สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 12454เข้าชม
  • 34ตอบกลับ

C I N E M A T O G R A P H Y คืออะไร

โพสต์
1345
เงิน
57739
ความดี
53590
เครดิต
54394
จิตพิสัย
60108
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 15#  โพสต์เมื่อ: 2010-11-30
ส่วนตัวคือ การ สร้าง สรรค์ งานศิลป อย่างหนึ่ง

ถ่ายทอด อารมณ์ ถ่ายทอด ความคิด

ถ่ายทอด สิ่งที่เราอยากจะสื่อ

ออกมาเป็นเรื่องราว

แค่นั้น เอง
ระดับ : สมาชิก III
โพสต์
34
เงิน
730
ความดี
848
เครดิต
807
จิตพิสัย
907
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 16#  โพสต์เมื่อ: 2010-11-30
ความจริงต้องมาดูที่ คำว่า PHOTOGRAPHY ซึ่งแปลว่า วิชาการถ่ายภาพ (ภาพนิ่ง) ส่วนคำว่า CINEMATOGRAPHY ก้แปลว่าวิชาการถ่ายภาพยนตร์ ซึ่งสมัยก่อนการถ่ายทำภาพยนตร์จะถ่ายทำด้วยกล้องฟิล์มเท่านั้น และช่างภาพยนตร์จะเรียกว่า CINEMATOGRAPHER ครับ
ส่วนคำว่า video นั้นน่าจะเป็นคำที่กล่าวถึง output ของงานมากกว่านะตรับ
ระดับ : สมาชิก V
โพสต์
142
เงิน
4092
ความดี
2157
เครดิต
2469
จิตพิสัย
2264
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 17#  โพสต์เมื่อ: 2010-11-30
"""cinema+photography
การถ่ายภาพเคลื่อนไหวโดยเทคนิคของภาพนิ่ง""""""


ไม่รู้ว่าเข้าใจถูกหรือป่าวครับ
โพสต์
695
เงิน
13583
ความดี
11808
เครดิต
12362
จิตพิสัย
17399
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 18#  โพสต์เมื่อ: 2010-11-30
"Cinematography"   ถ้าแปลกันแบบตรงๆคำนี้เรียกเป็นภาษาไทยว่า "วิชาถ่ายทำภาพยนตร์"
ซึ่งก็คือการร้อยเรียงภาพออกมาเป็นเรื่องราว ซึ่งจะเรียกว่าเป็น Cinematography ได้นั้น โดยปกติจะแบ่งขั้นตอนกว้างๆออกเป็น 3 ขั้นตอน เรียกกันสั้นๆว่า 3 P (ไม่เหมือน 4 P ของวิชาการตลาดนะครับ  )


P ตัวแรกก็คือ Preproduction 
ก็คือเริ่มมาตั้งแต่การวางแนวคิดและเรื่องที่จะเล่า รวมถึงการวางแผนการถ่ายทำ 


ต่อมาก็คือ Production 
ก็คือกระบวนการถ่ายทำทั้งหมด (เรียกว่ากระบวนการให้ได้มาซึ่ง "ภาพ" ที่ต้องการก็ได้) ที่ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหน ใช้อุปกรณ์อะไร มีขั้นตอนยังไงก็แล้วแต่ แต่จะต้องสอดคล้องกับเรื่องราวที่วางเอาไว้ว่าจะเล่า
(แม้แต่การวางแนวคิดว่าไม่มีเรื่องราวตายตัวที่จะเล่า เช่นอาจจะเป็นการเล่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดชึ้นตรงหน้าแบบดิบๆ หรือปล่อยภาพไปเรื่อยๆ ก็ถือเป็นการวางโครงเรื่องที่จะเล่าแบบหนึ่งเช่นกัน)
<แก้ไขเพิ่มเติม>
***แม้จะถ่ายด้วย Webcam หรือใช้ภาพนิ่งมาร้อยเรียงเป็นเรื่องก็เป็น Cinematography ได้ เพราะ Main หลักอยู่ที่แนวคิดและการเล่าเรื่อง***

และสุดท้ายก็คือPost Production
คือขั้นตอนหลังการถ่ายทำ ก็จะเป็นการลำดับภาพ การใส่เสียงประกอบต่างๆ (รวมถึงเอาเสียงที่ไม่ต้องการออกด้วย) การทำหรือใส่เทคนิคทางภาพ เช่นการแต่งสี การใส่ Effect ฯลฯ จนไปถึงการประมวลผลทุกอย่างจนออกมาเป็นวัสดุสื่อ เพื่อนำไปใช้ เช่น เทป , VCD  DVD ,ฯลฯ


โดยทั่วไปงานที่เรียกว่า Cinematography นั้นมักจะ"เน้น"ให้ความสำคัญไปที่"ภาพ" ซึ่งหมายถึงสัดส่วนการเล่าเรื่องจะใช้ภาพเป็นตัวหลัก ส่วนเสียงและลูกเล่นอื่นๆเป็นตัวรอง
งานภาพยนตร์บางประเภทนี่แทบจะมีแต่ภาพอย่างเดียวเลยก็มี


สรุปคร่าวๆก็คือ งาน Cinematography มีจุดประสงค์หลักคือ เล่าเรื่องในแบบภาพยนตร์ครับ ซึ่งอาจมีการเติมแต่งทางภาพ,เสียง,การลำดับภาพ,กราฟฟิก อะไรก็ตามลงไปเพื่อให้เกิดการชักจูง ขับเน้น หรือเล่นกับอารมณ์คนดู 


อธิบายเปรียบเทียบกับงานประเภทที่ "ไม่ใช่ Cinematography" ด้วย ก็จะเข้าใจง่ายขึ้นครับเช่น งานถ่ายภาพเชิงข่าว ก็จะเป็นการเก็บภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ครบตามต้องการ 
มีจุดประสงค์หลักเพื่อ นำเสนอภาพและเสียงให้ผู้ชมรับทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น


และการถ่ายทำประเภทงานแสดง ,กีฬา ,เกมส์โชว์ ,บันทึกการบรรยาย หรืออื่นๆ ก็จะมีการวางรูปแบบแตกต่างกันไปครับ เพราะจุดประสงค์หรือเป้าหมายของงานไม่เหมือนกันครับ


แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการถ่ายทำแบบต่างๆก็อาจจะปรับแต่งหรือประยุกต์ใช้ผสมผสานกันในแต่ละงานก็ได้ครับ แต่ถ้าเริ่มต้นมั่วๆไม่มีแนวคิดอะไร ถึงงานภาพจะออกมาดูเป็น Cinematography ก็ตาม ก็ไม่น่าจะเรียกว่าเป็นงานแบบ Cinematography ได้ (หรือวางแนวทางไว้ แต่ถ่ายออกมาแล้วมันไม่ใช่ มันก็ไม่ใช่เหมือนกันนะ)


อาจจะกล่าวรวมๆได้ว่าจะเรียกว่าเป็นงานประเภทไหน ก็อยู่ที่ เป้าหมาย ของงานครับ ว่าต้องการยังไง และทำออกมาได้ตรงตามนั้นหรือเปล่า




เดี๋ยวนี้คนทำ VDO งานแต่งนิยมเอารูปแบบ Cinematography มาใช้ (ใช้เป็นไม่เป็นก็ตามแต่ระดับความเข้าใจงาน) และก็จะเจอปัญหาหนึ่งก็คือเป้าหมาย ของลูกค้า ดันไม่ใช่ เป้าหมาย ของคนทำนี่ซี้.....  





[ แก้ไขล่าสุดโดย sticky เมื่อ 2010-11-30 19:07 ]
บันทึกคะแนนนี้โพสต์ล่าสุด: รวม 9 คะแนน ซ่อน
packham เงิน +1 2011-01-05 -
tanum เงิน +1 2010-12-30 อันนี้แหละครับ ที่อยากจะอ่าน
godda เงิน +1 2010-12-01 เคลียร์.... อิอิอิ
nate เงิน +1 2010-11-30 พึ่งเก็ทนะครับเนี่ย
ake เงิน +1 2010-11-30 ดีครับ
motion-a เงิน +1 2010-11-30 รอมานาน
bull เงิน +1 2010-11-30 คนถามได้ประโยชน์ไปเต็มๆ เยี่ยมครับ
iamtitti เงิน +1 2010-11-30 ขอบคุณครับ
rotcerid เงิน +1 2010-11-30 เห็นด้วยครับ
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
477
เงิน
12331
ความดี
8574
เครดิต
8667
จิตพิสัย
9807
จังหวัด
ขอนแก่น

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 19#  โพสต์เมื่อ: 2010-11-30
ไม่ใช่ว่า แค่หน้าชัดหลังเบลอเท่านั่นนะครับจะเรียกว่า Cinematography

''มันคือทุกๆอย่าง''    ,,ในความคิดผมน่ะ ผมเดาเอาน่ะ
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
473
เงิน
14731
ความดี
11488
เครดิต
11557
จิตพิสัย
13108
จังหวัด
ขอนแก่น

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 20#  โพสต์เมื่อ: 2010-11-30
ความคิดผมว่ามันเป็นคำนิยาม ที่พยามยามจะเรียกสิ่งนี้ว่าอะไร ซึ่งมันก็แล้วแต่มุมมองของแต่ะคนว่า มันคือ CINEMATOGRAPHY หรือเปล่า
อาจจะไม่ต่างกับคำว่า "มืออาชีพ" ซึ่งมันก็ไม่ได้มีหลักเกณฑ์การตัดสินที่ 100 % ว่ามันใช่หรือไม่ใช่ อยู่ที่คุณจะเรียกคนอื่น หรือตัวคุณเองว่าอย่างไร
หรือมันอาจเพียงแค่จำกัดความเพื่อให้ได้ราคาขายที่สูงขึ้น ตามกระแสคำจำกัดความ
เราจะทำงานเพื่อให้มันเป็น CINEMATOGRAPHY หรือควรจะทำงานให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด

แค่หนึ่งความคิดเห็นนะครับ

ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
417
เงิน
12146
ความดี
9394
เครดิต
12497
จิตพิสัย
4890
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 21#  โพสต์เมื่อ: 2010-11-30
โอ้วเหมือนเข้าห้องเรียนเลยสวดยอดปวยเลย
โพสต์
1276
เงิน
25178
ความดี
37915
เครดิต
40757
จิตพิสัย
37283
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 22#  โพสต์เมื่อ: 2010-11-30
ถ่ายยังไงก็ได้  ให้มันดูเหมือนภาพยนตร์ คนชมบอก โอ้โหเหมือนดูหนังเลย จบ!!
โพสต์
1276
เงิน
25178
ความดี
37915
เครดิต
40757
จิตพิสัย
37283
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 23#  โพสต์เมื่อ: 2010-11-30
อ้างอิง
อ้างอิงโพส 1 ต้นฉบับโพสโดย gazang เมื่อ 2010-11-30 15:08  :
มันคือ จิตวิญญาณ

มันแตกต่าง

มันแยกออก
.......

ศิลป์มาก ปรมาจารย์ปอนด์
โพสต์
1345
เงิน
57739
ความดี
53590
เครดิต
54394
จิตพิสัย
60108
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 24#  โพสต์เมื่อ: 2010-11-30
อ้างอิง
อ้างอิงโพส 23 ต้นฉบับโพสโดย motion-a เมื่อ 2010-11-30 18:37  :

ศิลป์มาก ปรมาจารย์ปอนด์




จริง มะ พี่ เอ ทำยังไง มัน ก็ ดูออกและ แยก ออก
โพสต์
1276
เงิน
25178
ความดี
37915
เครดิต
40757
จิตพิสัย
37283
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 25#  โพสต์เมื่อ: 2010-11-30
ตอบกลับโพส 24 โพสของ (gazang)
อืมดูออกจริงๆหละจารย์ปอนด์ ว่าทั่นไม่ธรรมดาจริงๆ
ระดับ : สมาชิก III
โพสต์
48
เงิน
1290
ความดี
1396
เครดิต
1325
จิตพิสัย
1541
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 26#  โพสต์เมื่อ: 2010-11-30
Cinema Photography (ศิลปการถ่ายภาพยนตร์ด้วยการใช้แสง) คือผู้มีความรู้เรื่องธรรมชาติของแสง
เป็นอย่างดี  และจับมันให้มาอยู่ในภาพได้อย่างสวยงาม
แต่ถ้าไม่มีความรู้เรื่องแสงก็ถ่ายไปอย่างไร้จุดหมาย ผิดทาง
 จับแสงมาได้ครึงๆ กลางๆ ขาดๆ เกินๆส่งผลให้ภาพออกมาไม่ดี

 ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยครับ เอามาจากความหมายของ Photography อะครับ
ระดับ : สมาชิก II
โพสต์
11
เงิน
313
ความดี
313
เครดิต
320
จิตพิสัย
276
จังหวัด
สมุทรปราการ
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 27#  โพสต์เมื่อ: 2010-12-01
อ้างอิง
อ้างอิงโพส 20 ต้นฉบับโพสโดย composecg เมื่อ 2010-11-30 18:07 :
ความคิดผมว่ามันเป็นคำนิยาม ที่พยามยามจะเรียกสิ่งนี้ว่าอะไร ซึ่งมันก็แล้วแต่มุมมองของแต่ะคนว่า มันคือ CINEMATOGRAPHY หรือเปล่า
อาจจะไม่ต่างกับคำว่า "มืออาชีพ" ซึ่งมันก็ไม่ได้มีหลักเกณฑ์การตัดสินที่ 100 % ว่ามันใช่หรือไม่ใช่ อยู่ที่คุณจะเรียกคนอื่น หรือตัวคุณเองว่าอย่างไร
หรือมันอาจเพียงแค่จำกัดความเพื่อให้ได้ราคาขายที่สูงขึ้น ตามกระแสคำจำกัดความ
เราจะทำงานเพื่อให้มันเป็น CINEMATOGRAPHY หรือควรจะทำงานให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด

.......

เห็นด้วยเลยครับ
ไม่ว่าจะมืออาชีพ หรือมือสมัครเล่น เพียงแค่ตั้งใจทำมันให้ออกมาดีที่สุด
ไม่ว่าจะเพื่อเงินหรือเพื่ออะไรก็ตามเชื่อว่าถ้าเราตั้งใจทำมันแล้ว
แค่ความภูมิใจบางทีก็พอแล้ว

โพสต์
1027
เงิน
33105
ความดี
27831
เครดิต
28064
จิตพิสัย
29772
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 28#  โพสต์เมื่อ: 2010-12-28
CINEMATOGRAPHY ในสายงานการผลิตภาพยนตร์มักจะเรียกการถ่ายภาพยนตร์หรือผู้ที่อยู่ในต่ำแหน่งช่างภาพว่า CINEMATOGRAPHER
ซึ่งเป็นต่ำแหน่งที่จะต้อง Operate กล้องถ่ายภาพยตร์ และประสานงานกับผู้กำกับและผู้กำกับภาพ

คำว่า CINEMATOGRAPHER ได้เริ่มนิยมใช้เรียกแทนคำว่า Cameraman , Video man  , Videography
ในช่วงเวลาที่เทคโนลีด้านการถ่ายภาพนิ่งพัฒนาให้กล้องถ่ายภาพนิ่ง (DSLR) เพิ่ม Function  การถ่ายวีดีโอมาในตัวกล้อง
เพราะภาพและผลงานวีดีโอที่ได้จากกล้องภาพนิ่งที่ถ่ายวีดีโอได้ (HDSLR) นั้น ได้ภาพวีดีโอที่ได้ใกล้เคียงกับกล้องภาพยนตร์มาก
แถมยังมีคุณภาพในระดับ Full HD 1080P  (Resolution 1920 x 1080p) ซึ่งมีความละเอียดมากกว่ากล้องวีดีโอทั่วไป DV (Resolution 720 x 576)
จะทำให้ได้ภาพที่มีความคมชัดมากขึ้น กล้องภาพนิ่งที่ถ่ายวีดีโอได้ (HDSLR) สามารถเปลี่ยนเลนซ์ได้หลากหลายระยะภาพ ทำให้ได้ภาพที่ได้ มีมิติมากขึ้นกว่ากล้องวีดีโอทั่วไป
จึงทำให้ช่างวีดีโอต่างให้ความสนใจในตัวกล้องภาพนิ่งที่ถ่ายวีดีโอได้ (HDSLR) และได้นำมาใช้ถ่ายวีดีโอกันอย่างจริงจังมากขึ้น ช่างภาพหรือช่างวีดีโอที่สร้างสรรค์งานโดยใช้ (HDSLR)
จึงมักเรียกตัวเองว่า CINEMATOGRAPHER และเรียกผลงานของตัวเองว่า CINEMATOGRAPHY

ซึ่งถ้าจะหาความหมายของคำว่า CINEMATOGRAPHY เมื่อแยกคำออกมาจะได้ 2 คำ คือ
CINEMA แปลว่า ภาพยนตร์
PHOTOGRAPHY แปลว่า การถ่ายภาพ
CINEMATOGRAPH แปลว่าอะไร ผมเองยังคงสงสัยอยู่ ผู้ที่ทำงานด้านนี้ต่างให้คำนิยามต่างๆกัน
และผมเองคงจะต้องให้คำนิยาม กับคำนี้ว่า CINEMATOGRAPHY
คือ การสร้างสรรค์งานในรูปแบบภาพยนต์ โดยใช้อุปกรณ์กล้องภาพนิ่งที่ถ่ายวีดีโอได้ (HDSLR) เพื่อให้ได้ผลงานที่ใกล้เคียงกับภาพยนตร์มากที่สุด

การผลิตภาพยนตร์ มีขั้นตอนการทำงานโดยใช้หลัก 3P
P ตัวแรกก็คือ Pre-production คือ ขั้นตอนของการเตรียมงาน ก่อนที่จะผลิตงานจริง เช่น การวางโครงเรื่อง Theme Concept Story รวมถึงการวางแผนกระบวนการผลิต
P ตัวที่สองคือ Production คือ การถ่ายทำภาพยนตร์ ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจต้องใช้อุปกรณ์บันทึกภาพ ซึ่งเป็นอุปกรณ์แบบไหนก็ได้ แต่สำหรับงาน CINEMATOGRAPHY
กล้องภาพนิ่งที่ถ่ายวีดีโอได้  (HDSLR)  คงเป็นคำตอบแรกในการเลือกใช้งาน (การเลือกใช้มุมกล้องในแบบภาพยนตร์จะเป็น Skill ของแต่ละบุคคล)
P ตัวสุดท้ายก็คือ Post Production หลังจากที่เราได้ Stock ภาพเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราจะต้องนำภาพที่ได้มาลำดับตัดต่อให้ได้งานตามที่เราจะต้องการสื่อสารออกไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่าเรื่องในแบบภาพยตร์

ภาพยนต์กับละครต่างกันอย่างไร ให้ดูที่วิธีการเล่าเรื่องซึ่งต่างกันอย่างชัดเจน การถ่ายทำมุมกล้องและการเลือกใช้ภาพมาตัดต่อก็ต่างกัน สีสันของงานที่ได้ก็ไม่เหมือนกันเลย
ส่วนต่างกันอย่างไรนั้น คงต้องในคุณผู้ชมตัดสินครับ คล้ายๆงานวีดีโอพิธีการที่มีภาพเหตุการ์ณต่างๆครบทุกรายละเอียด
เมื่อเทียบกับงาน CINEMATOGRAPHY ถูกสร้างสรรค์และเน้นไปที่อถรรสในการชม สร้างอารมณ์ เรื่องราว ความสวยงามของมุมภาพ
ถ้ามองถึงกระบวนการทำงานของงานวีดีโอพิธีการกับงาน CINEMATOGRAPHY แล้วแทบไม่ต่างกันเลย แต่งานที่ได้ออกมาจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงครับ

CINEMATOGRAPHY คือ ศิลปะของการสร้างสรรค์ผลงานให้เหมือนภาพยนตร์มากที่สุด โดยใช้กล้องภาพนิ่งที่มีคุณสมบัติถ่ายวีดีโอได้ในการบันทึกภาพเคลื่อนไหว
เหตุการ์ต่างๆ แล้วนำมาลำดับภาพเล่าเรื่องในรูปแบบภาพยนตร์

[ แก้ไขล่าสุดโดย video_p เมื่อ 2010-12-28 08:10 ]
โพสต์
1215
เงิน
27382
ความดี
25465
เครดิต
27374
จิตพิสัย
30396
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 29#  โพสต์เมื่อ: 2010-12-30
อ้างอิง
อ้างอิงโพส 18 ต้นฉบับโพสโดย sticky เมื่อ 2010-11-30 17:10  :
***แม้จะถ่ายด้วย Webcam หรือใช้ภาพนิ่งมาร้อยเรียงเป็นเรื่องก็เป็น Cinematography ได้ เพราะ Main หลักอยู่ที่แนวคิดและการเล่าเรื่อง***
.......


เอาไปแปดร้อยกระโหลกครับสำหรับประโยคนี้

แม้ว่าคุณจะถ่ายด้วยกล้องถ่ายทำภาพยนต์ แม้ว่าคุณจะถ่ายทำด้วยกล้อง D-slr  แต่หากว่าคุณเล่าเรื่องไม่ได้ หากว่าคุณสื่อสารไม่ได้ มันก็ไม่มีประโยชณ์ครับ

ในทางกลับกัน หากคุณใช้เพียงกล้องมือถือ ถ่ายออกมา แต่มันสามารถเล่าเรื่อง และสื่อสารออกมาได้ นั่นแล้วไซร้ คือ ภาพยนต์

เพราะ ภาพยนต์คือ Mass Media ชนิดหนึ่ง ที่สร้างมาเพื่อจุดประสงค์ของการสื่อสาร ส่งสารไปยังคนจำนวนมาก โดยนำเอา ศิลปะ และความบันเทิงมาเป็นสิ่งดึงดูดครับ


โลกใบนี้ไม่มีโดเรมอนเราจึงไม่ควรทำตัวเหมือนโนบิตะ
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้