สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 3849เข้าชม
  • 10ตอบกลับ

เก็บตก Motion Control เมื่อ Robot Arm เข้ามาในวงการภาพยนต์

โพสต์
3280
เงิน
49028
ความดี
67852
เครดิต
78389
จิตพิสัย
62308
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

ระบบ CNC และ Robot Arm เข้ามาอยู่ในอุตสาหกรรมนานแล้ว สร้างคุณูปการไว้มากมาย โดยเฉพาะการทำงานที่ยืดหยุ่นด้วยการโปรแกรมให้ทำงานได้หลายลักษณะ รวมถึงความสามารถในการทำงานแบบซ้ำ ๆ ได้อย่างแม่นยำในระดับไมครอน ... และแล้ว เมื่อระบบ Motion Control ที่อยู่ใน Robot Arm เข้ามาสู่วงการภาพยนต์ งานสร้างสรรค์ที่ไม่เคยเป็นไปได้ ก็ปรากฏออกสู่สายตาอย่างมากมาย ...









ฝากด้วยครับ ใครมีความเห็น มีประสบการณ์ เชิญวิจารณ์ เชิญถกกัน ... Motion Control สัญชาติไทยมีโอกาสได้เกิดแน่นอน ผมยังมั่นใจ ...



  • รูปภาพ:motion control.gif

บทความที่เกี่ยวข้อง

โพสต์
3280
เงิน
49028
ความดี
67852
เครดิต
78389
จิตพิสัย
62308
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 10#  โพสต์เมื่อ: 2011-03-05
ว้าววว ขอบคุณครับคุณจ๊อบ ผมเดาว่าถ่ายธรรมดาเหมือนกัน แต่พอคุยกัน ๆ แล้วก็แตกกระจายกันไปว่าเป็น Blue Screen ไป Rotoscoping แล้วก็เลยเถิดไปถึง Motion Control ก็เออลงตัวดี ...
โพสต์
420
เงิน
10004
ความดี
8399
เครดิต
7587
จิตพิสัย
6783
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 9#  โพสต์เมื่อ: 2011-03-05
อ้างอิง
อ้างอิงโพส 3 ต้นฉบับโพสโดย vfspostwork เมื่อ 2011-03-04 14:37  :
โฆษณา DTAC ตัวนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งผลงานของ Motion Control ...



ลองเดาดูครับ ฉากแรก หนุ่มสาวริมชายทะเล น่าจะถ่ายยังไง ใช้เทคนิคอะไร ...
.......
โฆษณาชิ้นนี้ผมได้ร่วมออกกองถ่ายทำด้วย เทคนิคไม่มีอะไรมากครับ ถ่ายแบบปกติแต่ใช้มุมกล้องช่วยพอดอลลี่ผ่านตัวแสดงชาย ก็ให้ผู้หญิงก้มตัวลง แล้วบวกกับการตัดต่อกับช็อตที่เดินคนเดียวแล้วมีรอยเท้าที่เซ็ตขึ้นมา เลยทำให้ดูใกล้เคียงครับ
โพสต์
1276
เงิน
25178
ความดี
37915
เครดิต
40757
จิตพิสัย
37283
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 8#  โพสต์เมื่อ: 2011-03-04
Gearhead มี Motion Control ให้เช่านะครับ ลองไปดู Reel ครับ
ระดับ : สมาชิก V
โพสต์
189
เงิน
5834
ความดี
3439
เครดิต
3463
จิตพิสัย
5982
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 7#  โพสต์เมื่อ: 2011-03-04
Motion Control ถูกออกแบบและสร้างมาเพื่อใช้แก้ปัญหาในการเคลื่อนไหวกล้องให้ได้ตำแหน่งเดิม ที่เดิมในวินาทีเดิม
เพื่อใช้สำหรับสร้างเทคนิคทางด้านภาพที่้ต้องการความแม่นยำ ซึ่ง การใช้ คน หรือ ความชำนาญของมนุษย์ ยังไม่สามารถทำได้
จากกระทู้นี้ อยากให้ศึกษาและเรียนรุ้ว่า เมื่อไร เราจำเป็นต้องลงทุนใช้ motion control และเมื่อไรไม่ต้องพึ่งพา motion control
อันนี้สิถึงจะเป็น สิ่งสำคัญ ในการเข้าใจที่จะเลือกใช้เครื่่องมือ เพื่อให้ได้ผลของภาพที่ต้องการ..

เห็นด้วยครับ กับ vfspostwork  ที่ไม่อยากให้หลงประเด็น เพราะการทำงานภาพยนตร์ เราจำเป็นต้องพึ่งพาอุปกรณ์ต่างๆ
กล้องถ่ายภาพยนตร์ ก็ถือ เป็น จักรกลสมองกล หรือหุ่นยนต์ ที่คอยบันทึกภาพให้เราเช่นกันครับ..
หากมีประสบการณ์ในการ ทำงานภาพยนตร์ หรือ โฆษณา ลองมองรอบๆตัวสิคับ..อุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งนั้น...

หากมนุษย์สามารถเคลือนไหวกล้องได้ในตำแหน่งเดิม เวลาเดิม เฟรมเดิม ตั้งแต่ เทคแรก ถึงเทคสุดท้ายได้..
ก็ไม่จำเป็นต้องมี motion control ครับ...  แต่ก็จำเป็นต้องใช้หุ่นยนต์ ก็เพราะมนุษย์ยังไม่เสถียรพอที่จะทำแบบนั้นครับ..

ทำไงได้ละคับ..เมื่ออยู่ชั้น 19 ผมก็ยอมขึ้นลิฟ..หรือคุณจะเดินขึ้นบันใด??

K1
โพสต์
3280
เงิน
49028
ความดี
67852
เครดิต
78389
จิตพิสัย
62308
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 6#  โพสต์เมื่อ: 2011-03-04
Milo ตัวอย่าง Motion Control 12 แกน ... ดูแนวทางที่เขานำไปใช้ครับ มีประโยชน์ ...





เรื่องโครงสร้างนี่ไม่กลัวเลย หลักการเดียว ๆ กัน แต่พอแกนเยอะเข้า เรื่องซอฟแวร์ที่จะมาคุมนี่จะเป็นอะไรที่ยากแล้ว ...

ปล. โอ้วววว เพิ่งเห็น Oaksmile อย่าเอาทักษะเครื่องไปปนกับทักษะคน หรือ ยาวไปถึงเรื่องการนำมาแทนคนครับ ถ้าคิดแบบนั้นมันจะพาเราหลงทาง ... สิ่งเหล่านี้มันเป็นเพียงเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่เราจะเลือกใช้ให้เหมาะกับงาน พาเราไปถึงจุดเป้าหมายนึงเท่านั้นครับ ... เทคโนโลยีส่วนใหญ่ถูกคิดมาเพื่อปกป้องมนุษย์ เช่น มาทดแทนการทำงานที่เสี่ยงภัย ทำงานในสภาวะที่อันตราย การทำงานที่ทำให้เกิดการอ่อนล้าบั่นทอนสุขภาพ ฯลฯ ... เมื่องานทำได้ง่ายเข้า ความเครียดในการทำงานก็น้อยลง ทำให้เรามีเวลาที่จะใส่ความสร้างสรรค์ลงในงานได้มากขึ้น ...

        
ระดับ : สมาชิก VII
โพสต์
529
เงิน
238
ความดี
11176
เครดิต
12244
จิตพิสัย
13014
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 5#  โพสต์เมื่อ: 2011-03-04
ผมเคยคิดว่า Robot Arm นั้นมีประโยชน์มาก ในแง่ของการทำงานที่แม่นยำ
รวดเร็ว ถูกต้อง ไม่บ่น ไม่เหนื่อย สั่งงานได้ง่าย สามารถมาแทนที่คนทำได้อย่าง 100 %
จนหันไปหาข้อมูล ค้นคว้าทางด้านนี้อย่างจริงๆจังๆ  เพื่อมาพัฒนาและทำให้สำเร็จให้ได้

ระหว่างที่คึกษาข้อมูลก็วิเคราะห์ลักษณะงานที่มันเกิดขึ้นจริง จากประสบการณ์
จากความคิดลูกค้า จากสถานที่ต่างๆ แม้แต่ตัวทีมงาน
เพื่อหาจุดบกพร่องที่คนทำไม่ได้แต่หุ่นทำได้ ในงาน วิดีโอสวิชเชอร์ (วงจรปิด)
และเพื่อทำให้ตัวเองสะดวกและสบายมากขึ้น

โดยจินตนาการไปว่า ถ้ามีงานพิธีการหนึ่ง
                                  สิ่งที่ต้องทำอย่างแรกบนเวที
                                  คือระบุพิกัด ตำแหน่งต่างๆไว้เป็น พรีเซ็ต
                                  และเมื่อทำงานจริง เรามีหน้าทีกดปุ่มรันคิวไปเรื่อยๆ
                                  ตามมาร์คต่างๆที่ทำไว้, ตามโฟกัสที่วัดไว้
                                  ตามคิวงานในกำหนดการ
                                  คงจะเพลินและโชว์ศักยภาพกับลูกค้าเป็นแน่...


เมื่อใกล้ถึงจุดที่ตัวเองจะก้าวเดินต่อไปในโปรเจ็ค
ผมถามตัวเอง         "ผมมีความสุขหรือเปล่าที่จะให้หุ่นยนต์มาทำงานแทนคน"

นั่นเป็นคำถามแรก  "ที่ผมฉุกคิดขึ้นมา"
                              "ใช่ผมรู้ว่ามันประหยัดลงในระยะยาว"
                              "เพราะถ้าทำวิธีนี้ ผมจะไม่เสียเงินจ้างเขาเหล่านั้นอีกต่อไป"
                              "แต่ผมก็ต้องหาคนเครื่องกล หรืออีเลคโทรนิคมาแทนหรือเปล่า"
                              "แล้วถ้ามันมีปัญหาจะทำอย่างไร..."
                              "กับสถานที่ที่เราไปเซ็ตอัพล่ะ มันจะอุปสรรค์หรือเปล่า..."
                              "แล้วปัญหาเรื่องนอกสคริปส์ของงานล่ะ..."
                              "ปัญหากับลูกค้าเรื่องค่าใช้จ่ายล่ะ..."
                           
                             "จริงอยู่...มันน่าเสี่ยงเพราะจะช่วยทุนแรงงานไปได้มาก"
                             "และมีความเป็นไปได้อย่างมากที่เราจะเอามันอยู่"

                             "แต่คนที่เรารู้จัก คนที่เราเคยพูดเคยคุยกัน"
                             "เคยหัวเราะ เคยกินข้าวด้วยกัน"
                             "นั่นหมายความว่า ผมจะไม่ได้เจอพี่ๆน้องๆช่างภาพ ผู้ช่วย ทีมงานด้วยเช่นกัน"
                             "และเขาเหล่านั้นจะตกงานทันที ใช่ไหม...."

                             "ผมชอบบรรยากาศกองถ่าย"
                             "ผมชอบฟังเรื่องตลกๆจากทีมงาน"
                             "ผมชอบสอนชอบคุยมากคนมากกว่าบ่นกับตัวเอง

                             "นั่นแหล่ะ คือ ตัวของผม"

นั่นเป็นสาเหตุที่ผม   "ต้องหยุดทำ...."

                                "ผมอาจจะเป็นคนโง่ที่สุดไม่ทำต่อ...."
                                "แต่ผมมีความสุขที่ได้ใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นๆ"
                               "ผมชอบช่วยให้ทีมงานของผมมีรายได้"
                                "และผมชอบใช้วิธีเดิมๆ แบบฉบับที่เคยเป็นมา"

ปล.ขออภัยที่ยาวไปหน่อยและไม่มีสาระอะไร 555
      (ถ้าไม่ชอบใจจะให้คะแนนลบเลยครับ)
      ไม่ได้มีเจตนาสร้างความท้อถอย
      แต่เล่าจากประสบการณ์ชีวิตช่วงหนึ่งง่ะ  
                  
                            




บันทึกคะแนนนี้โพสต์ล่าสุด: รวม 3 คะแนน ซ่อน
obb เงิน +1 2011-03-04 -
i-popba เงิน +1 2011-03-04 -
bankbboy เงิน +1 2011-03-04 -
โพสต์
3280
เงิน
49028
ความดี
67852
เครดิต
78389
จิตพิสัย
62308
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 4#  โพสต์เมื่อ: 2011-03-04


ภาพที่กล้องมันวิ่งผ่านแต่ละครั้ง สามารถเอามาตัดสลับต่อกันได้สนิทเลย ...
โพสต์
3280
เงิน
49028
ความดี
67852
เครดิต
78389
จิตพิสัย
62308
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

โฆษณา DTAC ตัวนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งผลงานของ Motion Control ...



ลองเดาดูครับ ฉากแรก หนุ่มสาวริมชายทะเล น่าจะถ่ายยังไง ใช้เทคนิคอะไร ...
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
417
เงิน
12146
ความดี
9394
เครดิต
12497
จิตพิสัย
4890
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

แจ๋วไปเลย ผมชอบเล่นรถบังคับ
แค่เคยลองนึกเล่นๆว่าเจ้าตัวเซอโวบังคับซ้ายขวา
มันน่าจะเอามาทำอะไรเล่นกับงาน Production ได้
จนวันนึงสตูที่ True Visions ไปถอยเครนมาตัวนึง
ไปด้อมๆมองๆ เฮ้ย ! ส่วนประกอบมันมีเซอร์โวรถบังคับนี่หน่า
เกือบกลับไปรื้อรถบังคับทำอะไรแผลงๆเล่นอีกละ อิอิ 55+
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
229
เงิน
5326
ความดี
4441
เครดิต
4677
จิตพิสัย
4403
จังหวัด
นครสวรรค์
ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์แบบนี้แล้วจะให้ข้อมูลในการทำให้3D camera tracking ด้วยหรือป่าวนะ
แบบว่าไม่ต้องกำหนดจุด mark  เอาขอ้มมูลใส่ทีเดียวได้มุมกล้องแบบนี้เลย
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้