...ช่วงนี้ไปไหน เจอน้องใหม่คุยแต่เรื่องจอทีวีเช็คสี นึกไม่ออกว่าจะเอาไปใช้ทำอะไร มองไม่เห็นความจำเป็น
ลำพังแค่อุปกรณ์ถ่ายก็ 2 ไหล่ลู่ 2 มือเพียบ ทีมงานคนอื่นก็ถือเพียบเหมือนกัน
...
จนมานึกขึ้นได้ว่า อ๋อ เพราะน้องใหม่ใช้กล้อง DSLR นั่นเอง จอเล็กด้านข้าง มองไม่เห็น
เลยจำเป็นต้องมีทีวีเช็คสี..นี่แหละ เขาเรียก " ถึงจุดสูงสุดกลับมาจุดตำ่สุด "( จุดเริ่มต้น )..
.สมัยก่อน กล้องถ่ายรายการเป็นขาวดำ เหตุผลที่ไม่ใส่สีให้ไม่ใช่เปลือง แต่มีข้อดี 2 ประการ คือ.- 1. ขาวดำโฟกัสง่ายกว่าสี เริ่มต้นถ่ายก็เหมือนทั่วไปคือ ซูมที่หน้าแล้วเอาท์ออก ทีนี้ตัวละครเดินไปมา
จะทำยังไง จะเข้าไปที่หน้าแล้วเช็คโฟกัสอีกคงไม่ได้ เพราะเทปเดินตลอด ช่างภาพเขาจะเช็คโฟกัส
จากขอบเสื้อคับ ถ้าขอบเสื้อชัดรับรองตัวคนก็ชัด ฉนั้น ลองเอากล้องจอสีมาทำเป็นจอขาวดำ
จะสังเกตุว่า การโฟกัสจะชัดแม่นกว่าและเร็วกว่า ( ช่างภาพบางคนยังใช้วิธีนี้อยู่ )
หรือ ไม่ก็ปรับคอนทราสจอสีให้เข้มขึ้น เพื่อจะได้เห็นขอบเสื้อ ขาวกับดำ ได้ชัดขึ้น
2. กันไม่ให้ช่างภาพหลงระเริงไปกับเหตุการณ์ที่ถ่าย เช่น การผ่าตัดเห็นเลือด จอขาวดำ
มองเห็นเลือดเป็นของเหลวสีขาว เวลาหมอเอามีดจิ้มลงท้อง ช่างภาพก็ไม่กลัว แค่เช็คโฟกัสไม่ให้เบลอเท่านั้นเป็นพอ
หรือถ่ายนางแบบวาบหวิว วับๆแวม ช่างภาพก็ไม่เซ็กซี่ด้วย เพราะจอขาวดำมองยังไงก็ไม่เห็นความสวย
...เมื่อมีข้อดีก็มีข้อเสียด้วยเหมือนกัน 1. สีที่ได้ไม่รู้เป็นสีอะไร มองไม่ออก อมแดง อมฟ้า ถ่ายออกมาเละเทะ( มาเช็คสีตอนหลัง )
2. โอเวอร์อันเดอร์มากน้อยแค่ไหน ก็มะรู้ ( จะเพิ่มเพิ่มแค่ไหน จะลดลดลงกี่ขีด )
3. ช่างภาพช่วยอะไรไม่ได้ ( เหมือนคนโง่ ) เพราะตามัวแต่เช็คโฟกัส นักแสดงโกรธจนหน้าแดง
ช่างภาพยังบอก ขาวดำสีสวย ถ่ายอีกๆๆกำลังมันส์..(ช่างภาพคนนี้ตอนนี้ไปอยู่บนสวรรค์แล้วคับ )
...และด้วยข้อด้อยเหล่านี้ จึงทำให้ต้องมีคนคอยดูทีวี เช็คสีจริงจากกล้องอีกทีหนึ่ง
ทีวีที่เช็คสีเขาเรียกทีวีมอนิเตอร์ ( ด้วยเพราะมีความละเอียดมากกว่าทีวีธรรมดา )
คุณสมบัติเด่นของทีวีมอนิเตอร์ก็คือ สีต้นฉบับที่ถ่ายออกมาเป็นอย่างไร
ทีวีมอนิเตอร์ก็จะถ่ายทอดออกมาเป็นแบบนั้น ( จำคำนี้ไว้ให้ดีนะคับ )
วิธีการทำงานก็เหมือนปัจจุบัน คือคนที่ดูจอมอนิเตอร์จะคอยบอกช่างภาพ เพิ่มแสงลดแสง
เปลี่ยนฟิลเตอร์ เร่งสปีด ฯ ดีแล้วสวยแล้ว โอเคถ่ายได้...
เรียกได้ว่า ถ้าผ่านการมองจากจอมอนิเตอร์แล้ว ใครมาบอกภายหลังว่า ถ่ายมาสีห่วย รับรองโดนชกแน่ ..
.
..และถ้าผมถามต่อว่า เกิดมีมือดีแอบไปปรับปุ่มเพิ่มแสงให้เพิ่มอีก 2 ขีด( สว่างขึ้น ) หรือ
ลดอีก 2 ขีด (มืดลง ) เวลาเอาไปใช้งานจริงทีมงานก็ไม่รู้ว่า จอมอนิเตอร์ตัวนี้ไม่ตรงกับความจริง
คลาดเคลื่อนไป 2 สตอป ทีนี้ก็สนุกล่ะคับงานนั้นเละเทะ เกินกว่าจะเยี่ยวยา ทั้งมืดดำและสว่างจนไม่เห็นอะไร?
..นี่คือเรื่องจริงที่น้องใหม่ควรระวัง ..กรณีนี้เกิดบ่อยคับ อาจเกิดจากคนก่อนหน้าที่เอาไปใช้ชอบดูแบบมืด แต่เวลาถ่ายจริงปรับสว่างขึ้น ( รู้อยู่คนเดียว )
หรือ เวลาถือถ่าย เสื้อกางเกงไปโดนปุ่มปรับสีแสงคลาดเคลื่อน ( ทีมงานตกม้าตายกรณีนี้มาเยอะแล้วคับ )
..
.อ่านมาถึงตรงนี้แล้วชักเริ่มกลัวแล้วใช่ไม๊คับ กว่าจะได้เงินจากลูกค้าแต่ละบาท
มันช่างเหนื่อยยากแสนเข็น ทุกขั้นตอนพร้อมตายได้ตลอด นั่นเป็นเพราะคุณไม่รู้ นับแต่นี้จะไม่เหนื่อยแล้ว เพราะเรากำลังบอกวิธีเช็ค สีจอมอนิเตอร์ที่ถูกต้อง (แบบบ้านๆ )... ..มี 4 ขั้นตอน ง่ายมักๆคับ..
1. เปิดเส้นบาร์( ที่เป็นเส้นตรงหลายๆสีจากขาวไปดำซ้ายไปขวา )ถ้าในเครื่องไม่มี จะใช้เป็นภาพนิ่งก็ได้
ปรับปุ่มสีให้เป็นขาวดำ แล้วปรับปุ่มคอนทราสต์( มืดสว่าง ) ปรับไปเรื่อยๆ ซ้ายหรือขวา พยายามมองสีขาว
ทางซ้ายให้เป็นขาว และพยายามมองสีดำทางขวาให้เป็นดำ หาจุดกึ่งกลาง เรียกง่ายๆว่า มองเห็นโทนสี
ขาวจากซ้ายแล้วไล่ไปจนเป็นสีดำ ( สว่างแล้วค่อยๆมืด ) ก็พอหยุดปรับ ( ขั้นตอนนี้สำคัญนะคับ )
2. ปรับปุ่มขาวดำให้กลายเป็นสี จะมากหรือน้อยไม่เป็นไรแล้วคับ แล้วแต่ความชอบ
3. ลองเปิดถ่ายดูเทียบอีกครั้งจากสีจริงที่มองจากกล้อง และจากสถานที่จริงที่มองด้วยตาเปล่า
ใกล้เคียงหรือต่างกัน อาจมีปรับคอนทราสต์เพิ่มหรือลดอีกนิดเดียวเท่านั้น
4. ทำเครื่องหมายขีดปากกาเมจิก ตามปุ่มที่ปรับกับตัวจอ หรือจะติดสก็อกตเทปกระดาษแปะไว้ก็ได้
และคอยสังเกตุ ขีดที่ตัวจอกับปุ่มต้องตรงกันเสมอช่วยกันดู ..เมื่อใดที่ขีดไม่ตรงกันแล้วถ่ายตามจอ ก็งานเข้าล่ะคับ
...อยากบอกว่า จอมอนิเตอร์ที่โปรดัคชั่นใช้อยู่แพงมาก น้องใหม่อาจปรับเปลี่ยนใช้จอทีวีธรรมดา
มาเป็นตัวเช็คสีก็ได้แต่มีข้อแม้คือ ต้องเป็นทีวีที่ไม่มีระบบออโต้ในตัว (ระบบออโต้คือ ตัวทีวีจะทำการปรับอัตโนมัติจากมืดให้เป็นสว่าง และเมื่อสีซีดก็เพิ่มสีให้สวย ) หรือซื้อทีวีจอแก้วรุ่นเก่าราคาถูก ( กล้องถ่ายภาพออกมาอย่างไรทีวีก็จะฉายออกมาแบบนั้น คุณสมบัติเหมือนมอนิเตอร์ )
ปัจจุบันผมก็ใช้ทีวีแบบนี้เช็คงานส่งลูกค้า ( ไม่ใช้มอนิเตอร์กลัวลูกค้าด่า ฉายทางทีวีทำไมไม่เช็คจากทีวี )
ลองเลือกดูนะคับ ทีวีระบบจอแก้วของจีนแดงที่ร้านอมรมีให้เลือกหลายรุ่นหลายแบบ จะใช้แบบไฟหรือแบตก็มีให้เลือก
เพียงแต่ตัวใหญ่อาจเทอะทะ แต่ถ้าใช้จอแบนตัวเล็กก็เลือกแบบไม่มีออโต้
แต่ถ้าหากมีความจำเป็นต้องใช้ทีวีระบบออโต้ วิธีใช้ก็คือ ถ้าภาพมืดแล้วเราปรับให้สว่าง เมื่อภาพสว่างตามที่เราต้องการแล้วให้หยุด
อย่าปรับเพิ่มไปเรื่อยๆแบบไร้ขีดจำกัด เพราะถ้าสว่างเกินจอทีวีระบบออโต้จะเริ่มทำงาน กดภาพสว่างให้เป็นปกติ
แต่ในความเป็นจริง ภาพที่คุณถ่ายอยู่ โอเวอร์เสียหายแล้วคับ
...การทำงานโปรดัคชั่น เขาบอกว่า " อย่าเชื่อจอมอนิเตอร์ให้มากนัก " เพราะของทุกอย่างย่อมมีวันเสื่อม
เกิดจอเสียในวันนั้น ณ ตอนนั้นแล้วทุกคนก็ปรับระบบการทำงานตามจอที่เสีย หายนะเกิดขึ้นแน่ๆ
ต้องระวัง และหมั่นสังเกตุไว้มากๆนะคับ
... จริงๆแล้วการใช้จอมอนิเตอร์เขาจะใช้ควบคู่ไปกับสโคป ตัวจับสัญญาณภาพและสีคอนทราสต์ของสัญญาณที่ออกก่อน
ผ่านมอนิเตอร์ ( อย่างในรถโอบี ) เมื่อก่อนห้องตัดต่อทุกห้องต้องมีใช้ควบคู่ไปด้วย ใช้มานานเจ๊งก็ไม่ซื้อใหม่
ถูกลูกค้าด่าเรื่องเช็คจอมอนิเตอร์ด้วย ภายหลังเลยเปลี่ยนเป็นจอทีวีหมด ( ถูกว่าหลายเท่าใครจะไม่ชอบ )
หันไปเช็คสีจากจอคอมเครื่องตัดต่อแทน
...สำหรับคนที่ใช้กล้องวีดีโอจะไม่ค่อยเจอปัญหานี้ เพราะกล้องวีดีโอจะมีจอข้างกับวิวกล้องให้ดู
ถ้าจอข้างสีเพี้ยนหรือไม่แน่ใจว่่าใครมาปรับเล่น ก็เช็คดูจากวิวกล้อง (ปรับอะไรไม่ได้ ) ไอ้ตัววิวกล้องนี่ล่ะสำคัญนัก
เช็คโฟกัส ดูภาพ ดูสี กลางแดดจ้าก็ไม่กลัว เพียงแค่เอาตาแนบลงไป ก็เหมือนมีโรงหนังส่วนตัวที่ฉายให้เราดูคนเดียว ....แอบดีใจเงียบๆกับคนที่ใช้กล้องวีดีโอทุกคนคับ www.p0p-it.blogspot.com