สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 26522เข้าชม
  • 8ตอบกลับ

โปรเจคต์ X - Steadicam, Rig, Slider, Crane ในหนึ่งเดียว

โพสต์
3280
เงิน
49028
ความดี
67852
เครดิต
78389
จิตพิสัย
62308
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร



แนวความคิดของโปรเจคต์ X (Cross / Transform) คือ การออกแบบชิ้นส่วนขึ้นมา 1 ชุด แล้วสามารถนำมาประกอบเป็นอุปกรณ์ได้หลาย ๆ ชนิด เพื่อใช้ในการสร้างสรรค์ Shot วีดีโอ (หรือช่วยในการถ่ายภาพ) ได้ในหลายรูปแบบ ในเบื้องต้นนี้ได้ออกแบบให้ประกอบได้เป็น Camera Stabilizer (Steadycam), Camera Rig, Camera Slider, Camera Crane โดยแต่ละส่วนนั้นต้องทำงานได้เต็มฟังชั่นเหมือนอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเฉพาะอย่างไม่มีขาดตกบกพร่อง

โปรเจคต์นี้สร้างขึ้นมาสำหรับ นักประดิษฐ์อุปกรณ์ DIY ใช้เป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างอุปกรณ์ขึ้นมาใช้เองด้วยงบประมาณที่ไม่มากนัก ... หรือ นักถ่ายวีดีโอ / นักถ่ายภาพ สมัครเล่นถึงกึ่งอาชีพ ที่ต้องการอุปกรณ์ส่วนบุคคลสักชุด ที่จะช่วยให้สามารถสร้างสรรค์ วีดีโอ Shot หรือ ภาพนิ่ง ได้ในหลาย ๆ รูปแบบ หลาย ๆ สถานะการณ์ ได้อย่างครบถ้วน และ คุ้มค่าที่สุด ... หรือ มืออาชีพ ที่ต้องการอุปกรณ์เสริม/อุปกรณ์สำรอง มาทำงานร่วมกับอุปกรณ์หลักเดิมที่มีอยู่แล้ว

ในโปรเจคต์นี้ ผมขอเริ่มที่ Camera Slider เนื่องจากอุปกรณ์อื่น ๆ ผมได้เคยให้รายละเอียดไว้ค่อนข้างชัดเจนมากแล้ว ผู้สนใจสามารถหาอ่านได้ในกระทู้เก่า ๆ (Camera Stablizer, Camera Rig, Camera Slider) จากนั้นจึงจะค่อยไล่ลำดับลงไปเป็น Camera Rig, Camera Stabilizer และ Camera Jib Crane เป็นส่วนสุดท้าย

โปรเจคต์นี้เป็นการสรุปรวมความคิดรวบยอดจากในทุกกระทู้ที่ได้เคยเผยแพร่ไว้เป็นหนึ่งเดียว โดยเน้นให้เป็นอุปกรณ์พกพาส่วนบุคคล ผู้ที่สนใจในทุก ๆ ระดับ สามารถร่วมแสดงความคิดเห็น ความรู้ ประสบการณ์ รวมถึงการร่วมพัฒนาต่อยอดออกไป เพื่อให้ได้เป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพและความสามารถมากยิ่งขึ้น

:: แนวคิดพื้นฐานที่สำคัญ
- อุปกรณ์ในแต่ละส่วนต้องทำงานได้เต็มหน้าที่
- การใช้ชิ้นส่วนร่วมกัน การนำมาใช้ซ้ำ ให้ได้มากที่สุด
- ความยืดหยุ่นในการปรับแต่ง ปรับเปลี่ยน ปรับปรุง เสริมอุปกรณ์ เพิ่มเติมความสามารถ ได้โดยไม่ต้องโยนของเก่าทิ้ง
- ใช้วัสดุที่หาได้ง่าย ผลิต/ซ่อมแซมได้ง่าย ด้วยเครื่องมือที่ไม่ซับซ้อน ค่าใช้จ่ายต่ำ



โปรเจคต์ X - โหมด Camera Slider

:: แนวคิด การออกแบบ การผลิตชิ้นส่วน/ทำสี
อ่านรายละเอียดในโพสต์ถัดไป ...

:: ชิ้นส่วนรางสไลเดอร์ และ การประกอบ


:: ชิ้นส่วน เพลท/ลูกสไลด์ และ การประกอบ


:: ชิ้นส่วน ชุดขาตั้ง Type II / ลูกล้อ Dolly และ การประกอบ (อุปกรณ์เสริม)



:: ชิ้นส่วน ชุดขับเคลื่อนแบบแบบมือหมุน / มอเตอร์ - ระบบส่งกำลังแบบสกรู และ การประกอบ (อุปกรณ์เสริม)



:: การทดสอบอุปกรณ์ (อย่างไม่เป็นทางการ) (*** อัพเดต)


สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับการทดสอบนี้ !

การทดสอบนี้ต้องถือว่าทำอย่างไม่เป็นทางการ ด้วยเคยแจ้งมาก่อนหน้านี้แล้วว่า อุปกรณ์ที่ใช้ถ่ายเป็นกล้องมือถือราคาไม่ถึงสองพันบาทดี ประสิทธิภาพต่ำ แต่ต้องมาเจอช๊อตยากอย่าง Dolly Shot ที่แต่เฟรมภาพเคลื่อนไปทั้งหมด (อันนี้รวมถึงพวก Tracking, Pan, Zoom ด้วย) เป็นภาระอย่างยิ่งต่อการประมวลผลเพื่อเข้ารหัสวีดีโอ ส่งผลให้ภาพมีลักษณะสโตรคมากบ้างน้อยบ้างแบบพอจับอาการได้อันเป็นผลมาจากประมวลผลไม่ทัน อันนั้นหนึ่งจุด

จุดที่สอง คือผมไปถ่ายทำแบบฉุกละหุก ใช้เวลาช่วงพักทานข้าวกลางวัน ซึ่งมีเวลาเหลือไม่ถึง 40 นาทีดี รีบหิ้วอุปกรณ์ใส่รถไป 3 ชิ้น คือ มือถือ, ที่จับมือถือ และ สไลเดอร์ โดยไปทราบเอาหน้างานว่า สกรูบางตัวของสไลเดอร์ถูกไขไว้หลวม ๆ ทำให้โครงสร้างโยกเยกงึก ๆ งั่ก ๆ ขณะถ่าย และ พบคราบฝุ่นผสมน้ำมันในโรงงาน แข็งติดแน่นที่ล้อ Dolly ทำให้ล้อวิ่งสะดุดเป็นจังหวะ ๆ แถมไม่ได้ติดเครื่องไม้เครื่องมือใด ๆ ที่จะสามารถนำมาแก้ไขได้เลย จึงจำเป็นต้องถ่ายไปในสภาพนั้น ซึ่งเป็นบทเรียนอย่างดีในการเตรียมความพร้อมก่อนออกไปถ่ายทำ

ทำไมต้อง สไลเดอร์ ?

ผมคิดว่าหลายท่านรู้เรื่องเกี่ยวกับอุปกรณ์ สไลเดอร์ / ดอลลี่ นี้ดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน หรือ ลักษณะภาพที่ได้ แต่ท่านที่ไม่ได้มาสายงานวีดีโออาจจะยังนึกภาพไม่ออกว่าทำไม่ต้อง สไลเดอร์ ?

สไลเดอร์ / ดอลลี่ เป็นอุปกรณ์ถ่ายทำที่ช่วยสร้างช๊อตที่เรียกว่า Dolly Shot และ Tracking Shot (ไม่นับรวมการประยุกต์ไปสร้างภาพในแบบอื่น ๆ อีก) ทั้งสองแบบนี้พูดให้มองเห็นภาพได้ง่ายขึ้นว่า Dolly Shot มีการทำงานและลักษณะภาพคล้าย ๆ กับการ Pan และ Tracking Shot มีการทำงานและลักษณะภาพคล้าย ๆ กับการ Zoom

แล้วทำไมจึงไม่ Pan หรือ Zoom เลยล่ะ ง่ายกว่าเยอะ ? แม้จะมีความคล้ายกัน แต่ด้วยเงื่อนไขภาพที่แทนกันไม่ได้ การ Pan เป็นการหมุนกล้องรอบตัว ทุกสิ่งที่อยู่หน้ากล้อง ไม่ว่าใกล้ไกลจะวิ่งผ่านเฟรมภาพไปพร้อม ๆ กันหมด ส่วน Dolly ฉากหน้าจะวิ่งผ่านกล้องไป โดยที่ฉากหลังซึ่งอยู่ไกลกว่าจะยังคงถูกตรึงไว้ ลองนึกภาพว่า คุณมีฉากหลังเป็นโบสถ์หนึ่งหลัง และมีฉากหน้าเป็นภิกษุสงฆ์ยืนเรียงกัน หากต้องการจะให้ภาพภิกษุสงฆ์เคลื่อนผ่านหน้ากล้องไป โดยฉากหลังยังคงเป็นโบสถ์ปรากฏอยู่ตลอดทั้งช๊อตนั้น อุปกรณ์ที่ทำได้มีเพียง สไลเดอร์ / ดอลลี่ เท่านั้น ... Tracking Shot กับ การ Zoom ก็อธิบายได้ในลักษณะเดียวกัน

สิ่งที่อธิบายข้างต้นจะเห็นได้ชัดเจนในวีดีโอทดสอบด้านบน ทุกช๊อตที่ถ่ายเป็น Dolly Shot ทั้งหมดครับ ...



หมายเหตุ :
- ขออภัยที่คุณภาพวีดีโอไม่ค่อยดีนะครับ เพราะอุปกรณ์ถ่ายภาพเดียวที่มีติดตัวอยู่ขณะนี้คือมือถือราคาถูกไม่ถึงสองพันบาทดี โดยได้วางบนสไดเดอร์เหนือหัวโดยไม่ได้ยึดใด ๆ เวลาสไลด์กล้อง (มือถือ) อาจจะมีอาการสั่น ๆ บ้าง รวมถึงข้อจำกัดเรื่องเวลาและเครื่องไม้เครื่องมืออีกหลาย ๆ อย่าง วีดีโอนำเสนอที่ทำวไว้จึงไม่ค่อยมีคุณภาพดีนัก แต่อย่างไรก็ตามก็คาดว่าจะยังคงพอให้เห็นรายละเอียดและสามารถทำความเข้าใจได้ไม่ยากนัก ไว้ได้กล้องใหญ่ส่งคืนมาแล้วจะถ่ายแก้ให้เป็นทางการอีกครั้งนึงครับ ...

- เนื่องจากโปรเจคต์นี้เน้นการปฏิบัติ ดังนั้นจะมีชุด Kit ราคาถูก ผลิตแบบจำกัดจำนวนออกมาสนับสนุนด้วย (เท่าที่วัสดุที่มีเหลืออยู่จะทำได้) เพื่อให้นัก DIY ที่อาจจะไม่สะดวกในการผลิตอุปกรณ์บางชิ้น หรือ ผู้สนใจ ได้นำไปประกอบ และ ทดลองใช้ แล้วนำประสบการณ์ที่ได้กลับมาแชร์ ทั้งในส่วนของ การใช้งาน การประยุกต์ใช้ ข้อบกพร่อง และ การแก้ไข ฯลฯ ...

แต่อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอาจจะมีการผลิตชิ้นส่วนออกมาสนับสนุนเป็นเรื่องเป็นราว เพื่อว่าอย่างน้อยจะได้มีทุนเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการคิดการทำโปรเจคต์ในลักษณะนี้ออกมาเผยแพร่ต่อไป รายละเอียดจะโพสต์ไว้ในห้องขายของ แล้วนำลิงค์มาแจ้งอีกทีครับ ...

ที่มา : http://www.spiinwork.com/node/193
  • รูปภาพ:SPIIN-X-Project.jpg
บันทึกคะแนนนี้โพสต์ล่าสุด: รวม 2 คะแนน ความดี +11 ซ่อน
weedman ความดี +10 2013-09-22 -
napakorn ความดี +1 2013-06-22 -

บทความที่เกี่ยวข้อง

โพสต์
3280
เงิน
49028
ความดี
67852
เครดิต
78389
จิตพิสัย
62308
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

ในระหว่างที่ง่วน ๆ อยู่กับโปรเจคต์รวมกลุ่มผลิตนี้ ผมมีเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับเกี่ยวกับการเตรียมผิวโลหะก่อนนำไปทำสี เพื่อให้สีติดนาน คงทน และ สวยงาม มาฝากครับ ...

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ขั้นตอน QC และ เก็บรายละเอียด

เมื่อชิ้นส่วนต่าง ๆ ได้ผ่านการแปรรูป (ตัด, เจาะ, ต๊าฟ, เจียร์ ฯ) มาเรียบร้อยแล้ว ชิ้นส่วนทุกชิ้นจะผ่านขั้นตอนการ QC และเก็บรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง โดยส่วนรูเจาะ-รูต๊าฟ ทุกรู จะถูกนำมาวัดขนาด ทดสอบการสวม เจียร์เศษขี้ชิ้นงานออกไปให้เรียบร้อย, ขอบงานจะถูกนำมาเจียร์เรียบอีกครั้ง และ ปัดจนขึ้นเงา, ส่วนผิวด้านที่จะต้องนำมาประกบกับชิ้นส่วนอื่นจะถูกนำมาปาดเพื่อให้ได้ผิวที่ราบเรียบสม่ำเสมอ

ขันตอนการทำสี (ตัวอย่างชิ้นงาน)

ล้างน้ำมัน - ในครั้งแรกของการทำความสะอาดชิ้นงาน ชิ้นส่วนทุกชิ้นจะถูกนำมาล้างและขัดน้ำมันที่ติดอยู่ทั้งหมด



กัดด้วยเคมี - ต่อมาจึงนำชิ้นงานมากัดด้วยเคมี เพื่อสิ่งแปลกปลอมที่การทำความสะอาดในรอบแรกเข้าไปไม่ถึง เคมีจะช่วยล้างไขมันที่หลงเหลือ, กัดสิ่งที่เคลือบอยู่บนผิวเหล็กออกทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสีกันสนิมเดิมจากโรงงาน หรือ สนิมต่าง ๆ คราบสกปรก สิ่งปนเปื้อนเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจซ่อนอยู่ตามจุดต่าง ๆ ทั้งหมด



ขัดด้วยแปรงทองเหลือง - ต่อมานำชิ้นงานมาขัดด้วยแปรงทองเหลืองซ้ำอีกครั้งเพื่อขจัดคราบหรือรอยต่าง ๆ ที่ยังอาจปรากฏอยู่บนผิวเหล็ก



เป่าแห้งด้วยลมแรงดันสูง - ใช้ลมแรงดันสูงเป่าชิ้นงานให้แห้งอย่างเร็วที่สุด เพื่อป้องกันคราบสนิมที่จะเกิดขึ้นตามมา





ชิ้นงานที่ผ่านการกัดด้วยเคมี นอกจากจะปราศจากน้ำมัน สนิม และ สิ่งแปลกปลอมอย่างสิ้นเชิงแล้ว ผิวยังมีลักษณะคล้ายรมดำ ซึ่งจะช่วยป้องกันสนิมในอนาคตได้อีกชั้นหนึ่ง



ขัดเปิดผิวโลหะ - นำชิ้นงานไปขัดด้วยลูกขัดสก๊อตไบรท์ เพื่อเปิดผิวเหล็กสีเงินออกมา เพื่อเตรียมนำไปพ่นสีต่อไป



- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ที่มา : http://www.spiinwork.com/node/201
ระดับ : สมาชิก I
โพสต์
8
เงิน
601
ความดี
562
เครดิต
748
จิตพิสัย
175
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
มาปูเสื่อรอดูผลงานคับ
โพสต์
3280
เงิน
49028
ความดี
67852
เครดิต
78389
จิตพิสัย
62308
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

หนึ่งในข้อพึงระวังหลาย ๆ อย่างในขั้นตอนของการเตรียมผิวและทำสี คือ เรื่องของสภาพแวดล้อม อย่างกรณีที่ผมกำลังเจออยู่นี้คือ ช่วงนี้เป็นหน้าฝน แล้วดันเป็นช่วงที่ฝนตกติดต่อกันต่อเนื่องทุกวัน ทำให้อุณหภูมิและความชื้นในอากาศไม่เหมาะสมอย่างยิ่งต่อการทำสี แม้จะทำในอาคารที่ปิดมิดชิดก็ตาม ...

สิ่งที่พบ 2 อย่าง หากทำงานในวันที่ฝนตก คือ หนึ่ง "สนิม" ที่จะมาเกาะผิวชิ้นงานที่ทำความสะอาดแล้วอย่างรวดเร็ว และ สอง "สี" ที่พ่นไปแล้ว จะด้าน ไม่สวยงาม (ย้ำว่า แม้จะทำในโรงงานที่ปิดมิดชิดแล้วก็ตาม) ... ทั้งสองกรณี ทางแก้คือ ต้องทำใหม่ทั้งหมดครับ ชิ้นงานต้องกัดเคมีและเปิดผิวใหม่หมด ส่วนชิ้นงานที่พ่นสีไปแล้วยิ่งแย่กว่า เพราะต้องเพิ่มขั้นตอนการล้างสีด้วยเคมีเข้าไปอีกหนึ่งขั้นตอน ...

เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพ ทางแก้ที่ดีที่สุดในสภาวะอากาศแบบนี้ คือ ต้องทำตู้หรือห้องอบสีขึ้นมา ใหญ่เล็กแล้วแต่งบประมาณ เพราะไม่สามารถคาดหวังดินฟ้าอากาศได้เลย (กรณีจัดเก็บต้องเก็บในกล่อง/ตู้ที่กันความชื้นได้ดีระดับนึง) โดยเฉพาะโปรเจคต์รวมกลุ่มผลิต X-Slider นี้หลายคนที่อดทนรอเริ่มมีเสียงบ่นออกมาเล็ก ๆ บ้างแล้ว  

ลองเปรียบเทียบภาพด้านล่าง กับโพสต์ก่อนหน้านี้ครับ ในชั่วระยะเวลาไม่ถึงสัปดาห์ที่มีฝนตกทุกวัน ชิ้นงานที่รอเข้าบูทพ่นสีเริ่มมีสนิมบาง ๆ เกาะชิ้นงานแล้ว    
  • รูปภาพ:IMG_0147jpg1.jpg
  • รูปภาพ:IMG_0148jpg2.jpg
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
433
เงิน
9297
ความดี
10845
เครดิต
12065
จิตพิสัย
11004
จังหวัด
ปทุมธานี

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 4#  โพสต์เมื่อ: 2013-09-12
พี่ครับ พี่เจาะรูยังไงอะ ใช้สว่างแท่นเจาะ หรือว่า ใช้เลเซอร์เจาะรูครับ  ดูแล้วรูเม้นยำมากเลยครับ
โพสต์
3280
เงิน
49028
ความดี
67852
เครดิต
78389
จิตพิสัย
62308
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 5#  โพสต์เมื่อ: 2013-09-13
สว่านแท่นธรรมดานี่แหล่ะครับ และเพราะมันเป็นอุปกรณ์แมนวลพื้นฐานที่ไม่มีอุปกรณ์ช่วยเหลือใด ๆ เลยต้องฝีมือเยอะหน่อย+ความละเอียดของคนทำ+อุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ต้องพร้อม

เอา dial gauge เช็ค-ปรับฉากโต๊ะงานให้เรียบร้อย, ใช้ปากกาจับชิ้นงานดี ๆ สักหน่อย, ละเอียดเรื่องการวัด, ใช้ดอกเจาะมีคุณภาพ ... เวลาเจาะ ต้องเจาะนำศูนย์ก่อนทุกครั้ง แล้วค่อยลงดอกจริง ถ้ารูค่อนข้างใหญ่ก็ต้องค่อย ๆ ไล่ขนาดดอกไป ไม่ได้เจาะครั้งเดียว มันจะสั่นและปากรูแตก, หยอดน้ำมันตลอด ฯลฯ และ เมื่อต้องทำเป็นจำนวนมาก ก็ออกแบบตัวจับไว้ เพื่อให้วางชิ้นงานลงไปแต่ละชิ้นแล้วได้ตำแหน่งเลย ตรงกันทุกชิ้น โดยไม่ต้องวัด ... อะไรประมาณนี้ครับ ...

ส่วนการตัดใช้พลาสม่าครับ ขอบที่เห็นเรียบกริ๊บเงาวับนั่น เอามาเจียร์เก็บขอบซ้ำอีกครั้งครับ ใช้เจียร์ตั้งโต๊ะธรรมดาเหมือนกัน แต่ทำแท่น+จิ๊กจับงานสำหรับเจียร์ให้ขอบตรงขึ้นมาเฉพาะ (คล้าย ๆ งานเจียรนัย/เจียร์ราบ) ค่อนข้างกินเวลาพอสมควร แต่ได้งานสวย ...

ปกติ ถ้ามีเครื่องมิลลิ่งที่ติดลิเนียร์สเกล + ดิจิตอลรีดเอาท์ ก็จะทำงานสะดวกและเร็วยิ่งขึ้นครับ ยิ่งถ้าติดมอเตอร์ทำงานแบบ CNC ยิ่งแทบไม่ต้องทำอะไรเลย เขียนแบบ/ทำ CAM เสร็จ ตั้งชิ้นงาน เครื่องมันลุยให้อย่างเดียว ...
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
433
เงิน
9297
ความดี
10845
เครดิต
12065
จิตพิสัย
11004
จังหวัด
ปทุมธานี

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 6#  โพสต์เมื่อ: 2013-09-13
ขอบคุณมากครับ ผมคิดว่าปัญหาของนัก DIY คือการเจาะรูด้วยความเม้นยำสูง ผมคนนึงที่ใช้สว่านมือที่มีอยู่ที่บ้านเจาะรู ความแม้นยำ พลาดแม้แต่มินเดียวงานก็เสียเลย ผมละกลุ้มใจกะเรื่องการเจาะรูจริง ๆ ขอบคุณมากครับที่ให้ความรู้
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
433
เงิน
9297
ความดี
10845
เครดิต
12065
จิตพิสัย
11004
จังหวัด
ปทุมธานี

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 7#  โพสต์เมื่อ: 2013-09-22
รอชมครับพี่
ระดับ : สมาชิก IIII
โพสต์
57
เงิน
2162
ความดี
1023
เครดิต
1153
จิตพิสัย
1536
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 8#  โพสต์เมื่อ: 2014-04-29
ตอนนี้ยังไม่ได้รับ ชุดมอเตอร์เลยครับ เห็นบอกว่าจะส่งตั้งแต่ปลายเดือนมีนา นี่ก็อักวันจะหมดเดือนเมษาแล้วครับ

กิตตินันท์
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้