วิธีการสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า สามารถทำได้ทุกๆงาน ที่เป็นการบันทึกเรื่องราว เช่น งานแต่งงาน , งานสัมมนา , งานบวช , ฯลฯ ( ปรับใช้ตามสถานการณ์เองนะคับ.. )
สำหรับคนที่ผ่านประสบการณ์แล้ว ข้ามไปได้เลย ( งานนี้เด็กๆ ... แต่ก็อยากให้อ่านนะ เผื่อมีอะไรที่คุณยังไม่ทำ ).
...เรามาคุยเรื่องทั่วๆไปก่อน เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ..( เหมือนเดิมประสบการณ์ส่วนตัวผมเอง ชอบไม่ชอบติแนะนำได้เต็มที่ )..1. ...
ไม่ว่าคุณจะถ่ายงานอะไรก็ตาม ความหมายคือ การบันทึกเหตุการณ์ในช่วงหนึ่ง ( ณ .ขณะนั้น ) เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง หรือเก็บไว้เป็นความทรงจำ ว่าเหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้น
และมีรายละเอียดอะไรบ้างในเหตุการณ์นั้น ... ฉนั้น หน้าที่ของช่างภาพคือ บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกช่วงเหตุการณ์ที่เห็น ...ไม่ให้หล่นหาย แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม...
..... ( จะสำคัญหรือไม่....ไม่ใช่หน้าที่คุณ คุณมีหน้าที่ถ่ายทอดเหตุการณ์ให้เป็นข้อมูลภาพให้สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้.... เพื่อให้ผู้ว่าจ้างประทับใจในงานที่ได้.. )
2. เ
หตุการณ์บางเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน 2-3 เหตุการณ์ คุณก็ต้องเก็บทั้งหมด เช่น
-- งานตอนเย็น จะมีบ่าวสาวยืนหน้าซุ้ม1 เหตุการณ์
-- คนมาลงชื่ออวยพร 1 เหตุการณ์
-- คนเข้ามาในห้องแล้ว 1 เหตุการณ์
คุณต้องพยายามถ่าย 3 เหตุการณ์นี้ให้กลมกลืนไปด้วยกัน ถ่ายบ่าวสาวแล้ว ว่างก็มาถ่ายคนลงชื่อ ชำเลืองคนในห้องเยอะก็ไปถ่ายหน่อย นักร้อง หรือบรรยากาศในห้องก็ได้
เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ ให้งานคุณมีคุณภาพมากขึ้น ไม่ใช่ถ่ายเหตุการณ์เดียวนานเกินไป คือบ่าวสาว จนลืมคนลงชื่อ หรือคนในห้อง ..( เน้นไม่ให้เกิดความเบื่อในการดู )
4.
ขณะถ่ายบันทึก ดูภาพด้วยว่าภาพนั้น..เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม เช่น คนสัมมนานั่งหลับ , นั่งคุย หรือ ถ่ายคนกินข้าว บางคนกินมูมมาม หรือไม่สวยงาม
เกิดคนโดนถ่ายมาดูเขาจะว่าเราแกล้งถ่ายเขา เอามาประจาน งานจะเข้าเกิดลูกค้าขอให้ตัดซีนนั้นออก คงรู้นะว่าต้องเกือบทำใหม่ ไม่ทำเสียลูกค้านะ ..( ช่างภาพจนไม่มีใครคบ )
5.
กรณีเหตุการณ์นานเกินไปจนเกิดความเบื่อหน่าย เช่น ขบวนขันหมาก ถ้าคุณคิดว่า กว้างถ่ายแล้ว ใกล้ก็ถ่ายแล้ว ถ่ายครบทุกคน ทุกเหตุการณ์ในขบวนแล้วก็ยังเดินไม่ถึงงาน
คุณก็พอได้แล้ว ไม่ต้องถ่ายยาวตลอดก็ได้ บางครั้งการทำอะไรที่มากเกินไปกลับ จะทำให้งานของคุณแย่ลง เพราะนานจนเบื่อ
( กรณีแบบนี้ คุณอาจแก้ไขเหตุการณ์ได้คือถ่ายหลายมุม หลายแบบ เพื่อเพิ่มรสชาติของงานให้น่าสนใจ คุณอาจได้มุมแปลกๆ สวยงาม ลูกค้าเห็นก็ติดใจ ..
เอ๊ะ มุมนี้ถ่ายตรงไหนนะ สวยจังเลย.ช่างภาพคนนี้เก่งเนอะ อย่างนี้ต้องจ้างมาเป็นช่างภาพประจำตระกูลซะแล้ว....รวยเลยนะจะขอบอก...)
6.
ลักษณะภาพในการถ่าย มี การซูมเข้าออก , แพนซ้ายขวา, ทิลท์ขึ้นลง , นิ่งๆไม่เคลื่อนไหว...
( จำไว้ให้ดีว่ามี 4 แบบ )
7.
ต้องจำลักษณะและขนาดของภาพในขณะที่ถ่ายให้ได้ ช่างภาพหลายคนพลาดกรณีนี้เยอะ คือไม่จำช็อตที่เราถ่าย บางทีซูมแล้วซูมอีก แพนแล้วแพนอีก
คือถ่ายไปเรื่อยเปื่อยไ่ม่คิดวางแผนไว้ก่อน ทำให้ดูปวดหัว เช่น ซูมเอาท์ ต่อด้วยซูมอิน , แพนซ้ายต่อด้วยแพนขวา อะไรทำนองนี้..
ควรพยายามสลับขนาดของภาพทั้ง 4 ให้ผสมดูกลมกลืน เช่น ซูมเอาท์ ,นิ่ง , แพนซ้าย , กว้าง ,ซูมอิน , แพนขวา, นิ่งใกล้ พยายามผสมให้ดูลงตัว จะทำให้งานน่าดู
และมีคุณภาพมากขึ้น เกิดคนในครอบครัวมีความรู้ทางด้านภาพมาดู เออ..ช่างภาพคนนี้เก่งแฮะ กำลังอยากให้ถ่ายสารคดีบริษัทฯพอดี ..ช่างภาพรวยอีกแล้ว )
8.
ฝึกและหัดอย่าถ่ายอย่าให้เสีย ทีเดียวต้องได้ (ถ้าไม่แน่ใจว่าซูมเข้าขนาดไหนภาพจะสวย ลองซ้อมก่อนเดินเทป 2-3 หนก็ได้ เราไม่ได้ห้ามให้คุณซ้อมก่อนถ่ายนะ ) และผลของ
การถ่ายเสียเยอะ ทำให้คุณต้องมานั่งตัดทุกช่วง เสียเวลาในการทำงานมากขึ้น และเมื่อมีงานซ้อนหลายงาน การส่งงานก็ล่าช้าออกไปอีก
เกิดลูกค้าขอดูเทปถ่ายหน่อย เปิดเห็นถ่ายเสียเยอะ ( เพราะต้องกลับไปตัดออกตอนหลัง ) จะทำให้ลูกค้าจะเสียความรู้สึกได้ ..อยากรวยต้องฝึกๆๆๆ
8.
จำคนที่มาร่วมงานให้ได้หมดทุกคน ต้องทำนะคับ เพราะเกิดคุณลืมบางคน ซึ่งเป็นคนสำคัญ แต่คุณไม่รู้จัก เช่น คนในครอบครัวที่มาจากต่างจังหวัดไกลๆ
ไม่ได้มีตำแหน่งใหญ่โต แต่เป็นอะไรที่เขาประทับใจ เช่นเคยเลี้ยงเขาตอนเป็นเด็ก ถ้าไม่เห็นคนนี้ในเทป รับรองลูกค้าดูงานแล้วร้องกรี๊ด คุณแย่แน่ๆ..ระวังเยอะๆๆ..
9.
อย่าเข้าใกล้โดยไม่จำเป็น เพราะงานแต่งงานบางทีมีช่างภาพนิ่ง และคนอื่นๆถ่ายด้วย ควรเว้นระยะให้คนอื่นทำงานได้ ( ใช้ซูมถ่าย ) และระวังก่อนเคลื่อนไหวตัว
หยุดชำเลืองด้านหลัง หรือด้านข้างด้วยว่า มีใครถ่ายอยู่หรือเปล่า บางทีอาจไปชนทำให้เขาเสียโอกาสในการถ่ายภาพได้ ..( ใครยังถ่ายไม่นิ่งต้องหัดๆๆเพราะใช้ซูม )
10.
ให้ดูจังหวะของภาพในกรณีถ่ายคู่ไปกับถ่ายภาพนิ่ง เช่น ถ่ายภาพนิ่งบ่าวสาวและแขกมางานทุกคนต้องยืนนิ่ง ช่วงนี้คุณสามารถเข้าใกล้แล้วแพนให้เห็นแขกแต่ละคน
เมื่อครบทุกคนแล้ว แต่ภาพนิ่งยังถ่ายไม่เสร็จ คุณอาจหยุดถ่ายก่อนได้ และเอาท์กว้างออกมารอตอนบ่าวสาวเริ่มเคลื่อนไหวคือไหว้แขกซ้ายขวา
.จำไว้ว่า
การถ่ายวีดีโอคือการถ่ายสิ่งเคลื่อนไหว ( แต่ภาพนิ่งคือถ่ายสิ่งที่หยุดนิ่ง ) ไม่ใช่ถ่ายวีดีโอออกมามีแต่คนยืนนิ่งเต็มไปหมด เดี๋ยวลูกค้าแซว...มาถ่ายภาพนิ่งหรือคะ..
11. ไ
ม่ควรส่งงานช้าเกิน 1 อาทิตย์ เช่นถ่ายวันเสาร์-อาทิตย์ งานควรส่งแล้วไม่เกินวันศุกร์ เพราะกำลังฮอต ลูกค้าอยากเห็น รีบทำรีบส่ง รบรองลูกค้าไม่หนีไปไหน
( ยกเว้นลูกค้าบอกไม่ต้องรีบเพราะไม่อยู๋ไปฮันนีมูน หลัง 1 อาทิตย์ค่อยส่ง )..
12.
เป็นไปได้ควร ก๊อปปี้เทปงานเก็บไว้ส่วนตัว 1 ชุด ( หลังจากส่งลูกค้าไป 2 ชุด ) เพราะเผื่อบางทีลูกค้าทำหาย ( ย้ายบ้าน ) และเกิดติดต่อมาที่คุณ คุณยังเก็บต้นฉบับไว้อยู่
รับรองลูกค้ากระโดดกอดคุณเลย ...( เดี๋ยวนี้แผ่นถูกจะตาย ไม่กี่ตังค์ สำรองไว้ )
13.
สร้างความประทับใจให้กับลูกค้าให้มากที่สุด เช่น ทำไตเติ้ล MV ครึ่งเพลงหรือ เพลงสั้นๆฟรี ( กรณีไม่ได้ตกลงไว้ หรืองบน้อยมากๆๆ ) อย่าถือว่าเป็นการเสียเวลา
หรือไม่คุ้มลงทุน ให้ถือเป็นการลงทุนทางด้านโฆษณาแล้วกัน เพราะลูกค้าจะเป็นคนโฆษณาสินค้าของเราเวลาไปเปิดให้ใครดู และอีกอย่างเป็นการฝึกการทำงานจริงของเราด้วย
สมมติเราทำออกมาแล้วดูไม่ดีลูกค้าคงไม่ว่าเพราะฟรี ทำให้เรารู้ข้อบกพร่องของเราว่า ต้องศึกษาเพิ่มเติมหรือขาดเครื่องมืออะไรที่จะทำให้งานให้ดีขึ้น
เมื่อทำบ่อยๆการพัฒนคุณภาพของงานก็จะมีเพิ่มขึ้น ทำให้เราสามารถข้ามไปรับงานที่ใหญ่ขึ้น
( ขอเพิ่มเติมนิดนะคับ การฝึกอยากให้ทำกับงานของลูกค้าจริง ไม่ใช่ทำกันเล่นในครอบครัวพี่น้องนะคับเพราะมันต่างกัน งานของลูกค้ามีความกดดันและมีชื่อเสียงเราคำ้ประกัน ยิ่งกรณีลูกค้าจ่ายค่าทำ MV เพิ่มด้วย ลูกค้าไม่ปล่อยให้ผ่านง่ายๆหรอกคับ)... ..
การบันทึกเหตุการณ์มีขั้นตอนการบันทึกเหมือนกันนะคับ ไม่ใช่นึกจะถ่ายอะไรก็ถ่ายเรื่อยเปื่อย เริ่มแรกคุณต้องถ่ายภาพกว้างเพื่ออธิบายภาพรวมของเหตุการณ์ก่อน
ว่ามีอะไรบ้าง แล้วค่อยเข้าใกล้ หรือที่เรียกลงรายละเอียดของงานจะมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับงานนั้นๆ และเมื่อเปลี่ยนเหตุการณ์เก่าแล้วเริ่มเหตุการณ์ใหม่ คุณก็ต้องเริ่มกว้างนับ 1
แล้วค่อยใส่รายละเอียดลงไปใหม่เหมือนเดิม ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เช่น งานเช้าบ้านเจ้าสาว เริ่มภาพกว้างให้เห็นบรรยากาศของงาน เข้าใกล้ลงรายละเอียดไปว่ามีใครมาบ้าง
พอถึงเหตุการณ์ใหม่ ( พระมาทำพิธี ก็กว้างใหม่แล้วค่อยลงรายละเอียด ) , ใส่บาตรพระ ( ก็กว้างแล้วค่อยเข้าใกล้ ), ประเคนอาหาร ฯลฯ ทำนองนี้
เมื่อเปลี่ยนเหตุการณ์ ก็ต้องเริ่มกว้างก่อน ( ขั้นตอนเหมือนกันกับช่างภาพมืออาชีพ ) ...
จริงๆแล้วการถ่ายวีดีโองานพวกนี้จะว่ายากก็ยาก ง่ายก็ง่าย ที่่ว่ายากก็เพราะห้ามเสียเลย ถ้าเสียบ่อยก็เท่ากับคุณต้องทำงานซ้อน 2 งาน ใช้เวลามากขึ้น แต่จำนวนเงินเท่าเดิม
ในขณะเดียวกันคุณก็ต้องควบคุมอารมณ์ของภาพ ว่าจะต้องใช้ ภาพซูม, ภาพแพน ,ภาพใกล้ , ภาพไกล เพื่อให้ภาพไปด้วยกับบรรยากาศในณะนั้น
อยากให้คิดว่างานแต่งงานหรืองานอื่นๆ ก็คือหนังสั้นเรื่องหนึ่ง ที่คุณจะถ่ายทอดเรื่องราวอย่างไรให้คนดูน่าสนใจ ในเรื่องราวที่เรานำเสนอ สิ่งใดน่าเบื่อก็ตัดออก
สิ่งใดน่าสนใจก็พยายามถ่ายทอดและเน้นให้เด่นชัดขึ้น หัดถ่ายและหัดเรียบเรียงเหตุการณ์ในเวลาเดียวกัน ( พูดง่ายๆก็คือ ...เป็นช่างภาพ ( ถ่ายวีดีโอบันทึกเทป ) ,
...เป็นคนตัดต่อ ( เลือกภาพกว้าง แพน ), ....เป็นคนกำกับ( บอกบ่าวสาวให้แอ๊คชั่น), และก็....เป็นโปรดิวเซอร์งานไปด้วย ( กลับมาตัดต่อเพิ่มเอฟเฟค ) .
.โอกาสที่เราจะได้แสดงความสามารถในงานเดียว( คือทำทุกตำแหน่ง ) ไม่ใช่จะมีโอกาสได้ทำง่ายๆ ขณะดียวกันคุณก็ได้เงินด้วย มันอาจจะมากหรือน้อยก็อย่าไปสนใจ แต่อยากให้คุณภูมิใจในงานที่ทำ ( เเพราะเป็นงานที่เราทำเพียงคนเดียว) เท่ากับว่าคุณได้ปั้นงานชิ้นนั้น ขึ้นมากับมือด้วยตัวคุณเอง เริ่มต้นจากศูนย์สู่ผลงานอันย่ิงใหญ่เสมือนประกาศให้โลกรู้ว่า กำลังมีคนหนุ่มไฟแรงเกิดขึ้นในวงการอีก 1 คน... ( ในอนาคตอันใกล้ )....สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่คนไม่ได้อยู่ในวงการมองไม่เห็น...อยากให้คุณคิดให้ยากเข้าไว้โดยการใช้มาตราฐานที่สูงเทียบเท่ามืออาชีพ เพราะวันใดที่มีงานใหญ่ระดับมืออาชีพมาว่าจ้างให้คุณทำคุณก็สามารถรับงานนั้นได้
เพราะเราได้ฝึกปรืองานเล็กๆอยู่ทุกวัน ใครที่คิดว่าถ่ายงานแต่งงาน พวกนี้ หมูๆๆ ถ่ายอย่างไรก็ได้ขอให้มีภาพ( ถ้าคิดแบบนี้ อีก 10 ปี คุณก็ยังไม่ไปไหน )
อยากให้คิดใหม่นะคับ เเพราะไม่ว่างานเล็ก( บ้านๆ ) หรืองานใหญ่ ( ระดับประเทศ ) มันก็สำคัญเท่ากันทุกงาน ...หรือใครจะเถียงว่าไม่จริง....
บทความที่เกี่ยวข้องกับงานแต่งงาน
หลักปฏิบัติในการทำงานร่วมกันของช่างภาพ ( ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว )…
[ แก้ไขล่าสุดโดย p0p-it เมื่อ 2012-05-19 11:27 ]