สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 15264เข้าชม
  • 6ตอบกลับ

การเขียนบทสารคดี ( p0p-it )..

โพสต์
787
เงิน
5355
ความดี
14867
เครดิต
11447
จิตพิสัย
37005
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร



   มีน้องใหม่เม้นท์มาถาม … สับสนการทำบทสารคดี " มีทั้งคนสัมภาษณ์พูด , เราพูด(บทที่ต้องเขียนในเนื้อ) , และพิธีกรพูด                                               อะไรคือส่วนสำคัญสุดในงานสารคดี?.."
   ถามมานานมาก แต่ไม่มีเวลาเขียนเพราะถูกลูกค้าจิกไปช่วยงานด่วน  ( ตอนนี้ลูกค้าเผลอ เลยแอบมาตอบ )..
  ….คำถามนี้เกิดจากการที่ผมได้เวิร์คช็อพไปงานหนึ่งว่า  มีบทพูดซำ้ไปมาระหว่างพิธีกรพูดกับเนื้อเรื่อง
 เวิร์คช็็อพสารคดี น้องใหม่ต้องดู ( p0p-it) 

  เริ่มต้นในการทำบทสารคดี..เรียงตามขั้นตอนนี้ทุกอย่าง ( ห้ามลัดขั้นตอนนะคับ )
 1. หาข้อมูลในเรื่องที่ต้องการทำก่อน จะหาในหนังสือหรือทางไหนก็ได้ หาข้อมูลในแนวที่เราจะทำ เขาเรียกทำการบ้าน 
      น้องใหม่หลายคนไม่ทำการบ้านไปตายเอาดาบหน้า คือไปสัมภาษณ์สถานที่จริง แล้วจับประเด็นตรงนั้นเลย ถามว่าทำได้ไม๊ทำได้คับ
      ไม่ผิดกติกา ถ้าผู้ให้สัมภาษณ์ (ไม่ด่า) มีบางครั้งที่เมื่อไปถึง ผู้จะไปสัมภาษณ์กลับถูกสัมภาษณ์เสียเอง คือผู้ที่จะให้สัภาษณ์ถามทีมงานว่า 
      ก่อนจะมาที่นี่รู้อะไรเกี่ยวกับตัวผมบ้าง หรือขอดูสมุดที่คุณจดอยู่ว่ามีเนื้อหาอะไรบ้าง? ถ้าคุณตอบว่า ไม่มี ไม่รู้ จะมารู้ก็ตอนนี้ 
      ถ้าผู้ให้สัมภาษณ์เป็นปราชญ์มีความรู้ระดับครู เขาอาจไล่ตะเพิดคุณออกจากบ้านเดี๋ยวนั้นเลย ผู้ใหญ่รุ่นเก่าหลายคนเขาถือนะคับ 
      ถือว่าคุณไม่ให้เกียรติคนถูกสัมภาษณ์ ไม่ทำการบ้านมาแล้วจะเอาอะไรมาถาม รวมถึงงานที่เสร็จ จะออกมาดีได้อย่างไร?..
      และอีกอย่าง จะไปสัมภาษณ์ใครต้องน้อบน้อมและสัมมาคาราวะให้มากๆ ที่เขาอุตสาห์สละเวลาอันมีค่ามานั่งให้เราถ่ายทำรายการ 
     ( บางครั้งอาจกินเวลานานเป็นวัน ) จะให้เขาทำอะไรพูดจาให้ดี อย่าใช้คำถามเหมือนดูถูก หรือไปกร่างทำเหมือนว่า
      เอ็ง( ผู้ถูกสัมภาษณ์ ) จะต้องสำนึกบุญคุณข้า ที่อุตสาห์เดินทางมาทำรายการ…ทำนองนี้ ..( น้องใหม่ต้องระวัง ห้ามทำเด็ดขาดนะคับ )
 2. ไปสถานที่จริงหาข้อมูลจริง ว่าตรงกับที่เรารู้เข้าใจมาหรือไม่? เนื่องจากข้อมูลเดิมที่เราหามาอาจเก่าไปใช้ไม่ได้หรือแหล่งข่าวที่เราค้นคว้า
      นำเสนอข้อมูลผิดก็ลองสอบถามพูดคุยผู้ถูกสัมภาษณ์ดูว่าตรงไหนใช้ได้หรือไม่ หรือต้องการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมตรงไหน 
      แล้วก็ปรับจูนข้อมูลเก่าและใหม่ให้เป็นเรื่องเดียวกัน 
     ( แต่อย่างไรก็ตาม แม้ข้อมูลเปลี่ยน ฐานข้อมูลเดิมก็ยังคงใช้ได้และเป็นประโยชน์อยู่..)
  3.  มาถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้วคับ ที่จะกำหนดว่า สิ่งใดควรให้ผู้สัมภาษณ์พูด , หรือพิธีกรพูด สุดท้ายตัวเราต้องเป็นคนพูดเอง ( เขียนบท ) 
      ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องทำต่อไปคือ เรียงลำดับความสำคัญที่สุด 100% ไล่เลียงไปจนถึงสำคัญน้อยสุด 
  -  สำคัญสุด ควรที่จะให้ผู้สัมภาษณ์พูด รู้ได้อย่างไร วิธีคิดง่ายมาก เนื้อหาประโยคนี้ถ้าผู้ให้สัมภาษณ์พูดเทียบกับเราเป็นคนพูด คิดว่าคนดู
     จะเชื่อใครมากกว่ากัน ถ้ารู้สึกว่าใครพูดก็ดีไม่สู้ เท่ากับตัวเขาที่พูดเอง ก็ยกช่วงนี้ให้พระเอกไปเสียดีๆอย่าได้เข้าไปแย่งซีนเป็นอันขาด
  -  สำคัญน้อยสุดควรพูดเอง( เขียนบทเอง) ก็คัดจากเนื้อหาที่เหลือข้างต้น ที่ดูแล้วว่า ใครๆก็พูดได้ แล้วความหมายไม่เสีย
 -  สำหรับบทของพิธีกรก็เป็นเสมือนตัวแทนทางบ้าน ถามทุกเรื่องที่อยากรู้อยากเห็น ถามนั่นถามนี่ในส่วนที่ตอบไม่ชัดเจน

     รวมถึงคอยสรุปประเด็นต่างๆให้ทางบ้านได้เข้าใจไม่สับสน


          จริงๆแล้วหลักการเขียนบทสารคดี ไม่มีหลักตายตัว ไม่ว่าคุณจะเขียนแบบไหน ก็ใช้ได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับเนื้อหาหรือรูปแบบรายการ
     ที่สปอนด์เซอร์กำหนด ในทางกลับกันในเมื่อเราถูกกำหนดให้ทำตาม แล้วเราจะรู้ถึงตัวตนที่แท้จริงในงานของเราที่ทำได้อย่างไร
     ก็เช็คได้จากพวกเราที่ทำอาชีพเดียวกันนี้ล่ะคับ (  แข่งกันเองในแต่ละประเภทรายการ )..

       - บทพิธีกรพูดเปิดปิด ใช้คำถามที่น่าสนใจ และน่าติดตามหรือไม่...
       - บทเขียนในเนื้อแต่ละช่วง ใช้คำคม สัมผัสนอกในไปช่วยให้ภาพมีความหมายขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์ ?..
       -เนื้อหาในแต่ละช่วง ทำการบ้านหาข้อมูลมาดี
แล้วหรือยัง?..

     สมมติผมจะทำสารคดีเรื่องวัดพระพุทธโสธร นำเสนอเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของวัด ตอนนี้ทีมงานอยู่ที่วัดเรียบร้อยแล้ว

      อยากสัมภาษณ์ใครสักคนที่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับวัด หันซ้ายขวาคนแรกที่เห็น จัดไปด่วน..
       ..สัมภาษณ์คนขายดอกไม้หน้าวิหาร ได้ความรู้อยู่แล้วเพราะขายมาหลายปี
      ..เหยียบเท้าเข้าวิหารเห็นทีมงานตำรวจที่ดูแลความปลอดภัย ดูจากยศแล้วใหญ่โตน่าเกรงขาม สัมภาษณ์อีกครั้ง ไม่เป็นไรถ่ายเผื่อไว้
      ..เดินไปยังมุมวิหารด้านข้าง มีป้ายเชิญติดต่อมรรคทายก ลืมไปเลยว่าวัดคู่กับมรรคทายก ติดต่อขอสัมภาษณ์อีกเช่นกัน ไม่เป็นไรวันนี้ไม่รีบ

     ...ก่อนกลับเข้าไปกราบพระพุทธโสธรเพื่อขอพร พบเจ้าอาวาสกำลังนำชาวบ้านสวดมนต์เช้า และที่สุดของที่สุดในการทำสารคดีวัดก็คือ
        สัมภาษณ์เจ้าอาวาส  ( น่าเขกหัวตัวเองซะจริง ลืมไปได้ยังไง?) ..สัมภาษณ์อีกซะรอบทีมงานจะบ่นไหมเนี่ย..

   ....นี่คือตัวอย่าง ของการทำสารคดีวัด

            .......จะสัมภาษณ์คนขายดอกไม้หน้าวิหาร หรือจะสัมภาษณ์เจ้าอาวาส ก็ได้ข้อมูลเหมือนกัน
                   แต่ความน่าเชื่อถือไม่เหมือนกัน คุณภาพรายการก็ต่างกันด้วย ( คนเขียนบทสารคดีเขาแข่งกันตรงนี้ล่ะคับ )

...มีน้องเม้นท์มาให้ช่วยแสดงความคิดเห็นงานสารคดีกลุ่มที่ทำในองค์กร ลองเปิดเข้าไปดูเห็นมีหลายเรื่อง แต่ละเรื่องยาว 20-25 นาทีขึ้นไป

   ขณะที่รอโหลดเห็นอะไรแว็บๆด้านข้าง เพื่อไม่ให้เสียเวลาช่วงที่รอ เปิดดูฆ่าเวลาไปพลางๆก่อน  เลยได้ความรู้มาฝากเป็นข้อคิดว่า...

                     
....." ทำสารคดีออนแอร์โทรทัศน์   เบื่อเมื่อไหร่คนกดเปลี่ยนช่อง
                         ทำสารคดีลงเว็บ  โหลดช้าเมื่อไหร่คนกดดูคลิปหลุด "....
 ( คู่แข่งที่น่ากลัวยิ่งสำหรับคนทำรายการลงเว็บ) 

สรุปแล้ววันนั้น ผมยังไม่ได้เปิดดูงานของน้องที่เม้นท์มาเลย  เพียงตอบกลับไปว่าทำให้สั้นๆหน่อยได้ไหม?
    ..เพราะผมเป็นคนชอบของหลุดนะคับ..
               

                   





www.p0p-it.blogspot.com

บันทึกคะแนนนี้โพสต์ล่าสุด: รวม 1 คะแนน ความดี +1 ซ่อน
veenono ความดี +1 2014-02-12 -

บทความที่เกี่ยวข้อง

ระดับ : สมาชิก IIII
โพสต์
99
เงิน
3817
ความดี
2522
เครดิต
2434
จิตพิสัย
3445
จังหวัด
เชียงใหม่
ผมก็อยากลองเขียนบทสารคดีนะครับ แต่ที่ผ่านมาทำได้แค่ขึ้นโครงคร่าวๆ

เอาข้อมูลดิบไปวางไว้ในเรื่องคร่าวๆ เพราะทุกครั้ง ตอนลงทำสารคดี มันไม่เคยได้ตามบทสักที

สิ่งที่ผมได้จากการทำงานมาสักระยะคือ นักทำสารคดีที่ดี ต้องสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีมากๆ

เพราะบางเรื่อง บางอย่าง เรากลับไปถ่ายทำเพื่อแก้ไขไม่ได้แล้ว
ระดับ : สมาชิก VII
โพสต์
597
เงิน
21443
ความดี
14319
เครดิต
16209
จิตพิสัย
11210
จังหวัด

ขอบคุณครับที่ให้ความรู้ดีๆ  คนเรายิ่งให้ยิ่งได้รับ ขอให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไปครับ
ระดับ : สมาชิก V
โพสต์
148
เงิน
3793
ความดี
2253
เครดิต
2262
จิตพิสัย
4238
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
ตามมาอ่านติดๆ คร้าบ


ผมเคยรับงานสารคดี(อัต)ชีวประวัติบุคคล ซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์ และไม่เคยทำมาก่อน
ใช้เวลาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับถ่ายทำไปด้วยอยู่ 3 - 4 เดือน (นานเกิ๊น) กว่าจะทำรายการได้เท่าเทียมกับที่เค้าเคยทำไ้ว้ ยังไม่ต้องพูดถึงว่าจะสร้างสรรค์ให้ดีด้วยซ้ำ


รูปแบบรายการประกอบด้วย
1. พิธีกรเปิดรายการในสตูฯ
2. เสียงบรรยายประกอบภาพจากสถานที่จริง พร้อมเห็นกิจกรรมของเจ้าตัวผู้เป็นหัวเรื่องของตอน
3. สัมภาษณ์เจ้าตัว
4. ละครจำลองเหตุการณ์ในอดีต
5. Graphic เน้นประโยคคำคมที่สำคัญๆ
ซึ่งผู้ควบคุมรายการ เค้าขอให้เล่ารายการด้วยรูปแบบที่ 2-5 สลับกัน อย่าให้แต่ละรูปแบบนานเกิน 15 วินาที เพื่อให้ไม่คนดูเบื่อ


ตอนทำ Script ผมมาเจอวิธีล้อมคอกก่อนวัวหายคือ เอาเนื้อหาทั้งหมด มาแบ่งเป็นวันๆ ออกอากาศเสียก่อน พยายามเฉลี่ยให้มั่นใจว่า เนื้อหาแต่ละวันสามารถชักจูงให้คนดู ดูต่อได้จนจบวัน
แล้วถึงเอาเนื้อหาแต่ละวันออกอากาศที่แบ่งไว้ มาแบ่งเป็น Break คร่าวๆ เพื่อถ่วงน้ำหนักในแต่ละ Break ให้เท่าเทียมกันที่สุด น่าเบื่อน้อยที่สุด
แล้วถึงเริ่มลงมือเขียนเป็น Script โดยใช้รูปแบบ 2-5 สลับกันไปตามจังหวะของเนื้อหาครับ (เ้ฮ้อ... คนเรียนรุ้ช้า มันก็ทำงานซับซ้อนเช่นนี้แล)


ตอนถ่ายสัมภาษณ์ ก็พยายามให้เจ้าตัวพูดครอบคลุมทุกๆ รูปแบบไว้ ไม่ได้ให้พูดแค่ประเด็นที่ระบุไว้ในสคริปต์เท่านั้น เป็นการ Play Safe
ส่วนสำคัญที่สร้างสรรค์งาน ก็เลยมาอยู่ในขั้นตอน "ตัดต่อ" ครับ มีแหกสคริปต์ไปก็หลายครั้ง
และเสียงบรรยาย ผมต้องตัดต่อเกือบจะเสร็จก่อน ถึงจะรู้ว่าควรจะเขียนบทบรรยายยาวแค่ไหน เนื้อหาเป็นยังไง
ใช้ภาพประกอบเสียงบรรยายแก้ปัญหาเนื้อหาช่วงไหนที่มันตะกุกตะกักบ้าง
ใช้เชื่อมรอยต่อระหว่างช่วงที่ขาดตกบกพร่องบ้าง
และใช้เสียงบรรยายย่อเนื้อหาที่อาจจะยาวเกินเวลา ให้สั้นลงพอดิบพอดี
[ แก้ไขล่าสุดโดย nhongrama เมื่อ 2012-10-22 22:12 ]
บันทึกคะแนนนี้โพสต์ล่าสุด: รวม 1 คะแนน ความดี +1 ซ่อน
veenono ความดี +1 2014-02-12 -
โพสต์
37
เงิน
518
ความดี
466
เครดิต
407
จิตพิสัย
2582
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 4#  โพสต์เมื่อ: 2012-09-14
กระทู้นี้โดนบล็อค ระบบจะซ่อนข้อความหรือไฟล์แนบอัตโนมัติ สามารถมองเห็นได้เฉพาะผู้ดูแล!
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
342
เงิน
7600
ความดี
5543
เครดิต
5628
จิตพิสัย
9319
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 5#  โพสต์เมื่อ: 2014-02-12
อ้างอิง
อ้างอิงโพสต์3 ต้นฉบับโพสต์โดยnhongramaเมื่อ2012-09-13 21:59เผยแพร่ :
ตามมาอ่านติดๆ คร้าบ


ผมเคยรับงานสารคดี(อัต)ชีวประวัติบุคคล ซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์ และไม่เคยทำมาก่อน
ใช้เวลาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับถ่ายทำไปด้วยอยู่ 3 - 4 เดือน (นานเกิ๊น) กว่าจะทำรายการได้เท่าเทียมกับที่เค้าเคยทำไ้ว้ ยังไม่ต้องพูดถึงว่าจะสร้างสรรค์ให้ดีด้วยซ้ำ
.......




รบกวนสอบถามครับ หากเราถ่าย 3-4 เดือน นี่ถ่ายเกือบทุกวันไหมครับ
ต้องเฝ้ากิจวัตรเลยหรือว่าตกลงกับคนให้สัมภาษณ์ และถ่ายทำ 3-4 เดือน
เป็นรายการแบบไหนครับ อย่างคนค้นคน ชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร ถ่ายนานแค่ไหนครับ
ผมเห็นรายการอย่าง ทุ่งแสงตะวัน หรือคนแกร่งหัวใจเก่ง ใช้เวลาถ่ายน้อยมากๆ
ที่ถามมากๆเพราะไม่รู้จริงๆนะครับ ขอบคุณครับ
ระดับ : สมาชิก V
โพสต์
148
เงิน
3793
ความดี
2253
เครดิต
2262
จิตพิสัย
4238
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 6#  โพสต์เมื่อ: 2014-02-12
3-4 เดือนที่ผมเรียนรู้งาน เป็นการถ่ายทำหลายตอน(ออกอากาศ)ครับ ที่นิยมเรียกกันว่าหลายเทปน่ะครับ
ก็ถ่ายทำราวๆ 3-4 วันต่อ 2 เทปออกอากาศ ก็คือตามถ่ายทำชีวิตเค้าประมาณ 2 วันต่อ 1 เทปนั่นเอง

การถ่ายทำแต่ละเรื่อง บางทีก้เหลื่อมๆ กันฮะ อย่างถ่ายสัมภาษณ์คนหนึ่งไว้ และต้องรอวันทำกิจกรรมเค้าอีก 2 สัปดาห์
ระหว่างนี้ก็ไปถ่ายละครของอีกเรื่องหนึ่ง ฯลฯ เวลาก็เลยไม่แน่นอนในแต่ละเทปครับ แต่็ก็มีความเร่งรีบอยู่เป็นธรรมดาของรายการโทรทัศน์ เพราะต้องรายงานกับ Producer รายการ ว่าเนื้อหาของเราจะสมบูรณ์ในวันไหน เขาจะได้จัดลำดับออกอากาศได้ (รายการนี้มีทีมผลิตรายการ 4 ทีมครับ)

รายการประวัติบุคคลที่ผมทำ หลายๆ คนที่สัมภาษณ์ ก็เคยออกรายการคนค้นคนมาแล้ว เท่าที่ฟังเค้าเล่า รายการคนค้นคนตามถ่ายเรื่องของเค้าราวๆ 3-4 เดือนของจริงฮะ เรียกว่าทิ้งให้ตากล้องกินนอนอยู่กับเค้าเลย
มีคนออกรายการตนนึงเล่าให้ฟังว่า ต้องตื่นตี 4 เพื่อออกไปฝึกซ้อม เปิดประตูบ้านออกมา เจอกล้องของคนค้นคนดักรออยู่แล้ว ทุ่มเทอย่างนี้ มิน่า รายการคนค้นคนออกมาถึงได้น่าประทับใจ

รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้