สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
  • 24896เข้าชม
  • 20ตอบกลับ

Movie diy การเตรียมการถ่ายทำ 1

โพสต์
644
เงิน
16847
ความดี
14761
เครดิต
14339
จิตพิสัย
20875
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

— เพิ่มเข้าหัวข้อสำคัญ โดย ake เมื่อเวลา(2010-03-07) —
นี่นำมาจากเอกสารการสอนที่ผมใช้ในการอบรม Movie DIY นะครับ เอามาแบ่งบันกันเผื่อจะมีประโยชน์บ้างครับ

เราจะมาคุยถึงขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญมากในการทำหนังกันนะครับ
หากตอนเขียนบทคือร่างภาพบนกระดาษ ขั้นตอนนี้คงเหมือนการเตรียมอุปกรณ์ในการวาดรูป ยังไม่ลงมือวาด แต่สำคัญมากๆ เพราะมันจะสร้างความราบรื่นในการทำงานตอนถ่ายทำจริง แต่เรื่องราวของขั้นตอนเตรียมการถ่ายทำนั้น มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะมาก และแบ่งออกเป็นงานของหลายๆฝ่าย

ถ้าอย่างนั้นในวันนี้คงเป็นการเกริ่นนำภาพรวมของการเตรียมการถ่ายทำกันก่อนแล้วกันครับ

เบรกดาวน์ (Breakdown)
หลังจากที่เราได้บทหนังมาแล้ว  สิ่งแรกที่เราจะทำกันก่อนเลยก็คือการ แตกรายละเอียด แยกย่อยบทหนังให้ออกมาเป็นสิ่งต่างๆที่หนังต้องใช้ เรียงตามฉากตามบทภาพยนตร์
อันนี้เราเรียกกันว่าการทำเบรกดาวน์(Breakdown) สิ่งที่ต้องแยกออกมาก็จะเป็น ฉากที่เท่าไหร่ เรื่องย่อของฉากนี้เป็นอย่างไร มีตัวละครเป็นใครบ้าง เสื้อผ้าหน้าผมเป็นอย่างไร เซตเป็นอะไร กลางวันหรือกลางคืน มีตัวประกอบกี่คน อุปกรณ์ประกอบฉากเป็นอะไร (มีอุปกรณ์ที่ซ่อนอยู่ในบทหนังด้วย อันนี้ต้องอาศัยการตีความครับ) ต้องมีอะไรเพิ่มเติม แล้วฉากนี้มีความยาวเท่าไหร่ ซึ่งเดี๋ยวรายละเอียดในการทำเบรกดาวน์นั้นเราจะมาทำความเข้าใจในครั้งต่อๆไปนะครับ...

ลิสต์ต่างๆ
หลังจากจากทำเบรกดาวน์เรียบร้อยแล้ว เราจะเห็นรายละเอียดของหนังในฉากต่างๆ จากนั้นเราจะมาทำลิสต์ของสิ่งต่างๆกันซึ่งแยกย่อยเป็น

โลเคชั่นลิสต์ (Location list)
เป็นลิสต์ของสถานที่ถ่ายทำหรือเซตที่ปรากฏในบท เพื่อให้ฝ่ายโลเคชั่นไปหาโลเคชั่นที่ระบุตามท้องเรื่อง ในนี้จะระบุว่า เซตที่จะใช้ถ่ายทำมีกี่ฉาก แบ่งเป็นกลางวันกี่ฉาก กลางคืนกี่ฉาก ทำให้ง่ายต่อการคำนวณวันถ่าย และเราจะรู้ว่าโลเคชั่นไหนเป็นโลเคชั่นหลัก หรืออันไหนปรากฏผ่านๆหลอกถ่ายได้

แคสลิสต์ (Cast list / Character list)
อันนี้ก็คล้ายๆกับโลเคชั่น แต่เราจะทำในส่วนตัวนักแสดง เพื่อง่ายต่อฝ่ายแคสติ้ง ตัวละครทุกตัวที่มีบทพูดจะต้องถูกบรรจุอยู่ในซีนลิสต์
นี่คือขั้นต้นของงานพรี-โพรดักชั่น (pre-production) ในส่วนของผู้ช่วยหลังจากที่ได้รายละเอียดเหล่านี้มาแล้ว ในขณะเดียวกันฝ่ายอื่นๆก็จะเริ่มทำงานขั้นตอนนี้เช่นเดียวกัน

ผู้กำกับภาพ (Director of Photography)
ก็จะเริ่มคิด Concept ภาพ หา Reference (ตัวอย่างงาน) ปรึกษาผู้กำกับเรื่องอารมณ์ ( Mood &Tone) ของงานภาพในหนัง และจะร่างสตอรี่ บอร์ด (story board) กำหนดคัทต่างๆ

ผู้ออกแบบงานสร้าง ( Production Design)
ก็จะหาคิดในเรื่องของงานสร้างทั้งหมดตามรายละเอียดในบทภาพยนตร์ คิดเรื่อง Concept ของฉากต่างๆ กำหนดโทนสี บรรยากาศทั้งหมดในงานสร้าง วางคอนเซ็ทป์ชวลบอร์ด (Conceptual board) ของหนังทั้งหมด
งานของทั้งสองตำแหน่งนี้ จะต้องปรึกษากันอย่างใกล้ชิดกับผู้กำกับ เพราะว่าผู้กำกับจะเป็นคนที่กำหนดแนวทางและปรัชญาการเล่าเรื่องที่เหมาะสมกับหนังครับ
สรุปคือการเตรียมงานสร้างขั้นต้น = การแตกแยกย่อยในส่วนต่างๆการวางแนวทางทุกอย่างให้ชัดเจน + เพื่อเป็นกรอบในการเตรียมงานสร้างขั้นตอนถัดๆไป
ที่พูดขึ้นมาทั้งหมดคืองานสำคัญๆในส่วนของการเตรียมงานสร้าง ซึ่งจริงๆแล้วยังมีส่วนที่เป็นรายละเอียดยิบย่อยอีกมากมาย ที่เดี๋ยวเราจะมาเรียนรู้กันเป็นส่วนๆไป ตั้งแต่สัปดาห์หน้า เราจะมาดูกันในส่วนของผู้ช่วยผู้กำกับและโปรดิวเซอร์ แน่นอนว่าทั้งหมดเป็นงานเอกสารที่อาจจะดูน่าเบื่อหน่ายและหลายๆคนอาจจะละเลยมันไป



ใครอยากรู้เรื่องไหนเกี่ยวกับกระบวนการทำหนังโพสต์ทิ้งไว้ได้เลยนะครับ

ส่วน ความรู้ที่นำมาโพสต์นั้นเดี๋ยวจะโพสต์เรื่อยๆครับ


บันทึกคะแนนนี้โพสต์ล่าสุด: รวม 3 คะแนน ซ่อน
beer7 ความดี +1 2011-11-09 -
natchanon ความดี +1 2011-06-19 ขอบคุณครับ
ake เงิน +1 2010-03-08 -

บทความที่เกี่ยวข้อง

ด้วยความเคารพ
ake
โพสต์
4768
เงิน
34014
ความดี
117475
เครดิต
125435
จิตพิสัย
118050
จังหวัด
เชียงใหม่

ขอบคุณสำหรับความรู้ที่หาอ่านที่ไหนไม่ได้นะครับ
ระดับ : สมาชิก V
โพสต์
192
เงิน
5872
ความดี
4621
เครดิต
5847
จิตพิสัย
3223
จังหวัด
ตาก

ขอบคุณที่นำความรู้มาแบ่งปันกันนะครับ
โพสต์
1858
เงิน
56103
ความดี
46498
เครดิต
51231
จิตพิสัย
52476
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร


ชอบครับ.....รออ่านตอนต่อไปนะครับ.
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
221
เงิน
7782
ความดี
5272
เครดิต
5353
จิตพิสัย
6291
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร

เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 4#  โพสต์เมื่อ: 2010-03-31
ขอบคุณครับ ผมตามหาบทความสนุกๆของคุณมานาน ตั้งแต่เว็ปคุณหายไป ดีใจมากครับ
gn4
ระดับ : สมาชิก III
โพสต์
47
เงิน
2792
ความดี
1211
เครดิต
1295
จิตพิสัย
1017
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 5#  โพสต์เมื่อ: 2010-04-06
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ  อย่าลืมมาต่อน่ะครับ ....
ระดับ : สมาชิก I
โพสต์
1
เงิน
512
ความดี
71
เครดิต
12
จิตพิสัย
41
จังหวัด
ปทุมธานี
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 6#  โพสต์เมื่อ: 2010-11-16
ขอบคุณมากสำหรับความรู้ที่มอบให้  รบกวนขอตัวอย่างเอกสารได้ไหมครับ พวกเบรกดาวน์ ซีนลิสต์ และอื่นๆอีกก็ได้ครับ ขอบคุณครับ
anuchit35@hotmail.com
ระดับ : สมาชิก I
โพสต์
3
เงิน
34
ความดี
83
เครดิต
24
จิตพิสัย
53
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 7#  โพสต์เมื่อ: 2011-06-19
ขออนุญาติแชร์นะครับ
ระดับ : สมาชิก VII
โพสต์
585
เงิน
16710
ความดี
13655
เครดิต
14351
จิตพิสัย
14629
จังหวัด
ชัยภูมิ
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 8#  โพสต์เมื่อ: 2011-06-19
ขอบคุณมากๆครับ สำหรับความรู้ดีๆ ที่มีให้ครับ
ระดับ : สมาชิก I
โพสต์
5
เงิน
36
ความดี
95
เครดิต
36
จิตพิสัย
65
จังหวัด
เชียงใหม่
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 9#  โพสต์เมื่อ: 2011-09-02
ขอบคุณมากค่ะ มีความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลย
ระดับ : สมาชิก I
โพสต์
1
เงิน
12
ความดี
71
เครดิต
12
จิตพิสัย
41
จังหวัด
สระบุรี
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 10#  โพสต์เมื่อ: 2011-09-07
สวัสดีค่ะ....หนูขอรายละเอียดเกี่ยวกับ Script Breakdown แล้วก็ตัวอย่างหน่อยค่ะ......หนูจะทำงานส่งอาจารย์ค่ะ...หนูไม่เข้าใจค่ะ...แล้วก็การเขียนเสนอโครงการผลิตภาพยนตร์จะมี 1.วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร 2.เรื่องราวภาพยนตร์ 3.การจัดจำหน่ายและแผนสนับสนุน 4.งบประมาณการผลิต หนูอยากได้รายละเอียดพี่จะมีมั้ยค่ะ...........ขอบคุณมากๆๆๆๆๆค่ะ  
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
216
เงิน
6786
ความดี
6256
เครดิต
6285
จิตพิสัย
6830
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 11#  โพสต์เมื่อ: 2011-09-13
ขอบคุณมากๆครับที่นำความรู้ดีๆมาให้อ่าน ชอบมากเลยครับ
ระดับ : สมาชิก VI
โพสต์
308
เงิน
6432
ความดี
5689
เครดิต
5521
จิตพิสัย
5867
จังหวัด
ชุมพร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 12#  โพสต์เมื่อ: 2011-10-06
ขอบคุณมากมายเลยคับท่าน
ระดับ : สมาชิก III
โพสต์
26
เงิน
1847
ความดี
372
เครดิต
313
จิตพิสัย
400
จังหวัด
สมุทรปราการ
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 13#  โพสต์เมื่อ: 2011-10-27
ขอบคุณครับ
ระดับ : สมาชิก I
โพสต์
7
เงิน
92
ความดี
139
เครดิต
80
จิตพิสัย
341
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
เฉพาะตอบกลับของผู้โพสต์ 14#  โพสต์เมื่อ: 2011-11-07
Thank you
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้