สวัสดีในวันอาทิตย์ที่ครึ้มๆ
วันนี้มีข่าวมาอัพเดตกล้องวิดีโอที่น่าสนใจ อยู่ประเด็นหนึ่ง
ในยุคที่อะไรๆก็ปรับแต่งได้ตามใจคุณ ประโยคที่คุ้นหูเรา คือ "มันทำให้ชีวิตของคุณง่ายขึ้น..."
ความหมายข้างต้นคงเป็นคำจำกัดความของคนยุคนี้ที่อะไรๆก็ตามใจคุณ
เพราะมันหมายถึง "ทำในแบบที่คุณเป็น หรือ เป็นตัวตนของคุณ"
และจะเกิดอะไรขึ้นถ้าซอฟ์ตแวร์ที่ควบคุมกล้องสามารถปรับแต่งได้ตามใจคุณ แบบ Customize
"... ... ... มันคงจะดีขึ้น ที่จะเปิดโอกาสให้เราได้สร้างสรรค์งานมากขึ้น "
และมันหมายถึง เวลาว่าง พวกเราจะทำทดสอบ สีของตัวเอง ความชัดของตัวเอง ความเข้มของไฟล์ตัวเอง
และอีกอย่างมันคงจะแปลกพึลึกที่เราจะมาคุยกันว่า เฮ้ย!! ...นายขอก็อปหน่อยดิ มึ...ทำยังงัยให้ได้สีนี้หรือแบบนี้
ทั้งที่ในความจริงแล้ว สิ่งที่เราเห็น มันเป็นปัจเจกสุดๆ ...แบบที่ลอกกันไม่ได้ (ไม่ควรลอก)
ที่ทำให้ตายอย่างไรก็ไม่มีทางเหมือนกัน
และที่สำคัญคือไม่ต้องรอ ว่าผู้ผลิตจะอัพให้หรือยังน้า.......?
เวอร์ชั่นนี้มีกราฟเสียงหรือยัง..........................................?
ขอหน่อยเหอะ..............................................................?
(เหมือนที่ผมต้องคอยตามลุ้นว่าเวอร์นี้แคนนอนเพิ่มListเลนส์ให้หรือยัง)
(หรือBMPCC ใส่เวลาในการบันทึกให้หรือยัง .............อะไรประมาณนี้)
เท้าความตามเดิม
นี่อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ล่าสุด เพราะเราเองก็มี Software Magic Lantern
ที่เป็นเครื่องมือในการอัพเกรด เฟริมแวร์ มาช้านาน...
ที่เราเอาไว้ใช้แหกกฏเกณฑ์ของผู้ผลิตกล้อง ที่บังคับให้ทำตามสิ่งที่เค้ากำหนด
แต่ด้วยการที่มันต้องทำงานภายใต้วัสดุและชิ้นส่วนที่ค่ายจัดทำ ทำให้มันไม่ค่อยเสถียร
มีบัคที่ต้องคอยเลี่ยงการใช้งาน ทั้งเปิดปิดใหม่ ห้ามแต่งนู้นนี่ กล้องค้าง เมนูลอย
ไปจนถึงความร้อนของเซ็นเซอร์และการ์ดที่เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว
พอเอาเข้าจริงๆ ผมเองก็ขอใช้แบบธรรมดาดีกว่า เพราะถ้ามา Error หน้างาน
พาลซวยซ้ำซ้อน กล้องพัง ลูกค้าตำหนิ เลี่ยงไว้ให้ห่างเถอะ
ใครลงแล้วไม่เป็นถือว่าโชคดีมากครับ แต่บางคนที่เป็นทำให้งงเหมือนกัน (ทั้งๆที่รุ่นด้วยกันซะด้วย)
"AXIOM Beta: The first open digital cinema camera"
ข่าวนี้ประเด็นมันอยู่ที่ว่ากล้อง AXIOM แห่งค่ายผู้ผลิตหน้าใหม่นาม Apertus
มีความคิดว่ากล้องเป็นเหมือนคอมพิวเตอร์ ที่สามารถใส่อะไรไปก็ได้
เหมือน Platform ใน Window - OS - Linux
ความต่างนี้จะสร้างสรรค์อะไรเป็นสิ่งที่เราต้องติดตามกันต่อ เพราะสิ่งผมพูดไปอาจจะไม่ใช่แบบนี้
หรือแบบนี้ก็ถือเป็นเรื่องดี ที่เราจะได้หาโหลด ปลั๊กอิน ให้กล้องได้ด้วย 555....
เมื่อดูตั้งแต่เริ่มจนจบ
ตอนแรกที่เห็นกล้องตัวนี้ "ผมนึกถึง.....พู่กันครับ"
อุปมาอุปไมย "คนเขียนภาพใช้พู่กันที่ตัวเองประดิษฐ์ขึ้น วาดรูป" เพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง
คนถ่ายภาพวิดีโอย่อมเลือกสไตล์ของตัวเองได้เช่นกัน
กล้องก็เหมือนพู่กัน คนทำงานย่อมเลือกได้ หรือทำอะไรต่างๆด้วยตัวเองสิ...
งานถึงจะมีเอกลักษณ์ ความเป็น Personel ของตัวเองเด่นชัดมากขึ้น มีสไตล์ที่เป็นของตัวเอง
และเมื่อดูสเปคของมันก็น่าสนใจในหลายแง่มุม
ด้วยความละเอียด 4K ถ่ายและบันทึก / มีภาพนิ่ง RAW File 4 K / 4:4:4 / บันทึกแบบแยก
ใช้เลนส์ได้หลายประเภททั้ง Canon Nikon M43 และสรรพคุณอื่นอีกมากมาย ทำให้มันน่าสนใจมากขึ้น
นี่เป็นสเป็คของกล้องรุ่นเล็ก
(ใครที่เคยอ่านบทความผมมาก่อนหน้านี้ ผมได้ลงเรื่องรายละเอียดของขนาดเซ็นเซอร์ และ crop factor ของแต่ละรุ่นแล้ว
หาอ่านเพื่อสร้างความเข้าใจอีกทีนะครับ)
รุ่น Truesense KAC12040
Diameter 4/3”
Resolution 4000x3000
max. Frame Rate 70 FPS
Shutter Type Global / Rolling (switchable)
Dynamic Range 12 F-stops (Rolling Shutter) 9.3 F-stops (Global Shutter)
Crop Factor 2.0
แค่เริ่มต้นก็น่าสนใจไม่น้อยกับ Resolution 3.95k (อันนี้ผมตั้งเอง ด้วยความที่เลขไม่ลงตัวนะครับ)
และ Crop Factor แค่ 2.0 เอาล่ะสิ!!! แน่นอนว่าค่ายดังต่างๆและค่ายอิสระ น่าจะสะดุ้งกันพอตัว
ด้วยราคาแค่นี้ครับ 1,900.00 EUR = 79,443.80 THB
หา!! อะไรนะ 79,443.80 ตีซะว่า แปดหมื่น กับสิ่งที่ได้ก็โอแล้ว
ส่วนรุ่นใหญ่ก็ตามนี้เลย
รุ่น Cmosis CMV12000
Diameter Super35/APS-C
Resolution 4096x3072
max. Frame Rate 300 FPS
Shutter Type Global
Dynamic Range 10 F-stops, up to 15 F-stops (HDR)
Crop Factor 1.6
ข้อมูลทั้งหมดที่เห็นนี้เป็นข้อมูลที่อยู่ในเว็บของเค้า ยังไม่เห็นตัวจริงๆแต่ปราการใด
แต่ถ้ามันเป็นจริงขึ้นมาล่ะก้อ นี่จะเป็นการทุบหม้อข้าว ยี่ห้อดังๆอย่างแน่นอน
ด้วยราคา 96,168.81 บาท ตีซะว่า หนึ่งแสน ความสามารถเหนือๆกว่าในระดับราคาใกล้ๆกัน
เพราะรุ่นนี้ถ่าย สโลว์เนียนๆ ไม่แพ้ใครในโลกเช่นกัน
แต่ทั้งหมดนี้ยังอยู่ในขั้นการวิจัยที่รอการสนับสนุนอยู่ในเว็บนี้
AXIOMและเค้าขอเงินช่วย 350ยูโร จึงจะได้ราคาตามที่ว่านี้นะครับ
อนาคตจะเป็นอย่างไรต้องติดตามกันต่อไปตามได้ในเว็บหลักนะครับ
https://apertus.org/opensource ภาพตัวอย่าง