ช่วงนี้กำลังฮอต ไปไหนเจอแต่คนชวน "
มาทำหนังสั้นกันเถอะ " เปิดเว็บ ดูทีวี อ่านนิตยสาร ก็เจอร่วมประกวดทำหนังสั้น ..เลยคิดได้ว่า มีประเด็นเขียนอีกแล้วเรา..
การทำหนังก็คือ การเล่าเรื่องให้คนรู้เรื่องและมีอารมณ์ร่วม ( เรื่องจริง ) และคล้อยตามไปกับเรา ( กรณีเรื่องแต่ง ) คนที่มีพรสวรรค์เล่าเรื่องเก่งจะได้เปรียบมาก หรือใครที่มีประสบการณ์โดยตรงคือ พบเจอเหตุการณ์นั้นจริง จะเล่าจนเหมือนว่าเราได้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริง อาจแต่งเติมหรือตกหล่นไปบ้างคนฟังก็ยังเชื่อ
บางครั้งอาจสั้นนิดเดียว แต่ก็ดึงอารมณ์เราได้ตลอด หัวใจสำคัญของการทำหนังสั้น( เล่าเรื่อง ) อยู่ที่ตรงนี้คือ เดินเรื่องให้เหมือนอยู่ในเหตุการณ์จริง ที่เกิดขึ้นได้จริงๆ...
...แม้จะโม้แต่งเติม ก็ต้องให้คนดูรู้สึกได้ว่ามันคือเรื่องจริง...
....บอกก่อนว่า ในแง่วิชาการ(ทำหนังสั้น) มีพี่ๆเขียนเยอะในหนังสือ , เว็บเพื่อนบ้านก็มี ไปอ่านก่อนนะ แล้วค่อยมาอ่านของผมเสริม ( จริงๆผมก็ลอกเขามาแหละ )....เรามีขั้นตอนเป็นข้อๆ ให้คุณคิดก่อนผลิตจริง...( เชื่อครึ่งเดียวก็ได้ถ้าคุณไม่ชอบ )
1. -
เนื้อเรื่องที่จะนำเสนอเป็นแนวไหน แนวอารมณ์ ( ดำเนินเรื่องช้า ) หรือ แนวตื่นเต้น ( ดำเนินเรื่องเร็ว ) หรือช้าสลับเร็ว ( ผสมทั้งสอง )
2. -
อะไรเป็นประเด็นหลัก เป็นประเด็นรอง แยกให้ออก ประเด็นหลักควรมีเนื้อหาที่แน่น และเด่นชัด ( อาจใช้เวลามากกว่าประเด็นรอง )
ระวังให้มากนะคับ เห็นหลายราย ทำไปทำมา ประเด็นหลักไปเป็นรอง ประเด็นรองทำให้หลักแกว่ง หรือเสียจุดยืน คือถ่ายไปเพิ่มไป ( มันส์จนฉุดไม่อยู่ )
อย่าพยามยามเลือกหลายประเด็นเกินไป คนดูจะสับสน และนำ้หนักในเรื่องจะไม่มี เพราะเฉลี่ยเท่ากัน หรือที่เขาเรียกเหตุการณ์ข่มกันเอง และถ้าคุณไม่เก่งจริ
ในการเชื่อมโยงหลายเหตุการณ์ หลายอารมณ์ ( ไอ้นั่นก็ดี ไอ้นี่ก็สำคัญ เรียกว่าเก็บทุกรายละเอียด ) สุดท้ายโครงเรื่องจะเละนะคับ ระวังๆๆๆมากๆๆๆๆ
3. -
มองจากมุมไหน ในการเล่าเรื่อง หมายถึง
เราจะเป็นผู้เล่า ( คือเจอประสบการณ์จริง ) หรือจะเล่าเป็นแค่ตัวแทนถ่ายทอด ( เล่าแทนเขา ) การเล่าโดยเกิดจากเราเจอเอง จะเล่าได้ง่ายตามอารมณ์ความรู้สึกที่เราเจอและค่อยเรียงถ่ายทอดออกมาเป็นภาพเหตุการณ์
แต่ถ้าเราเล่าแทนเขา เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เรื่องที่เรากำลังจะเล่าหรือนำเสนอ เป็นแบบที่เขากำลังคิด ( ต่อด้วยข้อนี้เลย )
4.
หาข้อมูลหรือที่เขาเรียก ทำการบ้าน หมายความว่า บางเหตุการณ์เราไม่มีประสบการณ์นั้นๆเลย เช่น ไปดูดนตรีคาราบาวแล้วต้องตีกัน ทำไมถึงต้องตีกัน
อยากรู้ก็ไปสอบถามน้องเขาเลย ว่าคิดอะไรอยู่ ณ ตอนนั้น ทำทำไม อะไรเป็นเหตุจูงใจ เพื่อที่จะนำข้อมูลเหล่านั้นมานำเสนอบนพื้นฐานเหตุการณ์จริง
สำคัญในกรณีที่เราเป็นผู้เล่า ( แต่ไม่มีประสบการณ์จริง ) หลายเรื่องที่หลงประเด็นนี้ สมมติ เรานำเสนอคนบ้าที่กำลังฆ่าคน ถ้าเราเป็นคนเล่าแทนคนบ้า
เราจะรู้สึกว่าการฆ่าคนนี่มันตื่นเต้น ต้องถ่ายหลายมุม ถ่ายหน้า ถ่ายมือจับมีดเห็นเลือดไหลพุ่ง หน้าคนเจ็บปวด มีดหล่น ( เพลงตามจังหวะ เสียงหัวใจเต้น)
แต่พอไปถาม
คนบ้า ( มีประสบการร์จริง ) คนบ้าบอกไม่รู้สึกอะไรเลย อยากทำก็ทำ แค่นั้น เห็นหรือยังมุมมองของคนเล่ากับคนทำจริง คนละเรื่อง
ฉนั้นสำคัญจริงๆ ว่่าเหตุการณ์นั้นที่จะนำเสนอ
คุณเป็นคนเล่าเอง หรือจะเป็นเพียงตัวแทนแล้วเล่าผ่าน ไม่ใช่คนบ้าฆ่าคน เราตัวแทนคนเล่าเห็นตื่นเต้นก็เอาเหตุการณ์นี้
แต่พอไปถึงเหตุการณ์อื่น คนบ้าดูสนุกดีก็ถ่ายทอดแทนคนบ้า ไม่งั้นเรื่องมันแกว่งไปมา คนดูจะงงและสับสน
..
การเป็นผู้เล่าเอง หรือเล่าแทนจะมีเส้นบางๆอยู่ บางทีอาจเล่าผสมข้ามไปมาได้ ขึ้นอยู่กับประเด็นหลักและรองของเรื่อง ถ้าเป็นรองก็อย่าเน้นให้มาก
ข้ามๆไปใช้ส่วนหลักแล้วกัน แ
ละการข้ามไปมาในเหตุการณ์เดียวกัน อยากให้มีตัวคอนตินิวเชื่อมเหตุการณ์ในขณะนั้นด้วยจะทำให้เรื่องน่าเชื่อถือขึ้น เช่น
- เราเห็นคนบ้ากำลังฆ่าคน ( ตัวแทนคนเล่า ) - อารมณ์ภาพ ตื่นเต้น น่ากลัว
- คนบ้ากำลังฆ่าคน ( ประสบการณ์จริง ) - อารมณ์ธรรมดา เห็นคนถูกฆ่าขอชีวิต คนบ้าหัวเราะ
- มีเสียงตะโกน " เฮ้ย แกทำอะไรวะ "..(ตัวคอนตินิว ) - ดึงเหตุการณ์กลับเข้าตัวแทนคนเล่า คนบ้ามองเห็นวิ่งหนี
...งงไม๊คับ ผมเขียนเองเริ่มงงเหมือนกัน อยากยกตัวอย่างงานของน้องที่ทำผ่านเว็บจริงๆ แต่ก็สงสารน้องเขาน่ะ กลับไปดูจะเห็นการสับสนในเหตุการณ์แบบนี้เยอะ
ถ้าสำหรับคนที่ผ่านประสบการณ์มาแล้ว เขาก็มีวิธีการแก้ของเขา ( ทางใครทางมัน ดูงานเยอะๆๆ )
5. -
สิ่งเล็กน้อยก็สำคัญอย่ามองข้าม แม้ตัวมันเองจะไม่สำคัญแต่ทำให้ประเด็นหลักนำ้หนักมากขึ้น เพราะหลายๆเล็กรวมกัน ทำให้ความน่าเชื่อถือของเรื่องลดน้อยลงได้เหมือนกัน
-- หนุ่มสาวเริ่มจีบกันใหม่ๆ - ชายจะถือกระเป๋าสะพายให้ , ขึ้นรถเมล์ให้หญิงนั่งใน ชายนั่งนอกเพื่อกันไม่ให้คนมาโดนหญิง , นั่งกินข้าวต้องนั่งข้างเดียวกันเพื่อจับมือ
- หนุ่มสาวเป็นแฟนแล้ว - หญิงถือกระเป๋าเองแต่จะเดินจับมือเที่ยวห้าง , นั่งกินข้าวมุมในสุด นั่งตรงกันข้าม เพื่อจะบอกรักทางสายตา ,
- หนุ่มสาวแต่งงานแล้ว - หญิงถือกระเป๋าเองเดินคนเดียวในห้าง ชายนั่งกินกาแฟรอ , นั่งกินข้าวกลางร้าน เข้าออกสะดวก ต่างคนต่างกินไม่พูดคุย ฯลฯ
อาการเหล่านี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง แม้จะเล็กน้อยแต่เมื่อรวมหลายๆอย่างมันจะทำให้ประเด็นหลักมีนำ้หนักมากขึ้น ใครที่ต้องการเป็นผู้กำกับ ต้องหมั่นสังเกตุเหตุการณ์รอบตัว
แล้วคิดเสมอว่า ทำไมเขาถึงทำอย่างนั้น เพราะอะไร หัดดู หัดสังเกตุ แล้ววันหนึ่งเมื่อคุณมาทำงาน เหตุการณ์ที่คุณเคยเห็นจะถูกถ่ายทอดออกมาได้เหมือนจริงเพราะ
เราใช้หลักที่เกิดขึ้นบนเหตุการณ์จริง
..ถามเล่นๆ คุณไปเที่ยวทะเล เห็น ผู้ชายวัยกลางคนจูงมือสาวเดินเที่ยว สาวใช้ขาเตะนำ้ทะเลเล่น คุณคิดว่า 2 คนนี้เป็นอะไรกัน.. คิดก่อนห้ามดูคำตอบ ( เฉลยความคิดส่วนตัวนะคับ ผมว่าชายกลางคนพาอีหนูมาเที่ยวทะเล เพราะถ้าพ่อลูกจะไม่เดินจับมือ อาจจับแต่ไม่จับนานสักพักก็ปล่อย , แต่ถ้า เป็นคนแต่งงานแล้วยิ่งไม่ใช่ เพราะลักษณะคนแต่งงานแล้วไปเที่ยวทะเลเขาจะนั่งนิ่งๆ ไม่ก็ดูวิว อ่านหนังสือ ถ้าจะเดินเล่นก็จะเดินคุยกันเงียบๆ ไปเรื่อยเปื่อย ..ฯลฯ ไม่ใช่ให้คู่สามีภรรยาแต่งงานนานแล้วอยากโรเมนติก ก็ให้เดินเตะนำ้ทะเลเล่นเหมือนที่เขาทำ ผมว่ามันแปลกๆอย่ายัดเยียดเลย ให้ไปทำอย่างอื่นเถอะคับ )6. การแสดงอารมณ์มากน้อยรู้ได้ไง ดูจากจอกล้อง อย่าดูจากการแสดงจริง เพราะบางครั้งการแสดงจริง อาจดูดีแต่พอดูจากกล้องอารมณ์อาจอ่อนลง แก้โดยให้แสดงเวอร์ขึ้น หรือ ดูจากแสดงจริงพอดี แต่พอดูจากกล้องเวอร์เกิน ฯลฯ 7.
คำนวนเวลาที่ทั้งหมดที่จะนำเสนอ ทุกคนมักจะไม่ให้ความสำคัญส่วนนี้ แ
ต่ขอบอกเลยว่า โคตรสำคัญ ( ภาษาวัยรุ่นหน่อยนะ ) ใครที่คิดว่าถ่ายไปเยอะๆก่อนแล้วค่อยมาตัดให้พอดีเวลาที่นำเสนอ บอกเลยว่าคิดผิดมากๆ ไอ้ละครเกาหลีที่เราติดกันงอมแงม เป็นเพราะเขาควบคุมเวลาทั้งหมดว่า
จะเปิดตอนไหนและจบลงช่วงตอนไหน..เพื่อให้คนได้ติดตามลุ้นตอนต่อไป ไม่ใช่ถึงเวลาแค่ไหนก็ตัดแค่นั้น ที่เหลือยกไปตอนต่อไป.. เราบอกกันตั้งแต่แรกแล้วว่า
การทำหนังสั้นก็คือการเล่าเรื่อง สมมติให้คุณเล่าประวัตคุณ ภายใน 10 นาที กับภายใน 5 นาที จะเห็นเลยว่าการเล่าไปคนละเรื่องคนละทาง เพราะถ้าเรามีเวลาน้อย
เราก็จะเอาส่วนสำคัญมาพูด แต่ถ้าเวลาเยอะ ก็จะเอ้อระเหยอะไรก็ได้..ถามต่อว่า จะรู้ได้อย่างไรว่า เนื้อเรื่องทั้งหมดที่เรานำเสนอมาเป็นบทต้องใช้เวลาทั้งหมดกี่นาที
ตอบง่ายมาก เล่นเองเลย หมายถึงว่าให้คุณ ลองสมมติตามเหตุการณ์ตัวละคร ( เล่นคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ) เช่น บทพ่อแม่ลูกคุยกันบนโต๊ะกินข้าว เราก็นั่งคุยกัน
ในกลุ่มนั่นแหละ อาจสมมติมีเดินไปหยิบนำ้ ก็ลองเดินไปจริงๆ ไปแล้วกลับมาพูด เอาแค่ประมาณ ขาดเกินประมาณ 20 % พอไหว ไม่ใช่เกินไป 50 % ไม่ไหวแล้ว
กลับมาคิดใหม่เราเพิ่มประเด็นมากเกินไปหรือเปล่า ( การถ่ายมาเผื่อตัด โดยไม่คำนวณเวลาทำได้ไม๊ ทำได้คับไม่ผิดกติกา แต่จะไม่ดีเท่ากับเราคำนวณเวลาเอาไว้
และปัญหาบางช่วงเหตุการณ์ ตัดสั้นไปตัวเชื่อมก็ไม่มี ทีนี้ล่ะปัญหาเกิด ...จะทำให้ความน่าเชื่อถือของเนื้อเรื่องลดลงไป ถ้าเป็นประเด็นหลัก แย่เลยนะคับ...)
8.-
อย่าคำนึงถึงแต่เครื่องมือ พวกเลนส์แพงถ่ายหลังละลาย ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องสน ทำมันเท่าที่มี ถ้าโครงเรื่องดี คนแสดงเก่ง สิ่งบกพร่องเหล่านี้จะถูกกลบหายไปเอง
( แต่ถ้ามีก็เจ๋งนะ มันช่วยได้เยอะเหมือนกันบางเหตุการณ์ )
9. -
สำหรับน้องๆที่ทำงานส่งอาจารย์ อาจจ้างมืออาชีพมาช่วย ( จริงๆก็จ้างทั้งนั้นแหละ ) ถ้าเป็นไปได้อยากให้ทำเอง แม้จะไม่ดีเลิศแต่เราได้ความรู้มากมาย มีโอกาส
ไม่บ่อย ที่จะได้ทำอะไรด้วยตัวเองโดยมีคะแนนเป็นพลังกดดัน และสำหรับรุ่นพี่ๆที่ทำให้รุ่นน้องก็อย่าไปทำเองเสียหมด ให้น้องๆเขาทำเองบ้าง ขอเพียงแค่เป้น
ที่ปรึกษาก็พอ ถ้าน้องไม่ถามก็อย่าไปยุ่ง ให้น้องทำเอง ถ้าเห็นผิดทนไม่ไหวจริงๆก็บอกขอถ่ายเพิ่มสำรองไว้ เผื่ออาจารย์ให้แก้จะได้ไม่ต้องมาถ่ายใหม่
แต่อย่าไปบอกของน้องไม่เวิร์คเอาแบบที่พี่ทำให้ซิ รับรองเอ ( เเหมือนฆ่าเด็กทางอ้อมนะคับ เด็กฐานไม่แน่นและออกมาทำงานจริง เด็กจะหลงทางได้ง่าย )
10. ข้อสุดท้ายแล้ว
อยากรู้ว่าหนังเราดีไม่ดี ให้พ่อแม่พี่น้องเราดูก่อน (
ใครที่ไม่สนับสนุนหรือเกลียดเราน่ะ ให้ดูก่อนเลย ) เป็นตัวทดสอบที่ดีมากๆ เพราะเราสามารถ
เช็คอาการของคนดูได้ใกล้ชิดว่าเป็นไปตามที่เราต้องการหรือไม่ เช่น อารมณ์เศร้า , ตื่นเต้น เมื่อดูเสร็จแล้วถามต่ออีกว่า ดูแล้วเขาเข้าใจอะไรในหนัง
ตรงกับสิ่งที่เราต้องการสื่อหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ก็ให้รีบแก้ไข อย่าคิดว่า เขาไม่มีความรู้ทางด้านวงการ ดูไปก็ไม่เข้าใจ อันนี้แหละสำคัญ คนไม่มีความรู้ต้องดูรู้เรื่อง
ส่วนไอ้พวกมีความรู้น่ะ เขาดูยังไงก็รู้เรื่องอยู่แล้ว เพราะเขาตกผลึกทางด้านนี้แค่ฟังเสียงอย่างเดียวก็บอกได้แล้วคับ...
.... แต่ไม่แนะนำให้เอาไปให้เพื่อนๆดู แล้วถามความเห็นว่า ดีหรือไม่ ( เพราะเพื่อนๆดูทีไร เห็นบอกดีทุกราย เขาสงสารและเห็นใจคุณ ที่สำคัญกลัวโดนคุณเตะ )
ขอเพิ่มเติม... ตั้งแต่ 1 - 10 ยกเว้นสำหรับใครที่ต้องการทำหนังเฉพาะกลุ่มนะคับ ไม่นับรวม เพราะถือว่าเขานำเสนอในกลุ่มที่เขาดู เราดูไม่รู้เรื่องก็ไม่ต้องดู (ก็บอกแล้วว่าเราไม่ใช่กลุ่มของเขา เลยดูไม่รู้เรื่อง ) หรือจะเรียกหนังพิเศษ , หนังแนวอินดี้ แนวปรัชญา..หรืออะไรก็ตามที่เขาเรียกฯลฯ .
.ฝากไว้ สำหรับการนำเสนอเนื้อเรื่อง ( ที่ไม่มีประสบการณ์จริงแล้วเป็นตัวแทนคนเล่า ) ...อยากให้คิดถึงเหตุการณ์จริงเข้าไว้ ....และท่องในใจไม่ให้ลืม
" ...โดยปกติจริงๆ..เขาทำกันแบบนี้หรือเปล่า..? " ( ในขณะที่เรากำลังกำกับให้ผู้แสดงเล่น ) ถ้าเกิดขึ้นจริงแต่เป็น 1 ใน ล้าน ก็เขียนขึ้นต้นใหรือจบให้คนรู้เลยว่า
จำลองจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง มีหลักฐาน เขาจะได้เชื่อ ไม่ใช่เอาเหตุการณ์ที่น้อยคนจะเกิดแล้วมาทำเป็นเรื่องผสมเหตุการณ์แต่งเติมจะกลายเป็นเนื้อเรื่องไร้เหตุผล
( ใช้ได้กรณีหนังตลก สนุกสนาน คนดูเขาเข้าใจ ) หลายคนถ่ายทอดเรื่องราวโดยดูจากเหตุการณ์อารมณ์ที่แรง จนลืมนึกถึงความเป็นจริง เช่น คนบ้าจะฆ่าตัวตาย
เห็นวิวดาดฟ้าสวย ถ่ายทอดอารมณ์ได้ เลยให้คนบ้าวิ่่งถือมีดไปมา เพื่อจะฆ่าตัวตาย ถามว่าจะมีคนบ้าที่ไหนทำแบบนี้ ถ้าจะฆ่าตัวตายเขาก็ทำที่ห้องเลย
แม้มันอาจดูไม่แรงเหมือนบนดาดฟ้า ( แต่มันคือความจริง ) และถ้าคุณจัดแสงในห้องสวยๆ ถ่ายทอดอารมณ์ทางสายตาที่มอง ปล่อยนิ่งให้คนดูเป็นบ้าเอง..และ อย่าลืมมีเพลง
ช่วยอีกนะ ทำดีๆอาจได้อารมณ์กว่าบนดาดฟ้าอีก ,
หลายครั้งที่คนถ่ายทอดมักจะเลือกจุดเด่นๆของแต่ละเหตุการณ์มารวมกันในเรื่องเดียว ( เหมือนยัดเยียด )โดยลืมนึกไปว่า นี่เป็นเพียงเหตุการณ์เดียวของหนังทั้งเรื่อง (
อยากให้คุณคิดถึงความเป็นจริง..ท่องไว้ ) ..ยังมีส่วนประกอบอื่นๆอีกมากมาย แม้บางเหตุการณ์ไม่แรงแต่รวมหลายๆเหตุการณ์มันก็ช่วยส่งให้ทั้งเรื่องแรงได้ ..อย่างที่ผมแนะนำข้อแรกเลยว่า คุณอยากทำหนังอารมณ์ไหน ถ้าต้องการแรงก็เลือกแนวตื่นเต้นไปเลยไม่ใช่เลือกแนวอารมณ์แล้วก็เน้นตื่นเต้นทั้งเรื่อง มันไม่มีเหตุผลรองรับ คนดูดูไปก็หัวเราะไปเพราะเห็นคนบ้าเที่ยววิ่งไปวิ่งมาบนดาดฟ้าชั้น 4 ( จริงๆแล้วต้องขึ้นมาโดดตึก) .
" เน้นยำ้อีกครั้งว่า ไม่ว่าจะถ่ายทอดเรื่องราวอย่างไร อารมณ์ไหน ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงที่เกิดขึ้นจริงๆ ( ตามที่คนส่วนมากเชื่อว่าเกิดแบบนี้จริง ) "....ปัจจุบัน คนที่จะมาเขียนบทหรือเป็นผู้สื่อข่าวต่างประเทศ บางสำนักข่าว ( ขึ้นอยู่กับแต่ละสำนัก ) ให้คุณต้องไปเรียน
เพิ่มอีก 1 วิชาก็คือ จิตวิทยาน่ะคับ นอกกจากวิชาพื้นฐานที่คุณมีอยู่ เพื่อคุณจะได้ไม่ถามคำถามโง่ๆ หรือถามอะไรที่คนอื่นเขารู้อยู่แล้ว โดยเขาจะถามไปอีกหัวข้อหนึ่งซึ่ง
ลึกๆแล้ว เขาจะรู้ว่าถ้าคุณตอบคำถามนั้นได้ ความหมายทางความคิดของคุณก็จะต้องตอบคำถามข้อนี้ว่าอะไร พูดง่ายๆก็คือไม่ถามตรง...หลอกถามแหละคับ
วงการภาพยนตร์เหมือนกัน บางค่ายเขาก็จะมีนักจิตวิทยาคอยดู ปรับบทให้ เพื่อให้องค์ประกอบทุกอย่างลงตัว ไปกันได้ ไม่ใช่ขัดกันไปมา ทำให้เนื้อเรื่องแกว่งได้..
... ณ ตอนนี้ ใครที่มีเครื่องมืออยู่แล้ว อยากให้คุณลองทำหนังสั้นดู อาจจะได้เพชรมาประดับวงการอีก 1 เม็ดก็ได้ใครจะไปรู้ ตอนนี้วงการภาพยนตร์ก็ตื่นตัวมากสำหรับเด็กรุ่นใหม่ ที่รวมทีมกันแล้วนำงานไปเสนอ ตามบริษัทยักษ์ใหญ่ อาจได้ทุนมาไม่มากก็น่าลอง ..ได้งานมาแต่ไม่มีที่ปรึกษาก็มาที่เว็บนี้เลย พี่ๆเขาพร้อมจะเป็นพี่ปรึกษาและให้คำแนะนำดีๆ เงินไม่มีไม่เป็นไร ขึ้นเครดิตขอบคุณ เว็บไทยดีฟิล์ม ตอนจบหน่อยก็ได้... ...เผื่อหนังดังจนเขาเอาไปฉายทั่วโลก เว็บไทยดีฟิล์มจะได้ดังข้ามโลก..ไปด้วยเหมือนกัลลล์ "...[ แก้ไขล่าสุดโดย p0p-it เมื่อ 2011-07-01 11:16 ]