มาเสริมให้คุณ Ice
หลักการภาพ สามมิติ ฝรั่งเค้าเรียก สเตอริโอสโคป โดยการใช้หลักการของสายตาสองข้างที่มองเห็นเหลื่อมล้ำกันนิดหน่อย
เมื่อก่อนที่ภาพหนังสามมิติจะเป็นสีน้ำเงิน สลับกับแดง เพราะเค้าแยกให้ตาสองข้างมองภาพที่ซ้อนกันอยู่หน่อยๆ
เมื่อภาพที่มีระยะซ้อนกันใกล้ๆ มาฉายด้วยย่านแสงที่สลับกัน มันจำเกิดการแปรภาพเป็นสามมิติ
ภาพที่เรามองบนจอจะมีแค่ แนวตั้ง (แกน X) และแนวนอน (แกน Y)
แต่ตาเรามองเห็นเป็นสามมิติ ซึ่งจะมีแกน Z อยู่ด้วย

ตัวอย่าง

ภาพนิ่งแบบ วิคเคิล

ภาพสามมิติแบบ บลู-เรด
และนี่เป็นจุดเริ่มต้นของการฉายหนังสามมิติในปัจจุบัน
ถ้าพูดถึงหลักไมล์ คงต้องพูดถึงอวตารว่า เค้าทำยังไงภาพมันถึงนูนมีมิติขนาดนั้น
เครื่องฉายปัจจุบันที่เราดู ไม่ได้ใช้เลนส์แว่นสองสี แต่เป็นการฉาบสาร (ผมจำไม่ได้ เดี่ยวมาเขียนเพิ่มให้) โดนจอฉายหนังจะฉายความเร็วภาพอยู่ที่ราวๆ 110 เฮิรืซ ภาพจะซ้อนกันเป็นเส้นๆ เล็ก (ซึ่งถ้าลองถอดแว่นจะเห็นว่าหนังมันเบลอๆ) และสารที่ฉาบจะแยกสีสองข้างให้ดวงตาแต่ละข้าง นำไปประมวลผลต่อ ทำให้เกิดเป็นภาพสามมิติ
หลักการทำ
เท่าที่ผมศึกษามา มันมีสองแบบครับ กับหนังคนเเสดง
1. กระบวนการคอนเวิร์ต -- ถ่ายมาเป้นสองมิติแล้วไปแปลง ซึ่งมันจะไม่ได้มิติเท่าที่ควร แต่....ปัจจุบันมีข่าวมาว่า ทำได้เทียบเท่ากับอวตาร (รอคอนเฟิร์มข้อมูลว่าเรื่องไหนมั่ง)
2. ถ่ายด้วยกล้องสเตอริโอสโคป -- ตอนนี้มีพานาโซนิกทำมาขายแล้ว แต่คนละแบบกับที่ถ่ายหนัง ซึ่งกล้องตัวนี้จะต้องมี มิเรอร์ริกสำหรับการเซ้กค่าให้กล้องถ่ายคนออกมาเป้นสามมิติ (ลองหายูทูปดู - avatar making of - จะเห็นกล้องมันจะมีเลนส์คู่ )
ถ้ากับแอนิเมชั่น
แอนิเมชั่น เดี๋ยวนี้เป็นสามมิติหมดครับ เพราะแอนิเมชั่นมันผลิตด้วย 3d อยู่แล้ว
วิธีทำก็ง่ายแสนง่าย แค่อยู่ในขั้นตอนสั่งเรนเดอร์ออกมา (ผมใช้มายา มันจะอยู่ใน Render setting แต่ไม่มีจอ 3d ให้ลอง)
ลองสังเกตุดูว่าแอนิเมชั่นทุกเรื่อง มันเป็น 3d หมดแล้วครับ
ถ้ายังไง จะเอาคลิปและหลักการมาแปะเพิ่ม ตอนนี้เขียนจากในหัว ซึ่งอ่านมาจาก
wikipediaประวัติหนัง 3d และอ่านจากฟิล์มแม็กฉบับธันวาคม 53 (หน้าปกทรอน เลกาซี่)
ซึ่งอนาคต กระบวนการคอนเวิร์ตจะนำหนังคลาสสิกเก่าๆ อย่าง ไททานิก สตาร์วอร์ส เมทริกซ์ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ กลับมาฉายใหม่ในรูปแบบ 3D
ซึ่งแน่นอนครับ ช่วงนี้ใครกำลังหาวิธีทำ แนะนำทำเลยครับ หาอุปกรณ์มา เพราะในอนาคต หรังไทยจะต้องสนใจทำแน่นอน (โดยเฉพาะซัปสำหรับหนังสามมิติ)
[ แก้ไขล่าสุดโดย impeus เมื่อ 2011-01-10 00:16 ]