สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 1521เข้าชม
  • 2ตอบกลับ

สำหรับผู้ที่จะผลิตสื่อให้ความรู้- สื่อวิชาการ ( p0p-it )

โพสต์
787
เงิน
5355
ความดี
14867
เครดิต
11447
จิตพิสัย
37005
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร




..ชื่นชม และดีใจกับเด็กรุ่นใหม่ที่มีความสามารถในการผลิตสื่อให้ความรู้
( ทั้งๆที่ไม่ได้เรียนหรือมีประสบการณ์ตรงจากการทำงาน )
แต่สามารถผลิตสื่อออกมาได้ แม้ไม่ดีที่สุดแต่ก็ถือว่าสุดยอดแล้วคับท่าน



ถ้าจะจัดรูปแบบของการผลิตสื่อให้ความรู้โดยทั่วไป มีทั้งหมด5ประเภท
ประเภท1 สารคดีแนวชีวิตจริง
หรือสารคดีสไตล์ข่าว โดยใช้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในขณะนั้นเป็นตัวนำเสนอ
ประเภท2 สารคดีแนวละคร โดยให้นักแสดงเป็นตัวนำเสนอ
ประเภท3 สารคดีประกอบเพลง ใช้ความหมายในเนื้อเพลงเป็นตัวนำเสนอ
ประเภท4 สารคดีเล่าเรื่องราวโดยการสัมภาษณ์ อาจมีพิธีกรเป็นผู้ร่วมนำเสนอ
ประเภท5 สารคดีอิงข้อมูลทางวิชาการ ใช้รายละเอียดข้อมูลตัวเลข เป็นผู้นำเสนอ

..สารคดีที่ผมแบ่งประเภทไว้ อาจไม่เหมือนในตำรา เพราะผมแบ่งตามเนื้อหาที่นำเสนอ
เพื่อให้น้องใหม่เข้าใจได้ง่ายเวลาอธิบาย..เมื่อรู้ประเภทหรือรูปแบบในการนำเสนอแล้ว
ต่อไปเรามาดูวิธีการนำไปใช้..ขึ้นอยู่กับกลุ่มลูกค้ากลุ่มไหน?..


กลุ่มที่ 1 สำหรับกลุ่มคนทั่วไป เช่น ทำรายการทางฟรีทีวี ก็สามารถใช้ทั้งหมด 5 ประเภทนำมาผสมกันได้
ข้อมูลไม่ต้องลึก รายละเอียดไม่เน้นมาก ขอเพียงแต่ไม่ให้คนดูเกิดความเบื่อ และเมื่อกลุ่มคนทั่วไป
ต้องการข้อมูลเชิงลึกมากกว่าที่เรานำเสนอ ก็จะกลายมาเป็นกลุ่มคนประเภทต่อไป..คือ
กลุ่มคนที่2 กลุ่มคนโดยเฉพาะ หรือถ้้าเรารู้จักกลุ่มที่ต้องการนำเสนอ ก็สามารถตีข้อมูลตรงได้ไม่ต้องอ้อมค้อม

โดยอาจใช้ประเภท 4- 5 เป็นหลัก ปนกับประเภทอื่นนิดหน่อยก็พอแล้ว..

และด้วยเหตุนี้ ที่น้องใหม่ส่งงานมาให้ช่วยดู ผมถึงต้องเย้นยำ้เสมอว่า
- กฏมุมมอง1 ..ทำขึ้นเพื่อให้ใครดู กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร( เพื่อผมจะได้อัญเชิญคนนั้นลงประทับทรงแทนตัวผม)

                       แล้วดูงานย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้น.
- กฏมุมมอง2..ว่ามีวัตถุประสงค์อะไร ในการนำเสนอ ( เขียนบท กำกับ ถ่ายทำ) สามารถทำได้ตรงกับแนวทาง

                       ที่วางไว้ในตอนแรกได้หรือไม่..
- กฏมุมมอง3..มาถึงการเล่าเรื่องผสมเทคนิค (ตัดต่อใส่กราฟฟิค) ช่วยให้งานที่ทำมาทั้งหมดเด่นชัด

                       และดีขึ้นหรือไม่..(หรืองานมีปัญหา มีแนวทางในการแก้ไขงานให้ผ่านพ้นไป ได้อย่างไร)
                       กฏ 3มุมมอง รายละเอียดได้นำเสนอไปแล้วใน.....
เวิร์คช็อป โหย พ .. (0/564)

..การทำสื่อให้ความรู้ต้องนำเสนอให้ถูกกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการ ถ้ากลุ่มคนประเภท1มาดูงานประเภท2

ก็อาจปวดหัวน่าเบื่อเพราะข้อมูลเยอะเกินไป และในทางกลับกันกลุ่มคนประเภท2มาดูงานประเภท1
ก็จะอาจจะบ่นว่ารูปแบบไร้สาระน่าเบื่อเช่นกัน เพราะไม่มีเนื้อหาอะไรน่าสนใจเลย...

...ระวังให้ดีนะคับ นำเสนอสื่อให้ความรู้ผิดกลุ่ม ทีมงานผลิตโดนด่าทั้ง 2ทาง

..เฮ้อ..คิดแล้วสงสารแทนคนทำอาชีพนี้ ช่่างมีกรรมซะจริงๆ ทำดีไม่เห็น
แต่ทำผิดโดนด่าเละทั้งขึ้นทั้งล่อง ( เละมากกับเละน้อย)..





บทความที่เกี่ยวข้อง

โพสต์
787
เงิน
5355
ความดี
14867
เครดิต
11447
จิตพิสัย
37005
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

รู้ทฤษฏีไปแล้ว ตอนนี้มาถึงแนวทางการปฏิบัติ เวิร์คช็อพ " การทำสื่อให้ความรู้"
...(ก่อนอื่นขออธิบายเหตุผลที่ทำตัวอย่างนี้ขึ้นมา ด้วยเพราะปัจจุบันมีหลายหน่วยงานได้ผลิตสื่อให้ความรู้
โดยทำแบบกันเอง( เครื่องมือของตัวเอง ใช้เวลาวันหยุดของตัวเอง และเพื่อนนักแสดงก็เล่นกันเอง )
วันนี้ผมมีงานของน้อง นศ.ที่ทำกันเองขึ้นในกลุ่ม มาดูพร้อมกันว่า จะได้ความรู้อะไรจากน้อง นศ.เหล่านี้
..ขอขอบคุณทีมงานน้อง นศ.คณะศิลปศาสตร์เอกจิตวิทยา มา ณ ที่นี้ด้วย ..


(เวิร์คช็อพนี้จัดทำขึ้นสำหรับคนที่ไม่ได้เรียนมาโดยตรง หรือประสบการณ์ยังน้อย ส่วนพี่คนเก่งถ้ามีเวลาก็ดูได้คับ )
เวอร์ชันเต็ม: [-- [VTR] แนะนำจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (นักศึกษาทำกันเอง) --]

น้องใหม่ในเว็บของเราเอง
..งานนี้ผมถือว่าเป็นงานที่จัดทำขึ้นเฉพาะกลุ่ม เหตุผลคือ ต้องเข้าไปเปิดดูในเว็บเท่านั้น กลุ่มคนเฉพาะคือ กลุ่มนักเรียนที่กำลังจะจบ ม.ต้น เพื่อเข้าศึกษาต่อในมหาลัยฯ,กลุ่มผู้ปกครองที่อยากรู้ว่าลูกเมื่อเข้าไปเรียนแล้ว จบมาจะทำอาชีพอะไร หรือกลุ่มนักเรียนที่ต้องการย้ายคณะอยากรู้ว่าคณะนี้สอนอะไรบ้าง?..ไปดูคลิปตอนแรกกัน..
..อยากให้ดูให้จบนะคับ พาร์ท 1 /4 ความยาว 11.30 นาที


http://www.youtube.com/watch?v=ciJqC-RTFbI


.. การเล่นมุขต่างๆ ข้อดีคือไม่น่าเบื่อ แต่ก็มีข้อเสียคือเล่นมากไป ความยาวของสื่อก็จะยาวขึ้น
คนดูอาจเบื่อและปิดทิ้งได้ จุดสำคัญของพาร์ท 1 อยู่ที่นาที 9 เป็นต้นไปเอกจิตตั้งขึ้นมาได้อย่างไร?..
( จำไว้นะคับอะไรที่สำคัญที่สุด ให้นำเสนอตอนต้น เพราะถ้าไปอยู่ตอนหลังคนดูเบื่อก็จะปิดทิ้งได้ )..


http://www.youtube.com/watch?v=IVOOdmN0JC0&feature=relmfu


..พาร์ท 2 นี้ ยาว 12 นาทีเบื่อยังคับ นำเสนอเครื่องมือในการเรียนเอกจิต ฯ จริงๆช่วงแนะนำตัดทิ้งเลยก็ได้
เพราะคนยังไม่เข้าเรียน ก็ไม่อยากรู้ ไว้นำเสนออีกชุดสำหรับเด็กที่สอบเข้าแล้วจะตรงกลุ่มกว่า..


http://www.youtube.com/watch?v=sTAC6cYU6y4&feature=relmfu


..พาร์ท 3 ความยาว 14.30 นาที เสียเวลาแนะนำศาลด้านหน้าของมหาลัยฯ ( ซึ่งไม่เกี่ยวกับคณะตัดทิ้งได้ )
จนมาถึงช่วงสัมภาษณ์นาทีที่  6   ถึงรู้ว่า เรียนจิตวิทยาแล้วได้อะไร ดูมา 30 นาที หัวใจของสื่ออยู่ตรงนี้...
ยังไม่หมดนะคับมีอีกพาร์ท 4 ตอนจบ
http://www.youtube.com/watch?v=z71iYyrLsa4&feature=relmfu
สนใจคณะนี้ไปเปิดดูเองคับ เพราะพาร์ทนี้ไม่มีอะไร?..

คลิปสุดท้ายคือคลิปที่ผมนำทุกคลิปมาตัดเรียบเรียงขึ้นเป็นชิ้นงานใหม่ โดยตัดสิ่งที่ไม่สำคัญทิ้ง
และเพิ่มเนืื่อหาสาระให้มากขึ้น ลองดูเปรียบเทียบอีกนะคับ..จาก 55 นาทีตัดเหลือ 12 นาที..

http://www.youtube.com/watch?v=fcq9ip-WCzg


วิธีแก้ไขงานสื่อให้ความรู้ ท่องไว้ในใจก่อนทำงาน...ทำตามขั้นตอนที่ให้ห้ามทำสลับนะคับ..
ข้อ1 - ยาวตัดให้สั้น เนื้อหาที่ยาวมากไปจะทำให้คนดูเบื่อ ลองหาวิธีทำให้สั้นล ง ข้อควรนะวัง

          ความหมายของภาพ อารมณ์ในเรื่องต้องไม่เปลี่ยน
ข้อ2 - ทำสั้นให้รวมเป็นหนึ่ง เมื่อตัดสั้นลงแล้ว ก็ยังดูวกวน มีหลากหลายหัวข้อเต็มไปหมด

           ลองนำหลายเหตุการณ์มาผูกรวมเป็นก้อน เพื่อลดขั้นตอน ทำให้คนดูจำง่ายและเข้าใจมากขึ้น
ข้อ3 -อะไรไม่เกี่ยวให้ตัดทิ้ง รวมแล้วยังดูยาวเยิ่นเยื้อ ลองตัดเนื้อหาที่ละเอียดเกินไปทิ้ง

         หรือนำไปรวมเป็นงานชิ้นใหม่( โปรเจคต่อไป) ข้อสังเกตุ ทำขั้นตอนนี้แล้วเนื้อเรื่องต้องดูแล้วเข้าใจง่ายขึ้น
ข้อ4 - หาวิธีทำให้ไม่เบื่อ เสริมเพลง เล่นเอฟเฟค ผสมกราฟฟิค เพื่อไม่ให้คนดูหลับ หากพยายามทำทุกทางแล้ว

          แต่ไม่มีวิธีไหนแก้เบื่อได้ ก็ต้องทำใจ เบื่อก็ทนเอา เพราะสื่อให้ความรู้มาคู่กับความน่าเบื่อ

สรุป.. การผลิตงานสื่อให้ความรู้ ควรเสนอข้อมูลแบบตีตรงไม่อ้อมค้อม ตัดสั้นกระชับไม่ให้คนดูรู้สึกเบื่อ
        เสริมด้วยภาพเพิ่มความน่าสนใจ ( สั้น - รวม - กระชับ - เสริม -ทนดู )

..หลายงานของน้องใหม่มักทำมายาวมาก ( คนทำบอกยิ่งยาวยิ่งดี คนดูบอกยิ่งยาวยิ่งน่าเบื่อ..ไม่รู้จะเชื่อใครดี)
และนี่คืออีก 1 ตัวอย่างที่ผมลองปรับแแก้ไขให้ดูง่ายและกระชับขึ้น
( โดยรวมเหตุการณ์ที่ไม่สำคัญให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อให้ข้อมูลที่นำเสนอเด่นชัด )
มีหลายงานที่ผมดูแล้วอยากตัดแก้ไขให้ แต่ก็กลัวว่าทำไปแล้วจะหาว่าผมไปดีสเครดิตทีมงาน
เอาเป็นว่าถ้าใครตัดต่องานออกมาแล้ว อยากได้รูปแบบใหม่หรืออยากได้อีก 1 ไอเดียเพิ่ม
ก็ลองเม้นท์มาคุย ถ้าว่างจะลองทำให้คับ


..ปิดท้ายด้วยแก้งานของทีมงาน สามศูนย์ เกี่ยวกับเรื่องเอดส์ ของเดิม
http://www.youtube.com/watch?v=LUJuKMfq0-s เดิมยาว 13 นาที

อาผลงานมาน้อมรับคำแนะนำครับ
โพสในเว็บช่วยแนะนำอะไรควรใส่ และไม่ควรใส่ อธิบายไม่ถูก เลยตัดแก้ไขให้ใหม่เลยคับ..

http://www.youtube.com/watch?v=Mvo9IDyP2Yk ตัดสั้นเหลือ 10 นาที

แนวทางชุดนี้สามารถเพิ่มเนื้อหาให้แน่นขึ้นได้ตอน นาทีที่ 3 และนาทีที่ 5 สามารถอธิบายด้วยตัวหนังสือ


เพื่อเน้นยำ้อีกครั้งได้คับ..
ระดับ : สมาชิก IIII
โพสต์
84
เงิน
2776
ความดี
991
เครดิต
782
จิตพิสัย
1190
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
ขอบคุนคับ
ได้ความรู้เยอะเลย
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้