จุดสังเกตุเพิ่มเติม เป็นเรื่องของการต่อเหล็ก-เข้ามุม เพื่อให้ได้ 1) ความแข็งแรง-มั่นคง 2) ความเรียบร้อยสวยงาม (โดยไม่เข้าไปพูดถึงเรื่องการออกแบบ) ...
จุดที่ 1) ควรจะตัดเหล็กให้ได้รูป เพื่อให้เข้ามุมได้สนิท แล้วเชื่อมโดยรอบ ... ของเดิมจะเห็นว่าเอาเหล็กมาชนง่าย ๆ แล้วเชื่อมแต้มบาง ๆ ไว้แค่สองจุด สักประเดี๋ยวก็หลุด ...
จุดที่ 2-3-4 และจุดอื่น ๆ ที่มีลักษณะเดียวกัน ... ถ้าอยากจะให้แข็งแรงจริง ๆ เวลาต่อเหล็ก ควรบากเข้าไป (ให้ดีควรบากทั้งคู่) เพื่อเพิ่มพื้นที่สัมผัสกันของเหล็กทั้งสองชิ้น แล้วเชื่อมแนวโดยรอบ ... นอกจากความแข็งแรงแล้ว ยังได้เรื่องการกระจายแรง ภาระไม่ไปตกอยู่ที่จุดเชื่อมมากเกินไป (ซึ่งถือเป็นจุดเปราะบางที่สุดเมื่อเทียบกับเหล็กทั้งชิ้น) ช่วยเพิ่มความมั่นคงของตำแหน่ง ...
จุดอื่น ๆ ก็เช่นเดียวกันครับ สามารถนำไปใช้ปรับปรุงได้ทุกจุดของเครนตัวนี้ ยกเว้นกรณีจุดหมุนไล่ลงไปถึงฐานที่ติดพื้นที่โพสต์ไว้ก่อนหน้านี้คงไม่สามารถใช้ตรงนี้ช่วยได้ เพราะเป็นจุดอ่อนที่เกิดมาตั้งแต่การออกแบบ ควรจะต้องพิจารณาเรื่องแบบใหม่เสียก่อน ...
อีกจุดก็เป็นเรื่องของน้ำหนัก ดูเหมือนไม่สำคัญ แต่เป็นเรื่องที่ต้องคิดคู่กันไปด้วย จุดไหนที่สามารถลดน้ำหนักได้โดยไม่กระทบถึงความแข็งแรงต้องทำ สักนิดสักหน่อยก็ต้องทำ ซึ่งมาได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการลดวัสดุ หรือ การเจาะ-ตัดเหล็กทิ้ง เพื่อให้เบาได้มากที่สุด ... ซึ่งหากเริ่มต้นคิดตั้งแต่ออกแบบจะช่วยลดน้ำหนักได้มากกว่ามาหั่นทิ้งในภายหลัง ...
จุดอื่น ๆ ลองดูเรื่องความฝืดของจุดหมุน-จุดเคลื่อนไหวต่าง ๆ เพราะถ้ามีมากมันจะไปมีผลกระทบต่อโครงสร้างโดยไม่จำเป็น รวมถึงการใช้งาน จุดไหนฝืดมากใช้ตลับลูกปืนช่วยได้ ... เรื่องของการให้ระยะตามจุดต่าง ๆ ภาษาเขมรเรียกเคลียร์แลนซ์ (Clearance) อย่าให้มีมาก เครนมันจะไม่นิ่ง ... เรื่องของการสร้างสรรค์ อันนี้สำคัญ ลองคิดต่อยอดจากของเดิม ให้ได้รูปลักษณ์ที่ต่างออกไป หรือให้ได้ฟังชั่นการใช้งานที่เพิ่มขึ้น สะดวกขึ้น หรือ ใช้ร่วมกันกับอุปกรณ์อื่นที่มีอยู่ได้ (เช่น ขาตั้งกล้องอะไรแบบนี้เป็นต้น) เพราะถ้าเราจบตรงนี้ก็เหมือนงานก๊อปเหมือนทั่ว ๆ ไป ไม่มีจุดสนใจ ...
ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าทำได้จากเครื่องไม้เครื่องมือเดิมที่มีอยู่ ไม่ได้ผลักดันอะไรที่เกินความสามารถแต่อย่างใด ส่วนสำคัญมันอยู่ที่การคิด ความปราณีตในงาน ความละเอียด รอบคอบ ที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น ...
ทีนี้จะเริ่มสังเกตุว่า หากต้องการให้ได้งานที่แข็งแรงและดูเรียบร้อยสวยงาม งานแมชชีนจะเริ่มเยอะขึ้นแล้ว (กลึง-กัด-ตัด-เจาะ ฯ) ใช้เวลาเพิ่มขึ้น ค่าไฟเพิ่มขึ้น เหนื่อยมากขึ้น แก้มากขึ้น ของเสียมากขึ้น ฯลฯ โดยเฉพาะหากต้องการให้ได้งานที่ละเอียดขึ้น ถูกต้องมากขึ้น (ระยะ+ฉาก) มากเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายจะมากขึ้นเท่านั้น (เพราะต้องใช้เครื่องมือที่เที่ยงตรงซึ่งแพง) ... ทีนี้คงจะทำให้เข้าใจแล้วว่า ของบางชิ้นเล็กนิดเดียว ทำไมราคาแพงจัง เพราะมันจะไปตีค่าแค่วัสดุค่าเหล็กอย่างเดียวไม่ได้ กว่าจะได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้น ๆ ซึ่งมีความแข็งแรง-เรียบร้อยสวยงาม-เที่ยงตรงต้องผ่านการแปรรูปมาหลายขั้นตอนด้วยเครื่องมือคุณภาพสูง ซึ่งตรงนั้นแพงกว่าค่าวัสดุหลายเท่านัก ...
[ แก้ไขล่าสุดโดย vfspostwork เมื่อ 2011-01-21 23:17 ]