สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 8673เข้าชม
  • 5ตอบกลับ

Matte Painting การวาดฉากผสม

ระดับ : สมาชิก III
โพสต์
23
เงิน
375
ความดี
326
เครดิต
187
จิตพิสัย
148
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เห็นหลายคนชอบวิชาการหน่อยๆ คราวนี้เลยลงลึกอีกนิดนึง หวังว่าคงสนุกกับมันนะครับ


Matte Painting คนที่ทำงานCGทุกคนคงรู้จักคำนี้ดี มันคือการเปลี่ยนฉากหลังบางส่วนในภาพยนตร์ด้วยการวาด,ประกอบ,หรือสร้างขึ้นใหม่ ด้วยวิธีการใดๆ เพื่อให้ภาพสมบูรณ์และสวยงาม ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบันเราจพทำมันด้วยคอมพิวเตอร์ แต่ในอดีต เขาทำมันบนกระจก



Norman O. Dawn (1884-1975) นักถ่ายภาพหนุ่มที่ได้เรียนรู้วิธีการแก้ฉากหลังจากบริฐัทที่เขาทำงานเป็นช่างภาพนิ่งให้ เรียกกันว่า Glass shots ในสมัยนั้น glass shots ก็เมือนโฟโต้ชอปของช่างกล้องที่สามารถ ลบ หรือเพิ่มเติมแก้ไขภาพได้ กระบวนการคือวาดรูปลงกระจกใสเพื่อแก้ไขฉากในส่วนที่ต้องการแต่เว้นบางส่วนที่ต้องการใช้ภาพจริง  และถ่ายผ่านกระจกไปหาวัตถุจริง เพื่อได้ภาพที่ต้องการลงบนฟิล์ม




ภาพจาก http://nzpetesmatteshot.blogspot.com/2010/11/leigh-took-matte-painter-portrait-of.html ลองเข้าไปดูจะมีรูป Glass shots หนังในอตีตหลายเรื่องทีเดียว

Dawn ได้หยิบเทคนิคนี้มาใช้ในงานภาพยนตร์เป็นรายแรกในเรื่องCalifornia Missions (1907) เขาทำงานด้านภาพยนตร์และใช้เทคนิคนี้เสมอๆ แต่บางครั้งการไปวาดรูปบนกระจกที่โลเกชั่นดูจะไม่ใช่เรื่องสะดวกนัก เพราะต้องใช้เวลาและความอดทนมาก เขาจึงพัฒนาเทคนิคใหม่ขึ้นมาเรียกว่า Original negative matte painting คือการทาสีดำลงบนกระจกในส่วนที่ไม่ต้องการแทนที่จะวาดรูป ซึ่งใช้เวลาน้อยกว่ามาก หลังจากถ่ายด้วยฟิล์ม ส่วนที่เป็นสีดำจะไม่มีภาพติด ซึ่งศิลปินสามารถวาดรูปต่อฉากได้จากในสตูดิโอ และนำมาถ่ายผสมกับฟิล์มที่ถ่ายมาแล้วภายหลัง ก็จะได้ภาพที่สมบูรณ์ ซึ่งหลายครั้งผู้สร้างก็ใช้วิธีถ่ายสองครั้งจากสองโลเคชั่น และนำมาผสมกันด้วยเทคนิคนี้



แต่ด้วยเทคนิค Original negative matte painting ยังจำเป็นต้องวาดรูปลงกระจก แม้จะเร็วกว่าเดิม แต่ก็ยังถือว่าไม่สะดวกด้านออกกอง การคิดวิธีทำMatte Painting จากฟุตดิบที่ถ่ายมาโดยไม่จำเป็นต้อง เสียเวลาวาดรูปหน้าเซทจึงถูกพัฒนา

Bi-pack contact matte printing เป็นเทคนิคใหม่ที่ช่วยให้การถ่ายทำแมทเพนท์ง่ายขึ้น เพราะผู้สร้างสามาถถ่ายทำฉากที่ต้องการได้โดยไม่จำเป็นต้องทำอะไรกับมัน แต่ขั้นตอนแมทจะมาอยู่ในสตูดิโอล้วนๆ



โดยขั้นตอนคือต้องล้างฟิล์มที่ถ่ายมาเพื่อมาฉายลงบนกระจกแล้วเพนท์ฉากที่ต้องการลงไป ก่อนนำมาถ่ายซ้ำสองขั้นตอนคือ หลังขาวหน้าดำ และหลังดำหน้าสีปกติ และเอาฟิล์มทั้งหมดมาประกอบกันด้วยการถ่ายซ้ำเพื่อได้งานไฟนอลที่สมบูรณ์

แม้ปัจจุบันเทคนิดเหล่านี้จะเลิกใช้กันไปแล้ว แต่นี่คือพื้นฐานงานคอมโพสิทที่ปัจจุบันยังใช้กันอยู่เพียงแต่เปลี่ยนรูปมาอยู่ในคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆเท่านั้น คนทำงานด้านนี้จำเป็นที่จะต้องรู้ที่มาที่ไปของขั้นตอนต่างๆอย่างถ่องแท้ จะช่วยให้การใช้โปรแกรมต่างๆเข้าใจได้อย่างชัดเจนมากขึ้น


ทิ้งท้ายกันที่หนังEarthquake(1974) เป็นหนังที่ดังมากในยุคนั้น และความสำเร็จของหนังเรื่องนี้คือการใช้เทคนิคแมทเพนท์ที่น่าทึ่งรวมถึงการฉายภาพด้านหลังที่เราจพได้คุยในรายละเอียดต่อไปในโอกาศหน้าครับ


โพสต์
1276
เงิน
25178
ความดี
37915
เครดิต
40757
จิตพิสัย
37283
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

อื้อหือ!!
ระดับ : สมาชิก III
โพสต์
34
เงิน
730
ความดี
848
เครดิต
807
จิตพิสัย
907
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
ดีมากเลยครับความรู้เนื้อๆแบบนี้น่าจะเผยแพร่กันมากๆ(นี่แหละของแท้).. ดีใจครับที่มีคนคุณภาพระดับนี้อยู่ในเว็ปนี้ด้วย ชื่นชมมากครับ
โพสต์
1858
เงิน
56103
ความดี
46498
เครดิต
51231
จิตพิสัย
52476
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร


ติดตามอ่านทุกตอนครับ
ได้ความรู้ดีๆเยอะเลยครับ.
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
267
เงิน
38
ความดี
3798
เครดิต
3974
จิตพิสัย
3833
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 4#  โพสต์เมื่อ: 2011-02-03
ได้รู้ที่มาที่ไปดีครับ...เพิ่มความรู้มากมาย..ขอบคุณครับ
nui
ระดับ : สมาชิก V
โพสต์
170
เงิน
4648
ความดี
3374
เครดิต
3257
จิตพิสัย
4434
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 5#  โพสต์เมื่อ: 2011-08-10
    
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้