สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 2356เข้าชม
  • 5ตอบกลับ

HD DVD ต่างกับ DVD ธรรมดายังไงครับ

ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
445
เงิน
8248
ความดี
9133
เครดิต
9002
จิตพิสัย
8280
จังหวัด
อุบลราชธานี


   เห็นตามร้านมีขายหนังฝรั่ง เขียนว่า HD DVD อยากรู้ว่าต่างจาก DVD ธรรมดายังไงบ้างครับ และวิธีทำ ทำยังไงครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

โพสต์
3280
เงิน
49028
ความดี
67852
เครดิต
78389
จิตพิสัย
62308
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เคยได้ยินว่าเป็นภาคต่อของ DVD สำหรับ Video ระดับ Hidef แต่สุดท้ายแพ้ให้กับ Blu-ray ของค่าย Sony ไปแล้วครับ ปัจจุบันเลยไม่ได้รับความนิยม ...

การทำอะไรต่าง ๆ ก็ใช้เครื่องมือคล้าย ๆ กันกับของ DVD ปกติ เพียงแต่อัพเกรดให้รับความละเอียดระดับ HD ได้ อย่างโปรแกรม Scenarist ก็ใช้เครื่องมือเดียวกัน (อัพเกรดเวอร์ชั่น) ส่วนสื่อบันทึกอันนี้ไม่แน่ใจ ผมไ่ม่เคยเห็นหน้าตาตัวจริงของมันเลย ทั้งแผ่น และ เครื่องบันทึก ...
บันทึกคะแนนนี้โพสต์ล่าสุด: รวม 2 คะแนน ความดี +2 ซ่อน
beer7 ความดี +1 2013-03-11 -
aron ความดี +1 2013-03-08 ขอบคุณครับ
ระดับ : สมาชิก IIII
โพสต์
52
เงิน
1958
ความดี
967
เครดิต
872
จิตพิสัย
665
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
ตามร้านหนังใส่กระบะ เคยเห็นแผ่นมีทั้ง Logo DVD และ Bluray ในแผ่นเดียวก็มีครับ อย่าไปเอานิยายอะไรกับมันเลย....
ระดับ : สมาชิก V
โพสต์
194
เงิน
130
ความดี
1792
เครดิต
1466
จิตพิสัย
2135
จังหวัด
ปราจีนบุรี
ความละเอียดครับผม แผ่นบูลเรย์ กับแผ่นดีวีดี

ลองอ่านนะครับ

เทคโนโลยี CD-RW - DVD - Blu-ray Disc

CD-RW

หากว่ากันในโลกของซีดีอาร์ดับบลิวแล้ว ยามาฮ่าเรียกได้ว่าเป็นเจ้าแรก ๆ ที่พัฒนาไดร์ฟซีดีอาร์ ออกวางตลาดโดยล่าสุดนั้นมักจะเป็นไดร์ฟที่นิยมกันและได้รับความเชื่อถือกัน อย่างกว้างขวาง เรื่องราวเหล่านี้จะเป็นอย่างไรมาติดตามในก้าวทันไอทีค่ะ

สำหรับเครื่องที่เป็นแบบ External ซึ่งเรียกได้ว่าไม่มีใครเกินไดร์ฟซีดีอาร์ดับบลิวยี่ห้อนี้ และเมื่อกระแสของการป้องกัน Buffer Under Run เกิดขึ้น ยามาฮ่าก็ได้พัฒนาเทคโนโลยี SafeBurn มาเพื่อใช้กับไดร์ฟซีดีอาร์ดับบลิวของตน

เทคโนโลยี SafeBurn Buffer Management System (เรียกสั้น ๆ ว่า SafeBurn ) หลักการทำงานเริ่มแรกก็จะตรวจสอบความสามารถของแผ่นซีดีที่จะบันทึกและจะ จัดการเลือกความสามารถในการ
บันทึกให้ตรงกับซีดีแผ่นนั้น ๆ จากนั้นจะคอยจัดการในเรื่องการทำงานไปด้วย ทำให้ทำงานได้ทั้งในการเขียนแผ่นซีดีและก็ทำงานอย่างอื่น ๆ ได้พร้อมกัน ซึ่งไดร์ฟนี้ก็มีจุดเด่นตรงที่บัฟเฟอร์ขนาดใหญ่ 8 เมกะไบต์ ทำให้รองรับข้อมูลที่ไหลมาเก็บได้มากกว่า

ความนิยมของไดร์ฟซีดีอาร์ดับบลิว

วันนี้มาถึงเรื่องของการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของการใช้งานไดร์ ฟซีดีอาร์ดับบลิว เรื่องราวจะเป็นอย่างไรติดตามในก้าวทันไอทีวันนี้ค่ะ

ความนิยมของการใช้งานไดร์ฟซีดีอาร์ดับบลิวนั้น หากดูกันในท้องตลาดที่นิยมกันเป็นหลัก ก็จะเป็นรุ่นแบบติดตั้งภายในที่ใช้อินเทอร์เฟซแบบ IDE เป็นหลัก เหมือนกันฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ซึ่งไดร์ฟแบบนี้มีข้อดีตรงที่ความเร็วในการทำงานค่อนข้างสูง ราคาประหยัด สามารถต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้ทันที และโอเอสสามารถตรวจพบเห็นไดร์ฟได้อย่างรวดเร็ว ใช้งานง่าย ข้อดีก็คือความเร็วในการเขียนปัจจุบันสูงถึง 32* แล้ว แต่ข้อเสียก็คือเคลื่อนย้ายไม่สะดวกเพราะติดตั้งอยู่ภายในตัวของเครื่อง

ไดร์ฟแบบที่สองที่กำลังเริ่มได้รับความนิยมกันมากขึ้น ก็คือ ไดร์ฟแบบต่อจากภายนอก ผ่านทางพอร์ต USB โดยไดร์ฟแบบนี้ความเร็วในการเขียนจะต่ำกว่าเพราะอินเทอร์เฟซของ USB มาตรฐาน ปัจจุบันนั้นยังคงอยู่ที่เวอร์ชั่น 1.1 ซึ่งทำให้ไดร์ฟที่ใช้อินเทอร์เฟซแบบนี้สามารถทำความเร็วในการเขียนได้เพียง 4*4*24 เท่านั้นเอง ส่วนไดร์ฟที่ใช้มาตราฐาน USB 2.0 นั้น ก็เริ่มมีวางจำหน่ายบ้างแล้วเหมือนกัน เพียงแต่มาตราฐาน USB 2.0 ยังไม่แพร่หลายเท่านั้นเอง ซึ่งทำให้ฟังก์ชั่นการใช้งานแบบเคลื่อนย้ายนั้นยังคงไม่สะดวกเท่าไหรนัก

นอกจากอินเทอร์เฟซสองมาตราฐานที่นิยมกันแล้ว ยังมีอินเทอร์เฟซอีกมาตราฐานหนึ่ง แต่มักจะได้รับความสนใจจากบรรดาเหล่าผู้ใช้ไม่มากนัก เนื่องจากราคาแพงและต้องใช้ฮาร์ดแวร์ต่างหากเพิ่มเติม เช่น อินเทอร์เฟซแบบ SCSI และ Firewire หรือ IEEE1394 ซึ่งมักจะมีใช้กับคอมพิวเตอร์ในระดับเซิร์ฟเวอร์หรือแมคระดับเพาเวอร์แมค เท่านั้น

เรื่องราวของ CD สื่อบันทึกข้อมูลแบบดิจิตอล

1. ลักษณะของแผ่น CD
แผ่น CD มีขนาด 4.75 นิ้วหรือ 120 มิลลิเมตร ความหนาประมาณ 1.2 มิลลิเมตร ทำจากพลาสติกใส ถูกทำให้เกิดร่องคล้ายแผ่นเสียง และถูกฉาบด้วยสารประเภทท Poly Carbonate และเคลือกทับอีกชั้นด้วยแล็คเกอร์ ส่วนที่ร่องหรือหลุมลึกลงไปจากผิวเราเรียกว่า pits (ทำหน้าที่กระจายแสง) และส่วนด้านบนเรียกว่า lands (ทำหน้าที่สะท้อนแสงกลับออไป)

2. CD-Rom Drive
คือ drive สำหรับอ่านแผ่น CD, VCD หรือ CD เพลงทั่วไป แต่สามารถอ่านได้อย่างเดียว เขียนข้อมูลทับลง CD ไม่ได้ ปัจจุบันมีราคาถูกว่า และถือว่าเป็นอุปกรณ์มาตราฐานสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไป

3. แผ่น CD-R
บางบน เรียกแผ่นประเภทนี้ว่า CD-WORM หรือ CD-WO (WO หมายถึง write onec) )แผ่น CD ที่สามารถบันทึกได้ โดยใช้โปรแกรมช่วยในการบันทึก และใช้เครื่อง Recordable CD เป็นตัวบันทึก แต่การบันทึกนั้นจะใช้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ข้อสังเกต ให้ดูคำว่า CD-R บนแผ่น CD

4. แผ่น CD-RW (Rewriteable CD)
แผ่น CD ที่สามารถบันทึกซ้ำได้ คล้ายกับ harddisk หรือแผ่นดิสก์ทั่ว ๆ ไป ราคาจะแพงกว่าแผ่น CD-R หลายเท่า ข้อสังเกตว่าแผ่นไหนเป็น CD-RW ให้ดูคำว่า CD-RW บนแผ่น CD สำหรับการบันทึกของแผ่น CD-RW จะเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า multi-sessions เทคโนโลยีของ CD-RW นั้นจะแตกต่างจาก CD-R เนื่องจากต้องมีการบันทึกซ้ำ โดยสารเคมีที่เคลือบบนแผ่น CD-RW นั้นจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อได้รับความร้อนถึงจุด ๆ หนึ่ง

5. Drive CD-RW
เครื่อง บันทึก CD สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบน CD ได้ (แผ่น CD ที่ใช้ สามารถใช้ได้ทั้ง CD-R และ CD-RW) ส่วน ซอร์ฟแวร์ที่ใช้ในการบันทึก โดยปกติ ถ้าเราซื้อ recordable CD drive มาจะมีโปรแกรมแถมมาให้ด้วย เช่น Easy CD Creator, Nero Burning ROM เป็นต้น และท่านทราบหรือไม่ว่า เราสามารถนำแผ่น CR-R มาทำเป็นแผ่น CD Audio ได้ด้วย

6. การเชื่อมต่อของ Drive CD-RW
โดย ปกติเราสามารถนำ Drive CD-R ต่อเป็นอีก drive หนึ่งของคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับ disk drive ทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน USB port ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการเชื่อมต่อที่ง่ายและสะดวกมาก และโดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายก็ยิ่งสะดวกมากด้วย และสำหรับการเชื่อมต่อที่เร็วที่สุดคงไม่พ้นการต่อด้วย SCSI Card (ต้องซื้อ card scsi เพิ่มและมีราคาค่อนข้างแพง)

7. Multi-sessions เรื่องที่เกี่ยวข้องกับ CD
คุณเคยประสบปัญหานี้หรือไม่ แผ่น CD บางแผ่น นำไปอ่านกับ drive CD-Rom ตัวหนึ่งได้ แต่ไม่สามารถอ่านได้กับอัก drive หนึ่ง ปัญหาที่เกิดขึ้นก็สืบเนื่องมาจาก CD-R แผ่นนั้นถูกเขียนในลักษณะ mulit-sessions คือการเขียนข้อมูลลงบนดิสก์หลายหน แต่ปัญหานี้จะแก้ไขได้โดย ก่อนซื้อ CD-Rom ให้เลือก drive ที่สนับสนุนระบบ multi-sessions ด้วย

8. ความเร็วในการบันทึก
หน่วย ที่ใช้วัดความเร็วของ CD จะวัดจาก ความเร็วในการอ่านข้อมูลที่ 150 Kb / วินาที (ความเร็วของ CD-Rom drive รุ่นแรก ๆ) โดยใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร 'X' ต่อท้าย เพื่อบอกจำนวนเท่าของความเร็ว (ควรเลือกซื้อความเร็วอย่างน้อย 20X ขึ้นไป)


DVD

ในโลกของสื่อ บันทึกข้อมูลภาพ และเสียงในยุคดิจิตอลอย่างปัจจุบัน สื่อบันทึกข้อมูลที่ดีที่สุดในขณะนี้คงไม่มีใครไม่ยอมรับ ดีวีดี (DVD ย่อมาจาก Digital Versatile Disk หรือ Digital Video Disk)

มีคนจำนวนไม่น้อยเลย (รวมทั้งตัวผมเองเมื่อก่อน) ที่พากันสงสัยว่า เจ้าแผ่นดีวีดีที่มีขนาดไม่แตกต่างไปจากแผ่นซีดีเนี่ย มันมีดียังไง ถึงได้สามารถที่จะบันทึกข้อมูลภาพ และเสียง ได้ทั้งนานกว่า และมีคุณภาพกว่าสื่อบันทึกข้อมูลแบบซีดี ทั้งๆ ที่มันก็เป็นการบันทึกแบบดิจิตอลเหมือนๆ กัน…

ดังนั้นผมก็เลยหาข้อมูลมาคลายข้อสงสัยว่าเจ้าดีวีดีเนี่ย มันทำงานกันยังไง และมีคุณสมบัติ (ฟีเจอร์) อะไรกันบ้าง?!?

รู้จักกับแผ่นดีวีดีกันก่อน

แผ่นดีวีดีนั้น ดูๆ ไปมันก็ไม่ต่างไปจากแผ่นซีดีหรอกครับ เพียงแต่ว่ามันมีความจุที่มากกว่ามากๆ โดยมาตรฐานของแผ่นดีวีดีแล้ว มันจะมีความจุมากกว่าแผ่นซีดีถึงเจ็ดเท่าทีเดียว ซึ่งด้วยขนาดความจุที่มากมายขนาดนี้นี่เอง ที่ทำให้เจ้าแผ่นดีวีดีสามารถที่จะบันทึกข้อมูลภาพยนตร์ที่เข้ารหัสแบบ MPEG-2 ได้เต็มๆ ซึ่งลักษณะของภาพยนตร์ในรูปแบบดีวีดีนั้นมีดังนี้ครับ
• สามารถบันทึกข้อมูลวิดีโอที่ความละเอียดสูงได้ถึง 133 นาที
• การบีบอัดของวิดีโอในรูปแบบ MPEG-2 นั้นมีอัตราส่วนอยู่ที่ 40:1
• สามารถมีเสียงในฟิล์มได้มากถึง 8 ภาษา โดยมีระบบเสียง 5.1 Channel Dolby Digital Surround Sound
• มีคำบรรยาย (Subtitle) ได้มากสูงสุดถึง 32 ภาษา
• ภาพยนตร์ดีวีดีบางแผ่นนั้น สามารถเปลี่ยนมุมกล้องได้ด้วย
• นอกเหนือไปจากความสามารถที่เอ่ยถึงไป หากเราเอาแผ่นดีวีดีมาใช้บันทึกข้อมูล ภาพและเสียงด้วยระดับคุณภาพของซีดี ก็จะสามารถบันทึกได้นานถึงเกือบ 8 ชั่วโมง ทีเดียว!! (เพียงแต่ว่าไม่มีใครเขาทำกันเท่านั้นเองครับ)

แผ่นดีวีดีไม่ได้มีเพียงแบบเดียวนะครับ แต่ว่ามันมีด้วยกัน 4 แบบก็คือ
• Single-Sided Single Layer (DVD-5)
• Single-Sided Double Layer (DVD-9)
• Double-Sided Single Layer (DVD-10)
• Double-Sided Double Layer (DVD-18)

เปรียบเทียบแผ่นดีวีดีกับแผ่นซีดี
ปัจจัย ที่ทำให้แผ่นดีวีดีนั้นมีความจุสูงกว่าแผ่นซีดีมีอยู่สามหัวข้อหลักๆ ก็คือ



ความหนาแน่นของข้อมูลที่มากกว่า
การบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นดีวีดีนั้นมี ระยะห่างระหว่างแทร็คของข้อมูลที่น้อยมาก แถมยังมีขนาดของ pit ที่เล็กมากๆ ด้วย มาลองเปรียบเทียบกันกับแผ่นซีดีก็ได้ครับ
มาลองคำนวณกันง่ายๆ กันดีกว่าครับ ว่าความหนาแน่นที่เพิ่มขึ้นมาขนาดนี้ ช่วยให้แผ่นดีวีดีมีความจุเพิ่มได้เท่าไหร่?!? เริ่มจากระยะระหว่างแทร็คที่เล็กกว่า 2.16 เท่า และความยาวของ pit ที่สั้นกว่าอีก 2.08 เท่า ซึ่งเมื่อนำมาคูณกันแล้ว จะได้ประมาณ 4.5 เท่า นั่นแสดงว่าแผ่นดีวีดีนั้นมีพื้นที่สำหรับการเก็บ pit มากกว่าแผ่นซีดีถึง 4.5 เท่าทีเดียว และนี่หมายถึงความจุที่มากกว่าแผ่นซีดี 4.5 เท่าเช่นกัน

Overhead ที่น้อยกว่า
ใน รูปแบบของแผ่นซีดี จะมีข้อมูลพิเศษที่ถูกเข้ารหัสเอาไว้บนแผ่นดิสก์เพื่อใช้ในการ แก้ไขข้อมูลในกรณีที่ผิดพลาด (Error Correction) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จริงๆ แล้วก็คือข้อมูล ที่มีอยู่แล้วบนแผ่นดิสก์นั่นเอง… สำหรับวิธีการแก้ไขข้อผิดพลาดที่ใช้กันอยู่ในแผ่นซีดี นั้นค่อนข้างจะเก่า และมีประสิทธิภาพสู้วิธีที่ใช้กันในแผ่นดีวีดีไม่ได้เลย โดยเจ้าแผ่นดีวีดีนั้นไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่มากนักในส่วนของการแก้ไขข้อผิด พลาด ซึ่งส่งผลให้มีเนื้อที่ในการบันทึกข้อมูลจริงๆ มากกว่า

การบันทึกข้อมูลลงในเลเยอร์หลายๆ เลเยอร์
ในแผ่นซีดีนั้น การบันทึกข้อมูลจะกระทำบนเลเยอร์เดียว แต่สำหรับแผ่นดีวีดี การบันทึกข้อมูลสามารถทำได้ถึง 2 เลเยอร์ และสองด้านของแผ่น ซึ่งรวมๆ แล้วก็นับเป็น 4 เลเยอร์ทีเดียว

อาจจะแปลกใจอยู่บ้าง ที่ความจุไม่ได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ทั้งๆ ที่เราได้บันทึกข้อมูลเพิ่มจากเดิมเลเยอร์เดียว เป็นสองเลเยอร์ ทั้งนี้ก็เพราะว่าเมื่อ ทำเลเยอร์เป็นสองชั้นแล้ว ความยาวของ pit นั้นต้องมากขึ้นครับ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการรบกวนกันระหว่างเลเยอร์ซึ่งจะทำ ให้เกิด ข้อผิดพลาดเวลาเล่นดิสก์ครับ

Blu-ray Disc

มาตรฐานของบลูเรย์พัฒนาโดย กลุ่มของบริษัทที่เรียกว่า Blu-ray Disc Association ซึ่งนำโดยโซนี และ ฟิลิปส์ เปรียบเทียบกับ เอ็ชดีดีวีดี (HD-DVD) ที่มีลักษณะและการพัฒนาใกล้เคียงกัน บลูเรย์มีความจุ 25 GB ในแบบเลเยอร์เดียว (Single-Layer) และ 50 GB ในแบบสองเลเยอร์ (Double-Layer) ขณะที่ เอ็ชดีดีวีดีแบบเลเยอร์เดียว มี 15 GB และสองเลเยอร์มี 30 GB

ความจุของบลูเรย์ดิสค์ ซึ่งปกติแผ่นบลูเรย์นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับแผ่น ซีดี/ดีวีดี โดยแผ่นบลูเรย์จะมีลักษณะแบบหน้าเดียว และสองหน้า โดยแต่ละหน้าสามารถรองรับได้มากถึง 2 เลเยอร์ อาทิ แผ่น BD-R (SL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 25 GB แผ่น BD-R (DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GB แผ่น BD-R (2DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB

ส่วนความเร็วในการอ่านหรือบันทึกแผ่น Blu-Ray ที่มีค่า 1x, 2x, 4x ในแต่ละ 1x จะมีความเร็ว 36 เมกะบิต ต่อ วินาที นั่นหมายความว่า 4x นั่นจะสามารถบันทึกได้เร็วถึง 144 เมกะบิต ต่อ วินาที

ที่มา http://learners.in.th/blog/all-fine/248004  
บันทึกคะแนนนี้โพสต์ล่าสุด: รวม 1 คะแนน ความดี +1 ซ่อน
beer7 ความดี +1 2013-03-11 -
โพสต์
1064
เงิน
14841
ความดี
10868
เครดิต
10002
จิตพิสัย
15544
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 4#  โพสต์เมื่อ: 2013-03-11
ในกรณีของจขกท. ผมว่าน่าจะหมายถึง HD 2(TO) DVD มากกว่าครับ

คือต้นฉบับมาเป็น HD แต่เอามาทำเป็น DVD Video ธรรมดาสามัญ เพื่อให้เล่นกับเครื่องดีวีดีทั่วไปได้ คุณภาพก็ตามดีวีดีนั่นแหละครับ


ส่วนวิธีทำก็ไม่ยาก...เอาไฟล์หนังที่ว่า โยนใส่ DVD Architect แล้วสั่งให้มันไรท์เป็น DVD ออกมา จบ...
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
433
เงิน
8384
ความดี
6330
เครดิต
6526
จิตพิสัย
9379
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 5#  โพสต์เมื่อ: 2013-03-11
เข้ามาอ่าน ได้ความรู้เพิ่มอีกหนึ่งเรือ่ง อิอิ
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้