สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 4545เข้าชม
  • 6ตอบกลับ

คำอธิบายของ ตัด field

โพสต์
1036
เงิน
21774
ความดี
14792
เครดิต
14177
จิตพิสัย
24522
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

ผมขออนุญาตนำมาจากเว็ปอื่นะครับซึ่งพออ่านแล้วรู้สึกว่า รู้เรื่องและได้ประโยชน์เลยอยากเอามาให้คนในนี้อ่านด้วยครับ ^^ ถ้าเห็นไม่สมควรยังไงลบได้เลยนะครับ

อ้างอิงจาก http://www.kakazz.com/blog/2007/07/17/cut-interlacing-after-effect/


"ตัด Field" อาจจะเป็นคำศัพท์เฉพาะในห้องตัดต่อ ลักษณะของภาพที่ติดฟิลด์ มันจะมีลักษณะภาพเป็นแบบนี้ครับ (ภาพด้านบน) โดยทั่วไปในการแสดงภาพของโทรทัศน์ทุกภาพ (Frame) ที่เราเห็นจะมีการแสกนเส้นสองรอบด้วยกัน คือ เส้นคี่ และ เส้นคู่ โดยมันจะเริ่มแสกนจากซ้ายไปขวา แล้วก็จากบนลงล่างสลับกันไปในระยะเวลาที่เร็วจนเรามองไม่เห็นโดยในระบบ PAL การแสกนเส้นคี่ เรียกว่า Upper field ส่วนเลขคู่เรียกว่า Lower field ส่วนในระบบ NTSC จะสลับกันกับระบบ PAL คือ การแสกนเส้นคี่จะเรียกว่า Lower field ส่วนเลขคู่จะเรียกว่า Upper field

ต่อจากนี้ผมขอยกบทความมาเลยแล้วกันนะครับเค้าได้อธิบายถึงเรื่อง interlacing ได้ละเอียดมาก (กลัวว่าเผื่อวันนึงบทความนี้จะหายไป)
/// ที่มา :
http://www.thaimisc.com/freewebboard
..ในการแสดงภาพของโทรทัศน์
ทุกภาพ (Frame) ที่เราเห็น
มีการการ แสกนเส้น สองรอบ ด้วยกัน
คือ เส้นคี่ และ เส้นคู่
มัน จะ ไขว้ กันอยู่
ภาษา ฝรั่ง เรียกว่า มัน "Interlace" กัน
(จำคำว่า Interlance ไว้ให้ดี)

วิธีการแสกนภาพ สองครั้งนี้
จะเริ่มจาก ซ้าย ไปขวา
และ จาก บน ลง ล่าง
แสกนจน สุดจอด้านล่าง
ได้ ฟิลด์ ที่หนึ่ง
แล้วจะ ตวัด กลับ
ขึ้นไป แสกน อีกรอบ
รอบนี้ จะ แทรกเส้น เข้าไป
ระหว่างเส้น ของ ฟิลด์ ที่หนึ่ง
จะได้ ฟิลด์ ที่สอง ตามมา

ถ้าลำดับในการแสกนครั้งแรก
คือ 1,3,5,7,9..
ครั้งที่สอง ก็คือ 2,4,6,8,10..
นี่คือ..ฟิลด์ หนึ่ง และ ฟิลด์สอง
บางที่เรียกว่า ฟิลด์คู่ ฟิลด์คี่
บางที่เรียกว่า Upper, Lower

ในชีวิตประจำวัน มันแสกนเร็วมาก
จนสายตาเราจับไม่ทัน ว่ามันมีสองฟิลด์
อยากเห็นว่า สองฟิลด์ เป็น อย่างไร?
ให้ลองเล่นวิดีโอเทป แล้วกดปุ่ม Pause
เพื่อให้ภาพหยุดนิ่ง ๆ
จะเห็นว่า มันไม่นิ่ง อย่างต้องการ
ภาพมันจะสั่น ๆ เต้น ๆ
นั่งคือ เรากำลังเห็น ทั้ง ฟิลด์
คือ คี่ และ คู่
กำลังแสกนไขว้สลับกันไปมา นั่นเอง

**หนึ่งภาพ ของ วิดีโอ นั้น
มันมี สองฟิลด์ ที่ ไขว้ กันอยู่**
ภาพวิดีโอ แบบ ที่ มีสองเส้นไขว้กัน นี้
เรียกว่า "Interlace Video"
(เจอคำนี้ อีกแล้ว!)

ภาพวิดีโอ ที่ออกอากาศทาง ทีวี
ภาพวิดีโอ จากม้วน แอนะลอก
ภาพวิดีโอ จากแผ่น ดีวีดี
เป็น "Interlace Video"

คำตรงข้ามกับ Interlace Video
คือ
DeInterlance
ลักษณะของ ภาพ แบบนี้ คือ
หยุดภาพนิ่ง ๆ แล้ว จะ ไม่เต้น
มันมีวิธีทำให้เป็นอย่างนี้ หลายทางด้วยกัน
เช่น
- กล้อง ดีวี รุ่น Cannon XL-1S
มีโหมด ในการถ่ายแบบ Progessive-Scan
ถ้าปรับโหมดในการถ่ายแบบนี้
ภาพที่ได้ จะเป็น แบบ DeInterlance Video
- แผ่นวีซีดี ทุกแผ่น มีภาพเป็นแบบ
DeInterlance Video ทั้งสิ้น
(มันทำตามข้อกำหนด ในสมุด เล่มสีขาว)
ดังนั้น โปรแกรม เข้ารหัส ทุกโปรแกรม
จะต้องมีขั้นตอน ในการ ลด ฟิลด์ จาก
สองฟิลด์ ให้เหลือ แค่ หนึ่ง ฟิลด์ เสมอ
เช่น การทำวีซีดีคุณภาพสูงของชมรมฯ
ใช้สมการ Bob ของ BenRudic ในการ
จัดการ กับ ฟิลด์ ให้เป็นแบบ DeInterace

ตัวอย่างภาพแบบ DeInterace ที่พบเห็น
ในชีวิตประจำวันคือ ภาพ ในโรงภาพยนต์
ภาพที่เห็นนั้น เป็นแบบ DeInterrace
โชคไม่ดี ที่ ไม่เคย มีคนฉายหนังคนไหน
หยุดภาพ นิ่ง ๆ ให้ เรา ได้ดูกันเลย
ถ้าจะอธิบาย ตามความรู้สึก
ภาพมันจะ แบน ๆ ด้าน ๆ (อธิบายยาก)

การเรนเดอร์ภาพวิดีโอ ให้เป็นแบบ DeInterace
บางครั้งมีศัพท์เรียกกันในห้องตัดต่อว่า
"ถอดฟิลด์"
โปรดิวเซอร์บางคนบอก
ช่วยทำ "ฟิล์มลุ๊ก" ให้หน่อยซิ
เรา นักตัดต่อ ก็ต้องขานรับว่า
"ได้ขอรับ" แล้ว "ลงมือ"
นักเทคนิคอย่างกระผม เรียกว่า
การทำ Interlace Video
ให้เป็น DeInterlace Video
..ฟังดู ไม่รู้เรื่องดี!..

การลำดับฟิลด์ ที่หนึ่ง และ สอง ผิดพลาด
ทำให้ เกิดภาพ อย่างที่ เจ้าของกระทู้ พบมา
สาเหตุ ของความผิดพลาดนี้ เกิดจาก

กรณีที่หนึ่ง
ฟิลด์แรก ของ ม้วน วิดีโอ เทป
ไม่ตรงกับฟิลด์แรกของ การ์ด จับภาพ
เช่น ตอนถ่ายมา เริ่ม ต้นด้วย คี่
แต่การ์ดจับภาพ เริ่มต้นที่คู่
หลังจาก แคปเจอร์ ภาพ ลงฮาร์ดดิสก์แล้ว
ผลที่ได้ ภาพ จะ กระตุก ตึ๊ก ๆ ๆ ๆ
(อธิบายลักษณะของภาพ เป็นตัวหนังสือ ยาก จริง ๆ)

กรณีที่สอง
การตั้งค่าในการ เรนเดอร์ภาพ จาก โปรแกรม 3D
ไม่ตรงกับ ลำดับฟิลด์ ของ โปรแกรม ตัดต่อ
เมื่อ อิมพอร์ต ภาพนิ่ง จาก 3D
มาเรียงบนไทม์ไลนน์แล้ว
ภาพ จะ กระ ตุก ตึ๊ก ๆๆๆๆๆๆ

กรณีที่สาม
มีการปรับสปีดคลิป บนไทม์ไลน์
ให้ เป็นภาพ ลักษณะ ย้อนกลับ (-100)
ถ้าลำดับ ฟิลด์ ยังเหมือน เดิม
เช่น เป็น คี่ คู่ คี่ คู่ ... (เริ่มด้วยคี่)
พอถอยภาพแบบกลับหลัง
ภาพจะ กระตุก ตึ๊ก ๆๆๆๆๆ
จึงต้อง ลำดับ ใหม่ ให้เป็น
คู่ คี่ คู่ คี่..(ให้เริ่มด้วยคู่แทน)

**คำสั่งในการแก้ไปปัญหา
ของ ทั้ง สามกรณี ข้างต้น คือ
Reverse Filed Dominance**
พรีเมียร์จะทำการ ลำดับ ฟิลด์ ใหม่
เมื่อใช้คำสั่งนี้แล้ว
ถ้า
ของเดิม เริ่มด้วยคู่ ของใหม่ จะเป็น คี่
ถ้า
ของเดิมเริ่มด้วย คี่ ของใหม่ จะเป็น คู่
หลังจากใช้คำสั่งนี้แล้ว
เคาะปุ่ม Enter
สั่งให้โปรแกรมเรนเดอร์
จะได้ภาพ กลับมา ปกติ ดังเดิม

นอกจากนี้ในโปรแกรมพรีเมียร์
คำสั่ง Video Options > Field Options.
ยังมี ทางเลือกในการปรับ ฟิลด์
ที่ใช้กับ ภาพ วิดีโอ
ในสถานการณ์ ที่แตกต่าง กัน ไป ดังนี้

1. เลือก Non ถ้าไม่ต้องการให้พรีเมียร์
จัดการ ใด ๆ เกี่ยวกับ ฟิลด์ เลย

2. เลือก Interlace Consecutive Frames
กรณีที่ต้อง การเรียง ภาพกราฟฟิก นิ่ง ๆ
ที่สร้างจากโปรแกรม ทำ แอนิเมชัน
เพื่อให้ได้ภาพแบบ Interlace แบบ วิดีโอ ทั่วไป
เช่น เมื่อ คุณสร้างภาพเคลื่อนไหว จาก
โปรแกรม 3DMAX
คุณต้อง เรนเดอร์ ให้ได้ ภาพนิ่ง จำนวนมาก
แล้วนำภาพมาเรียงกันบนไทม์ไลน์ พรีเมียร์
เพื่อเรนเดอร์ออกไปเป็นวิดีโอ
ทีนี้ ถ้าต้องการวิดีโอแบบ Interlance
ต้องเลือก ออพชั่น
Interlace Consecutive Frames
ภาพที่ได้ออกมา หลังจากเรนเดอร์แล้ว
จะเป็นแบบ Interalace Video ครับ
ในทางปฏิบัติ ถ้า ทำ แอนิเมชัน 1 วินาที
แทนที่จะทำมาแค่ 25 ภาพ ก็ให้ทำ มา 50 ภาพนะครับ
โปรแกรมพรีเมียร์จะคำนวณ 50 ภาพ ให้เหลือ หนึ่ง วินาที
และจะปรับให้เป็นแบบ Interlance ในที่สุด

3.เลือก Always Deinterlace ถ้า
คุณต้องการ ปรับ ให้เป็น ภาพแบบ Deinterlace
โดย โปรแกรม จะทำการ เลือก ฟิลด์ ใด ฟิลด์ หนึ่ง
และ กำจัด ฟิลด์ ที่เหลือ ทิ้งไป
และ สำเนาฟิลด์ ที่คัดไว้ แทรกแทนส่วนที่ตัดไป
ตรงนี้ จะไปสัมพันธ์ กับ การตั้งค่า ฟิลด์ ใน
Project Setting ด้วยนะครับ
ถ้าตรงนั้น ตั้งค่า เป็น Upper
มันจะเลือก ฟิลด์ บน ไว้ และ ตัดฟิลด์ ล่าง ทิ้งไป
ในทางกลับกัน ถ้าเลือกแบบ Lower
มันจะ...(เติมเองนะครับ ถือว่าช่วยกัน ทำมาหากิน)
**ตัวอย่างการเลือก ออพชั่นแบบนี้ เช่น**
เมื่อต้องการ ฟรีท ภาพ (แช่ภาพนิ่ง ๆ ไว้)
คุณจะพบว่า ละครหลังข่าว ตอนจบ ชอบทำกัน
คือ แพนกล้องไปที่หน้านางเอก แล้วแช่นิ่ง ๆ
จากนั้น ๆ ค่อย ๆ เฟด หาดำ
แล้วตัวหนังสือ ก็จะเลื่อน ตามออกมา
แล้วเพลงก็ร้อง .."รักเธอจนเหนื่อยหัวใจ"..
(รู้สึกจะนอกเรื่องไปแล้ว กลับมาดีกว่า)
ถ้าคุณเป็นนักตัดต่อด้วยโปรแกรมพรีเมียร์
ใครมาบอกว่า ต้องการ ภาพ อย่างที่ว่านี้
คุณต้อง Export ภาพสุดท้าย เป็น ภาพนิ่งก่อน
แล้ว Import เข้ามาใหม่อีกครั้ง
แล้วยกภาพนิ่งนั้น ไปต่อที่ท้ายคลิปวิดีโอ
เป็นภาพหน้านางเอกแช่นิ่ง ๆ ไว้
แล้วค่อย ๆ เฟดลง โดยการยกไปวางที่ V2
พร้อม ดึงเส้นสีแดง ให้เอียงลงมาติดพื้น
คุณจะพบว่า ภาพมันไม่นิ่ง อย่างที่ต้องการ
มันจะกระตุก ตึ๊ก ๆ ๆ ๆ ๆ
ถ้าคุณได้อ่านข้อความนี้แล้ว
ให้ใช้ ออพชั่น Always Deinterlace
กับภาพประเภทนี้
"แล้วทุกอย่างจะดีขึ้นเอง"

4.เลือก Flicker Removal
กับภาพประเภทที่เป็นเส้นผอม ๆ มาก ตามแนวขวาง
เวลาที่วิดีโอแสกนเจอภาพ ประเภทนี้
มันจะ แสกนเจอแค่เส้นเดียว เท่านั้น
อีกเส้นที่เหลือ แสกนไม่เจอภาพ
ลักษณะภาพ...
มันจะ แว๊บ ๆ (อธิบายยากอีกแล้ว)
ภาพแบบนี้ ท่านประธาน
จะลองถ่ายมาเป็นตัวอย่างก็ได้นะครับ
ตอน เฮลิคอปเปอร์ จะขึ้น
ให้ถ่ายตรงใบพัดมัน ตรงนั้น แหละ!
แล้วแคปเจอร์ภาพนั้นเข้ามา
ครับ! ทีนี้ ท่านจะได้ใช้
Flicker Removal แล้ว!
เมื่อไรก็ตาม เห็นภาพ แว๊บ ๆ (Flicker)
ให้นึกถึง "Flicker Removal"
กลไกในการคำนวณของพรีเมียร์
มันจะสร้างฟิลด์ที่ไม่สามารถแสกนได้ขึ้นมา
และทำการ เบลอเข้าหา กับ ส่วนที่มีอยู่

สุดท้ายแล้ว...
สำหรับเรื่องของ Filed Options
ให้ท่านคลิกเลือก
Deinterlace When Speed is Below 100%
พรีเมียร์จะพยายามปรับภาพให้ดูดีที่สุด
เมื่อเรา ทำ สโลวโมชั่น (ปรับสปีดต่ำกว่า 100)
มันจะทำอย่างอัตโนมัติ
ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้น
มันจะจัดการกับฟิลด์
เพื่อให้ภาพ สโลว นุ่มนวล ที่สุด
..พึงระลึกไว้ว่า..
ทุกครั้งที่ภาพวิดีโอช้าลง จากเดิม
แสดงว่า มันมี จำนวนภาพ เพิ่มเข้ามา
ภาพเดิม ๆ ที่เคยแสดงครั้งเดียว
อาจถูกสำเนาให้แสดงมากกว่า หนึ่งครั้ง
ภาพเดิม มาต่อ ด้วยภาพเดิม นาน ๆ เข้า
จะทำให้สายตาเรา เริ่ม สังเกตุ เห็นว่า
มันมีภาพกำลังไขว้กันอยู่นะ (เต้น ๆ)
พรีเมียร์ มีวิธีการจัดการกับภาพ สโลว์
ด้วยการคลิกที่ช่อง
Deinterlace When Speed is Below 100%

..จบแล้วครับ ขอบคุณที่อ่านจนจบ..
การอธิบายเรื่อง ฟิลด์ ด้วย ตัวอักษร เป็นเรื่อง ยากพอสมควร
คิดว่า..
คงพอเป็นแนวทางสำหรับเจ้าของกระทู้ และ ผู้สนใจนะครับ

"ขอให้สนุกกับการปรับฟิลด์ครับ"
บันทึกคะแนนนี้โพสต์ล่าสุด: รวม 1 คะแนน ซ่อน
nunaz เงิน +1 2010-10-29 เป็นประโยชน์สำเราชาว TDF มากครับ
ระดับ : สมาชิก III
โพสต์
33
เงิน
365
ความดี
631
เครดิต
694
จิตพิสัย
343
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เยี่ยมไปเลยครับ
โพสต์
1168
เงิน
213
ความดี
29205
เครดิต
30232
จิตพิสัย
35008
จังหวัด
ขอนแก่น

อ่านจบรอบแรก งงดี เดี๋ยวหายงง มาอ่านใหม่ต่อ
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
486
เงิน
8610
ความดี
6138
เครดิต
5733
จิตพิสัย
5409
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

ยอด
โพสต์
1215
เงิน
27382
ความดี
25465
เครดิต
27374
จิตพิสัย
30396
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 4#  โพสต์เมื่อ: 2010-10-29
เป็นเรื่องที่ งง ตั้งแต่ตอนเรียน แต่ตอนนั้นคิดว่ามันไม่สำคัญ เลยไม่ได้ใส่ใจจะถาม หรือสนใจมัน

แต่ตอนนี้ อยากจะกลับไปถามมาก

ขอบคุณสำหรับ บทความครับ
โลกใบนี้ไม่มีโดเรมอนเราจึงไม่ควรทำตัวเหมือนโนบิตะ
ระดับ : สมาชิก V
โพสต์
115
เงิน
3729
ความดี
3438
เครดิต
3457
จิตพิสัย
3702
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 5#  โพสต์เมื่อ: 2010-10-29
ขอบคุณครับ ที่เอาความรู้ดีๆมากฝาก เยี่ยมมากครับ.
ระดับ : สมาชิก IIII
โพสต์
51
เงิน
2258
ความดี
1174
เครดิต
1099
จิตพิสัย
1244
จังหวัด
ศรีสะเกษ

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 6#  โพสต์เมื่อ: 2010-10-30
ได้ความรู้อีกแล้ว...เคยสงสัยว่า Upper field fist / Lower field first /Progressive scan. มันคืออะไรน๋า..กระจ่างครับ

ขอบคุณครับกับสิ่งดีๆที่นำมาฝาก
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้