พอดีว่า มีความเห็นเสนอมา และ ผมได้มีโอกาสได้นำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มเติม เลยขออนุญาตินำมาแป่ะไว้ครับ ...
อ้างอิง
ผมว่า มันจะหนัก และต้นทุนสูงเกินไปนะครับ
กับกล้องที่น้ำหนักไม่มากเท่าไหร่ และไม่ได้ต้องการความแม่นยำสูง ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ขนาดนั้นหรอกครับ
ผมเคยไปส่องๆที่เว็บ ThaiDFilm อยู่เหมือนกัน มีแบบจบ ราคาประมาณ 7พัน
พวกรางเห็นเป็นท่ออลู ส่วนการขับเคลื่อน ใช้ระบบสายพาน
เดี๋ยวจะลองผาลิงค์มาแปะให้นะครับ
Edit :
http://www.thaidfilm.com/read.php?tid=9952ยอมรับว่าในแบบที่วาดมา ดูดีมากกกกก เห็นแล้วอึ้งเลยิแต่เกรงว่ามันจะเกินความจำเป็นไปหน่อย
ขอบคุณครับ
เป็นข้อสังเกตุที่ดี และ ผมชอบนะครับ จะได้เห็นจุดที่จะต้องชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติม ...
จริง ๆ แล้วแบบที่ให้ไว้ เป็นแค่โมเดล ที่ไม่มีการให้ขนาด และ บอกรายละเอียดวัสดุที่ใช้ ซึ่งไม่น่าควรจะบอกได้ว่า มันจะหนัก, ต้นทุนสูง และ เกินความจำเป็น อะไรลักษณะนั้นนะครับ แต่ก็โอเค อย่างน้อยแสดงให้เห็นว่ามีคนสนใจรายละเอียดจริงจังบ้าง ...
ดูจากชื่อ "ไมโคร" สไลเดอร์ มันชัดเจนในตัวระดับนึงแล้วว่า ขนาดมันควรจะเล็กและเบา รวมถึงการที่มันเป็น DIY เพื่อให้ใคร ๆ ก็ทำได้ มันจึงควรจะใช้ต้นทุนต่ำ ผลิตได้ง่าย ไม่เน้นความหรูหรา ตีกรอบแค่ให้ทำงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ไม่มากไปกว่านั้น ...
โจทย์คือ เราต้องการให้ได้ภาพในลักษณะ Dolly, Tracking หรือ การเคลื่อนของกล้องในเชิงเส้นต่าง ๆ ... จึงได้ออกแบบเป็นสไลเดอร์ขนาดเล็กมาก (ตามชื่อเลยครับ Micro Slider ช่วงวิ่ง 60 เซ็นติเมตร) ที่ติดต้งข้อเหวี่ยงไว้ในตัว พร้อมส่วนขยาย สเตปเปอร์มอเตอร์ และ ระบบควบคุม (โมชั่นคอนโทรล) ... และ เพื่อให้ผลิตได้ง่ายมาก ๆ วัตถุดิบจึงมีเพียงเหล็กกล่องขนาด 1 นิ้ว หนา 2 mm, เพลา 8 mm และ ลีดสกรู 8 mm ซึ่งควรจะกังวลว่ามันจะเล็กไปหรือเปล่า หรือ จะรองรับกล้อง + เลนส์ ที่มีน้ำหนักอยู่ในช่วง 1-2 กิโลได้หรือไม่ มากกว่าครับ รวมถึง หากสังเกตุในแบบ จะพบว่า ไม่มีการนำลูกปืนมาใช้เลย อาศัยรูเจาะลบคบ และ เพลาเจียร์ ซึ่งหากรองรับน้ำหนักมากไป เหล็กกระทบเหล็ก ผลคือจะฝืด และ อาจมีเสียงรบกวน ซึ่งก็ต้องมีวิธีปฏิบัติในขณะใช้งานกำกับไว้ จึงจะได้ผลดี ...
ซึ่งแน่นอนว่า ในโปรเจคต์นี้ ไม่ได้คาดหวังในเรื่องความหรูหรา หรือ ความสะดวกสะบายในการใช้งาน แต่เน้นให้ตอบโจทย์ในกรอบที่วางไว้ และ ควรจะผลิตได้ง่าย หาวัสดุได้ง่าย มีราคาประหยัด ... ซึ่งก็จะพบว่า ในส่วนโครงสร้าง สามารถจบได้ในงบ "หลักร้อย" เท่านั้น ลีดสกรูที่นำมาใช้เป็นเกรดล่างที่หาซื้อได้ทั่วไปตามร้านวัสดุใกล้บ้าน เส้นละเมตร ราคาไม่ถึงร้อยบาท ถูกกว่าระบบพูเลย์-สายพานมากครับ รวมถึง ลีดสกรู เป็นอุปกรณ์ที่ถือว่า มีค่า Backlash (ระยะฟรีที่มันเคลื่อนไปมาได้ในขณะหยุดนิ่ง) ที่สูงกว่าระบบส่งกำลังแบบอื่น (อย่างเช่น บอลสกรู หรือ แม้กระทั่งสายพาน-พูเลย์) ดังนั้นจึงไม่ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความละเอียดหรือแม่นยำสูงเลย แต่ที่เลือกมาใช้เพราะมีความเพียงพอแล้วสำหรับงานถ่ายภาพ / วีดีโอ ...
ส่วนในลิงค์ที่แนะนำ (
http://www.thaidfilm.com/read.php?tid=9952) ผมคุ้นเคยอยู่ เพราะหนึ่งในผู้ดูแลเว็บ (vfspostwork) และ เคยให้คำแนะนำตั้งแต่โปรเจคต์นั้นเริ่มตั้งไข่ เพราะในสมัยแรก ๆ พอเห็นวีีดีโอสาธิต ก็บอกได้เลยว่า "พัฒนาไปผิดทาง" ซึ่งคาดว่าเกิดจากคนพัฒนาไม่เข้าใจลักษณะงาน หลัง ๆ มาก็เริ่มเข้ารูปเข้ารอย แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังขาดส่วนสำคัญของระบบโมชั่นคอนโทรลไป คือ เรื่องการบันทึกการเคลื่อนไหวและเล่นกลับ แบบ realtime ส่วนเรื่องการกำหนดตำแหน่งเคลื่อนที (คล้าย ๆ วาง keyframe) ไม่แน่ใจว่าทำได้กี่จุดและทำได้ดีแค่ไหน แต่เหมือนจะเน้นเรื่องของ timelapse เสียมากกว่า ... ส่วนราคาไม่ใช่ 7,000 นะครับ ตกราว ๆ 14,000 เฉพาะชุดควบคุม, มอเตอร์ และ ระบบส่งกำลัง ไม่รวมรางสไลเดอร์ ซึ่งเบ็ดเสร็จอยู่ในช่วง 20,000 - 30,000 บาท ซึ่งหากมาเทียบกับโปรเจคต์ DIY ของเรา ทั้งตัวสไลเดอร์, มอเตอร์, ระบบส่งกำลัง, ระบบควบคุม, พาวเวอร์ซัพพลาย ทั้งหมด ต้นทุนวัสดุ เอาแบบเกรดล่างสุด ๆ ผสมของมือสองบ้าง ก็สามารถจบที่ "พันต้น ๆ หรือ ไม่เกิน สองพัน" เท่านั้นเองครับ (แต่ไม่ได้ให้เอามาเทียบกันนะครับ อุปกรณ์ทำใช้เอง กับ สินค้าทำขาย แนวทางการพัฒนาต่างกัน) ... แต่หาก จะพัฒนาเพิ่มเติม ทั้งตัวแบบ เกรดวัสดุ รวมถึง ซอฟแวร์ระบบโมชั่นคอนโทรลหรูหรา ฟีเจอร์ริชมากมายอะไรต่าง ๆ ก็อาจจะเพิ่มไปอีกหลายพัน หรือ อาจจะขึ้นถึงหมื่นได้ กรณีที่คิดค่าสมอง-ค่าพัฒนาอะไรต่าง ๆ แพงสักหน่อย ...
ส่วนเรื่องของแบบยังบอกว่าดีไม่ได้เลยครับ คนที่เล่นมาสายนี้เห็นเข้ารับรองคงส่ายหัว เหตุผลตามที่แจ้งไว้แล้ว งาน DIY วัตถุประสงค์คือต้องการให้เกิดการพัฒนา ทำเอง ใช้เอง ในวงกว้าง หากออกตัวซับซ้อนอลังการเกินไป คนที่ไม่มีทักษะจะท้อไม่อยากทำ เราจึงต้องการเพียงให้อุปกรณ์มันตอบโจทย์ที่วางไว้ โดยที่ ผลิตได้ง่ายที่สุด,วัสดุหาง่าย, มีขนาดเล็ก, น้ำหนักเบา และ ประหยัดที่สุด ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ ... ซึ่งในระดับนี้ เอาแค่นี้ให้ได้ก่อน เมื่อพื้นฐานได้แล้ว กำลังใจ ความมั่นใจเริ่มมา ก็จะมีโอกาสในการพัฒนาต่อยอดให้ดีขึ้นไปได้อีก ซึ่งก็แล้วแต่ว่าใครจะสังเกตุเห็นและพบเจอข้อบกพร่องอะไรเข้าแล้วแต่บุคคลไป ...
ส่วนแบบล่างนั่นเป็น cnc 3 แกน ซึ่งผมให้ไอเดียการต่อยอดจากสไลเดอร์ธรรมดา (1 แกน) จะนำมาใช้กับกล้องก็ได้ แต่โดยปกติ คอนฟิกแบบนี้ นิยมใช้ในงาน milling สำหรับ ตัด-เจาะ-ปาด วัสดุผิดเรียบประเภทต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความแน่นหนาของเครื่อง ซึ่งโครงสร้างที่เห็นในแบบ พื้นฐานมาจากสไลเดอร์ของเรานั่นเอง ดังนั้นวัสดุที่นำมาใช้ได้ คงต้องอ่อนมาก ๆ พวกโฟม แวกซ์ ไม้เนื้ออ่อน พลาสติก กระดาษ พลาสติก สติกเกอร์ ฯลฯ หรือ จะเอาไปขูดผิวเหล็ก-โลหะ หรือ เนื้อกระจก เพื่อวาดลาย สลักตัวอักษร ก็คงพอจะทำได้ เพราะถึงโครงสร้างจะไม่ได้แน่นปึ๊กเหมือนเครื่องราคาหลักหมื่นหลักแสน แต่ทำมาจากเหล็กทั้งตัวหมือนกัน ...