เท่าที่เคยฟังคนอยากลองเขียน Screenplay นี่ ส่วนใหญ่จะกังวลกับ "แบบฟอร์ม" มากกว่า "การดำเนินเรื่อง" ฮะ
คือไม่แน่ใจว่าจะทำได้ถูกแบบฟอร์มหรือเปล่า
จริงๆ แบบฟอร์มของ Screenplay มีไว้แค่
1..ให้เหลือพื้นที่ว่างๆ ไว้สำหรับจดนู่นนี่นั่น ตอนออกกองถ่าย กับ
2. มีไว้กะความยาวของหนังเมื่อสำเร็จแล้ว ( 1 หน้า Screenplay ที่ได้มาตรฐาน = ประมาณ 1 นาที)
และ Screenplay จะเอาไว้แจกให้นักแสดง+ทีมงาน ได้อ่านทำความเข้าใจกับเรื่องกัน
ถ้าว่ากันตามข้อ 1. Screenplay ช่วงบรรยาย ก็จะเขียนบรรยายไป เมื่อถึงช่วงที่มีการพูดคุยกัน ก็จะนิยมเอาชื่อตัวละครไว้กลางหน้ากระดาษ และบทสนทนาก็จะย่อหน้า + ย่นท้าย เข้ามา เพื่อให้เหลือพื้นที่กระดาษไว้จดแหละฮะ
แต่ถ้าว่ากันตามข้อ 2. ที่ต้องกะความยาวงานจากความยาว Screenplay นี่ ก็ต้องมาคำนึงถึงวิธีเขียนบทให้เหมาะสมล่ะฮะ คือต้องไม่บรรยายยืดยาวอะไรมากนัก อย่างที่ผู้กำกับเป็นเอก รัตนเรื่อง เคยว่าไว้ว่า
"อย่าเขียนอะไรที่กล้องถ่ายไม่ติด" ลงไปมากนัก เพราะเราบรรยายลมฟ้าอากาศไปยาวๆ หลายหน้า แต่พอออกมาเป็นหนังจริง อาจจะเหลือความยาวหนังแค่ไม่ถึงนาทีเองก็เป็นได้ การกะความยาวงาน ก็จะคลาดเคลื่อนไปด้วย
ส่วนบทภาพยนตร์ที่ต้องเขียนมุมกล้อง + ขนาดภาพลงไปด้วย ก็จะไม่ใช่ Screenplay แล้วฮะ จะกลายเป็น Shooting Script ซึงจะเขียน Shooting Script ให้ได้ผลดี ก็ควรเขียนหลังจากได้เห็นองค์ประกอบ(สถานที่ถ่ายทำ, นักแสดง, การจัดแสง ฯลฯ)ไว้ครบแล้ว จะดีกว่า
http://www.kjn.ac.th/wordpress/srisakul/?page_id=133บางกองถ่ายที่ผู้กำกับเขียนบทเอง ที่เขียนเป็นShooting Script อย่างเดียว ไม่ได้เขียนเป็น Screenplay มาแจกจ่าย ปัญหาที่เกิด คือการกะความยาวของหนัง ก็จะคลาดเคลื่อนไปเหมือนกัน (เพราะนับหน้ามาเทียบเป็นความยาวนาทีไม่ถูก) กับ
Shooting Script ทำให้ไม่เอื้อให้ยืดหยุ่นในการถ่ายทำ เพราะบางทีเขียน Shooting ไว้โดยยังไมเคยเห็นสถานที่จริง พอไปเห็นที่จริง ก็ต้องปรับเปลี่ยนมุมกล้องให้เข้ากับสถานที่ฯ กลายเป็น Shooting Script ในรอบแรก ใช้ไม่ได้ไปเสียนี่
และ Shooting Script นี่ คนที่จะใช้งานจริงๆ ก็มีแค่ ผู้กำกับฯ ผู้ช่วยฯ ตากล้อง คนควบคุมความต่อเนื่อง(Contunue) คนตัดต่อ เท่านั้นฮะ ส่วนฝ่ายอื่นๆ แทบไม่ต้องไปยุ่งกับมุมกล้องอะไร เผลอๆ การต้องอ่านShooting Script อาจโดนศัพท์เทคนิคขัดขวางการอ่านเอาเนื้อหาไปซะอีก
ถ้าเป็นการถ่ายหนังสั้น หรือถ่ายทำเรื่องตามใจชอบของคนทำ แบบฟอร์มอะไรก็ไม่สำคัญหรอกฮะ อยู่ที่ความถนัดในการใช้ ของแต่ละคนมากกว่า
ซึ่งจริงๆ ต้องลองเขียน ลองออกไปถ่ายทำ ลองใช้งานดู ก็จะเจอแบบฟอร์มที่เหมาะกับตัวเราเองฮะ
ลองดูบทภาพยนตร์เรื่อง นางนาก ดูก็ได้ฮะ คนเชียนฯ เขาไม่ทำตามแบบฟอร์มของฝรั่งซักอย่าง แต่เขียนเพื่อให้ทีมงานเกิดอารมณ์ย้อนยุคร่วมไปด้วย
สำหรับคนที่อยากพัฒนาฝีมือ เพื่อก้าวไปสู่นักเขียนบทมืออาชีพนั้น สิ่งที่ต้องคำนึง น่าจะฝึกฝนเรื่อง การดำเนินเรื่อง มากกว่ากังวลเรื่องแบบฟอร์ม จะเกิดประโยชน์กว่าฮะ