ขออนุญาตเสริมในข้อ 3 ของคุณ nezzis ครับ ...
สิ่งจำเป็นพื้นฐานอย่างหนึ่งของการเกรดสี คือ ต้องดูเครื่องมือวัดต่าง ๆ เป็น ... มอนิเตอร์อาจเพี้ยน การ calibrate อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมีค่าใช้จ่าย (สูง) แต่ เครื่องมือวัดที่ติดมากับโปรแกรมเกรดสีต่าง ๆ นั้นฟรี และ ไม่เพี้ยน ... แสดงข้อมูลด้านเทคนิคต่าง ๆ ได้ละเอียดยิบทุกซอกทุกมุม ...
เครื่องมือวัดที่เห็นในภาพล่างซ้าย คือ Vector Scope ใครที่คุ้นเคยกับรถ OB จะเห็นบ่อย เจ้าตัวนี้จะเป็นมอนิเตอร์ฮาร์ดแวร์แยกออกมาต่างหากเลย ...
ถ้าจะมองให้ง่าย ต้องเอา Color Wheel มาเทียบแบบนี้ จะร้องอ๋อครับ ...
จะเห็นว่าตัวย่อ R, YL, G, MG, CY, B ก็คือ ชื่อสี (Hue) ในตำแหน่งนั้น ๆ นั่นเอง ...
จุดสีเหลืองส้มคือเม็ดสีในภาพ หากไปตกในตำแหน่งไหน แสดงว่าในภาพมีสีนั้นปรากฏอยู่ ยิ่งหนาแน่นตรงจุดไหนแสดงว่าในภาพมีสีนั้นมากเป็นพิเศษ ...
ความไกล้-ไกลจากจุดศูนย์กลางของวงกลม จะเป็นตัวบอกความเข้มสี (Saturation) หากไปตกอยู่ศูนย์กลางวงกลมพอดี แสดงว่า ไม่มีสี คือจะเป็นภาพขาว-ดำ นั่นเอง และ ยิ่งห่างออกจากจุดศูนย์กลางมากขึ้นเท่าใด ความเข้มสียิ่งมาก ภาพยิ่งสดขึ้นเท่านั้น ...
ทีนี้ ความเข้มของภาพ (Saturation) หรือ ความสว่าง (Brightness) ใช่ว่าจะเร่งกันได้ตามใจ เพราะอุปกรณ์ปลายทางที่แสดงภาพต่าง ๆ นั้นมีลิมิตสี หรือ color space อยู่ ... ใน Vector Scope จึงมีจุด Mark ง่าย ๆ เป็นสี่เหลี่ยมบอกขอบเขตสี ซึ่งอาจตั้งได้เป็นค่า % IRE เช่น 75% IRE ค่าิลิมิตจะปรับเป็นเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ใช้แสดงภาพ เช่น ทีวี โปรเจคต์เตอร์ฉายภาพยนต์ คอมพิวเตอร์มอนิเตอร์ ฯ ...
ค่าที่มีผลต่อ Vector Scope โดยตรง เช่น กรณีสี ปรับได้ที่ Hue ผลคือ กลุ่มสีจะหมุนตามเข็ม หรือ ทวนเข็ม นาฬิกา รูปทรงยังคงเดิม, ส่วนกรณีความเข้มสี ปรับได้ที่ Saturation ผลคือ กลุ่มเม็ดสีจะเปลี่ยนขนาด ย่อ-ขยาย โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่กึ่งกลางวงกลม ...
Vector Scope หรือ เครื่องมือวัดอื่น ๆ จะให้ข้อมูลทางด้านเทคนิเชียน ส่วนอารมณ์ภาพ ยังต้องใช้สายตาตัดสินอยู่ครับ กรณีที่เกิดความขัดแย้ง อารมณ์ภาพที่ตัดสินผ่านสายตายังมีน้ำหนักเหนือกว่าอยู่หน่อย ๆ ด้วย ...
[ แก้ไขล่าสุดโดย vfspostwork เมื่อ 2010-05-08 17:24 ]