มีน้องเม้นท์ถาม " อยากถ่ายสารคดีเก่งแบบพี่ในเว็บ มีข้อห้ามและไม่ห้ามอะไรบ้าง? "…..( .คิดนานมากว่าจะอธิบายให้น้องใหม่เข้าใจอย่างไร.. )
…
.. จริงๆแล้วหลักการผลิตสารคดี มีหลักเดียวเท่านั้นคับ.." ทำอย่างไรที่จะให้คนดูงานสารคดีเรื่องที่เราผลิต ตั้งแต่ต้นจนจบโดยไม่ลุกหนีไปไหน หรือกดเปลี่ยนช่อง " ตอบกว้างไปหรือเปล่าคับ..( ก้อมันจริงๆนี่นา ) การจะตรึงคนดูเอาไว้ไม่ให้ลุกหนีหายไปไหน จะสาหัสมากสำหรับคนทำสารคดี เพราะทุกอย่างดูน่าเบื่อไปเสียหมด
แต่เมื่อจำเป็นต้องทำสารคดี เราก็มีข้อคิดเป็นแนวทางกว้างๆ ( แบ่งประเภทตามเนื้อหาภาพที่ใช้ เพื่อให้น้องใหม่มองเห็นภาพได้ชัดขึ้น )…
…ก่อนอื่นเรามาเข้าใจของก้อนเนื้องาน ( วัตถุดิบที่มี ) กันก่อนดีกว่านะคับ...
มีภาพนำเสนออยู่ 6 ภาพ ด้วยกันคือ..ชนิดของภาพแบบที่... 1.
ภาพตัวพิธีกร หรือผู้ดำเนินรายการ จะเดี่ยวคู่ เป็นดารา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ จะเป็นใครก็ได้..... คอยถามสิ่งที่คิดว่าคนทั่วไปอยากรู้ ( คนดูไม่ได้ไปด้วย )
….คอยเปิดประเด็นเพิ่ม ( ถ้าข้อสงสัยยังไม่หมด ) ….คอยสรุปและดึงเนื้อหาในเรื่องออกมาให้คนดูรู้เรื่องให้ได้ ( ไม่ให้หลุดคอนเซ็ป )
พูดง่ายๆก็คือ ทำหน้าที่แทนคนดูทางบ้านนั่นแหละ ( ตัวพิธีกรก็คือตัวแทนของกลุ่มคนดู เช่น รายการวัยรุ่นพิธีกรก็ต้องวัยรุ่นด้วย )..
2.
ภาพผู้ถูกสัมภาษณ์ หรือผู้เล่าเรื่องราว มีหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวที่จะนำเสนอให้คนที่ไม่รู้ได้รู้จริง ( ให้ได้รับข้อมูลถูกต้อง ) และให้คนที่ไม่เข้าใจได้เข้าใจ ( ไม่สับสน )
ด้วยบางครั้งผู้เล่ามีความรู้มากมาย จึงเล่าสับสนจับต้นชนปลายไม่ถูก พิธีกรจะต้องคอยตะล่อมให้เข้าสู่เนื้อหาที่ตรงประเด็น หรือ ถ้าผู้เล่าอธิบายไม่ละเอียด
ข้ามไปมา พิธีกรก็จะต้องคอยสรุปถามให้แน่ชัดว่า สิ่งที่เราเข้าใจคือสิ่งที่ผู้เล่ากำลังพูดถึงใช่หรือไม่...
3.
ภาพตัวพิธีกรและภาพผู้เล่าเรื่องราว ทั้ง 2 คนอยู่ในภาพเดียวกัน ( ต่างกันกับแบบ 1 ที่มีพิธีกรคนเดียว , และแบบ 2 มีตัวผู้เล่าเรื่องราวคนเดียว )
4.
ภาพในเนื้อหาแต่ใช้เสียงคนประกอบ เสียงที่ใช้อาจเป็นเสียงพิธีกร หรือเสียงผู้เล่าเรื่องราว ถ้าบางครั้งผู้เล่าเรื่องราวมีเวลาให้เราน้อย
เราสามารถเปลี่ยนเสียงเป็นคนบรรยายอื่นก็ได้ เพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย เช่น ผู้เล่าเรื่องราวเป็นชาย ช่วงอธิบายอาจเป็นเสียงผู้หญิง...
5.
ภาพในเนื้อหาแต่ใช้เสียงเพลงประกอบไปกับภาพ ภาพสนุกตื่นเต้นก็ใช้เพลงตื่นเต้น เพลงประกอบ จะช่วยเสริมให้เนื้อเรื่องในสารคดีน่าสนใจมากขึ้น
……( จริงๆ แล้ว ภาพ 4 - ภาพ 5 ก็คือภาพเดียวกัน แต่แบ่งแยกออกมาให้น้องใหม่ได้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น เวลาอธิบาย)
6.
นำภาพทั้งหมด ตั้งแต่ภาพแบบที่ 1-ภาพแบบที่ 5 นำมารวมกันอยู่ในเฟรมเดียวกัน เช่น ภาพตัวพิธีกรกับภาพเหตุการณ์ที่คนกำลังทำงานอยู่ในเฟรมเดียวกัน
หรือ ภาพผู้เล่ากับภาพเหตุการณ์อยู่ในเฟรมเดียวกัน อาจแบ่งภาพเป็น 2 - 3 - 4 ช่องในเฟรมเดียวกัน ก็ได้
…
..ภาพในการทำสารคดีมีอยู่ 6 แบบเท่านั้น หน้าที่ของคนทำคือ ผสม 6 ภาพนี้ให้เข้ากันอย่างลงตัวและน่าสนใจ ( สูตรใครสูตรมัน ไม่มีหลักตายตัว )..เช่น
พิธีกรคนเดียว - แนะนำผู้เล่าเห็นหน้าท้ง 2 คน - เห็นหน้าผู้เล่าคนเดียว - ใช้ภาพผสมเสียงผู้เล่า - หน้าผู้เล่า - ภาพมีเสียงเพลง - ภาพพิธีกรและผู้เล่า ฯลฯ..
ไม่ใช่ให้พิธีกรพูดมากเกินกว่าผู้เล่า , หรือให้ผู้เล่าอธิบายจนน่าเบื่อ , หรือใส่ภาพผสมเสียงพูดนานจนลืมพิธีกร ฯลฯ ( อย่าลืมเบื่อเมื่อไหร่คนดูเปลี่ยนช่องทันที )
ใครอยู่ในวงการสารคดีมานาน จะมีช่วงหนึ่งที่รัฐบาลกำหนดให้ช่วง 6 โมงเย็นของทุกวัน นำเสนอรายการได้ 3 รูปแบบคือ การศึกษา, การเกษตร,
และรายการเพื่อสุขภาพ ช่วงนั้นคนทำทีวีแทบตกม้าตาย เพราะ 3 แบบนี้หินสุดๆ แค่เริ่มเปิดรายการ พิธีกรพูด วันนี้เราจะพาไปพบกับลุงชินผู้ปลูกผัก...
รับรองว่าไม่ทันพูดจบคนดูก็กดช่องหนีแล้ว ต่างคนต่างครีเอทรายการสุดๆเท่าที่จะนึกได้ อยากรู้ไม๊ว่าทำยังไงถึงจะตรึงคนดูไม่ให้เปล่ี่ยนช่อง...
รายการสุขภาพ ให้ชายใส่สูทและหญิงใส่รองเท้าส้นสูงในชุดทำงาน วิ่งออกกำลังกายในสวน โดยมีเนื้อเรื่องว่า คุณสามารถออกกำลังกายได้แม้ในชุดทำงาน
รายการเกษตร ให้หญิงใส่ชุดว่ายนำ้ ยืนอยู่ท่ามกลางร่องสวนผัก โพสท่าเท่ห์ แล้วตะโกน 36 26 36 ไม่ใช่สูตรของนู๋นะคะ แต่เป็นสูตรปุ๋ยค่ะ...
รายการเพื่อการศึกษา เห็นกลุ่มวัยรุ่นช่างกลแต่งตัวกวนทีน เดินเป็นกลุ่มพร้อมอาวุธครบมือ หน้าแต่ละคนพร้อมมีเรื่อง แต่เดินไปช่วยสร้างโรงเรียน ….
...ท่องจำไว้ให้ขึ้นใจว่า " ......ไม่ว่าคุณจะผลิตงานสารคดีให้ออกมาดีแค่ไหน , ลงทุนมากแค่ไหน , หรืองานดีเลิศประเสริฐศรีสุดปฐพี เท่าที่มีคนทำมา.......ก็ไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าคนไม่ดู ( เบื่อแล้วกดช่องหนี ) ...สู้อยู่เฉยๆ ไม่ทำเลยจะดีกว่า "..... ยกเว้น สารคดีที่จ้างผลิตโดยเฉพาะ ไม่เข้าข่ายคำพูดนี้... เช่น สารคดีเชิงวิชาการ , สารคดีที่ต้องใช้ข้อมูลจริง , สารคดีการสอน ฯลฯ เหล่านี้แม้จะเบื่อน่าหลับแค่ไหน ก็ต้องทนดู เพราะถ้าเราเสริมเทคนิคใดๆ มากเกินความจำเป็น อาจทำให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนหรือ เกิดความเข้าใจผิดในเนื้อหาได้.... ….. ปิดท้ายเคล็ดลับที่เสริมงานสารคดีให้คนดูน่าติดตาม ( ไม่เบื่อจนเปลี่ยนช่อง ).. เชื่อไม่เชื่อไม่ว่ากันเหมือนเคยนะคับ... - อย่าใส่เพลงประกอบในขณะสัมภาษณ์ผู้เล่าเรื่อง เพราะจะทำให้เนื้อเรื่องที่ผู้เล่าอยู่ขาดความน่าเชื่อถือ และอีกอย่างเสียงสัมภาษณ์นอกสถานที่ก็ฟังไม่รู้เรื่อง
อยู่แล้ว ใส่เพลงเข้าไปอีกก็ยิ่งพาลทำให้งานเละไปกันใหญ่ ( ใส่เพลงควรใช้แบบ 5 เท่านั้น ) แต่ถ้าจำเป็นต้องใส่ ไม่ควรให้เพลงไปกลบเสียงผู้สัมภาษณ์…
- ใช้เอฟเฟคในการตัดต่อเพิ่มความน่าสนใจ เช่น ฟาสสปีด หรือสโลว์ภาพ ถอยไปมา กัดสี ตัดเร็วเข้าจังหวะเพลง
- ใช้บทเป็นตัวนำ เหมือนสารคดีพี่โจ๋ยบางจาก ที่เล่นคำกับบท ช่วงนั้นใครๆก็ติดกันงอมแงม แต่มา ณ วันนี้ คนกลับชอบรายการ " คนค้นคน "
ที่นำเสนอแบบไม่ต้องมาเสียเวลากับพรำ่พรรณาบท ชีวิตเป็นอย่างไรก็นำเสนอแบบนั้น ให้คนดูติดตามและคิดกันเอง..
- ใช้เพลงผสมเหมือนสารคดีเพลง ค่ายเพลงต่างๆชอบใช้ ให้ดาราพาเที่ยวทำนองนี้ - .ทำเป็นละครผสมสารคดี ชีวิตจริง ข้อดีคนดูชอบ ข้อเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม อาจเกินงบที่มี
- ใช้ความตลกเข้าผสม ต่อมุขเสริมมุข ระหว่างพิธีกรกับผู้เล่าเรื่อง เอาฮาเป็นหลัก เนื้อหาเป็นรอง สนุกจนคนลืมเปลี่ยนช่อง ( รายการวัยรุ่น )
- ใช้พิธีกรเข้าร่วมทำกิจกรรม หรือทำเป็นเกมส์แข่งกับผู้เล่นที่รับเชิญ สำหรับรายการที่มีเวลามาก ก็จะทำกิจกรรมเสริมแทนผู้ชมทางบ้าน
- กำลังฮิต สารคดีแบบถามตอบ ตั้งแต่รู้สู้ฟลัดทำปลาวาฬออกมาดังจนหลายบริษัทค้อนควับๆ คือ รูปแบบถามเองตอบเอง ..ทำไมนำ้ถึงท่วม...
และเราจะมีวิธีการสู้กับนำ้อย่างไร …เริ่มต้นวิธีนี้....ฯลฯ... กระชับมีแต่เนื้อหาล้วนๆ
………ถ้ากระแส สารคดีแบบถามเองตอบเอง ความต้องการของลูกค้ายังมีมากอยู่ ( แว่วว่าปีนี้ 2555 ไม่รับงาน ปีหน้าค่อยมาคุยกัน )ผมว่าพี่ๆในเว็บต้องแย่แน่ๆ เพราะ …..ใครจะเชื่อว่า คนเพียงคนเดียวสามารถทำสารคดีออกมาได้ดี โดยไม่ต้องใช้กล้อง ไม่ต้องมาเถียงกันว่า( กล้อง DSLR หรือกล้อง VDO ใครดีกว่าใคร ) … ไม่ต้องใช้พิธีกร ( เล่นตัวนัก ) ไม่ต้องจ้างช่างภาพและทีมงานไฟ ( ประหยัดงบเพียบ )ใช้เครื่องคอมเพียงเครื่องเดียว ก็สามารถทำสารคดีได้แล้ว ….ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อนะคับว่า ...อะไรก็เกิดขึ้นได้ในวงการโปรดัคชั่น....
[ แก้ไขล่าสุดโดย p0p-it เมื่อ 2012-01-15 09:24 ]