สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 3146เข้าชม
  • 0ตอบกลับ

ตอนที่ 1ข้อมูลเรื่องของเสียง คุณสมบัติของไมค์

ระดับ : สมาชิก V
โพสต์
192
เงิน
407
ความดี
2401
เครดิต
1669
จิตพิสัย
1859
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
[font=&quot]เสียงสำหรับวิดีโอ
[font=&quot]            ในอดีตที่ผ่านมาเรื่องของเสียงในวงการโทรทัศน์ถูกมองข้ามโดยไม่ให้ความสำคัญมากนัก  ทั้งจากผู้ผลิตรายการเองและรวมไปถึงบริษัทโรงงานผู้ผลิตอุปกรณ์เองด้วย  โดยไปให้ความสำคัญกับส่วนของภาพมากกว่า  ด้วยการใช้อุปกรณ์ในระบบบันทึกเสียงราคาถูกหรือการใช้ลำโพงขนาดเล็กๆบนเครื่องรับโทรทัศน์เป็นต้น  แต่ทว่าอย่างไรก็ดีถ้าเราอยากทราบความสำคัญของเสียงที่มีต่อการผลิตวิดีโอแล้วแค่ลองปิดเสียงและพยายามติดตามเนื้อหาเรื่องราวจะพบว่าเป็นการยากที่จะติดตามชม   แต่ถ้าในทางตรงกันข้ามโดยการไม่ต้องมองภาพบนจอแต่เปิดเสียงตามปกติเราสามารถติดตามเรื่องราวได้   ดังนั้นเสียงย่อมมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าภาพเลยเพราะเสียงย่อมทำให้ภาพมีความสมจริงมากยิ่งขึ้น  มันทำให้ผู้ชมรู้สึกว่ามีส่วนร่วมและเสมือนอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย
[font=&quot]            ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาของเสียงในวงการวิดีโอลองทำความรู้จักกับคำศัพท์เรื่องเสียงที่พบกันบ่อยสักเล็กน้อยก่อนครับ
          Audio filters  [font=&quot]ใช้ทำหน้าที่ลดเสียงรบกวนเช่น เสียงการจราจร  เสียงเครื่องปรับอากาศ หรือเสียงในสภาวะแวดล้อมที่ไม่ต้องการ
[font=&quot]            Audio mixer [font=&quot] ใช้สำหรับการเลือก การปรับแต่งควบคุมเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงหลายแหล่งเข้าด้วยกัน  ทั้งนี้อาจรวมไปถึงวงจรไฟฟ้าที่ทำหน้าที่กรองเสียง  การควบคุมเสียงก้องหรือหน้าที่อื่นๆ
[font=&quot]            Bidirectional  microphone  [font=&quot]เป็นไมโครโฟนชนิดที่สามารถรับเสียงได้เท่ากันทั้งด้านหน้าและด้านหลังแต่จำกัดเสียงที่มาจากด้านข้าง(เป็นรูปเลขแปด)
[font=&quot]            Compressor/expander [font=&quot] ใช้เพื่อทำหน้าที่ลดหรือเน้นอัตราความดังที่แตกต่างกันมากๆ
[font=&quot]            Condenser microphone  [font=&quot]เป็นไมโครโฟนคุณภาพสูงที่สามารถลดขนาดให้เล็กลงได้และจำเป็นต้องมีแหล่งจ่ายไฟฟ้าด้วยแบตเตอรี่หรือจากเครื่องมิกเซอร์ขณะใช้งาน
[font=&quot]            Directional microphone  [font=&quot]ไมโครโฟนชนิดนี้สามารถรับเสียงเฉพาะทิศทางตรงจากด้านหน้าและจำกัดเสียงด้านอื่น
[font=&quot]            Dynamic microphone  [font=&quot]เป็นไมโครโฟนขนาดกะทัดรัดที่ใช้งานทั่วไปไม่จำเป็นต้องใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้า  ให้น้ำเสียงตามธรรมชาติ
          Handheld microphone  [font=&quot]เป็นไมโครโฟนแบบมือถือที่ผู้สื่อข่าวหรือนักร้องนิยมใช้กัน
[font=&quot]            Omnidirectional microphone  [font=&quot]เป็นไมโครโฟนชนิดที่รับเสียงได้รอบตัวมีระดับเท่ากันทุกทิศทาง
[font=&quot]            Shotgun microphone  [font=&quot]เป็นไมโครโฟนชนิดที่รูปแบบการรับเสียงเป็นทิศทางแคบแต่สามารถรับเสียงจากระยะไกลได้ดี
[font=&quot]            Graphic equalizer  [font=&quot]อุปกรณ์ชนิดนี้จะมีชุดของการปรับแต่งเสียงที่เลื่อนขึ้นลงได้หลายอันใช้เพื่อเพิ่มหรือลดเสียงที่ย่านความถี่ต่างๆตามต้องการ
          Limiter [font=&quot]เป็นอุปกรณ์สำหรับป้องกันเสียงที่อาจจะดังเกินไปและทำให้อุปกรณ์ที่ต่อเชื่อมเกิดความเสียหายหรือเกิดอาการเสียงเพี้ยนขึ้นได้  เป็นวงจรไฟฟ้าที่ทำหน้าที่ลดระดับของสัญญาณลงอย่างอัตโนมัติและควบคุมระดับของสัญญาณให้เป็นไปตามต้องการ
[font=&quot]            Patch panel/jackfield  [font=&quot]เป็นอุปกรณ์ที่มีช่องเสียบสัญญาณเรียงกันเป็นแถวที่มีทั้งสัญญาณขาเข้าและขาออกสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ในระบบเสียง
[font=&quot]            Preamplifier  [font=&quot]เป็นเครื่องขยายระดับของสัญญาณเสียงที่มีระดับต่ำมากๆเช่นไมโครโฟนให้อยู่ในระดับเหมาะสมเพื่อนำไปใช้งานหรือเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นได้
[font=&quot]            Stereo  [font=&quot]ระบบเสียงแบบสเตอริโอใช้วิธีการรับส่งและบันทึกเสียงแบบสองช่องทางเพื่อก่อให้เกิดมิติและทิศทางขณะรับฟัง
[font=&quot]            Surround [font=&quot]เป็นระบบเสียงที่มีมากกว่าสองช่องเสียงขึ้นไปเช่น 5.1 [font=&quot]ช่องหรืออาจเป็น 7.1 [font=&quot]ช่อง  เพื่อก่อให้เกิดเสียงรอบทิศทางอันเป็นการเพิ่มอรรถรสในการชมมากยิ่งขึ้น
[font=&quot]คุณลักษณะของเสียงตามธรรมชาติ
[font=&quot]            [font=&quot][font=&quot]ในโลกของสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราย่อมเต็มไปด้วยเสียงต่างๆมากมายและยากที่จะเชื่อว่าแต่ละเสียงนั้นประกอบไปด้วยรูปแบบของการสั่นสะเทือนที่ซับซ้อนประกอบกัน  และเมื่อนำเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงหลายแหล่งกำเนิดมารวมกันแล้วยิ่งก่อให้เกิดรูปแบบที่ซับซ้อนหลากหลายมากยิ่งขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นหูของเราเอง  หรือว่าเป็นแผ่นไดอะแฟรมของไมโครโฟนไปจนกระทั่งลำโพง  ทั้งหมดนี้ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำไปแปลความหมายของเสียงด้วยสมองของเราทั้งนั้น
[font=&quot]            การสั่นสะเทือนของเสียงที่เป็นรูปแบบอย่างง่ายที่สุดย่อมก่อให้เกิดรูปคลื่นชนิดไซน์เวฟและเราสามารถได้ยินเสียงประเภทนี้ที่เกิดจากซ่อมเสียง  ขลุ่ย  หรือเกิดจากตัวสร้างความถี่เสียง[font=&quot](audio oscillator) [font=&quot]การสั่นสะเทือนของเสียงด้วยความถี่ต่ำย่อมเกิดเสียงต่ำ  และถ้าการสั่นสะเทือนมีความเร็วมากยิ่งขึ้นย่อมได้ยินเสียงที่สูงตามไป  แต่ทั้งนี้ความสามารถของหูมนุษย์มีจำกัดอยู่ที่ไม่เกิน [font=&quot]20000 [font=&quot]ครั้งต่อวินาที  อัตราของการสั่นสะเทือนนี้มีหน่วยนับเป็นเฮิทซ์[font=&quot](hertz)
[font=&quot]          [font=&quot]การสั่นสะเทือนที่แรงมากขึ้นย่อมก่อให้เกิดเสียงที่ดังมากยิ่งขึ้น[font=&quot](amplitude)  [font=&quot]เสียงที่ดังเกินไปสามารถทำให้ผู้รับฟังปวดหูหรือเกิดอันตรายถ้าเสียงดังเกินขอบเขต
[font=&quot][font=&quot]            มีเพียงเสียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เกิดจากความถี่เดียวโดดๆ(fundamental)  [font=&quot]เสียงส่วนใหญ่ย่อมประกอบด้วยการผสมผสานเสียงที่ซับซ้อนหลายความถี่รวมกัน(harmonics or overtones) [font=&quot]คุณภาพของเสียงที่ดีย่อมขึ้นอยู่กับความเข้มของอัตราส่วนผสมหรือความเกี่ยวข้องกับเสียงที่ซับซ้อนหลากหลายความถี่รวมกันนี้
[font=&quot][font=&quot]
[font=&quot]
[font=&quot][font=&quot]            เสียงทีเกิดจากการพูด  หรือว่าเสียงของตัวโน้ตที่เกิดจากเครื่องดนตรีประเภทต่างๆสามารถตัดสินจากคุณภาพโดยรวมทั้งหมด  ถ้าหากว่าการตอบสนองของระบบเสียงไม่สามารถคลอบคลุมย่านความถี่ที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมด(อาจมีสาเหตุจากการใช้ตัวกรองเสียงหรือข้อจำกัดของตัวอุปกรณ์เครื่องมือเอง) ส่วนประกอบของเสียงทั้งหมดที่ได้รับย่อมถูกจำกัดตาม  ดังนั้นคุณภาพของเสียงที่ออกมาอาจผิดเพี้ยนทำให้เป็นการยากที่จะจดจำได้ว่าเป็นเสียงที่เกิดจากเครื่องดนตรีชนิดใด  
Acoustics
          เราแค่ทำการทดลองเปรียบเทียบระหว่างเสียงที่เกิดจากห้องอันว่างเปล่ากับห้องเดิมที่ได้มีการตกแต่งเครื่องเฟอร์นิเจอร์แล้วหรืออาจเป็นห้องที่เต็มไปด้วยผู้คนแล้วจะพบว่าสภาพของอคูสะติคส์ที่ต่างกันมีผลต่อความแตกต่างของคุณภาพเสียงอย่างไร  ทั้งนี้ถ้าหากว่าเรามีความเข้าใจถึงกฎเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของเรื่องอคูสะติคส์แล้ว เราก็ย่อมสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาของระบบเสียงที่อาจเพิ่มขึ้นขณะทำการผลิตรายการได้
            เมื่อคลื่นเสียงเดินทางมากระทบกับพื้นผิวที่แข็งเช่นพลาสติก  แก้ว โลหะ หรือผนังที่เป็นหินจะมีการถูกดูดซับเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  เสียงส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดจะสะท้อนกลับออกมาที่ระดับความดังใกล้เคียงกับเสียงดั้งเดิม  สภาพแบบนี้หมายถึงสภาวะแวดล้อมมีชีวิตชีวา(live) ตัวอย่างเช่นในห้องน้ำ  ห้องที่มีขนาดใหญ่เช่นในโบสถ์ย่อมก่อให้เกิดเสียงที่ก้องกังวานเพราะว่าคลื่นเสียงสามารถสะท้อนจากพื้นผิวด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งได้ง่าย  ทั้งเสียงดั้งเดิมและเสียงที่เกิดจากการสะท้อนจะผสมผสานกันให้เกิดอาการก้องกังวาน  อาการเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดผลกระทบถึงคุณภาพของเสียงทั้งหมดและเป็นเหตุสำคัญของการลดความชัดเจนลงไป  ในสภาวะแวดล้อมที่มีเสียงก้องกังวานมากๆอาจมีเสียงต่อเนื่องหลายวินาทีกว่าจะหยุด  ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับการออกแบบขนาดและมิติของห้อง  และตำแหน่งของแหล่งกำเนิดเสียงหรือตำแหน่งการวางไมโครโฟนรวมไปถึงย่านความถี่ใดๆที่มีผลแตกต่างกันด้วย
            ในขณะทีคลื่นเสียงตกกระทบกับพื้นผิวที่อ่อนนุ่มเช่นผืนพรม  หรือผ้าม่านแล้วพลังงานของมันบางส่วนจะถูกดูดซับไว้ที่ตัววัสดุเอง  พื้นผิวที่อ่อนนุ่มย่อมก่อให้เกิดสภาวะแวดล้อมแบบเสียงตาย(dead)ดังนั้นเสียงส่วนใหญ่จะถูกดูดซับเอาไว้ทำให้เสียงที่สะท้อนออกมาจากพื้นผิวนั้นๆน้อยและเบากว่าเสียงตั้งต้นมาก  นอกจากนี้เสียงที่มีความถี่สูงยังถูกกักเก็บไว้ก่อให้เกิดเสียงที่นุ่มนวลอ่อนหวานและมีความก้องกังวานน้อย
การแก้ไขสภาพแวดล้อมทางเสียง
            วิธีการแก้ไขห้องที่มีเสียงก้องเกินไป
            1 นำเอาไมโครโฟนไว้ใกล้แหล่งกำเนิดเสียงมากที่สุด
            2 แขวนผ้าม่านถ้าหากว่าสามารถทำได้
            3 เพิ่มด้วยผืนพรม
            4 เพิ่มด้วยเบาะรองนั่งและหมอน
            5 ใช้เฟอร์นิเจอร์ชนิดบุด้วยผ้านวม
            6 ประดับตกแต่งห้องด้วยผืนผ้าที่แขวนอยู่ในกรอบ
            7 เพิ่มเติมด้วยวัสดุที่ผลิตมาเพื่อการดูดซับเสียงโดยเฉพาะ
            การแก้ปัญหาที่เกิดจากห้องสภาพเสียงตายเพื่อเพิ่มการสะท้อนก้องกังวาน
            1 เอาไมโครโฟนออกห่างจากแหล่งกำเนิดเสียง
            2 เอาผ้าม่านออกเพื่อเพิ่มพื้นผิวที่แข็งกระด้าง
            3 เอาผืนพรมออกไป
            4 เอาหมอนและเบาะรองนั่งออกไป
            5 เอาเฟอร์นิเจอร์ที่บุด้วยนวมออกไป
            6 เพิ่มเติมด้วยแผ่นพลาสติกแข็ง
            7 เพิ่มเติมพื้นที่ทำด้วยวัสดุแข็งเช่นไม้หรือกระเบื้อง
            8 ใช้อุปกรณ์เครื่องมือเพิ่มความก้องกังวานของเสียง
Mono and Stereo and Surround Sound
          ในชีวิตประจำวันของคนที่เป็นปกติย่อมใช้หูทั้งสองข้างเพื่อรับฟังสียงที่เกิดขึ้นรอบๆตัว  จากการที่รับฟังด้วยหูทั้งสองข้างแล้วนำมาเปรียบเทียบกัน   ทำให้สามารถสร้างความรับรู้ให้เป็นสามมิติขึ้นมาได้ทั้งด้านของทิศทางและระยะใกล้ไกลของเสียง  ในกรณีของเสียงจากเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีลำโพงเพียงตัวเดียวแล้วก็เปรียบเสมือนกับคนที่มีหูเพียงข้างเดียวที่ไม่สามารถรับรู้ถึงระยะห่างและทิศทางของเสียงได้  ดังนั้นเมื่อเราฟังเสียงที่เป็นระบบโมโนแล้วจะไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเสียงทางตรงและเสียงที่เกิดจากการสะท้อนได้เหมือนในกรณีที่รับฟังเสียงจากระบบสะเตอริโอ  ด้วยเหตุนี้เสียงทีออกมาจึงมักขุ่นมัวและมีความแตกต่างอย่างชัดเจนจากความเป็นจริง  ด้วยเหตุนี้ระบบเสียงแบบโมโนจึงควรหลีกเลี่ยงการทำเอ็ฟเฟ็คพิเศษของเครื่องเพิ่มเสียงก้องเข้าไป
            เพราะว่าผู้รับฟังไม่สามารถแยกแยะทิศทางและระยะใกล้ไกลของระบบเสียงแบบโมโน   ดังนั้นการใช้ไมโครโฟนในระบบโมโนจำเป็นต้องระมัดระวังเรื่องตำแหน่งการวางไมโครโฟนให้รอบคอบเช่นอย่าให้รับเสียงที่มีการสะท้อนกลับมา  เสียงที่ดังมากๆอาจไปบดบังเสียงที่ค่อยกว่าได้  หรือเสียงที่ไม่เกี่ยวข้องต้องไม่ไปรบกวนเสียงที่ต้องการรับฟัง เป็นต้น
          ในกรณีของเสียงแบบสะเตอริโอสามารถสร้างสรรค์ให้เกิดมิติและทิศทางของเสียงและยังเพิ่มความชัดเจน มากยิ่งขึ้น  ระบบเสียงแบบสะเตอริโอทำให้ผู้ชมสามารถระบุตำแหน่งและทิศทางได้ช่วยให้ผู้ชมสัมผัสถึงความลึกและตระหนักถึงมิติของทั้งภาพและเสียง  แต่อย่างไรก็ดีด้วยข้อจำกัดของลำโพงที่อยู่ใกล้ชิดกันบนเครื่องรับโทรทัศน์ผลที่ได้รับย่อมมีข้อจำกัด  ถึงแม้ว่าคุณภาพของเสียงและความสมจริงจะเพิ่มขึ้นมาแต่ก็ยังมีข้อจำกัดทิศทางและความลึกยังด้อยอยู่บ้าง
            ในกรณีของระบบเสียงแบบเซอรราวนที่ทำการผสมเสียงมาอย่างถูกต้องย่อมให้ผลลัพธ์ที่เหนือกว่าระบบโมโนและระบบสะเตอริโอเป็นอย่างมาก   สำหรับระบบที่เป็นชนิด 5.1 ช่องนั้นจะมีเสียงออกมาทั้งหมดหกอย่างด้วยกันซึ่งประกอบด้วย  ลำโพงเสียงตรงกลาง  ลำโพงด้านหน้าซ้ายและขวา  ลำโพงด้านหลังซ้ายและขวา  และลำโพงซับวูฟเฟอร์สำหรับก่อให้เกิดเสียงความถี่ต่ำโดยเฉพาะ  ลำโพงทั้งหมดนี้สามารถทำให้เกิดความรู้สึกสมจริงทั้งมิติทิศทางและ ระยะใกล้ไกลของเสียงรอบตัวผู้ชมได้


ติดตามต่อตอนที่ 2


รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้