สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 11858เข้าชม
  • 14ตอบกลับ

สิ่งที่ สเตดิแคม DIY ราคาประหยัด ควรมี (แนวคิด-แบบ-บาลานซ์ ฯ)

โพสต์
3280
เงิน
49028
ความดี
67852
เครดิต
78389
จิตพิสัย
62308
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

สวัสดีครับ ถ้ายังพอจำกันได้ โปรเจคต์ที่แล้ว ผมได้ออกแบบ "ริกในฝัน" ไว้ (http://thaidfilm.com/read.php?tid=19941) ก็ได้คำแนะนำจากหลาย ๆ ท่าน จากหลาย ๆ ที่ นำมาประกอบ ก็ได้เป็นแบบที่สมบูรณ์ จนสุดท้ายได้ออกเป็น Drawing พร้อมสำหรับการผลิตงานต้นแบบ

ช่วงนี้ก็ยังรอจังหวะเวลาที่จะแทรกงานลงไปผลิตอยู่ ตามปกติของการผลิตงานลักษณะนี้ มักจะนิยมออกแบบ JIG/Fixture และ Special Tool ขึ้นมาก่อน ซึ่งจะทำให้เสียเวลาออกแบบ-สร้าง-ปรับแต่งสักหน่อยในช่วงแรก แต่หลังจากนั้นจะได้ประโยชน์มากมาย เช่นว่า ทำงานสะดวก รวดเร็ว เพราะไม่ต้องวัดใหม่ทุกครั้งกับชิ้นงานทุกชิ้น ช่วยให้ลดข้อผิดพลาด และ ต้องการทักษะของคนทำงานน้อยลง, เมื่อเกิดข้อผิดพลาด ก็หาได้ง่ายและแก้ไขได้ง่ายเช่นกัน, ชิ้นงานเที่ยงตรง คุณภาพสม่ำเสมอ เพราะออกจากบล๊อกเดียวกัน ประโยชน์เหล่านี้จะยิ่งเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อมีการผลิตเป็นจำนวนมาก ต้นทุนค่าใช้จ่ายอะไรต่าง ๆ ก็จะน้อยลง



อันนั้นก็อีกเรื่องนึงครับ แต่สำหรับกระทู้นี้ เกิดจากเมื่อเร็ว ๆ นี้ มีเรื่องมาให้ขบคิดนิดนึง ถึงมาตรฐานของสเตดิแคมราคาประหยัด ภายใต้คำว่าราคาประหยัดนี่เอง จึงเป็นคำถามต่อมาว่า ในมุมของผู้ผลิต เราจะสามารถทำอะไรได้บ้าง และ ในมุมของผู้บริโภค เขาควรจะได้อะไรบ้าง ผมก็ตั้งโจทย์ที่เป็นไปได้ขึ้นมา แล้วลองออกแบบดู
  • รูปภาพ:vl-steadicam-model-request-03.jpg
  • รูปภาพ:vl-steadicam-model-01.jpg
  • รูปภาพ:rig-drawing.jpg
บันทึกคะแนนนี้โพสต์ล่าสุด: รวม 3 คะแนน ความดี +16 ซ่อน
gameson17 ความดี +5 2014-12-11 บทความที่ดีเยี่ยม, สนับสนุน!
whatsonicmax ความดี +1 2013-04-27 -
jack39 ความดี +10 2013-04-23 -

บทความที่เกี่ยวข้อง

โพสต์
3280
เงิน
49028
ความดี
67852
เครดิต
78389
จิตพิสัย
62308
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

อันนั้นก็อีกเรื่องนึงครับ แต่สำหรับกระทู้นี้ เกิดจากเมื่อเร็ว ๆ นี้ มีเรื่องมาให้ขบคิดนิดนึง ถึงมาตรฐานของสเตดิแคมราคาประหยัด ภายใต้คำว่าราคาประหยัดนี่เอง จึงเป็นคำถามต่อมาว่า ในมุมของผู้ผลิต เราจะสามารถทำอะไรได้บ้าง และ ในมุมของผู้บริโภค เขาควรจะได้อะไรบ้าง ผมก็ตั้งโจทย์ที่เป็นไปได้ขึ้นมา แล้วลองออกแบบขึ้นมา

โจทย์ที่ผมตั้งไว้ สำหรับสเตดิแคมราคาประหยัด ตีซะว่าไม่เกิน 5,000 บาท ควรจะมีอะไรได้บ้าง

ข้อ 1. วัสดุควรทำมากจากโลหะ นอกจากความมั่นคง-แข็งแรง-ทนทานแล้ว สิ่งที่สำคัญคือตำแหน่งบาลานซ์ต่าง ๆ จะคงตัว ไม่ยืดหยุ่นหรือให้ตัวได้จนเสียสมดุลย์ โดยเฉพาะเมื่อต้องรับน้ำหนักอุปกรณ์มาก ๆ ซึ่งวัสดุประเภท พลาสติก หรือ พีวีซี ไม่ตอบโจทย์สำคัญข้อนี้



ข้อ 2. เพลท X-Y ซึ่งจะทำให้การปรับบาลานซ์ หน้า-หลัง / ซ้าย-ขวา ทำได้อย่างอิสระ, มีความละเอียด, เที่ยงตรง, สามารถอ้างอิงตำแหน่งเพื่อเก็บไว้ใช้ในภายหลังได้ โดยไม่ต้องมาทดลองปรับใหม่อีกครั้ง ทำให้การเซ็ตอัพทำได้รวดเร็ว



ข้อ 3. เพิ่มจุดปรับบาลานซ์ให้มากขึ้น ทำให้การปรับบาลานซ์ทำได้มากกว่า 1 ทางเลือก เพื่อให้เกิดความเหมาะสมสำหรับเงื่อนไขและอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน

ข้อ 3.1 จุดบาลานซ์ ควรจะเป็นประเภทอ้างอิงระยะได้ และ มีผลต่อจุดศูนย์กลางมวลเป็นอิสระในแนวแกนเดียว (X หรือ Y หรือ Z) ซึ่งจะทำให้คาดเดาวิธีการปรับสมดุลย์ได้ง่ายขึ้น

ข้อ 3.2 จุดบาลานซ์ ควรจะสามารถปรับสมดุลย์ได้กับทุกอุปกรณ์แม้จะมีน้ำหนักที่แตกต่างกัน โดยไม่จำเป็นที่จะต้องใช้วิธีเพิ่มน้ำหนักอันจะเกิดภาระต่อผู้ใช้งาน หรือ ขอให้เป็นวิธีการสุดท้าย สำหรับอุปกรณ์บางประเภทที่มีลักษณะพิเศษจริง ๆ



ข้อ 4. เพิ่มฟังชั่นการปรับใช้งานแบบ Low-Mode สามารถพลิกหมุนเพลทเพื่อปรับรูปแบบให้สามารถถ่ายได้ในมุมต่ำมาก ๆ ได้

ข้อ 4.1 (เพิ่มเติม) ด้วยประโยชน์ที่ได้จากข้อ 4. เพียงเพิ่มเติมแป้นรองบ่า และ มือจับ อีกเพียง 2 ชิ้น ก็จะได้ฟังชั่น Rig แบบวางบ่า ทำให้สามารถถ่ายวีดีโอได้ในแบบเดียวกับกล้องบรอดแคสต์ที่นักข่าวสถานีใช้กันทั่่วไป (ออฟชั่นนี้จะตามมา ทั้งแบบ และ อุปกรณ์ต้นแบบ)





ข้อ 5. เพิ่มฟังชั่นการติดตั้งจอนอก (หรืออุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกัน) ไว้เป็นมาตรฐาน



ข้อ 6. เพิ่มฟังชั่นการติดตั้งแบตเตอรี่เสิรม (หรืออุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกัน) ไว้เป็นมาตรฐาน



ข้อ 7. เพิ่มอุปกรณ์ ตัวจับยึดโทรศัพท์ที่ถ่ายวีดีโอได้ (iPhone), เทบเล็ต (iPad) ไว้เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน





สไลด์ | รูปย่อ | ภาพใหญ่ รูปภาพ

โพสต์
3280
เงิน
49028
ความดี
67852
เครดิต
78389
จิตพิสัย
62308
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

รูปแบบของสเตดิแคมที่ผมเลือกมาใช้มาเป็นตัวอย่าง จะมีโครงสร้างคล้ายกับสเตดิแคมเมอลิน ซึ่งน่าจะเหมาะกับการใช้งานกับอุปกรณ์ขนาดเล็ก อย่างโทรศัพท์ ไปจนถึง DSLR และ กล้องวีดีโอระดับ Semi-Pro ตัวโครงสร้างมีขนาดที่ค่อนข้างกระทัดรัด สะดวกต่อการพกพา และ เมื่อมีการออกแบบที่ดีพอ การผลิตก็จะทำได้ง่าย รวมถึงการปรับบาลานซ์ก็จะทำได้ไม่ยากนัก



แม้ว่าจะได้แนวคิดมาจาก สเตดิแคมเมอลิน แต่ลักษณะโครงสร้างที่เห็นเกิดมาจากการคำนวนทั้งหมด ตำแหน่ง-ระยะอะไรต่าง ๆ มีที่มาที่ไป โดยผมจะชี้แจงเป็นจุด ๆ เพื่อข้อมูลเหล่านี้จะได้เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังจะคิดสร้างสเตดิแคมขึ้นมาใช้เอง

ส่วนที่ 1. มือจับ ส่วนนี้มีระยะพอดีมือ จับสบาย ๆ มีพื้นที่สำหรับติดตั้งปุ่มควบคุม 2 ตำแหน่ง สำหรับนิ้วโป้ และ นิ้วชี้



ส่วนที่ 2. จุดหมุน เป็นลักษณะของ u-joint ที่ DIY ขึ้นมาเอง ถือเป็นหัวใจของสเตดิแคมทรงนี้ มีคุณสมบัติสามารถบิดหมุนได้อิสระ ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง หากทำทีละข้าง จะได้ข้างละประมาณ 90 องศา หรือ หากทำสองข้าง พร้อมกัน ก็จะได้ประมาณ 45 องศา (หรือกว่านั่นนิดหน่อย) และ หมุนรอบตัวได้ 360 องศา (แบบและวิธีการผลิตจะลงเพิ่มเติมให้หลังจากผลิตต้นแบบและได้ทดลองแล้ว)



ส่วนที่ 3. เพลท X-Y เป็นเพลทสำหรับยึดกล้องที่สามารถปรับสมดุลย์ได้ 2 แนวแกนอย่างอิสระ คือ X (ปรับซ้าย-ขวา) และ Y (หน้า-หลัง) ลักษณะเพลทมีสองชั้น ชั้นบนจะมีร่องยาวสำหรับระยะสมดุลหน้า-หลัง และ เจาะรู 2/8 และ 3/8 นิ้ว สลับกันไว้ทั่วเพลท ส่วนชั้นล่าง มีร่องยาว 2 ร่อง (3 ร่อง ในแบบที่ได้ปรับปรุงใหม่ เพิ่มขีดความสามารถในการบาลานซ์สำหรับเงือนไขที่ค่อนข้างยาก) สำหรับปรับสมดุลย์ซ้าย-ขวา สำหรับอุปกรณ์ที่มีน้ำหนัก / รูปทรง แตกต่างกัน ส่วนด้านหน้าเพลทเป็นจุดยึดกับแขนสเตดิแคม ซึ่งสามารถหมุนแขนได้ 180 องศา เพื่อสลับการใช้งานเป็นแบบ Low-Mode สำหรับถ่ายมุมต่ำ



ส่วนที่ 4. แขนส่วนที่ 1 และ 2 ส่วนแรกจะยื่นออกไปข้างหน้าเล็กน้อย ตามด้วยส่วนที่สองซึ่งหักมุมลงไป ตรงนี้ระยะและมุมจะต้องสอดคล้องกับ FOV ของเลนส์ คำนวนที่ระยะ 10mm ขึ้นไป ซึ่งเมื่อนำเลนส์นี้ติดตั้งกับกล้องที่อยู่บนเพลท (ในตำแหน่งสมดุลย์) จะไม่ทำให้แขนและอุปกรณ์ส่วนที่ติดตั้งเพิ่ม เช่น มอนิเตอร์ ไปปรากฏอยู่ในเฟรมภาพ FOV ส่วนนี้คำนวนได้จาก FOV ของเลนส์ระยะ 10mm เป็น 106 องศา และ เซ็นเซอร์ของกล้องมีสัดส่วนที่ 3:2 หมายความว่า ในแนวตั้ง FOV ของเลนส์จะเหลืออยู่ที่ 106*(2/3) = 70.67 องศา จากนั้นจึงสร้างเป็นรูป 3 เหลี่ยมที่มีมุม 70.67 องศาขึ้นมา แล้วนำปลายด้านขวาไปวาง ณ. ตำแหน่ง รูรับแสงของเลนส์ ก็จะได้พื้นที่ของ FOV ที่จะต้องออกแบบให้แขนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ไปทับซ้อนกับพื้นที่ดังกล่าว



ส่วนที่ 5. แขนส่วนที่ 3 แขนส่วนนี้ รับหน้าที่สำคัญ 2 อย่าง คือ การยกตุ้มน้ำหนัก/อุปกรณ์ขึ้นลง เจตนาเพื่อยกจุด ศูนย์กลางมวล (CM) ขึ้น-ลง (อย่างอิสระ ไม่กระทบแกนอื่น) จากจุดหมุน (u-joint) ซึ่งจะไปส่งผลต่อค่า Drop Time ของสเตดิแคม โดยหากจุด CM ต่ำกว่า จุดหมุน มาก ค่า Drop Time จะน้อย ในทางตรงข้าม หากจุด CMต่ำกว่า จุดหมุนน้อยลง ค่า Drop Time จะมาก และ หาก จุด CM อยู่ตำแหน่งเดียวกับ จุดหมุนเลย ค่า Drop Time จะเป็น ศูนย์ คือ เมื่อพลิกหมุนสเตดิแคมอยู่ในตำแหน่งใด จะคงอยู่ในตำแหน่งนั้นตลอด ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องดี เพราะเราต้องการให้น้ำหนักด้านล่างจุดหมุน หนักกว่า ด้านบนจุดหมุนเล็กน้อย เพื่อให้แรงโน้มถ่วงโลกดึงน้ำหนักลงไป ทำให้เพลทและกล้องอยู่ในแนวระนาบได้โดยไม่ต้องปรับแต่งหรือใช้กลไกใด ๆ ช่วย ค่า Drop Time ที่มีการทดสอบว่าเหมาะสมคือประมาณ 2 วินาที โดยทดสอบด้วยการวางสเตดิแคมในแนวขนาดแล้วปล่อยให้ตกลงมาผ่านแนวดิ่ง (90 องศา) ซึ่งควรจะมีระยะเวลาประมาณ 2 วินาที (หากยังนึกภาพไม่ออก ลอง youtube คำว่า steadicam drop time test น่าจะพบการสาธิตในเรื่องดังกล่าวได้ไม่ยาก)

หน้าที่ส่วนที่ 2 ของแขนส่วนนี้ หากมองผิวเผินจะทำหน้าที่เพียงเป็นจุดยึดมอนิเตอร์ แต่จริง ๆ แล้วมีหน้าที่เพิ่มเติมอีกส่วนคือ ปรับระยะ ศูนย์กลางมวล (CM) หน้า-หลัง ซึ่งเป็นผลมาจากตัวน้ำหนักของอุปกรณ์ (มอนิเตอร์เอง) หรือ การยึด-หด ก้านจับเข้า-ออก ดังนั้นทั้งตำแหน่ง ระยะแขน ระยะก้านจับอุปกรณ์ จึงเกิดจากการคำนวนให้สอดคล้องกับการปรับค่า CM ทั้งสิ้น โดยทดลองกับอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักเบา เช่น โทรศัพท์ ไปจนถึงอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมาก เช่น DSLR หรือ กล้องวีดีโอกึ่งอาชีพ แขนส่วนนี้จะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการปรับ CM ให้เข้าตำแหน่งที่เหมาะสม (แนวระนาบตรงกับจุดหมุน และ แนวดิ่งตำกว่าจุดหมุนเล็กน้อย) ได้กับทุกอุปกรณ์ดังกล่าวที่ว่ามา

ส่วนที่ยึดจับกับมอนิเตอร์จะสามารถปรับองศาได้ เพื่อความสะดวกในการมอง เพื่อความเหมาะสมควรติดตั้งมอนิเตอร์ขนาด 5 นิ้ว แต่ก็สามารถติดขนาด 7 นิ้วได้ด้วยเช่นกัน เพียงแต่อาจจะต้องระวังเมื่อใช้กับเลนส์มุมกว้างมาก ๆ และตำแหน่งเลนส์ถอยไปด้านหลังของเพลทค่อนข้างมาก


ส่วนที่ 6. แขนส่วนที่ 4 และ 5 สองส่วนนี้เป็นแขนปรับองศาได้ โดยปกติจะปรับที่ตำแหน่งละ 45 องศา ซึ่งเมื่อมองผิวเผินก็จะได้ก้านจับแบตที่อยู่ในแนวระนาบมองดูสวยงาม แต่หน้าที่โดยแท้จริงแล้ว แขนสองส่วนนี้จะทำหน้าที่ในการปรับตำแหน่ง CM ทั้งในแนวดิ่งและในแนวราบ คือ สามารถยกตำแหน่ง CM ขึ้น-ลง ได้ (มีผลต่อ Drop-Time) พร้อม ๆ กับ ปรับเลื่อนตำแหน่ง CM ไปหน้าหรือหลังได้ (มีผลต่อบาลานซ์หน้าหลัง) ลักษณะการทำงานก็คือ เมื่อสวิงแขนขึ้น จะทำให้ตำแหน่ง CM ถูกยกขึ้น พร้อมกับเบี่ยงไปทางด้านหลัง ในทางกลับกัน เมื่อสวิงแขนลง CM จะถูกยกลง พร้อมกับเบี่ยงไปทางด้านหน้า จะเห็นว่าการปรับแขนส่วนนี้มีผลต่อ CM ทั้งสองแกน ไม่ไช่เป็นการปรับแบบอิสระในแนวแกนใดแกนหนึ่ง ซึ่งทำให้ต้องไปปรับตรงตำแหน่งอื่นมาชดเชย

ส่วนก้านจับแบต จะทำหน้าที่คล้ายกันกับก้านจับมอนิเตอร์ ซึ่งเมื่อปรับแขนส่วนที่ 5 ให้อยู่ในระนาบ การสไลด์ก้านจับส่วนนี้เข้า-ออก จะมีผลทำให้ CM เลื่อนไปด้านหน้าหรือด้านหลัง สำหรับจุดยึดแบตเตอรรี่ก็สามารถปรับองศาได้เช่นกัน ซึ่งนอกจากได้ความสวยงาม ก็ยังมีผลต่อ CM ด้วยเหมือนกัน ตามหลักการคือ เมื่อปรับแล้วตัวอุปกรณ์ทิ้งน้ำหนักไปทางใดมากกว่า ก็จะทำให้ CM เคลื่อนไปในทิศทางนั้นเพิ่มมากขึ้น

สไลด์ | รูปย่อ | ภาพใหญ่ รูปภาพ

โพสต์
3280
เงิน
49028
ความดี
67852
เครดิต
78389
จิตพิสัย
62308
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

การบาลานซ์กับอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ

คำนวนจุดศูนย์กลางมวล (CM) ด้วยคอมพิวเตอร์ โดยติดตั้ง

- กล้อง DSLR (5D III - 950 กรัม)
- เลนส์ (10-22 - 385 กรัม)

* ตัวสเตดิแคมจะถูกปรับจุดบาลานซ์ไปในตำแหน่งและองศาต่าง ๆ เพื่อให้ได้ตำแหน่งศูนย์กลางมวล อยู่ในเดียวแกนเดียวกันกับจุดหมุน (u-joint) และ อยู่ใต้จุดหมุนเล็กน้อย (CM = จุดแดงที่มีแกนยื่นออกมาในภาพ)
* แนวคิดหลักการในการปรับสมดุลย์ และ ระยะ / องศา ต่าง ๆ ที่เห็นในภาพ จะให้รายละเอียดเพิ่มเติมในภายหลังครับ



คำนวนจุดศูนย์กลางมวล (CM) ด้วยคอมพิวเตอร์ โดยติดตั้ง

- กล้อง DSLR (5D III - 950 กรัม)
- เลนส์ (10-22 - 385 กรัม)
- มอนิเตอร์ 7 นิ้ว (Liliput 5D2 - 400 กรัม)

* ตัวสเตดิแคมจะถูกปรับจุดบาลานซ์ไปในตำแหน่งและองศาต่าง ๆ เพื่อให้ได้ตำแหน่งศูนย์กลางมวล อยู่ในเดียวแกนเดียวกันกับจุดหมุน (u-joint) และ อยู่ใต้จุดหมุนเล็กน้อย (CM = จุดแดงที่มีแกนยื่นออกมาในภาพ)
* แนวคิดหลักการในการปรับสมดุลย์ และ ระยะ / องศา ต่าง ๆ ที่เห็นในภาพ จะให้รายละเอียดเพิ่มเติมในภายหลังครับ



คำนวนจุดศูนย์กลางมวล (CM) ด้วยคอมพิวเตอร์ โดยติดตั้ง

- กล้อง DSLR (5D III - 950 กรัม)
- เลนส์ (10-22 - 385 กรัม)
- แบตเตอรรี่เสริม (IDX 93 W/H - 750 กรัม)

* ตัวสเตดิแคมจะถูกปรับจุดบาลานซ์ไปในตำแหน่งและองศาต่าง ๆ เพื่อให้ได้ตำแหน่งศูนย์กลางมวล อยู่ในเดียวแกนเดียวกันกับจุดหมุน (u-joint) และ อยู่ใต้จุดหมุนเล็กน้อย (CM = จุดแดงที่มีแกนยื่นออกมาในภาพ)
* แนวคิดหลักการในการปรับสมดุลย์ และ ระยะ / องศา ต่าง ๆ ที่เห็นในภาพ จะให้รายละเอียดเพิ่มเติมในภายหลังครับ



คำนวนจุดศูนย์กลางมวล (CM) ด้วยคอมพิวเตอร์ โดยติดตั้ง

- กล้อง DSLR (5D III - 950 กรัม)
- เลนส์ (10-22 - 385 กรัม)
- มอนิเตอร์ 7 นิ้ว (Liliput 5D2 - 400 กรัม)
- แบตเตอรรี่เสริม (IDX 93 W/H - 750 กรัม)

* ตัวสเตดิแคมจะถูกปรับจุดบาลานซ์ไปในตำแหน่งและองศาต่าง ๆ เพื่อให้ได้ตำแหน่งศูนย์กลางมวล อยู่ในเดียวแกนเดียวกันกับจุดหมุน (u-joint) และ อยู่ใต้จุดหมุนเล็กน้อย (CM = จุดแดงที่มีแกนยื่นออกมาในภาพ)
* แนวคิดหลักการในการปรับสมดุลย์ และ ระยะ / องศา ต่าง ๆ ที่เห็นในภาพ จะให้รายละเอียดเพิ่มเติมในภายหลังครับ



คำนวนจุดศูนย์กลางมวล (CM) ด้วยคอมพิวเตอร์ โดยติดตั้ง

- โทรศัพท์ชนิดถ่ายวีดีโอได้ (iPhone 5 - 112 กรัม)

* ตัวสเตดิแคมจะถูกปรับจุดบาลานซ์ไปในตำแหน่งและองศาต่าง ๆ เพื่อให้ได้ตำแหน่งศูนย์กลางมวล อยู่ในเดียวแกนเดียวกันกับจุดหมุน (u-joint) และ อยู่ใต้จุดหมุนเล็กน้อย (CM = จุดแดงที่มีแกนยื่นออกมาในภาพ)
* แนวคิดหลักการในการปรับสมดุลย์ และ ระยะ / องศา ต่าง ๆ ที่เห็นในภาพ จะให้รายละเอียดเพิ่มเติมในภายหลังครับ



คำนวนจุดศูนย์กลางมวล (CM) ด้วยคอมพิวเตอร์ โดยติดตั้ง

- เทบเล็ต ขนาด 7 นิ้ว (iPad mini - 312 กรัม)

* ตัวสเตดิแคมจะถูกปรับจุดบาลานซ์ไปในตำแหน่งและองศาต่าง ๆ เพื่อให้ได้ตำแหน่งศูนย์กลางมวล อยู่ในเดียวแกนเดียวกันกับจุดหมุน (u-joint) และ อยู่ใต้จุดหมุนเล็กน้อย (CM = จุดแดงที่มีแกนยื่นออกมาในภาพ)
* แนวคิดหลักการในการปรับสมดุลย์ และ ระยะ / องศา ต่าง ๆ ที่เห็นในภาพ จะให้รายละเอียดเพิ่มเติมในภายหลังครับ



คำนวนจุดศูนย์กลางมวล (CM) ด้วยคอมพิวเตอร์ โดยติดตั้ง

- เทบเล็ต ขนาด 9 นิ้ว (iPad - 613 กรัม)

* ตัวสเตดิแคมจะถูกปรับจุดบาลานซ์ไปในตำแหน่งและองศาต่าง ๆ เพื่อให้ได้ตำแหน่งศูนย์กลางมวล อยู่ในเดียวแกนเดียวกันกับจุดหมุน (u-joint) และ อยู่ใต้จุดหมุนเล็กน้อย (CM = จุดแดงที่มีแกนยื่นออกมาในภาพ)
* แนวคิดหลักการในการปรับสมดุลย์ และ ระยะ / องศา ต่าง ๆ ที่เห็นในภาพ จะให้รายละเอียดเพิ่มเติมในภายหลังครับ



หมายเหตุ : ทั้งหมดเป็นการจำลองและคำนวนด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น โดยการคำนวนมาจากน้ำหนักจริงของอุปกรณ์ที่ถูกติดตั้ง และ น้ำหนักของวัตถุดิบที่ใช้ รวมถึงคุณสมบัติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงมีความถูกต้องอย่างสูง แต่ในความเป็นจริง อาจมีความคลาดเคลื่อนได้เล็กน้อย อันอาจจะเกิดได้จาก ความคลาดเคลื่อนในการผลิต, วัตถุดิบไม่ได้ตามสเปค, รวมไปถึงอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งมีการกระจายน้ำหนักภายในที่ไม่เท่ากัน เนื่องจากประกอบด้วยชิ้นส่วนจำนวนหลายชิ้น เป็นต้น

ปล. หากสังเกตุจะพบว่า การติดตั้งอุปกรณ์ทั้งที่มีน้ำหนักเบา เช่น โทรศัพท์ ที่มีน้ำหนักเพียง 112 กรัม (0.112 กิโลกรัม) ไปจนถึงอุปกรณ์ชุดใหญ่ที่น้ำหนักค่อนข้างมาก กล้อง DSLR + เลนส์ + มอนิเตอร์ + แบตเตอรรี่ รวมน้ำหนักแล้วเกือบ ๆ 2.5 กิโลกรัม สามารถทำได้โดยเพียงการปรับจุดบาลานซ์เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการถ่วงตุ้มน้ำหนักแต่อย่างใด ซึ่งทั้งหมดเกิดจากการออกแบบที่มีการคำนวนระยะ/องศาของจุดปรับสมดุลย์ ณ. จุดต่าง ๆ ให้ครอบคลุมอุปกรณ์ได้กว้างมาก ประโยชน์จากการออกแบบตรงนี้ ผู้ใช้จะได้ประโยชน์โดยตรง ทั้งการไม่ต้องเพิ่มภาระเรื่องน้ำหนักขณะใช้งาน หรือ แม้แต่ขณะเคลื่อนย้าย ...

สไลด์ | รูปย่อ | ภาพใหญ่ รูปภาพ

โพสต์
3280
เงิน
49028
ความดี
67852
เครดิต
78389
จิตพิสัย
62308
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 4#  โพสต์เมื่อ: 2013-04-23
หลักการทั้งหมดที่กล่าวมานี้นี้สามารถนำไปใช้ในการปรับสมดุลย์ได้กับ สเตดิแคมทรงคล้ายเมอลิน ทุกแบบ ขึ้นอยู่กับว่า สเตดิแคมตัวนั้นถูกออกแบบให้มีจุดปรับสมดุลย์ได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งจะทำให้เกิดความสะดวกแตกต่างกันออกไป

โจทย์ทั้งหมดนี้ ไม่ได้มีเจตนาจะกำหนดขึ้นเป็นมาตรฐานแต่อย่างใด เพียงแต่อยากให้เป็นข้อควรคำนึง-แนวคิด-วิธีการ สำหรับผู้ที่กำลังริเริ่มจะทำ หรือ ทำอยู่แล้ว นำไปปรับปรุงเพิ่มเติมให้ดีขึ้น สำหรับ สเตดิแคม DIY ราคาประหยัด ในกลุ่มราคาต่ำกว่า 5,000 บาท อะไรควรมี อะไรสามารถทำได้ เพื่อให้ผู้บริโภคซึ่งเป็นสมาชิกในเว็บไซต์ของเรานี้เองได้ประโยชน์คุ้มค่ากับทุกเม็ดเงินที่จ่ายไป สามารถนำไปใช้งานได้อย่างสะดวกคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

สำหรับผู้ที่จะเลือกสเตดิแคมมาใช้ มีข้อแนะนำว่า ท่านควรจะวางความต้องการพื้นฐานของท่านให้ชัดเจน แล้วจึงพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ ของสเตดิแคมที่ท่านสนใจให้ครบถ้วน ซึ่งมีเรื่องของ

:: แบบ ว่าถูกทำมาให้รองรับฟังชั่นใดบ้าง ใช้งานสะดวกคล่องตัวแค่ไหน แบบที่ถูกคิดมาอย่างดี ก็สามารถบวกค่าความคิดอยู่ในตัวสินค้าได้
:: วัตถุดิบ ที่นำมาผลิต จะมีผลในเรื่องของความทนทาน, น้ำหนัก และ ราคาของสเตดิแคมนั้น ๆ
:: วิธีการผลิต จะมีผลในเรื่องของความเรียบร้อยของชิ้นงาน ความมั่นคง ความเที่ยงตรงของการบาลานซ์ และ ราคาของสเตดิแคมเช่นกัน

ซึ่งสเตดิแคมที่เหมาะกับท่าน ไม่ได้หมายความจะต้องดีหมดในทุกด้าน เพียงแต่ขอให้ดีพอสำหรับการใช้งานของท่าน และ คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป ผมเคยเห็นบางคนไปโพสต์ต่อว่าร้านบางแห่ง ว่าทำไมขายแพง ตั้งราคาขายเป็นหมื่น เพราะเคยไปเห็นของทำ DIY หน้าตาคล้าย ๆ กัน บอกต้นทุนไม่ถึงสองพันบาท ซึ่งผมคิดว่าเป็นการมองที่องค์ประกอบในด้านราคาเพียงอย่างเดียว ไม่ได้มองถึงวัตถุดิบที่นำมาใช้ แม้วัตถุดิบชนิดเดียวกัน ก็มีเรื่องเกรด เรื่องความหนา เข้ามาเกี่ยวข้อง ราคาก็ต่าง ความยากในการผลิตก็ต่าง ทั้งหมดส่งผลถึงต้นทุนการผลิตทั้งสิ้น อีกทั้งยังมีเรื่องของวิธีการผลิต เครื่องไม้เครื่องมือที่นำมาใช้ ซึ่งจะส่งผลถึงคุณภาพของสินค้าชิ้นนั้นอีกเช่นกัน รวมถึงมีราคาที่แพงกว่าด้วย

ดังนั้นจึงอยากให้มองความต้องการให้ชัดเจน ส่วนไหนที่มีมาให้ แต่ไม่ได้ใช้ ก็เป็นการสิ้นเปลือง สินค้าฟังชั่นน้อย แต่ราคาแพงกว่า อาจจะเพราะใช้วัตถุดิบที่ดี มีวิธีการผลิตที่เที่ยงตรงได้คุณภาพ แล้วถ้านั่นคือทั้งหมดที่เราต้องการ ก็จะช่วยตัดสินใจได้ง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีอยู่บ้าง ที่กำหนดสเปคครบถ้วน แต่ที่เป็นของด้อยคุณภาพ มีครบตามสเปคจริง แต่ใช้งานไม่ได้คุณภาพ ก็ควรจะพิจารณารายละเอียดให้ถี่ถ้วน ครบทุกด้าน

ผมมีตัวอย่างกรณีที่พบจริง แต่ไม่ได้เป็นสินค้าเพื่อการพาณิชย์ เป็นการแชร์งาน DIY ในเว็บนี่เอง ซึ่งน่าขอบคุณเป็นอย่างมาก สำหรับปัญหาที่พบคือ ถ้าผมจำไม่ผิด เป็นงานที่ถูกระบุว่า ใช้ทุนเพียงสองพันบาท และได้มีการติดตั้งลูกปืนถึง 8 ตัว ถ้ามองเผิน ๆ ฟังผ่าน ๆ ก็จะพบว่า ถูกจริง สเปคดีด้วย ลูกปืนตั้ง 8 ตัว คงจะนิ่งและลื่นใช้ได้ทีเดียว

แต่เมื่อมองในรายละเอียดจะพบว่า ลูกปืนที่ติดตั้งเข้าไป ถูกร้อยด้วยสกรูคั่นไว้ระหว่างโลหะสองชิ้น (ติดตั้งคล้าย ๆ พวกแหวนรองอะไรแบบนั้น) ผลคือ ไม่ได้ประโยชน์จากการมีลูกปืน 8 ตัวเลย ซ้ำยังอาจจะเป็นภาระ เนื่องจากเป็นการติดตั้งที่ผิด ซึ่งตามปกติ จะต้องใช้วัตถุดิบ อาจจะเป็นเหล็ก หรือ อลูมิเนียม ก็แล้วแต่ มีความหนาเท่ากับ (หรือมากกว่า) ความหนาของอลูมิเนียม อาจจะต้องมีถึง 8 หรือ 10 มิลลิเมตรเป็นอย่างน้อย มาคว้านรูให้พอดี หรือ น้อยกว่า ขนาดวงนอกของลูกปืน เล็กน้อย จากนั้นจึงใช้วิธีสวมอัดลูกปืนเข้าไปในรูนั้น ซึ่งต้องใช้เครื่องมือเฉพาะ หรือ อาจจะยึดด้วยสกรู ซึ่งต้องเจาะรู + ต๊าฟเกลียมเพิ่มขึ้นมาอีก ซึ่งค่าใช้จ่าย ตีซะว่า อย่างน้อย ๆ ต้องมีจุดละ 500 บาทขึ้นไป ทั้งหมด 8 จุด เพราะฉะนั้น หากทำการติดตั้งที่ถูกต้อง ต้นทุนที่จากเดิม 2,000 บาท ก็จะพุ่งพรวดไปอยู่ที่กว่า 6,000 บาทได้อย่างง่ายดาย แถมราคานี้ยังไม่รวมวัตถุดิบที่ต้องใช้ชนิดที่มีความหนาเพิ่มขึ้นด้วย

ซึ่งตรงนี้เป็นกรณีตัวอย่างให้เห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า กรณีที่เราเจอสินค้าสองชิ้น สมมุติว่าสเปคระบุเหมือนกันว่าใช้ลูกปืน 8 จุด ตัวนึงขาย 2,000 บาท ตัวนึงขาย 6,000 บาท ราคาต่างกันถึงสามเท่า ก็ด้วยมาจากเหตุผลเรื่องของวิธีการผลิตนี่เอง

ปล :
- สำหรับผู้สนใจที่ต้องการจะนำไปผลิตเพื่อใช้เอง สามารถนำโมเดลที่เห็นไปผลิตได้เลยโดยไม่ต้องขอนุญาติ หากติดขัดปัญหาใด สามารถสอบถามได้เป็นจุด ๆ ไป
- สำหรับผู้สนใจจะผลิตในเชิงธุรกิจ สามารถติดต่อขอ Drawing / File ที่มีรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับ วัตถุดิบที่ใช้, การผลิตชิ้นส่วน และ การประกอบ (มีค่าใช้จ่าย)
- สำหรับผู้สนใจจะนำไปใช้งาน เบื้องต้น (อาจจะ) มีการผลิตต้นแบบออกมาให้ทดลองใช้แบบจำกัดจำนวน ระดับราคาจะอยู่ราวสองถึงสามพันบาท หลังจากนั้นรอผู้สนใจท่านอื่น ๆ ที่สนใจจะเข้ามาร่วมผลิตต่อไป
- รายละเอียดอื่น ๆ จะถูกทยอยเปิดเผยออกมาเป็นระยะหลังจากได้ผลิตต้นแบบออกมาและทดลองจนเป็นที่พอใจแล้ว



สุดท้ายนี้ผมหวังว่าข้อมูลนี้จะมีประโยชน์ต่อทั้ง "ผู้ผลิต" และ "ผู้ใช้งาน" แต่อย่างไรก็ตาม ยังต้องการความเห็นสำหรับ ผู้ที่มีประสบการณ์การใช้งานอุปกรณ์ประเภทนี้ หรือ มีไอเดียเกี่ยวกับอุปกรณ์ชนิดนี้ มาช่วยกันแชร์ข้อมูล ความเห็นต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาในวงการ DIY ไปในทิศทางที่ดีขึ้น หรือ อย่างน้อยก็มีบรรทัดฐานให้ใช้เป็นแนวทางได้ในระดับนึง ...
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
213
เงิน
6495
ความดี
6038
เครดิต
5111
จิตพิสัย
4552
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 5#  โพสต์เมื่อ: 2013-04-23
สุดยอดเลยยยครับบบ  
โพสต์
3280
เงิน
49028
ความดี
67852
เครดิต
78389
จิตพิสัย
62308
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 6#  โพสต์เมื่อ: 2013-04-24
ผมลืมไปว่าอาจจะไม่ใช่ทุกคนที่รู้จักอุปกรณ์ประเภทนี้ วีดีโอนี้จะให้พื้นฐาน ช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์ประเภท Camera Stabilizer (SteadiCAM) ได้ดีในระดับนึงทีเดียวครับครับ

* ในวีดีโอจะเป็นคนละทรงกัน ใช้กับอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมากขึ้น แต่หลักการทำงานใกล้เคียงกัน





เพิ่มเติมคลิ๊ป : อันนี้คือต้นแบบของงาน DIY ของเรา คือ SteadiCAM Merlin

* ผู้ชายที่อยู่ในวีดีโอช่วงต้น คือ Garrett Brown บิดาแห่ง SteadiCAM ผู้คิดค้นและประดิษฐ์ SteadiCAM เป็นคนแรก







เพิ่มเติมคลิ๊ป : การฝึกใช้ SteadiCAM ในระดับอาชีพ







เพิ่มเติมคลิ๊ป : อันนี้เป็นงาน DIY ของนักประดิษฐ์ชาวญี่ปุ่น สวยงามทีเดียว

ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
424
เงิน
7904
ความดี
6784
เครดิต
7082
จิตพิสัย
6127
จังหวัด
นคราชสีมา
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 7#  โพสต์เมื่อ: 2013-04-25
แหล่งความรู้สำคัญครับ ขอบคุณครับ
ake
โพสต์
4768
เงิน
34014
ความดี
117475
เครดิต
125435
จิตพิสัย
118050
จังหวัด
เชียงใหม่

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 8#  โพสต์เมื่อ: 2013-04-25
ความรู้เต็มๆเลยครับ ขอบคุณครับ
ระดับ : สมาชิก VII
โพสต์
664
เงิน
12508
ความดี
9479
เครดิต
9051
จิตพิสัย
10356
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 9#  โพสต์เมื่อ: 2013-04-27
ขำครับ แตการคิดงานรูปแบบใหม่ ไม่อิงใคร แต่ใช้งานได้ โดนบล๊อคโดนแบน อัตตาสูงมาก ๆ เลย จบแค่นี้ จากการด้วยดี อโหสิครับ
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
214
เงิน
8720
ความดี
6593
เครดิต
8480
จิตพิสัย
4169
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 10#  โพสต์เมื่อ: 2013-04-27
สุดยอดแนวความคิดครับ นับถือๆ (มีโอกาสจะลองทำดูครับ)
แต่ผมว่าการมันคงหนักมากๆ เวลาใช้งานจริง
โพสต์
3280
เงิน
49028
ความดี
67852
เครดิต
78389
จิตพิสัย
62308
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 11#  โพสต์เมื่อ: 2013-04-27
ผมลืมแจ้งน้ำหนัก ใช้โปรแกรมคำนวนน้ำหนัก ถ้าใช้วัสดุตรงสเปค จะผิดพลาดน้อยมาก ...
น้ำหนักคำนวนเฉพาะตัว SteadiCAM หนักอยู่ประมาณ 1.145 กิโลกรัม ก็เบากว่า Netbook ที่ผมใช้อยู่ 2 ขีดครับ

ส่วนอื่น ๆ ที่เป็นออฟชั่นใส่เพิ่ม ก็ประมาณนี้ ...
- ชุดจับมอนิเตอร์ 334 กรัม
- ชุดจับแบตเตอรี่ 478 กรัม
- ชุดจับ โทรศัพท์, เทบเล็ต 357 กรัม

น้ำหนักดังกล่าว หลังเจาะลดน้ำหนักแล้ว น่าจะลงได้อีกสัก 10-30%

ใครมีโอกาสได้ทดลองทำ รบกวนโพสต์โชว์ด้วยครับ ถือเป็นการวัดความสำเร็จของกระทู้ DIY อันนี้ ...




ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
433
เงิน
9297
ความดี
10845
เครดิต
12065
จิตพิสัย
11004
จังหวัด
ปทุมธานี

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 12#  โพสต์เมื่อ: 2013-04-27
โครตสุดยอดเลยครับ
ระดับ : สมาชิก III
โพสต์
20
เงิน
1683
ความดี
713
เครดิต
684
จิตพิสัย
541
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 13#  โพสต์เมื่อ: 2013-05-12
นับถือ
โพสต์
3280
เงิน
49028
ความดี
67852
เครดิต
78389
จิตพิสัย
62308
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 14#  โพสต์เมื่อ: 2013-06-09
หลังจากแชร์ไอเดียและแบบของสเตดิแคมมาได้สักพัก รวมถึงโปรเจคต์อื่น ๆ อีก 2 ตัว มาได้สักระยะ สรุปว่า ทั้ง 3 โปรเจคต์ รวมกับ อีก 1 โปรเจคต์ที่ยังไม่เปิดเผย (พูดง่าย ๆ ว่า ผมยังไม่ได้ทำแบบ แฮ่) จะถูกผนวกเข้าด้วยกัน เรียกว่า The 'X' Projects ( 'X' ที่ว่า มาจาก Cross หรือ Transform) ซึ่งโปรเจคต์นี้จะมีชิ้นส่วนรวม ๆ กัน 1 ชุด สามารถประกอบเป็นอุปกรณ์ได้ 4 อย่าง คือ SteadiCAM, Rig, Slider และ Crane เป็นอุปกรณ์ส่วนบุคคล หอบหิ้วไปไหนมาไหนได้สะดวก เซ็ตอุปกรณ์และใช้งานได้ด้วยคนเดียว ...

หน้าตา 3 ใน 4 ของอุปกรณ์ที่ว่า จะเป็นดังภาพที่แนบมา ส่วนรายละเอียดผมจะขึ้นกระทู้ใหม่ โดยไม่ได้เน้นที่ไอเดียและแบบเท่านั้นแล้ว แต่จะเป็นภาคปฏิบัติ ซึงเน้นความง่ายแบบที่ใคร ๆ ก็ทำได้เหมือนเดิม พร้อมกับจะมีชิ้นส่วนจัดเป็นชุด Kit ให้นำไป DIY ต่อ หรือ จะนำไปประกอบใช้งาน ก็ทำได้ตามสะดวก ในราคาสบาย ๆ กระเป๋า อย่าง สไลเดอร์ที่เห็น เริ่มที่พันต้น ๆ ก็ได้ชุด Kit มาประกอบเป็นสไลเดอร์ยาว 1 เมตร ใช้งานได้แล้ว ...

ปล. ขึ้นกระทู้ใหม่เมื่อไหร่ จะนำมาแปะที่ท้ายโพสต์นี้ จะได้ติดตามต่อได้ถูกครับ ...

*** ไปต่อที่กระทู้นี้ครับ http://thaidfilm.com/read.php?tid=21037

คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยายนะครับ ...
  • รูปภาพ:SPIIN-X-Project.jpg
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้