สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 49601เข้าชม
  • 4ตอบกลับ

การเขียนบท 3 Treatment

โพสต์
644
เงิน
16847
ความดี
14761
เครดิต
14339
จิตพิสัย
20875
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

Treatment

    หลังจากที่เราได้ โครงเรื่อง (Plot) ที่แข็งแรงแล้ว มีทั้งแก่นที่เข้าท่าเข้าทาง ประเด็นที่ชัดเจน โครงสร้างที่เห็นค่อนข้างชัด จากนั้นเราก็จะเริ่มนำมันมาขยายความต่อ ในช่วงนี้เราจะไม่พูดถึงเรื่องราวนะครับ เพราะว่านั่นเป็นเรื่องส่วนบุคคลครับ ไม่มีใครถูก ไม่มีใครผิด มันขึ้นอยู่กับประสบการณ์ครับ ผมอยากให้ทุกคนลองเขียนบทภาพยนตร์จากสิ่งที่พวกเรามี ไม่ใช่จากสิ่งที่ผมบอกว่าถูกหรือผิด เพราะผมเองก็ไม่ใช่คนเก่งอะไร ผมจึงขอข้ามเรื่องเกี่ยวกับเรื่องราว ตัวละคร สถานการณ์ไปนะครับ  ดังนั้นสิ่งที่ผมจะพูดในบทนี้คือ ...การขยายโครงเรื่อง เรื่องโครงสร้างเรื่องกลับไปดูได้ืที่ http://www.thaidfilm.com/read.php?tid=403

    จากโครงเรื่องที่เราได้มาแล้ว จะเห็นได้ว่ามันเป็นโครงสร้างแบบ 3 องก์ หรือจะเป็นโครงสร้างแบบ 2 องก์ของหนังสั้น เราจะเห็นได้ว่ามันสั้นมากๆ เราจะขยายมันได้อย่างไร ขั้นตอนนี้หละครับเราต้องเริ่มหลับตาเห็นภาพหนังของเรามากขึ้น  เริ่มจากองก์ที่ 1 กันก่อนเลย ขอแนะนำให้เขียนบรรยายลงไปแบบสั้นๆในหนึ่งสถานการณ์นะครับ เช่น ยกตัวอย่างจากหนังที่เราเคยดูอีกเช่นเคย

1. ค่ำคืนอากาศเงียบสงบ ศาสตราจารย์ดัมเบิลดอร์ ศาสตราจารย์มักกอลนากัล และแฮร์กริดพาแฮร์รี่ในวัย 10 เดือนมาส่งที่บ้านเลขที่4  ซอยพรีเว็ต

2. แฮร์รี่ในวัย 10 ปีตื่นมาในห้องของเขาที่ใต้บันไดเพราะดัดลี่ย์แกล้ง เขาต้องทำอาหารเช้าให้ทั้งบ้าน และวันนี้เป็นวันเกิดของดัดลีย์ เขาไม่พอใจที่ได้ของขวัญน้อยกว่าปีที่แล้วหนึ่งชิ้น

3. ทั้งหมดออกจากบ้านจะไปสวนสัตว์ ก่อนขึ้นรถ ลุงเวอร์นอนเตือนแฮร์รี่ว่าห้ามทำอะไรแปลกๆ แฮร์รี่รับคำ

4. ที่สวนสัตว์ ดัดลี่ย์พยายามปลุกงูให้ตื่น เมื่อเห็นงูไม่ยอมตื่นจึงไปดูที่อื่นต่อ แฮร์รี่พูดกับงูตัวนั้นอย่างไม่คิดอะไร แต่เจ้างูกลับตอบแฮร์รี่กลับมา เขาประหลาดใจมาก เมื่อดัดลี่ย์เห็นงูตื่นแล้วจึงเข้ามาผลัก
    แฮร์รี่ล้มลง แฮร์รี่โมโห เขาทำให้กระจกหายไป ดัดลี่ย์ร่วงเข้าไปในตู้แสดงงู ในขณะที่งูก็หนีออกมาพร้อมกับขอบใจแฮร์รี่ แต่ดัดลี่ย์กลับออกมาจากตู้ไม่ได้ แฮร์รี่ขำสะใจ ในจณะที่ลุงเวอร์นอนกับป้าเพ็ต   ทูเนียตกใจมาก

5. ลุงเวอร์นอนโยนแฮร์รี่เข้าไปในห้องใต้บันได แฮร์รี่ พยายามอธิบายว่า กระจกมันหายไปเองเหมือนมีเวทย์มนต์  ลุงเวอร์นอนล๊อกกลอนจากด้านนอกพร้อมกับบอกแฮร์รี่ว่า โลกนี้ไม่มีเวทย์มนต์

ทั้งหมดที่เขียนมาข้างต้นคือทรีตเมนท์ (Treatment) จะเห็นได้ว่าเราเริ่มใส่รายละเอียดลงไปมากขึ้นกว่าตอนที่ทำโครงเรื่อง ตอนที่เป็นโครงเรื่องมันอาจจะถูกเขียนแค่ว่า  “แฮร์รี่ใช้เวทย์มนต์โดยไม่รู้ตัว ลุงเวอร์นอนเลยลงโทษ”

พอตอนที่เราขยายความ มันจะกลายเป็นสถานการณ์ที่ใช้เล่าเหตุการณ์ สิ่งที่ต้องคำนึงมากที่สุดในการเขียนทรีตเมนต์คือ เราต้องรู้ว่าแต่ละสถานการณ์เราใส่ไปเพื่อบอกอะไร  นั่นคือสิ่งที่เราจะบอกคนดู  แล้วเราก็ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนเสร็จ
ในร่างแรกของทรีตเมนท์ ผมขอแนะนำว่าให้เราเขียนลงไปเลย เขียนอย่าหยุด เขียนไปเรื่อยๆทีละองก์จนมันจบ  อย่าคิดว่ามันห่วย หรืออย่าหยุดแก้นะครับ อันนี้สำคัญมาก การที่หลายคนเขียนบทไม่เคยจบเพราะว่าคอยมันแต่จะหยุด ทั้งๆที่จินตนาการของเราไปได้เร็วกว่าที่เราคิด หลายคนหยุดหาเหตุผล ที่เรามักไม่ค่อยเจอ ดังนั้น เขียนไปก่อนครับ เขียนไปให้จบครับ ย้ำนะครับ เขียนไปให้จบครับ...

เมื่อเขียนไปสักพักหนึ่งแล้ว บางที (สำหรับผมเกือบทุกที) เราจะพบว่า เรื่องของเราจะเริ่มมีชีวิต มันจะเริ่มเล่าเรื่องด้วยตัวของมันเอง ( งงสิครับ ) ไม่มีใครเข้าใจหรอกครับถ้าไม่ได้ลองเขียนด้วยตัวเอง แต่อยากจะบอกว่ามันจะเกิดขึ้นจริงๆครับ  และสำหรับผม ผมจะเชื่อมันครับ เพราะมันหมายความว่า คุณค้นพบน้ำเสียงของเรื่องของคุณแล้ว ลองตามมันไปดูครับ บางทีคำตอบที่เราหาตอนที่เราทำโครงเรื่องมาเนิ่นนาน จะได้รับคำตอบในตอนนี้ครับ

เมื่อเราเขียนจนจบแล้ว.... งานจริงๆของเรากำลังจะเริ่มต้นครับ นั่นคือการแก้ทรีตเมนท์ และนี่จะเป็นช่วงเวลาที่อาจจะยาวนานและยากลำบากที่สุดอันหนึ่งในกระบวนการเขียนบทครับ


การแก้ Treatment

จากบทที่แล้วเราได้พูดถึงการเขียนทรีตเมนท์กันไปแล้ว คราวนี้ก็จะมาสู่ขั้นตอนสำคัญแล้วล่ะครับ  นั่นก็คือการแก้ทรีตเมนท์

หลังจากที่เราได้ทรีตเมนท์หนังทั้งเรื่องมาแล้วแน่นอนครับ เราจะเห็นการดำเนินเรื่องของหนังของเราทั้งหมดได้  เราจะเห็นได้ว่าฉากไหนยาว ฉากไหนสั้น จากนี้ต่อไปจะเป็นการแนะนำเครื่องมือที่ทำให้เราแก้ไขทรีตเมนท์อย่างง่ายๆนะครับ ที่บอกว่าเป็นเครื่องมือก็เพราะว่ามันเป็นเพียงตัวช่วย จะใช้หรือไม่ใช้มันก็ได้นะครับ แต่มันเป็นวิธีที่ผมใช้ได้ผลมาแล้ว...

1.เก็บทรีตเมนท์ของเราไว้สักสองถึงสามวัน แล้วออกไปเที่ยว กินเหล้า ร้องคาราโอเกะ ดูหนัง ฟังเพลง จีบสาว หรืออะไรก็ได้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนังที่เรากำลังเขียนครับ  เครื่องมือชิ้นนี้ผมเรียกว่าการล้างสมองครับ เป็นขั้นตอนการปรับตัว เพื่อให้เรากลับมาสู่มุมมองของคนดูอีกครั้งครับ เพราะว่า ตลอดเวลาที่เรานั่งเขียนทรีตเมนท์นั้น สมองเราจะจมอยู่กับการเล่าเรื่อง เมื่อเราจมอยู่ เราอาจจะมองไม่เห็นปัญหา การพักมันเอาไว้คือการถอยห่างออกมาจากสิ่งที่เราทำครับ และเป็นการให้รางวัลกับตัวเองที่ผ่านก้าวแรกมาได้ครับ

2.จากนั้น หลังจากที่เราถอยห่างจนพอใจแล้ว หลังจากไปเมามายอยู่สองสามวันติดกัน เรากลับมานั่งที่โต๊ะอีกที ถ้าเราพิมพ์ทรีตเมนท์ร่างแรกด้วยคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนนี้ เราต้องพิมพ์มันออกมาก่อนครับ ให้มันอยู่บนกระดาษ แล้วเราก็อ่านมันอีกครั้งครับ ย้ำนะครับว่าอ่านจากกระดาษนะครับ อย่าอ่านจากจอคอมครับเพราะว่ามันจะปวดหัวมาก แล้วสมาธิจะอยู่ที่การคลิกการเลื่อนหน้ากระดาษ และที่สำคัญ ถ้าเราเจอจุดที่เราไม่ชอบ เราอาจจะแก้ไปเลย แต่มันอาจจะทำให้เรื่องที่เราวางไว้เสียสมดุลไป โดยที่เราไม่รู้ตัวครับ เพราะฉะนั้นลองปริ๊นท์ออกมาก่อนครับ แล้วค่อยๆอ่านมัน อ่านมันด้วยความเป็นกลางนะครับ   แล้วลองถามความรู้สึกตัวเองก่อนครับ ว่าชอบมั๊ย ชอบฉากไหน ไม่ชอบช่วงไหน  ต้องอย่าเข้าข้างตัวเองนะครับไม่งั้นเราจะไม่ได้อะไรเลย  จากนั้นก็ส่งให้เพื่อนๆ หรือใครก็ได้ที่คุณไม่เคยเล่าเรื่องนี้ให้เขาฟัง เอาให้เขาอ่านครับ แล้วถามเขาถึงความรู้สึก อย่าเพิ่งรีบเถียงหรือพยายามอธิบายนะครับ (เวลาหนังเราฉายเราก็ไม่มีโอกาสได้อธิบายหรอกครับ) แล้วจดความรู้สึกของคนอื่นเก็บไว้นะครับ มันเป็นฐานข้อมูลที่ดีครับจากนั้นเราก็เริ่มโน้ตส่วนที่เราชอบ ไม่ชอบ ความคิดเห็นของคนอื่น แล้วพักเอาไว้ครับ

3.ทีนี้เรามาใช้สัญลักษณ์กันบ้าง เราคิดสัญลักษณ์แทนฉากแต่ละแบบนะครับ เช่น ฉากพูดคุยเป็นรูปดาว ฉากต่อสู้เป็นสี่เหลี่ยม ฉากเลิฟซีนเป็นวงกลม แล้วเขียนมันไว้หน้าเลขฉาก หรือท้ายฉากก็ได้ครับ หรือไม่ถ้างบประมาณมากหน่อย ก็ใช้ปากกาไฮไลท์หลายๆสีครับ ปาดมันไปทั้งฉากเลยครับ แต่ละสีแทนฉากแต่ละแบบครับ ........
เสร็จแล้วนะครับ ทีนี้ถ้าเราแม๊คทรีตเมนท์ของเรารวมกันไปแล้วนะครับ แกะมันออกครับ แล้วเอามันมาเรียงไว้บนพื้น ลองดูนะครับ ตอนนี้เราจะมองเห็นสัดส่วนของฉากต่างๆในหนังของเราเองครับ ว่าฉากคุยกันเยอะไปมั๊ย หรือฉากคุยกันอยู่ใกล้กันมากไปรึเปล่า หรือฉากไหนยาวฉากไหนสั้นเราจะเห็นได้อย่างชัดเจนครับ ถ้าเริ่มเห็นความไม่สมดุล เราพักไว้ในใจก่อนนะครับ เริ่มสนุกแล้วใช่มั๊ยล่ะครับ ยังไม่หมดครับ

4.จากนั้นครับ เราจะตัดมันออกจากกัน ทำทุกฉากนะครับ ตัดมันออกเป็นชิ้นๆครับ ฉากละชิ้น ถ้ามี 50 ฉากก็ 50 ชิ้นครับ  ตอนนี้แหละครับเอาที่เราพักไว้ในใจออกมาครับ เริ่มสำรวจปัญหาไปทีละจุด ตอนนี้เราสามารถลองตัดต่อหนังเราใหม่ได้ก่อนถ่ายเลยล่ะครับ เราลองสลับฉาก ดึงบางฉากออก เขียนฉากใหม่เพิ่มเข้าไป ...การสลับฉากคือลองสลับลำดับกันดูว่ามันจะสนุกขึ้นมั๊ย... ดึงบางฉากที่เราเห็นว่าไม่จำเป็นต่อการเล่าเรื่องออก ถ้าเราดึงมันออกไปแล้วยังรู้เรื่องก็แปลว่าฉากนั้นไม่จำเป็นแล้วล่ะครับ ...เขียนฉากใหม่ใส่เข้าไป ถ้าอยากจะเพิ่มเราสามารถเพิ่มเข้าไปได้เลยครับ ลองแก้กันดูจนกว่าจะพอใจนะครับ แล้วลองเขียนอีกครั้งครับ

นี่คือเครื่องมือง่ายๆของการแก้ทรีตเมนต์นะครับ ลองเอาไปทำกันดู แต่ตลอดเวลาที่แก้นะครับอย่าลืมเช็คกับ Theme และ Log line ของเราไปด้วยนะครับ จะได้ไม่หลุดประเด็น... ยังไม่จบครับสำหรับทรีตเมนท์ คราวหน้าเราจะมาดูเรื่องของการรีเสิร์ช (Research) ครับ หลังจากที่เราทำทรีตเมนท์จนพอใจแล้ว เราจะได้กรอบของการรีเสิร์ช การหาข้อมูลครับ และข้อมูลที่เราได้มานี่อาจจะทำให้เราได้แก้ทรีตเมนท์กันอีกรอบครับ เดี๋ยวคราวหน้ามาต่อกันนะครับ....
บันทึกคะแนนนี้โพสต์ล่าสุด: รวม 2 คะแนน ซ่อน
gotchastudio เงิน +1 2010-10-30 -
au8ust เงิน +1 2010-10-30 แจ่มครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ด้วยความเคารพ
ake
โพสต์
4768
เงิน
34014
ความดี
117475
เครดิต
125435
จิตพิสัย
118050
จังหวัด
เชียงใหม่

สุดยอดครับ ขอบคุณมากๆครับ
eed
ระดับ : สมาชิก III
โพสต์
33
เงิน
965
ความดี
889
เครดิต
958
จิตพิสัย
721
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เยี่ยมครับ......
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
451
เงิน
878
ความดี
10007
เครดิต
11895
จิตพิสัย
9646
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

ขอบคุณครับ ติดตามทุกตอน ยิ่งกว่าซีรีย์เกาหลีอีก
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
403
เงิน
14360
ความดี
11539
เครดิต
12687
จิตพิสัย
12038
จังหวัด
เชียงใหม่

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 4#  โพสต์เมื่อ: 2010-11-18
ขอบพระคุณครับผม
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้