สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 11022เข้าชม
  • 35ตอบกลับ

ขอถามครับ เรื่องการทำให้เกิดอารมณ์ ของภาพยนต์

โพสต์
1243
เงิน
38524
ความดี
32363
เครดิต
33584
จิตพิสัย
35336
จังหวัด
สมุทรปราการ

คือหลายวันก่อน ผมได้ลง ผลงาน ที่ นศ. ให้ผมไป ช่วยเป็น DOP แล้วมีคนมา วิจารย์ ซึ้งทำให้ผมเกิดความสงสัย  ซึ่งงานตัวนี้ ผมได้เป็น DOP  เรื่องแรกในชีวิต เพระปกติ ได้เป็น แต่ผู้ช่วยกล้อง ตลอดเลย ได้ทำหนังไทยหลายต่อหลายเรื่อง  ผมไม่ได้จบ ฟิลม์ นะครับ ผมจบช่างกล แต่บังเอิญได้โอกาส  และ วันนึงผมหวังว่า จะได้เป็น  DOP หนังใหญ่กะเค้าบ้าง (แค่ฝันเล็ก)  


    จะเล่าให้ฟังก่อน หลังจากผมได้ รับการทาบทามจากน้อง นศ. ว่าให้เป็น  DOP ผมก็ทำการบ้านอย่างหนัก ศึกษาเรื่อง อ่านบท และทำความเข้าใจ กะบท จินตนาการไปต่างๆ นานา โดยดูงานเมืองนอก ประกอบไปด้วย แต่ก็จะถูกใจ งาน แถบฮ่องกง เป็นพิเศษ   


  มีข้อสงสัยดังนี้ครับ  (ที่สงสัยเพราะว่า มีคนมาวิจารย์งานตัวนี้)


1  shutter speed  มีผลต่ออารมหนังจริงหรอ  (shutter speed นะครับ ไม่ใช่ FPS )  ถ้ามีผล ควรจะปรับเท่าไร หละ       
2  Color Corrector  มีผลต่ออารมหนังจริงหรอ (คือตัวอย่างหนังที่เขายกตัวอย่างมาให้ดู ออกอมม่วงๆ นัวๆ) ผมชอบสี เครียๆ  แล้วถ้าผมทำสีเครียๆ มันจะไม่เหมือนหนัง    หรอ ครับ       
3 การที่ใช้มือถือกล้อง โดยไม่ตั้งขา (Hand Help ) นั้น ทำให้อารมณ์ของหนังลดลงไปเยอะ และดูไม่โปร  จริงหรือครับ       


  ผมว่าการทำหนังในบ้านเรามันดูอยู่ในกรอบมากเกินไปหน่อย หรือพวกเรายังขาด ความเข้าใจเรื่อง การใช้อุปกรณ์ และ วิธีคิด ที่ไปชอบเน้นการย้อมสี หรือ ด้านอุปกรณ์ มากเกินไป จนขาดความเป็น ตัวของตัวเอง 


หมายเหตุ   ใครก็ได้ ช่วยตอบคำถามทั้ง 3 ข้อด้วยครับ บางทีผมอาจจะเข้าใจผิด ได้เป็นความรู้แก่ผมเอง และพูดพบเห็นครับ



ผมมีตัวอย่างของภาพยนต์มาให้ดูะครับ เป็นภาพยนต์ โฆษณา  นาฬิกา และ ไอติม (ไม่รู้ว่าเรียกว่าภาพยนต์ได้หรือไม่ครับ) เพราะไม่ได้ทำสีอมม่วง อมตุ่นๆ และ ชอตที่ใช้ขาตั้งแทบจะไม่มี (ผมดูแล้วกลับดูดีมีรสนิยมมากดูโปรอีกด้วย)




















[ แก้ไขล่าสุดโดย littletime เมื่อ 2011-05-04 01:17 ]

บทความที่เกี่ยวข้อง

ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
231
เงิน
10855
ความดี
9193
เครดิต
9375
จิตพิสัย
9005
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

รอเก็บเกี่ยวความรู้ด้วยคนนะครับ...ผมก็สงสัยแบบนี้มานานแล้ว
โพสต์
1149
เงิน
24508
ความดี
27478
เครดิต
29649
จิตพิสัย
27085
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

ผมตอบไม่ถูกครับ

ผมเรียนฟิล์มมาตรงๆเลย
วันนึง อ. ให้นักศึกษาแต่ละคนเลือกหนังมา 1 ซีน
ชอบอันไหนก็เลือกมา
แล้วให้ทำรายงานทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในซีนนั้น
การเคลื่อนกล้อง มุมกล้อง เพลง ขนาดภาพ เวลา
สีสัน โทนสี blocking ตัวแสดง แสงสีเสียง
รายงานว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมันมีความหมายอย่างไร
การเคลื่อนกล้องแบบนี้ มันสื่อสารถึงอะไร เล่าเรื่องยังไง
มุมกล้อง สูง กลาง ต่ำเตี้ยติดดิน เพื่ออะไร ทำไม บลา บลา บลา
สอนทำหนังมันต้องสอนเรื่องรสนิยมไปด้วย  
มันเป็นเรื่องของจินตนาการที่จะทำให้ออกมาเป็นสิ่งที่จับต้องได้
จะให้สอนเหมือนบวกเลขอ่านเขียนคงไม่ได้

หนังที่ถ่ายโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้อง มันก็ต้องมีเหตุผลเพื่อให้รู้สึกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
คงไม่มีใครมาห่วงเรื่องภาพลักษณ์หน้างานกันหรอกครับ ถ้าได้ทำอะไรขนาดนั้นแล้ว

หนังฝรั่งตระกูล Bourne ทั้งสามภาค แทบจะไม่ได้ใช้ขาตั้งเลยด้วยซ้ำ

บันทึกคะแนนนี้โพสต์ล่าสุด: รวม 3 คะแนน ซ่อน
jc99008jc ความดี +1 2011-05-05 ขอบคุณน้ามากครับ
vfspostwork ความดี +1 2011-05-04 เห็นด้วยกับสิ่งที่ อ. ให้ทำ
littletime ความดี +1 2011-05-04 ขอบคุณครับ
โพสต์
1027
เงิน
33105
ความดี
27831
เครดิต
28064
จิตพิสัย
29772
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

ส่วนตัวแล้วคิดว่าไม่เพียงแค่ 3 ข้อที่รอคำตอบ

1.Shutter speed  
2.Color Corrector      
3.การที่ใช้มือถือกล้อง  (Hand Help)

ขอเพิ่มอีกอย่างแล้วกันครับ เรื่องของ แสง
เพราะตัวอย่างที่คุณเอามาให้ชมต้องบอกเลยว่าอารมณ์ของแสงมีส่วนสำคัญมากๆครับ โดยเฉพาะแสง Hair light ที่มักจะถูกลืมไป

ส่วนเรื่อง Shutter speed  นั้นต้องบอกว่าแล้วแต่เทคนิคการถ่ายทำครับ ส่วนจะใช้เท่าไหร่นั้นรอผู้เชี่ยวชาญตัวจริงมาตอบ(รู้งูๆปลาๆอย่างผมคง...)
ในส่วน Color Corrector  ต้องบอกว่ามันจำเป็นมากๆจริงๆครับ เพราะว่าบางครั้งเราเองถ่ายมาหลังกล้องแล้วค่าสีต่างๆคงยังไม่ได้ตามต้องการมากนัก
จึงต้องมีการดีงนั่นลดนี่นิดนึงเพื่อความถูกใจ และให้เข้ากับอารมณ์โดยรวมของหนังด้วยครับ (จำเป็นต้องควบคู่กับการจัดแสงไปด้วยระหว่างถ่ายทำ)
ส่วนการใช้มือถือกล้อง (Hand Help) นั้นสำหรับ Dslr มันยังให้อารมณ์ไม่เหมือนกล้องตัวใหญ่ที่เสริมทัพด้วย Shoulder มันให้อารมณ์คนละแบบจริงๆครับ

เป็นเพียงความรู้เล็กน้อยที่พอมาแบ่งปัน

ภาพยนตร์ คือ งานศิลปะชั้นสูง
[ แก้ไขล่าสุดโดย video_p เมื่อ 2011-05-04 01:39 ]
บันทึกคะแนนนี้โพสต์ล่าสุด: รวม 2 คะแนน ซ่อน
jc99008jc ความดี +1 2011-05-05 -
littletime ความดี +1 2011-05-04 งง แต่ก็ ขอบคุณ -"-
โพสต์
1276
เงิน
25178
ความดี
37915
เครดิต
40757
จิตพิสัย
37283
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 4#  โพสต์เมื่อ: 2011-05-04
รออ่านความรู้ดีๆด้วยครับ

เพิ่มเติม Hand Help มันน่าจะเป็นคำว่า Hand Held รึเปล่า
ขออภัยครับถ้าผิด
โพสต์
3280
เงิน
49028
ความดี
67852
เครดิต
78389
จิตพิสัย
62308
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 5#  โพสต์เมื่อ: 2011-05-04
ของแบบนี้พูดยาก ต่างคน ต่างมุมมอง ต่างสไตล์ ต่างประสบการณ์ รสนิยมความชอบก็ไม่เหมือนกัน
กฏก็มีไว้ให้แหก ก็ต้องลองกันไป แต่สุดท้าย เรื่องราว กับ วิธีการเล่า ก็ยังป็นพระเอกตัวจริงอยู่เสมอ ...


ในส่วนการผลิตให้เป็นหนัง คิดว่ารายละเอียดมันคงเยอะกว่านั้น ... ยังไงลองฟังกันดูก่อน แล้วค่อยเก็บรายละเอียดมาประมวลกันทีหลังครับ ...
ระดับ : สมาชิก VII
โพสต์
615
เงิน
2147483647
ความดี
12342
เครดิต
14162
จิตพิสัย
11252
จังหวัด
จันทบุรี
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 6#  โพสต์เมื่อ: 2011-05-04
ผมไม่ใช้คนเก่งอะไรครับ แต่ว่าอยากมีสวนรวม ผมว่านะครับ ที่พี่เขากล่าวมา
1  shutter speed  มีผลต่ออารมหนังจริงหรอ  (shutter speed นะครับ ไม่ใช่ FPS )  ถ้ามีผล ควรจะปรับเท่าไร
  ผมว่า Shutter speed  คงมีส่วนครับ เพราะว่า มันหน้าจะเป็น การแสดงถึงอารมณ์ต่างๆ ครับ ขออย่างตัวอย่างแบบ ง่ายๆ ครับ ให้เห็นภาพ ในการถ่ายที่ มี ND Filter จะเห็นภาพที่สามารถเปรียบเทียบกันครับ ผมว่ามันมีส่วนว่าภาพที่ใช้ shutter speed สูงๆ ทำภาพแข็งหรือ ดูด้านๆ และถ้าใช้ shutter speed ต่ำอาจจะทำให้ภาพดูเบลอนิดๆดูเป็นธรรมชาติมากกว่าครับ
ขอยกคำของพี่เอกมานะครับ การใช้ shutter speed ที่เร็วขึ้น บางครั้งก็ทำให้ภาพดูแข็ง ไม่สวย
                                                       ถ้าใช้ shutter speed ที่ช้าลงจะเห็นภาพเคลื่อนไหวที่เบลอนิดๆดูเป็นธรรมชาติมากกว่าครับ

                                                       ผมเคยเปิดหน้ากล้องกว้างมากๆกลางแดด ใช้ iso 100 , shutter speed 1/4000s ภาพยังสว่างเกินไป
                                  ถ้าต้องการเปิดหน้ากล้องกว้างๆ และ อยากใช้ shutter speed ที่ไม่สูง การใช้ ND Filter ก็เป็นทางออกที่สมเหตุสมผลครับ  )

ลองเอามาให้ดูครับ ของพี่ต่อ

2  Color Corrector  มีผลต่ออารมหนังจริงหรอ
พี่ีๆให้คำแนะนำไปเยอะแล้ว ผมขอบาย

3 การที่ใช้มือถือกล้อง โดยไม่ตั้งขา (Hand Help ) นั้น ทำให้อารมณ์ของหนังลดลงไปเยอะ และดูไม่โปร  จริงหรือครับ
ผมว่าแล้วการ ที่จะสื่ออารมณ์ อย่างเช่น หนังเรือง World Invasion : Battle Los Angeles  ลองดูนะครับ จะเห็นว่ากล้อง สั่น(สั่นมากๆ แต่หนังก็มันโคตร) สั่นไปตามอารมณ์ของ สถานการต่างๆครับ แต่ คงไม่ใช้ Hand Help มังครับ ผมไม่มีความรู้เรืองนี้ ครับ ผมมือสมัครเล่นครับ  จริงๆแล้ว ก็แบบ ว่าออกความคิดเห็นครับ เห็นในห้องนี้มีแต่เทพกันทั้งนั้นครับ   ผมแค่เด็นน้อย มาหาความรู้เช่นกันครับ   


[ แก้ไขล่าสุดโดย id4city เมื่อ 2011-05-04 02:59 ]
โพสต์
1168
เงิน
213
ความดี
29205
เครดิต
30232
จิตพิสัย
35008
จังหวัด
ขอนแก่น

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 7#  โพสต์เมื่อ: 2011-05-04
เืรื่องอื่นผมไม่มีความรู้เ่ท่าไหร่ครับ แต่เรื่องไม่ใช่ขาตั้งกล้องแล้วไม่โปรนี่ผมว่าไ่ม่จริงนะ

การถือกล้องด้วยมือ มันให้อารมณ์ไปอีกแบบเหมือนกันนะครับผมว่า มันดูมีการเคลื่อนไหว เหมือนเป็นมุมมองที่มองผ่านจากสายตาของคนอีกคน
โพสต์
2938
เงิน
58400
ความดี
38732
เครดิต
38299
จิตพิสัย
54804
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 8#  โพสต์เมื่อ: 2011-05-04
ถ้าหนังต้องจูนสี งี้หนังขาวดำก็ไม่ได้เป็นหนังสิ
โพสต์
420
เงิน
10004
ความดี
8399
เครดิต
7587
จิตพิสัย
6783
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 9#  โพสต์เมื่อ: 2011-05-04
(ภาพยนตร์ = ภาพที่เกิดจากจินตนาการและถ่ายทอดออกมาในมุมมองของผู้กำกับ ฯลฯ ส่วนคำว่าภาพยนต์ = ภาพที่เกิดจากการควบคุมโดยเครื่องจักรนะครับระวังอย่าพิมพ์ผิดเดี๋ยวความหมายเปลี่ยนไปนะครับ อิอิ)
พึ่งได้ดูหนังสั้นเมื่อกี้ และได้อ่านคอมเม้นในหลายท่าน มีเรื่องของการเกิดอารมณ์ แล้วหละ 555
อย่าซีเรียสนะครับในเมื่อมีการเผยแพร่ย่อมมีการวิจารณ์เป็นเรื่องธรรมดาครับ ส่วนผมไม่ได้มาวิจารณครับแค่มาดูแล้วลองวิเคราะห์ออกมาจากสาเหตุและปัญหาว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างครับ เริ่มจากข้อที่ 1.Shutter Speed มีผลกับภาพโดยตรงแน่นอนครับขอท้าวความก่อนว่า shutter speedกับ frame rate มีผลยังไงบ้างนะ คือ จากอดีตจนถึงปัจจุบันการถ่ายภาพยนตร์ก็ได้ข้อสรุปว่า การถ่ายที่ 24 fps นั้นเป็นการเคลื่อนไหวที่สายตาของมนุษย์นั้นมองเป็นภาพเคลื่อนไหวมากที่สุด และสาเหตุต่อมาคือเรื่องของ Motion Blur ที่ดูเป็นธรรมชาติที่สุดคือต้องใช้ Shutter Speed ที่ 1/48 หรือเป็น 2 เท่าของ fps และในระบบโทรทัศน์ที่เป็น PAL=25 fps ใช้ shutter speed 1/50 และ NTSC = 30 ใช้ shutter speed 1/60 ตามลำดับทั้งนี้เพื่อเป็นการแก้ปัญหาของ flicker ไฟกระพริบด้วยอาจมีการปรับขึ้นลงบ้างอันนี้เป็นส่วนของการถ่ายให้ภาพดูแบบปกติทั่วไปนะครับ ส่วนการถ่าย Shutter Speed ที่ต่ำกว่านี้ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันอย่างที่บอกเพื่อให้เกิดอารมณ์ของภาพอีกรูปแบบหนึ่ง เอฟเฟคของภาพที่ได้ก็จะเกิดขึ้นกับการเคลื่อนไหวเร็วๆ แล้วเกิดภาพแบบ Motion Blur มากๆ ยกตัวอย่างเช่นหนังของหว่องกาไว ครับจะใช้อย่างงี้ ส่วน Shutter Speed เยอะๆจะใช้กับถ่ายพวกสิ่งที่หมุนเร็วๆอย่าง พัดลม หรือล้อรถ ที่หมุนครับ เพื่อให้เกิดการ Sync ระหว่างหล้อรถ กับ shutter speed เพื่อให้เกิด Motion Blur ที่ดูสวยงามครับ ส่วนในกรณีของคุณแต้ทำถูกต้องแล้วครับในการถ่ายทำใน Shutter Speed ที่ 1/50 หรือ 1/100 ซึ่งคุณแต้ไม่ต้องการเอฟเฟคอะไรอย่างที่กล่าวมาข้างต้นครับ แต่เท่าที่ดูใน Clip นี้ปัญหาน่าจะเกิดจากการ ConvertCodec จาก HD มาเป็น SD แล้วใส่ Field เป็น Interlace ทำให้ภาพที่มี Motion Blur นั้นเป็นเส้นๆ ครับไม่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทำแต่อย่างใด แต่หากเกิดขึ้นกับขั้นตอนโพสครับ
2. Color Correction คือ จริงๆ แล้วขั้นตอนนี้ไม่ใช่แค่การแก้สีแค่นั้น แต่หากเป็นขั้นตอนที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าขั้นตอนอื่นๆ เลย คือ การที่ปรับบาลานซ์ของแสงทั้งค่า Hue,Saturate,Luminance (HSL) Contrast เพื่อให้ภาพที่ถ่ายมานั้นมีน้ำหนักและสามารถนำไปฉายแล้วได้ตามที่เราต้องการ ส่วนเรื่องของ Film Look คืออะไร นั้นสามารถอธิบายได้หลักๆ คือในส่วนของ Dynamic Range, Latitude ของภาพที่ฟิล์มสามารถแสดงค่าของแสงออกมาทั้ง 3 ย่าน คือ Shadow,Midtone,Highlight ได้อย่างครบถ้วนทำให้ภาพมีมิติดูแล้วอิ่มกว่าสบายตาครับ (ส่วนในดิจิทัลยังต้องเข้าใจในส่วนนี้พอสมควรครับกับเรื่องของการ Burn หรือ Over ไปทำให้รายละเอียดของภาพหายไป และเรื่องของ Contrast ที่จัดมาก ทำให้เรามองเห็นแล้วดูเป็น VDO Look อีกส่วนก็คือเรื่องของสีครับ หรือ Mood & Tone ที่จะปรับสีไปทิศทางของอุณหภูมิสีไหนและส่งผลต่ออารมณ์ของคนดูอย่างไรซึ่งรายละเอียดอันนี้เยอะมากครับในเรื่องของ Visual Reception ผมจะยกตัวอย่างเช่น เรื่อง Sweny Todd จะเห็นได้อย่างชัดเจนใน Scene ที่ จอนนี่เดปมีความสุขภาพจะออกไปทางวอมโทน แสงสีส้มๆ พอใน Scene เศร้าๆอย่างตอนที่จอนนี่เดปเป็นฆาตกรภาพจะออกไปทางเทาๆ ปนสีฟ้าครับ ในส่วนภาพของคุณแต้ถือว่าถ่ายมาได้ดีเลยทีเดียว มุมภาพสวย และเก็บรายละเอียดได้ครบ แต่ก็มีบางช๊อต Over บ้างแต่ก็ไม่ใช่ปัญหาเพราะเป็นธรรมชาติของการถ่ายในห้องแล้วเห็นแสงสว่างกระทบตึกข้างนอกที่ดูจะเป็นเนื้อเดียวกัน เนื่องจากธรรมชาติของกล้อง Canon ที่เก็บ Latitude ได้แค่ +- 9 Stop ซึ่งต่างจากกล้องรุ่นใหญ่ที่เก็บได้มากว่า สรุปคือเรื่องสีในหนังเรื่องนี้ผมถือว่าโอเคแล้วครับ อาจจะมีแค่ปรับตอน Flash Back ให้ดููแตกต่างจากปัจจุบันหน่อย หรือมีเรื่องของ Transition อะไรเข้ามาเพื่อเป็นการตัดบอกช่วงเวลา นี่คือข้อเสนอแนะนะครับ
3. Hand Held (ไม่ใช่ Hand Help นะครับ) การใช้รูปแบบการถ่ายแบบนี้ผมเชื่อว่าการถ่ายหนังแน่นอนย่อมมี Tripod หรือขาตั้งกล้องแน่นอนครับ แต่จะเลือกใช้ในช็อตไหนเท่านั้นเอง มาพูดถึงเรื่องการ Hand Held กันก่อนดีกว่าผมว่าจริงๆ แล้วช็อตต่างๆ สำหรับในภาพยนตร์มีการออกแบบมาแล้วในขั้นตอนการพรีโปรดักชั่น ว่าต้องถ่ายในรูปแบบใด หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าหนังเสร็จไปแล้ว 70 % ส่วนที่เหลือก็คือขั้นตอนการถ่าย และทำโพสหละครับ (ต่างจากงานแต่งอาจต้องมีการคิดช็อตในเหตุการณ์เฉพาะหน้า) การถ่ายแบบ Hand Held กับการใช้ขา นั้นมันขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับช็อตนั้นๆ มากกว่านะครับ ความหมายของภาพที่เกิดจาก Hand Held มีหลายความหมายมาก เช่น หนังที่ต้องการความสมจริงเหมือนสารคดีที่อยากได้ภาพแบบดูสมจริงกับเหตุการณ์ ส่วนอีกอย่างคือต้องการจะเล่าเรื่องผ่าน Camera Movment คือต้องการภาพที่เกิดขึ้นนั้นเพื่อให้คนดูรู้สึกอึดอัด ว่าสองคนนั้นมีปมอะไรขัดแย้งกันหรือไม่ ตามความเข้าใจของผมที่ดูหนังคุณแต้นะครับ นี่คือความเห็นของผมนะครับ บางช็อตอาจต้องมีการใช้ขาตั้งช่วยบ้างเพื่อช่วยให้ดูแล้วพักสายตาบ้าง (การใช้ขาตั้งไม่ใช่หมายความว่าต้องถ่ายเฟรมนิ่งๆ อย่างเดียวแต่ก็สามารถส่ายกล้องให้เฟรมมีการขยับบ้างเพื่อเลี้ยงเฟรม) ปัญหาคือกล้อง Canon มีเรื่องของ Rolling Shutter มาเกี่ยวข้องทำให้เกิดภาพล้มในการขยับกล้องอย่างเร็วเนื่องจากล้อง Scan ภาพบนลงล่างไม่ทัน ทำให้ดูภาพแล้วรู้สึก มันสั่นมากผิดปกติอันนี้คือปัญหาใหญ่ของกล้อง Canon ถ้าเข้าใจธรรมชาติของกล้องที่เราใช้เป็นการสื่อสารกับคนดูได้อย่างถูกต้องแล้วคนดูมีอารมณ์ความรู้สึกตามที่เราพยายามสร้างมันขึ้นมาในทุกกระบวนการแล้ว อันนี้ต้องรวมถึงการจัดเซ็ต ฉาก เสื้อผ้้า มิสอองแซง และอีกหลายๆ อย่าง ทุกอย่างเป็นสุนทรียภาพทางภาพยนตร์ทั้งนั้นครับ เย้จบแล้ว เป็นแค่ หนึ่งความเห็นของผมนะครับตามที่ผมได้เรียนฟิล์ม และได้ศึกษามาผิดถูกอย่างไรช่วยแก้ไขด้วยครับ แนะนำคุณแต้มีหนังสือที่ Kinokuniya ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจำพวกนี้ครับชื่อว่า Filmaker eye รับรองได้มุมมองดีของคนสร้างหนังรุ่นก่อนเยอะมากครับ
ดูเพิ่มเติม บันทึกคะแนนนี้โพสต์ล่าสุด: รวม 11 คะแนน ซ่อน
jc99008jc ความดี +1 2011-05-05 -
yodsoi15 ความดี +1 2011-05-05 ชัดเจนสุดๆ
thejacks ความดี +5 2011-05-04 ถูกใจมากๆ
tanum ความดี +10 2011-05-04 เอาไป10เลยพี่
vfspostwork ความดี +1 2011-05-04 เห็นด้วย 100%
rotcerid ความดี +1 2011-05-04 บางเรื่องเพิ่งรู้ กวกๆๆๆ
nunaz ความดี +1 2011-05-04 ขอบคุณ:ความรู้&ประสบการณ์ทั้งนั้น
sornyorn ความดี +1 2011-05-04 ขอบคุณครับสำหรับรู้มากมาย
foolmoon ความดี +1 2011-05-04 เจ๋งครับ
littletime ความดี +1 2011-05-04 กด Like
โพสต์
1226
เงิน
27006
ความดี
26182
เครดิต
27224
จิตพิสัย
24655
จังหวัด
* ต่างประเทศ *

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 10#  โพสต์เมื่อ: 2011-05-04
คุณแต้ไม่รู้อะไร แบบนี้เขาเรียกอารมณ์อินดี้ครับ แฮ ๆ
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
227
เงิน
3153
ความดี
3436
เครดิต
4180
จิตพิสัย
3269
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 11#  โพสต์เมื่อ: 2011-05-04
shutter speed ถ้าไม่ได้หมายถึง 24 กับ 25 ก็น่าจะเป็นความเป็น motion blur ของภาพครับ เป็นเทคนิค ใช้ได้หมดแล้วแต่ผู้กำกับ

color correct มีผลกับภาพจริงครับ เพราะเราไม่ได้ทำ home video แต่กำลังทำ หนังสั้น จัดเป็นรสนิยมบังคับไม่ได้
เพราะ film ยังมีการ telecine การกระจายของสี จึงไม่นิยมทำสีให้เหมือนกับที่ตาเรามองเห็นจริงๆ
ไม่ได้หมายถึงสีอย่างเดียว รวมไปถึงความต่างช่วงสีระหว่าง highlight - shadow ด้วย
หนังฝรั่งแสง Highlight สว่างสุดจะอยู่ที่แววตา เพื่อแสดงอารมณ์ ลองสังเกตดูครับ
ฉากพูดคุย-อารมณ์ทั้งหลาย ต้องมีแสงมาที่ดวงตา ถ้าแสงแววตาตัวละครไม่เด่น ก็อาจสื่อไม่ถึงอารมณ์ครับ
ซึ่งสำหรับหนัง ภาพและเสียงต้องไปด้วยกันเสมอ

hand held เป็นเทคนิค ไม่ผิด ใช้ได้กับทุกเรื่องแล่ะครับโดยเฉพาะหนังอินดี้

ลองดูหนังญี่ปุ่นเรื่องนี้นะครับ เงียบๆ อินดี้ๆ >> 9/15 ซับไทย
โพสต์
644
เงิน
16847
ความดี
14761
เครดิต
14339
จิตพิสัย
20875
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 12#  โพสต์เมื่อ: 2011-05-04
อ้างอิง
อ้างอิงโพส 9 ต้นฉบับโพสโดย jobfilm เมื่อ 2011-05-04 06:10  :
(ภาพยนตร์ = ภาพที่เกิดจากจินตนาการและถ่ายทอดออกมาในมุมมองของผู้กำกับ ฯลฯ ส่วนคำว่าภาพยนต์ = ภาพที่เกิดจากการควบคุมโดยเครื่องจักรนะครับระวังอย่าพิมพ์ผิดเดี๋ยวความหมายเปลี่ยนไปนะครับ อิอิ)
พึ่งได้ดูหนังสั้นเมื่อกี้ และได้อ่านคอมเม้นในหลายท่าน มีเรื่องของการเกิดอารมณ์ แล้วหละ 555
อย่าซีเรียสนะครับในเมื่อมีการเผยแพร่ย่อมมีการวิจารณ์เป็นเรื่องธรรมดาครับ ส่วนผมไม่ได้มาวิจารณครับแค่มาดูแล้วลองวิเคราะห์ออกมาจากสาเหตุและปัญหาว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างครับ เริ่มจากข้อที่ 1.Shutter Speed มีผลกับภาพโดยตรงแน่นอนครับขอท้าวความก่อนว่า shutter speedกับ frame rate มีผลยังไงบ้างนะ คือ จากอดีตจนถึงปัจจุบันการถ่ายภาพยนตร์ก็ได้ข้อสรุปว่า การถ่ายที่ 24 fps นั้นเป็นการเคลื่อนไหวที่สายตาของมนุษย์นั้นมองเป็นภาพเคลื่อนไหวมากที่สุด และสาเหตุต่อมาคือเรื่องของ Motion Blur ที่ดูเป็นธรรมชาติที่สุดคือต้องใช้ Shutter Speed ที่ 1/48 หรือเป็น 2 เท่าของ fps และในระบบโทรทัศน์ที่เป็น PAL=25 fps ใช้ shutter speed 1/50 และ NTSC = 30 ใช้ shutter speed 1/60 ตามลำดับทั้งนี้เพื่อเป็นการแก้ปัญหาของ flicker ไฟกระพริบด้วยอาจมีการปรับขึ้นลงบ้างอันนี้เป็นส่วนของการถ่ายให้ภาพดูแบบปกติทั่วไปนะครับ ส่วนการถ่าย Shutter Speed ที่ต่ำกว่านี้ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันอย่างที่บอกเพื่อให้เกิดอารมณ์ของภาพอีกรูปแบบหนึ่ง เอฟเฟคของภาพที่ได้ก็จะเกิดขึ้นกับการเคลื่อนไหวเร็วๆ แล้วเกิดภาพแบบ Motion Blur มากๆ ยกตัวอย่างเช่นหนังของหว่องกาไว ครับจะใช้อย่างงี้ ส่วน Shutter Speed เยอะๆจะใช้กับถ่ายพวกสิ่งที่หมุนเร็วๆอย่าง พัดลม หรือล้อรถ ที่หมุนครับ เพื่อให้เกิดการ Sync ระหว่างหล้อรถ กับ shutter speed เพื่อให้เกิด Motion Blur ที่ดูสวยงามครับ ส่วนในกรณีของคุณแต้ทำถูกต้องแล้วครับในการถ่ายทำใน Shutter Speed ที่ 1/50 หรือ 1/100 ซึ่งคุณแต้ไม่ต้องการเอฟเฟคอะไรอย่างที่กล่าวมาข้างต้นครับ แต่เท่าที่ดูใน Clip นี้ปัญหาน่าจะเกิดจากการ ConvertCodec จาก HD มาเป็น SD แล้วใส่ Field เป็น Interlace ทำให้ภาพที่มี Motion Blur นั้นเป็นเส้นๆ ครับไม่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทำแต่อย่างใด แต่หากเกิดขึ้นกับขั้นตอนโพสครับ
2. Color Correction คือ จริงๆ แล้วขั้นตอนนี้ไม่ใช่แค่การแก้สีแค่นั้น แต่หากเป็นขั้นตอนที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าขั้นตอนอื่นๆ เลย คือ การที่ปรับบาลานซ์ของแสงทั้งค่า Hue,Saturate,Luminance (HSL) Contrast เพื่อให้ภาพที่ถ่ายมานั้นมีน้ำหนักและสามารถนำไปฉายแล้วได้ตามที่เราต้องการ ส่วนเรื่องของ Film Look คืออะไร นั้นสามารถอธิบายได้หลักๆ คือในส่วนของ Dynamic Range, Latitude ของภาพที่ฟิล์มสามารถแสดงค่าของแสงออกมาทั้ง 3 ย่าน คือ Shadow,Midtone,Highlight ได้อย่างครบถ้วนทำให้ภาพมีมิติดูแล้วอิ่มกว่าสบายตาครับ (ส่วนในดิจิทัลยังต้องเข้าใจในส่วนนี้พอสมควรครับกับเรื่องของการ Burn หรือ Over ไปทำให้รายละเอียดของภาพหายไป และเรื่องของ Contrast ที่จัดมาก ทำให้เรามองเห็นแล้วดูเป็น VDO Look อีกส่วนก็คือเรื่องของสีครับ หรือ Mood & Tone ที่จะปรับสีไปทิศทางของอุณหภูมิสีไหนและส่งผลต่ออารมณ์ของคนดูอย่างไรซึ่งรายละเอียดอันนี้เยอะมากครับในเรื่องของ Visual Reception ผมจะยกตัวอย่างเช่น เรื่อง Sweny Todd จะเห็นได้อย่างชัดเจนใน Scene ที่ จอนนี่เดปมีความสุขภาพจะออกไปทางวอมโทน แสงสีส้มๆ พอใน Scene เศร้าๆอย่างตอนที่จอนนี่เดปเป็นฆาตกรภาพจะออกไปทางเทาๆ ปนสีฟ้าครับ ในส่วนภาพของคุณแต้ถือว่าถ่ายมาได้ดีเลยทีเดียว มุมภาพสวย และเก็บรายละเอียดได้ครบ แต่ก็มีบางช๊อต Over บ้างแต่ก็ไม่ใช่ปัญหาเพราะเป็นธรรมชาติของการถ่ายในห้องแล้วเห็นแสงสว่างกระทบตึกข้างนอกที่ดูจะเป็นเนื้อเดียวกัน เนื่องจากธรรมชาติของกล้อง Canon ที่เก็บ Latitude ได้แค่ +- 9 Stop ซึ่งต่างจากกล้องรุ่นใหญ่ที่เก็บได้มากว่า สรุปคือเรื่องสีในหนังเรื่องนี้ผมถือว่าโอเคแล้วครับ อาจจะมีแค่ปรับตอน Flash Back ให้ดููแตกต่างจากปัจจุบันหน่อย หรือมีเรื่องของ Transition อะไรเข้ามาเพื่อเป็นการตัดบอกช่วงเวลา นี่คือข้อเสนอแนะนะครับ
3. Hand Held (ไม่ใช่ Hand Help นะครับ) การใช้รูปแบบการถ่ายแบบนี้ผมเชื่อว่าการถ่ายหนังแน่นอนย่อมมี Tripod หรือขาตั้งกล้องแน่นอนครับ แต่จะเลือกใช้ในช็อตไหนเท่านั้นเอง มาพูดถึงเรื่องการ Hand Held กันก่อนดีกว่าผมว่าจริงๆ แล้วช็อตต่างๆ สำหรับในภาพยนตร์มีการออกแบบมาแล้วในขั้นตอนการพรีโปรดักชั่น ว่าต้องถ่ายในรูปแบบใด หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าหนังเสร็จไปแล้ว 70 % ส่วนที่เหลือก็คือขั้นตอนการถ่าย และทำโพสหละครับ (ต่างจากงานแต่งอาจต้องมีการคิดช็อตในเหตุการณ์เฉพาะหน้า) การถ่ายแบบ Hand Held กับการใช้ขา นั้นมันขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับช็อตนั้นๆ มากกว่านะครับ ความหมายของภาพที่เกิดจาก Hand Held มีหลายความหมายมาก เช่น หนังที่ต้องการความสมจริงเหมือนสารคดีที่อยากได้ภาพแบบดูสมจริงกับเหตุการณ์ ส่วนอีกอย่างคือต้องการจะเล่าเรื่องผ่าน Camera Movment คือต้องการภาพที่เกิดขึ้นนั้นเพื่อให้คนดูรู้สึกอึดอัด ว่าสองคนนั้นมีปมอะไรขัดแย้งกันหรือไม่ ตามความเข้าใจของผมที่ดูหนังคุณแต้นะครับ นี่คือความเห็นของผมนะครับ บางช็อตอาจต้องมีการใช้ขาตั้งช่วยบ้างเพื่อช่วยให้ดูแล้วพักสายตาบ้าง (การใช้ขาตั้งไม่ใช่หมายความว่าต้องถ่ายเฟรมนิ่งๆ อย่างเดียวแต่ก็สามารถส่ายกล้องให้เฟรมมีการขยับบ้างเพื่อเลี้ยงเฟรม) ปัญหาคือกล้อง Canon มีเรื่องของ Rolling Shutter มาเกี่ยวข้องทำให้เกิดภาพล้มในการขยับกล้องอย่างเร็วเนื่องจากล้อง Scan ภาพบนลงล่างไม่ทัน ทำให้ดูภาพแล้วรู้สึก มันสั่นมากผิดปกติอันนี้คือปัญหาใหญ่ของกล้อง Canon ถ้าเข้าใจธรรมชาติของกล้องที่เราใช้เป็นการสื่อสารกับคนดูได้อย่างถูกต้องแล้วคนดูมีอารมณ์ความรู้สึกตามที่เราพยายามสร้างมันขึ้นมาในทุกกระบวนการแล้ว อันนี้ต้องรวมถึงการจัดเซ็ต ฉาก เสื้อผ้้า มิสอองแซง และอีกหลายๆ อย่าง ทุกอย่างเป็นสุนทรียภาพทางภาพยนตร์ทั้งนั้นครับ เย้จบแล้ว เป็นแค่ หนึ่งความเห็นของผมนะครับตามที่ผมได้เรียนฟิล์ม และได้ศึกษามาผิดถูกอย่างไรช่วยแก้ไขด้วยครับ แนะนำคุณแต้มีหนังสือที่ Kinokuniya ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจำพวกนี้ครับชื่อว่า Filmaker eye รับรองได้มุมมองดีของคนสร้างหนังรุ่นก่อนเยอะมากครับ
.......


ชัดเจนเปลี่ยนครับ

ภาพยนตร์คือการเล่าเรื่องโดยที่มีภาพเป็นพระเอกครับ สำหรับผม ยุคนี้คือยุคที่จินตนาการไปได้ไกลเพราะอุปกรณ์ซัพพอร์ตมาก ดังนั้นที่เราต้องทำก็คือการเอาความรู้เชิงเทคนิคทั้งหมดมาใช้ในการเล่าเรื่องโดยผ่านอุปกรณ์ที่เราใช้ ดังนั้นทุกภาพที่เราใช้จึงควรตอบรับวัตถุประสงค์ของหนังครับ

นอกเหนือจากเรื่องเทคนิค ยังมีเรื่องแนวคิดอีกมากมายครับที่จะทำหนังงานที่เราถ่ายมีความรู้สึกแบบภาพยนตร์ครับ
เหมือนจะเคยมีกระทู้เก่าๆพูดถึงเรื่องนี้นะครับ
ด้วยความเคารพ
โพสต์
1215
เงิน
27382
ความดี
25465
เครดิต
27374
จิตพิสัย
30396
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 13#  โพสต์เมื่อ: 2011-05-04
เรื่องแบบนี้คุยกันแล้วยาว แค่เห็นแตกต่างอาจเกิดการปากแตกได้

แต่สำหรับผมแล้ว เรื่องเหล่านี้ไม่มีถูกและผิดครับ เพราะมันคืองานศิลปะ มันคือเรื่องของรสนิยมของแต่ละคน

คนทำ ต้องการสื่อสารออกมาแบบนี้ จึงถ่ายทอดออกมาแบบนี้

คนดู ต้องการดูแบบนี้ จึงบอกไปแบบนี้

เมื่อความต้องการของคนสองคนไม่เหมือนกัน แต่ต้องมายืนอยู่ร่วมกัน มันจึงเกิดการถกเถียงครับ

ถ้าให้ผมตอบนะ

ข้อ1. มีผลจริงในเรื่องความสมบูรณ์ ของภาพครับ แต่ไม่ใช่ว่า ภาพที่สมบูรณ์ต้องเนียนนะ ความสมบูรณ์ของแต่ละคนไม่เท่ากัน

ข้อ2.สี มีผลในเรื่องของอารมณ์เป็นอย่างมากครับ โทนร้อน โทนเย็น มันจะช่วยส่งผลในด้วนของอารมณ์ แต่จะใช้แบบว่า แตกต่างออกมาได้มั๊ย ดุเดือด ร้อน คนทะเลาะกัน แต่ผมอยากใช้โทนเย็น  นั้งคุยกันแบบหวานละมุน ผมอยากใช้สีโทนร้อน สำหรับผมแล้ว มันได้ครับ เพราะมันเป็นเรื่องทอง รสนิยม

ข้อ3.อันนี้มันมีทฤษฏีอันนึง เรียกว่า ภาษาภาพ ครับ ข้อนี้มีผลจริงในเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก การสื่อสาร ซึ่งจะไปโยงกับ มิสซองแซงด้วย เป็นศิลปะภาพยนต์ขั้นสูง ไม่ได้ตายตัว แล้วแต่ รสนิยมอีกเช่นกัน

จบแต่เพียงเท่านี้
โลกใบนี้ไม่มีโดเรมอนเราจึงไม่ควรทำตัวเหมือนโนบิตะ
ระดับ : สมาชิก III
โพสต์
32
เงิน
668
ความดี
634
เครดิต
549
จิตพิสัย
684
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 14#  โพสต์เมื่อ: 2011-05-04
ผมว่ามันขึ้นอยู่กับรสนิยมของแต่ผู้กำกับแต่ล่ะคนมากกว่านะครับ

จะบอกว่าผิดก็ไม่ได้จะถูกก็ไม่ได้อีกเช่นกัน

ถ้าผู้กำกับอยากได้อย่างไหนเราก็ต้องตามผู้กำกับเขาน่ะครับ  เพราะรสนิยมเขาชอบแบบนั้นซึ่งบางครั้งต่างจากเรา

1. แล้วแต่ภาพนะครับ ปรกติผมปรับ50-60  ex. อย่างฉากเด็กวิ่งเล่นในโคลนในเรื่องสวรรค์บ้านนา
พี่ต้อยเขาถ่ายด้วยสปีด1600 ก็เพราะอยากเห็นโคลนเป็นเม็ดๆ (อันนี้ทราบเพราะได้พูดคุยกับเจ้าตัวเขาเองน่ะครับ)

2. เรื่องสีมันก็มีผลทางอารมณ์นะครับ แต่บางครั้งก็มักถูกใช้เป็นการบอกสไตล์ของผู้กำกับแต่ล่ะคน
ex. เช่น หว่องกาไว ที่มักใช้โทนสีที่ฉูดฉาดมากๆ ล่ะบางครั้งภาพถูกย้อมสีจนผิดเพี้ยนจากความจริง

3. ถ้า Hand Held ทำให้ภาพยนตร์ดูไม่โปรงั้นทำไม  The Blair Witch Project / [REC] / Cloverfield ฯลฯ เป็นที่รู้จักในวงกว้างล่ะครับ
ช่างภาพเก่งๆ อย่าง Emmanuel Lubezki / Christopher Doyle พวกเขาก็มีเอกลักษณ์ในการใช้มือเปล่าๆ กับกล้องครับ

ต่างทั้งนี้ยังไงเราก็ต้องทำตามที่ผู้กำกับเขาอยากจะได้น่ะครับ ถ้าเป็นหนังคุณเจ้ย อภิชาติพงศ์ เขาก็คงไม่อยากใช้ภาพแบบ HandHeld

ปล.นี่เป็นเพียงแค่ความคิดเห็นส่วนตัวของผมนะครับ
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้