CINEMATOGRAPHY ในสายงานการผลิตภาพยนตร์มักจะเรียกการถ่ายภาพยนตร์หรือผู้ที่อยู่ในต่ำแหน่งช่างภาพว่า CINEMATOGRAPHER
ซึ่งเป็นต่ำแหน่งที่จะต้อง Operate กล้องถ่ายภาพยตร์ และประสานงานกับผู้กำกับและผู้กำกับภาพ
คำว่า CINEMATOGRAPHER ได้เริ่มนิยมใช้เรียกแทนคำว่า Cameraman , Video man , Videography
ในช่วงเวลาที่เทคโนลีด้านการถ่ายภาพนิ่งพัฒนาให้กล้องถ่ายภาพนิ่ง (DSLR) เพิ่ม Function การถ่ายวีดีโอมาในตัวกล้อง
เพราะภาพและผลงานวีดีโอที่ได้จากกล้องภาพนิ่งที่ถ่ายวีดีโอได้ (HDSLR) นั้น ได้ภาพวีดีโอที่ได้ใกล้เคียงกับกล้องภาพยนตร์มาก
แถมยังมีคุณภาพในระดับ Full HD 1080P (Resolution 1920 x 1080p) ซึ่งมีความละเอียดมากกว่ากล้องวีดีโอทั่วไป DV (Resolution 720 x 576)
จะทำให้ได้ภาพที่มีความคมชัดมากขึ้น กล้องภาพนิ่งที่ถ่ายวีดีโอได้ (HDSLR) สามารถเปลี่ยนเลนซ์ได้หลากหลายระยะภาพ ทำให้ได้ภาพที่ได้ มีมิติมากขึ้นกว่ากล้องวีดีโอทั่วไป
จึงทำให้ช่างวีดีโอต่างให้ความสนใจในตัวกล้องภาพนิ่งที่ถ่ายวีดีโอได้ (HDSLR) และได้นำมาใช้ถ่ายวีดีโอกันอย่างจริงจังมากขึ้น ช่างภาพหรือช่างวีดีโอที่สร้างสรรค์งานโดยใช้ (HDSLR)
จึงมักเรียกตัวเองว่า CINEMATOGRAPHER และเรียกผลงานของตัวเองว่า CINEMATOGRAPHY
ซึ่งถ้าจะหาความหมายของคำว่า CINEMATOGRAPHY เมื่อแยกคำออกมาจะได้ 2 คำ คือ
CINEMA แปลว่า ภาพยนตร์
PHOTOGRAPHY แปลว่า การถ่ายภาพ
CINEMATOGRAPH แปลว่าอะไร ผมเองยังคงสงสัยอยู่ ผู้ที่ทำงานด้านนี้ต่างให้คำนิยามต่างๆกัน
และผมเองคงจะต้องให้คำนิยาม กับคำนี้ว่า CINEMATOGRAPHY
คือ การสร้างสรรค์งานในรูปแบบภาพยนต์ โดยใช้อุปกรณ์กล้องภาพนิ่งที่ถ่ายวีดีโอได้ (HDSLR) เพื่อให้ได้ผลงานที่ใกล้เคียงกับภาพยนตร์มากที่สุด
การผลิตภาพยนตร์ มีขั้นตอนการทำงานโดยใช้หลัก 3P
P ตัวแรกก็คือ Pre-production คือ ขั้นตอนของการเตรียมงาน ก่อนที่จะผลิตงานจริง เช่น การวางโครงเรื่อง Theme Concept Story รวมถึงการวางแผนกระบวนการผลิต
P ตัวที่สองคือ Production คือ การถ่ายทำภาพยนตร์ ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจต้องใช้อุปกรณ์บันทึกภาพ ซึ่งเป็นอุปกรณ์แบบไหนก็ได้ แต่สำหรับงาน CINEMATOGRAPHY
กล้องภาพนิ่งที่ถ่ายวีดีโอได้ (HDSLR) คงเป็นคำตอบแรกในการเลือกใช้งาน (การเลือกใช้มุมกล้องในแบบภาพยนตร์จะเป็น Skill ของแต่ละบุคคล)
P ตัวสุดท้ายก็คือ Post Production หลังจากที่เราได้ Stock ภาพเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราจะต้องนำภาพที่ได้มาลำดับตัดต่อให้ได้งานตามที่เราจะต้องการสื่อสารออกไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่าเรื่องในแบบภาพยตร์
ภาพยนต์กับละครต่างกันอย่างไร ให้ดูที่วิธีการเล่าเรื่องซึ่งต่างกันอย่างชัดเจน การถ่ายทำมุมกล้องและการเลือกใช้ภาพมาตัดต่อก็ต่างกัน สีสันของงานที่ได้ก็ไม่เหมือนกันเลย
ส่วนต่างกันอย่างไรนั้น คงต้องในคุณผู้ชมตัดสินครับ คล้ายๆงานวีดีโอพิธีการที่มีภาพเหตุการ์ณต่างๆครบทุกรายละเอียด
เมื่อเทียบกับงาน CINEMATOGRAPHY ถูกสร้างสรรค์และเน้นไปที่อถรรสในการชม สร้างอารมณ์ เรื่องราว ความสวยงามของมุมภาพ
ถ้ามองถึงกระบวนการทำงานของงานวีดีโอพิธีการกับงาน CINEMATOGRAPHY แล้วแทบไม่ต่างกันเลย แต่งานที่ได้ออกมาจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงครับ
CINEMATOGRAPHY คือ ศิลปะของการสร้างสรรค์ผลงานให้เหมือนภาพยนตร์มากที่สุด โดยใช้กล้องภาพนิ่งที่มีคุณสมบัติถ่ายวีดีโอได้ในการบันทึกภาพเคลื่อนไหว
เหตุการ์ต่างๆ แล้วนำมาลำดับภาพเล่าเรื่องในรูปแบบภาพยนตร์[ แก้ไขล่าสุดโดย video_p เมื่อ 2010-12-28 08:10 ]