต่เซ็นเซอร์ดิจิตอล
กลายเป็นว่าเลนส์เดิมถ่ายออกมาได้ขอบภาพมืด และเบลอ เพราะมุมกระจายแสงที่ขอบวงภาพ
มันทำมุมมากเกินไป และปริมาณแสงน้อยเกินไป
มันทำให้แสงมันไม่ตกลงบ่อดักโฟตอนที่ขอบภาพอย่างเพียงพอและมีคุณภาพ


วิธีแก้บน DSLR ก็มีไม่กี่ทาง ถ้าไม่เอียงบ่อดักโฟตอนมารับ (เป็นวิธีแพงสุดๆ ที่ไลก้าเลือกใช้)
ก็ต้องแก้ด้วยการเพิ่มชุดเลนส์พิเศษเข้าไปที่ท้ายเลนส์ เพื่อบีบมุมกระจายแสง
และเกลี่ยแสงในวงภาพให้เท่าๆ กัน (อันนี้ก็ถูกโอลิมปัสจดสิทธิบัตรตัดหน้าไปแล้ว เอาไว้ใช้กับระบบ Four Thirds ของตัวเอง)
ทางแก้ของยี่ห้ออื่น ก็เลยต้องทำให้วงภาพใหญ่ขึ้นกว่าเซ็นเซอร์เอาไว้ก่อน เพื่อเจาะไข่แดง
เอาแสงที่กลางวงภาพออกมาใช้ หรือทำให้แสงที่ขอบคุณภาพดีขึ้น ทำมุมน้อยลง


ซึ่งเวลาที่ทำให้เลนส์มีวงภาพใหญ่ๆ หรือทำให้ขอบภาพดีๆ มันจะมีปัญหาใหม่เกิดขึ้น
ตรงที่ต้องเพิ่มขนาด น้ำหนัก ราคา และจำนวนชิ้นเลนส์ และความซับซ้อนในการออกแบบขึ้นไปอีก
เพื่อให้ได้คุณภาพ และวงภาพที่ต้องการ



ซึ่งเซ็นเซอร์ฟูลเฟรมที่มีแนวทแยงยาว 43 มม. แค่คิดว่าถ้าเผื่อด้านละครึ่งเซนต์
เส้นผ่านศูนย์กลางวงภาพก็แทบจะเท่ากับวงภาพของเลนส์ของกล้องมีเดียมฟอร์แมทสมัยฟิล์มแล้ว
ซึ่งในความเป็นจริงเป็นไงไม่รู้ แต่ที่เห็นๆ คือเลนส์ DSLR ฟูลเฟรมสมัยนี้ใหญ่โตมโหฬารกว่าเลนส์สมัยฟิล์มเยอะ
ขนาด น้ำหนัก ราคา ไม่น้อยไปกว่าเลนส์กล้องมีเดียมฟอร์แมทสมัยฟิล์มเลย


ระดับ : สมาชิก VII
โพสต์
529
เงิน
238
ความดี
11176
เครดิต
12244
จิตพิสัย
13014
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
คำว่า full frame ยังไม่มีใช้ในฟิล์ม 35 มม. ในตอนนั้น และยังไม่มีมาอีกนาน
มีแต่คำว่า single frame และ double frame
จนกระทั่งหลังจากปี 1960 เมื่อโอลิมปัส PEN เริ่มกลับมาใช้ขนาดภาพเท่ากับเฟรมภาพยนต์ single frame อีกครั้ง
เพื่อประหยัดฟิล์ม จะได้ลดขนาดเลนส์ ประหยัดราคากล้อง ให้คนทั่วไปรายได้ไม่สูง ไม่ได้มีอาชีพทางถ่ายภาพ
ได้มีโอกาสเป็นเจ้าของกล้องถ่ายภาพบ้าง โดยยอมลดคุณภาพลงมาหน่อย
ซึ่งก็พอใช้ได้กับผู้ใช้ตามบ้านที่ไม่ได้ขยายภาพขนาดโปสเตอร์กันเป็นประจำ


แต่ว่าตอนนั้นก็ 40 ปี หลังจากไลก้าขายกล้อง 24x36 มม. ยอดนิยม ที่สร้างมาตรฐานให้แก่วงการกล้อง
มันนานมาก จนใครๆ ก็ลืมไปแล้วว่า 24x36 มม. คือ ดับเบิ้ลเฟรม เราก็เลยเรียกซิงเกิ้ลเฟรม ว่า half frame
และเรียก ดับเบิ้ลเฟรมว่า ฟูลเฟรม    ตั้งแต่นั้น มาจนสี่สิบห้าสิบปีต่อมา





ทั้งๆ ที่คำว่าฟูลเฟรมมันมีที่ใช้อื่นในทางเทคนิคอยู่แล้ว และความวุ่นวายในการเรียกก็เริ่มต้น
และมันก็ถูกทำให้สับสนมากขึ้นจากการเกิดมาของฟิล์มขนาด APS และกล้องดิจิตอล








Advance Photo System (APS)


ระบบฟิล์มขนาดเล็กลงมาที่อุตสาหกรรมถ่ายภาพรวมหัวกัน วางแผนว่าจะให้มาแทนฟิล์ม 135
สำหรับนักถ่ายภาพมือสมัครเล่น เพื่อให้ได้กล้อง เลนส์ ฟิล์ม ที่มีขนาดเล็กลง ราคาประหยัดลงกว่าเดิม
เป็นแนวคิดเดียวกับที่โอลิมปัส PEN ทำไว้เมื่อสี่สิบปีก่อน ในเวอร์ชั่นที่ทันสมัยขึ้นเหมาะกับศตวรรษที่ 20
แต่น่าเสียดายที่มันมาช้าไปหน่อย กว่าจะวางตลาดจริงก็ใกล้จะปี 2000 เข้าไปแล้ว
พอดีกับที่กล้องดิจิทัลราคาที่ประชาชนเอื้อมถึงเริ่มเข้าตลาด ทำให้กล้อง APS คว่ำไม่เป็นท่าในไม่กี่ปีหลังเปิดตัว


โกดัก กับ มินอลต้า ทุ่มเดิมพันเต็มที่กระโดดเข้าใส่ APS เต็มตัว รายอื่นอย่างแคนอนก็มี EOS IX นิคอนมี Pronea
แต่ก็แทงกั๊กโดยใช้เม้าท์ EF กับ F ของกล้องเดิม ทำให้ขนาดกล้องกับเลนส์ไม่ได้เล็กลงนัก แต่ compatible กับระบบเดิม
แล้วไม่กี่ปีทั้งสองยี่ห้อก็เอากล้องกับเลนส์ชุดนี้ หนีไปทำ DSLR เฉยเลย เมื่อยุคดิจิตอลมาถึง









ส่วน Vectis ของมินอลต้าเป็นระบบใหม่ คิดใหม่ทำใหม่ ที่ย่อขนาดลงทั้งเม้าท์ กล้อง เลนส์
โดยไม่ได้อิงกับเม้าท์ A ของตัวเอง เมื่อ APS ล้มเหลว มินอลต้าเลยเจ็บหนักกว่าใคร
และระบบที่มินอลต้าออกแบบไว้ก็เอาไปใช้ใน DSLR ไม่ได้เสียด้วย เพราะเม้าท์เลนส์
และระบบเลนส์มีขนาดเล็กเกินไปสำหรับการทำเป็นดิจิตอลขนาด APS-C ที่นิยมกันในยุคต้น





แต่ APS ทิ้งมรดกเอาไว้ให้กล้องดิจิทัลในยุคต่อมาหลายอย่าง ได้แก่ขนาดตัวรับภาพ APS-C (25.1x16.7 มม.)
และแนวคิดเรื่องกล้องขนาดเล็ก รวมทั้งระบบเลนส์ที่สัมพันธ์กับตัวรับภาพขนาดเล็ก
การใช้เลนส์เดียวกับเซ็นเซอร์หลายขนาด ที่ไม่เคยมีมาก่อนในระบบ 135 และระบบกล้องที่สุดแสนจะทันสมัย
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้